Monday, February 28, 2011

นาตาลี พอร์ตแมน (Natalie Portman) เป็นได้ดังที่ฝัน

Natalie Portman ดาราภาพยนตร์ขาวสหรัฐเชื่อสายยิว

นาตาลี พอร์ตแมน (Natalie Portman) เป็นได้ดังที่ฝัน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: ศิลปะ วัฒนธรรม ภาพยนตร์ Natalie Portman

วันนี้จะขอแนะนำดาราภาพยนตร์สาวคนหนึ่งที่มีความมุ่งมั่นในชีวิตการทำงานของตนเอง และเธอก็ประสบความสำเร็จในอาชีพการแสดง เธอเป็นได้ และทำได้อย่างที่เธอไฝ่ฝัน เธอคือ นาตาลี พอร์ตแมน (Natalie Portman) ผู้ได้รับรางวัลดารานักแสดงหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี จากภาพยนตร์เรื่อง Black Swan

Natalie Hershlag มีชื่อในการแสดงว่า นาตาลี พอร์ตแมน (Natalie Portman) เป็นนักแสดงอเมริกันเชื้อสายอิสราเอล บทบาทแรกของเธอคือเป็นเด็กกำพร้าในภาพยนตร์ฝรั่งเศสเรื่อง Léon ในช่วงทศวรรษที่ 1990s เธอได้รับบทสำคัญในภาพยนตร์เรื่อง Beautiful Girls และ Anywhere but Here, ก่อนที่จะได้รับบทเป็น Padmé Amidala ในภาพยนตร์เรื่อง the Star Wars prequel trilogy ทั้งสามตอน ในปี ค.ศ. 1999 เธอได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยเรียนวิชาเอกจิตวิทยาในขณะที่ทำงานในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars เธอจบปริญญาตรีในปี ค.ศ. 2003

Portman เกิดที่ Jerusalem, Israel บิดาชื่อ Avner Hershlag เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตร มารดา Shelley Hershlag มีอาชีพรับสร้างบ้าน (homemaker) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้จัดการให้เธอ ญาติฝ่ายมารดาเป็นยิวอพยพจากออสเตรียและรัสเซีย ญาติฝ่ายพ่อเป็นยิวที่ย้ายมาจากโปแลนด์และโรมาเนีย ปู่ (Grandfather) มีพ่อแม่ที่เสียชีวิตในค่ายนรก Auschwitz ปู่ทำงานเป็นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยในอิสราเอล และทวดฝ่ายย่าเป็นยิวเชื้อสายโรมาเนีย เป็นสายลับให้กับหน่วยสืบราชการลับของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

พ่อและแม่ของพอร์ตแมนพบกันที่ศูนย์กลางนักศึกษาของมหาวิทยาล้ย Ohio State University ในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่แม่ขายตั๋ว ทั้งสองติดต่อกันโดยฝ่ายพ่อเดินทางกลับไปอิสราเอล และทั้งสองแต่งงานกันเมื่อแม่เธอเดินทางไปเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1984 เมื่อพอร์ตแมนอายุได้ 3 ปี ครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ในสหรัฐอเมริกา ที่พ่อของเธอเข้ารับการฝึกอบรมทางด้านการแพทย์ พอร์ตแมนมีสถานะเป็นคนสองสัญชาติ คือเป็นอเมริกัน และเป็นคนอิสราเอล เมื่อถูกถามว่าเธอจะเลือกอะไร เธอตอบว่า รักอเมริกา แต่หัวใจฉันอยู่ในเจลูซาเลม (Jelusalem) ที่ๆฉันรู้สึกเป็นบ้าน

Natalie Portman ดาราภาพยนตร์ขาวสหรัฐเชื่อสายยิว

พอร์ตแมนและครอบครัวของเธอระยะแรกพักอยู่ที่ Washington, D.C แต่ต่อมาปี ค.ศ. 1988 ย้ายมาอยู่ที่รัฐคอนเนคติกัต (Connecticut) และย้ายมาอยู่ที่ Long Island เมืองนิวยอร์คในปี ค.ศ. 1990

Friday, February 18, 2011

บังคลาเทศประณามการพิจารณาและตัดสินกรณีผู้ก่อการร้ายของกัมพูชา

บังคลาเทศประณามการพิจารณาและตัดสินกรณีผู้ก่อการร้ายของกัมพูชา

brought to you instantly.ពត៌មានកម្ពុជាសុទ្ធសាធនាំមកជូនលោកអ្នកដោយទាន់ចិត្ត។

Saturday, 19 February 2011

Bangladesh slams Cambodian terrorist trial

Radio Australia
Updated February 18, 2011

ฝ่ายราชการของบังคลาเทศวิจารณ์ระบบศาลของกัมพูชาในการตัดสินลงโทษชาวต่างชาติให้จองจำ 8 ปีในข้อหาผู่กอการร้าย สถานทูตบังคลาเทศในกรุงเทพฯ ได้แสดงความผิดหวังต่อการตัดสินที่อาศัยข้อมูลจากจดหมายที่ไม่แจ้งนาม โดยบุคคลทั้งสามได้ส่งจดหมายไปยังสถานฑูตสหราชอาณาจักร สหรัฐ และออสเตรเลีย ในปีที่ผ่านมา (2010) ตำรวจกัมพูชาได้จับชาย 3 คนที่แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการจะถูกโจมตีโดยผู่ก่อการร้าย ผู้สังเกตการณ์ได้ยกกรณีนี้เป็นตัวอย่างของระบบศาลที่อ่อนแอในประเทศกัมพูชา

The authorities in Bangladesh have criticised a Cambodian court for sentencing three foreign nationals to eight years in jail on terrorism charges. The Bangladeshi embassy in Bangkok says it is extremely disappointed by the verdict, which appears to be based mainly on evidence in an anonymous letter. Last year, Cambodian police arrested three men who allegedly sent a letter to the British, American and Australian embassies in Phnom Penh, informing them of a terrorist attack. Some observers say the case is an example of the poor state of Cambodia's judicial system.

Reporter: Alma Mistry
Speakers: Adam Miller, journalist, Phnom Penh Post; Son Chhay, opposition MP, Sam Rainsy Party

รายงานโดย Alma Mistry
โฆษก
Adam Miller, ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ Phnom Penh Post, Son Chhay, ผู้แทนราษฎรสังกัดพรรค Sam Rainsy Party

Thursday, February 17, 2011

การอุดมศึกษากับการมีงานทำ ตัวอย่างวิกฤติตะวันออกกลาง

การอุดมศึกษากับการมีงานทำ ตัวอย่างวิกฤติตะวันออกกลาง

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: การศึกษา, การอุดมศึกษา, การมีงานทำ, การเรียนการสอนออนไลน์

ผมได้ติดตามข่าวการต่อต้านรัฐบาล และการนำไปสู่การปฏิวัติประชาธิปไตยในหลายประเทศในตะวันออกกลาง เริ่มตั้งแต่ที่ตูนิเซีย (Tunisia) อียิปต์(Egypt) และตามมาด้วยอัลจีเรีย (Algeria) บาห์เรน (Bahrain) ลิเบีย (Libya) อิหร่าน (Iran) การประท้วงเป็นดังคลื่นที่ถาโถมมาอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยเริ่มจากการสื่อสารใหม่ที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้จำกัดตัวเองเพียงกับสื่อที่รัฐเป็นฝ่ายผูกขาด อันได้แก่วิทยุและโทรทัศน์ของทางการ แต่สื่อใหม่ คือสื่อผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อที่ประชาชนสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้จากทั่วโลก ระบบอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง กลุ่มคนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน อย่างที่เรียกว่า Social Media ดังเช่น Facebook, Twitter, และการที่ประชาชนสามารถเข้าไปสร้างบลอค (Blogs) เพื่อการแสดงความคิดเห็นของตนเองได้อย่างเสรี ยากที่จะปิดกัน

อีกประการหนึ่งที่พบในประเทศต่างๆในตะวันออกกลางและรวมถึงในอิหร่าน คือ แรงผลักดันเพื่อการปฏิวัติมาจากคนหนุ่มสาว นักเรียน นักศึกษา และคนที่ทำงานแล้วหรือจบมหาวิทยาลัยแล้วกำลังหางาน ในประเทศย่านตะวันออกกลาง หากโดยรวมแล้วเป็นแหล่งน้ำมัน เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดี ราคาน้ำมันแพงขึ้นทุกวันน

แต่ผลประโยชน์จากกทรัพยากรเหล่านี้กลับไปตกอยู่กับกลุ่มคนระดับนำอย่างจำกัด คนส่วนใหญ่ของประเทศยังต้องอยู่อย่างยากจน การมีสถาบันอุดมศึกษาเปิดมากขึ้น คนจบการศึกษาก็มีมากขึ้น แต่โอกาสที่คนมีการศึกษามีงานทำกลับลดลง ระบบรัฐและเอกชนไม่สามารถสร้างงานรองรับที่เหมาะสมกับคนมีการศึกษาได้ จึงทำให้บัณฑิตจบใหม่ตกงานในอัตราสูงตั้งแต่กว่าร้อยละ 20 จนถึงระดับร้อยละ 40 เมื่อประกอบกับปัญหาความยากจน การคอรัปชั่นในระบบราชการ การไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน การแบ่งแยกทางชนชั้น เพศ เชื้อชาติ ดังนี้นับเป็นเชื้อไฟอย่างดีที่จะโหมพัดใส่กระบวนการปฏิวัติทางสังคมในกลุ่มประเทศเหล่านี้ การที่คนมีการศึกษาแล้วไม่พอใจในสังคมและรัฐบาลของเขานับเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

ความจริงปัญหาบัณฑิตตกงานนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับประเทศกลุ่มอาหรับ หรืออิสลามตะวันออกกลางเท่านั้น นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า ประเทศในเอเชียอื่นๆ ก็มีโอกาสเกิดความขัดแย้งรุนแรงได้ในอีกหลายๆประเทศ ด้วยทั้งปัจจัยภายนอก และจากภายใน ประเทศดังกรณีของพม่า เกาหลีเหนือ และอันที่จริง รวมถึงประเทศอย่างไทยด้วย แม้เราจะมีประชาธิปไตย มีระบบการเลือกตั้ง แต่กระนั้นก็มีเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งที่ทำให้ปัญหาความวุ่นวายในบ้านเมืองมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา

ในฐานะที่ผู้เขียนทำงานอยู่กับระบบการศึกษา จึงเห็นว่าคนในวงการศึกษาต้องหันมาใส่ใจ พัฒนาระบบการศึกษา โดยเฉพาะอุดมศึกษา ให้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาประเทศ มากกว่าจะมาเป็นปัญหาซ้ำเติมกับปัญหาสังคมอื่นๆที่มีอยู่แล้ว

ทำอย่างไรเราจึงจะไม่มีปัญหาบัณฑิตจบแล้วไม่มีงานทำ

1. อย่าผลิตบัณฑิตอย่างไม่มีคุณภาพ จบแล้วทำงานไม่ได้ สถาบันอุดมศึกษาต้องจริงจังในการกำหนดมาตรฐานความสามารถขั้นต่ำของบัณฑิตที่จะต้องจบออกไปสู่ตลาดด หากเขาไม่มีความสามารถจริงก็ต้องไม่ให้จบไปสู่ตลาดภายนอกอย่างไม่รับผิดชอบ สถาบันอุดมศึกษาต้องมีกลไกควบคุมมาตรฐาน (Quality Assurance) ที่เข้มงวดและจริงจัง ให้ความมั่นใจต่อตลาดแรงงานที่จะต้องรับบัณฑิตเหล่านี้ได้

2. ผลิตบัณฑิตในแบบที่เขาเป็นผู้สร้างงานได้เอง นั่นคือทำให้เขามีทักษะและแนวคิดในการสร้างงานเองในแบบผู้ประกอบการรายย่อยได้ (SMEs) มหาวิทยาลัยอาจมีหน้าที่ผลิตคนจบไปแล้วไปเป็นลูกจ้างหรือพนักงานขององค์กรขนาดใหญ่ เป็นนักวิชาชีพ แล้วเป็นพวกมนุษย์เงินเดือน (Salary man) แต่อีกส่วนที่ทำได้ คือผลิตให้เขาจบไปเป็นผู้ประกอบการ แม้มีเงินทุนเพียงเล็กน้อยก็สามารถเริ่มงานเองในฐานะเป็นผู้ประกอบการได้ โดยธรรมชาติของการสร้างนักธุรกิจนั้นก็มักจะต้องสร้างจากการให้เขาทำในสิ่งเล็กๆ แล้วเปลี่ยนความสำเร็จจากงานเล็กๆเหล่านี้ ไปสู่การขยายงานให้ใหญ่ และด้วยเงินลงทุนที่สูงขึ้น นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยอาจร่วมกับหน่วยงานภาคธุรกิจ ที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆให้กับคนที่จะประกอบอาชีพต่างๆเอง มีเป็นอันมากในปัจจุบันที่บัณฑิตไม่เคยได้มีงานทำ หรือได้ฝึกงานเลย จนกระทั้งจบการศึกษาออกไป แล้วเผชิญกับทุกอย่างด้วยตนเอง สิ่งที่เรียนที่สอนกันในมหาวิทยาลัย ก็ล้วนเป็นเรื่องตามทฤษฎีและตามตำรา ไม่เคยได้มีการฝึกใช้งาน มีประสบการณ์งานจริง

3. ปรับรูปแบบมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับคนทำงานแล้ว ทำให้มหาวิทยาลับบางส่วน เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มนักศึกษาใหม่ (Emerging students) ที่หากเขาไม่มีงานรองรับแล้ว เขาจะไม่มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในระดับปริญญาได้ การปรับรูปแบบการเรียนที่จะรองรับคนทำงานแล้วนี้ ก็คืออย่าไปกำกับเรื่องเวลาเรียนเป็นหลัก แต่ให้เน้นการควบคุมวัดคุณภาพการเรียน การสอบผ่าน (Evaluation system) ระบบมหาวิทยาลัยเปิดที่มีอยู่แล้ว 2 แห่งเป็นตัวอย่างของระบบการศึกษาที่ให้โอกาสแก่ผู้เรียนที่ทำงานแล้ว และสำหรับคนที่เขามีงานทำแล้ว แต่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาเพื่อเสริมความก้าวหน้าในอาชีพการงานของเขา นอกจากนี้ การที่มหาวิทยาลัยมีสถานที่เรียนใกล้บ้าน จัดเปิดศูนย์การเรียนขนาดเล็กและกลาง (Learning Centers) กระจายตัวเองไปตามภูมิภาคต่างๆ ทำให้ผู้เรียนไม่ต้องเดินทางมาเรียน ณ วิทยาเขตใหญ่ของมหาวิทยาลัย ดังนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ระบบการเรียน แทนที่จะต้องเดินทางไปฟังบรรยายในชั้นเรียน ก็ให้สามารถใช้รูปแบบการเรียนออนไลน์ มีชุดวิชาเรียนที่จะสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งมีแบบฝึกหัดออนไลน์ให้ผู้เรียนทำ วิธีการเรียนในแบบใหม่นี้กระทำได้ไม่ยาก เพราะระบบสื่อสารใหม่ทั้งที่เป็นระบบใช้สาย (Wired) และรบบไร้สาย ดังเช่น ระบบ 3G ก็สามารถทำให้เกิดเครือข่ายการสื่อสารที่ครอบคลุมบริการได้ทั่วประเทศอย่างไม่ยากนักอยู่แล้ว

ในสุดท้ายนี้ ผู้เขียนอยากสรุป เสนอให้แต่ละมหาวิทยาลัยได้มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนไปตามความเหมาะสม และอย่างมียุทธศาสตร์ แต่ทั้งหมดนี้ต้องจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ต้องเน้นการทำให้คนมีงานทำ บัณฑิตส่วนหนึ่ง ต้องมีความสามารถที่จะสร้างงานเองได้ หรือได้เรียนรู้ควบคู่การทำงานจากภายในครอบครัวและชุมชน ได้ทำงานไปในระหว่างการศึกษาเล่าเรียน ลดค่าใช้จ่ายทางการศึกษา กับสามารถสร้างศักยภาพใหม่ในการทำงานไปด้วยในตัว

มหาวิทยาลัยต้องเป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาส และแก้ปัญหาของสังคม มากกว่าจะเป็นตัวไปสร้างปัญหาที่อาจสะสมและกลายเป็นระเบิดเวลาของสังคมไปในด้วยตัวเอง

Sunday, February 13, 2011

การโกงโดยหลอกให้จ่ายเงินล่วงหน้า ( Advance-fee fraud)

การโกงโดยหลอกให้จ่ายเงินล่วงหน้า
Advance-fee fraud

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

เก็บความจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: scam, trick, การฉ้อโกง, วิจารณญาณ

การโกงโดยหลอกให้จ่ายเงินล่วงหน้า ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า advance-fee fraud เป็นเล่ห์หลอกให้เชื่อใจ (confidence trick) โดยเหยื่อถูกหลอกให้จ่ายเงิน โดยหวังว่าจะได้เงินจากก้อนที่ใหญ่กว่า โดยการหลอกในลักษณะดังกล่าวจัดเป็นพวกต้มตุ๋น (scam) อย่างหนึ่ง ในระยะแรกๆมักจะเป็นพวกจดหมายจากไนจีเรีย (Nigerian Letter) ซึ่งมีคนมีความเข้าใจว่ามีเงินจากน้ำมันน จากการฉ้อโกงจากระบบราชการและการเมืองที่มีลักษณะเป็นสีเทา การหลอกก็จะทำให้สมเหตุสมผลมากขึ้น ส่วนชื่อที่เขาเรียกกันนั้น อาจเป็น 419 fraud, Nigerian scam, Nigerian bank scam, หรือ Nigerian money offer และมีแตกแขนงออกเป็นจากประเทศอื่นๆ เช่น นักโทษจากคุกสเปน (Spanish Prisoner), การหลอกเงินดำ (black money scam) เช่นเดียวกับ การหลอกแบบรัสเซีย หรือยูเครน (Russian/Ukrainian scam) จัดเป็นการดำเนินการแบบจัดตั้ง (organized-crime) ทำกันเป็นทีมเป็นแก๊ง ซึ่งพร้อมที่จะผันตัวเองออกไปสู่รูปแบบต่างๆ

ผู้เขียนได้รับ E-mail ในลักษณะคล้ายกับเรื่องดังกล่าว โดยมีใช้ชื่อหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ ตั้งแต่ธนาคาร องค์การระหว่างประเทศ ในประเทศไทยเอง มีพบกันว่าใช้ชื่อหน่วยงานสรรพากรที่จะคืนเงินภาษี แต่ไปใช้ระบบออนไลน์ โทรศัพท์ แล้วหลอกได้ชื่อบัตร ATM พร้อมได้รหัสไป โดยทั่วไปการหลอกดังกล่าว คนส่วนใหญ่จะไม่หลงเชื่อ แต่เมื่อจดหมายถูกส่งไปยังจุดหมายปลายทางนับเป็นหลายๆพัน ก็จะมีคนที่หลงกลเข้ามาจำนวนหนึ่ง การหลอกให้จ่ายก็อาจเป็นเพียงเงินระดับร้อยหรือพันเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเงินที่เขาบอกว่าเหยื่อจะได้รับเงินส่วนแบ่งนับนับเป็นเปอร์เซนต์จากเงินหลายล้านเหรียญสหรัฐ

การจะสอนให้คนได้เข้าใจในเกมการหลอกเงินดังกล่าวนั้น จึงต้องเป็นส่วนหนึ่งของการสอนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และเรื่องการรักษาระบบความปลอดภัยนานาประการที่เกี่ยวข้อง และพร้อมกันนี้ ก็ต้องมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเป็นระยะๆ เพราะเทคนิคการหลอกก็จะมีการดัดแปลงใหม่อยู่เสมอ

Wednesday, February 9, 2011

มารู้จักวาล โกนิม (Wael Ghonim)

มารู้จักวาล โกนิม (Wael Ghonim)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

ศึกษาจาก Wikipedia, the free encyclopedia

ภาพ วาล โกนิม (Wael Said Abbas Ghonim)

วาล โกนิม (Wael Said Abbas Ghonim ในภาษาอาหรับ Arabic: وائل سعيد عباس غنيم, IPA: [ˈwæːʔel sæˈʕiːd ʕæbˈbæːs ɣoˈneːm]) เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1980 เป็นชาวอียิปต์ นักรณรงค์ด้านอินเตอร์เน็ต วิศวกรคอมพิวเตอร์ และในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 ได้ทำหน้าที่ฝ่ายการตลาดในตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือให้กับบริษัทระบบสืบค้นอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ Google เขาเป็นคนมีชื่อเสียงในระดับสากลที่มีส่วนผลักดันการรณรงค์ประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในอียิปต์ และเขาเป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้นเมื่อเขาได้ให้สัมภาษณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ หลังจากถูกจับและเก็บตัวโดยตำรวจอียิปต์เป็นเวลา 11 วัน ในช่วงเวลาดังกล่าว หลายคนคิดว่าเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว

Wael Ghonim เกิดในตระกูลชนชั้นกลางในกรุงไคโรในอียิปต์ แต่ไปเติบโตในสาธารณรัฐอาหรับอิมิเร็ต (the United Arab Emirates) เขาได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยไคโร (Cairo University) ในปี ค.ศ. 2004 และปริญญาโททางบริหารธุรกิจ (MBA) สาขาการตลาดและการเงินจากมหาวิทยาลัยอเมริกันในกรุงไคโร (American University in Cairo) ในปี ค.ศ. 2007

เขาใช้ชื่อใน Twitter ว่า @Ghonim หากผู้อ่านและติดตามใน Social Media ดังกล่าว จะสามารถทราบทัศนะของเขาต่อการมองความเปลี่ยนแปลงในประเทศอียิปต์ได้

ภาพ การประขุมสัมนาในยุคใหม่ ที่ส่งเสริมให้การเรียนรู้อินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

ภาพ สัญญลักษณ์ของอียิปต์ ประเทศที่มีประชากรกว่า 80 ล้านคน ปิรามิด และอูฐ สังคมที่ยึดถือขนบประเพณีเดิม แต่เมื่อมีอินเตอร์เน็ต และสื่อเครือข่ายสังคม อย่าง Facebook และ Twitter หลายสิ่งหลายอย่างจะไม่เหมือนเดิม

Sunday, February 6, 2011

จังหวะต่อไปนี้ ฝ่ายมูบารัค กับฝ่ายประท้วง ใครจะอึดกว่ากัน

จังหวะต่อไปนี้ ฝ่ายมูบารัค กับฝ่ายประท้วง ใครจะอึดกว่ากัน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ในภาษาอังกฤษมีคำหนึ่งเรียกว่า Impasse แปลว่า ทางตัน ไม่คืบหน้า และไม่ได้ถอยหลังหรือเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอียิปต์ที่เริ่มประทุตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2011 นั้นต่างจากในตูนีเซียที่ได้ประทุก่อนหน้านี้ไม่นานที่เรียกว่า ปฏิวัติดอกมะลิ (Jasmine Revolution) มีลักษณะแยกออกต่างหาก ไม่มีบทบาทต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องมาก

แต่สำหรับการครองอำนาจของเผด็จการในอียิปต์อาจเป็นเรื่องที่แตกต่างกัน เพราะอียิปต์เป็นที่ๆปกครองมาตั้งแต่ได้รับเอกราชด้วยการปกครองโดยเผด็จการ (Autocrat) โดยมีทหารค้ำจุน มีผลประโยชน์ร่วมจากหลายฝ่าย มีคลองซูเอส ( Suez Canal) เชื่อมระหว่างทะเลเมดิเตอเรเนียน กับมหาสมุทรอินเดีย โดยผ่านทางทะเลแดง (Red Sea) ที่เป็นทางผ่านของการขนส่งสินค้าข้ามทวีป เกี่ยวข้องกับหลายชาติ

อียิปต์เป็นประเทศที่เคยขัดแย้งกับอิสราเอล จนต้องมีการยุติสงคราม และมีฝ่ายสหรัฐทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน โดยต้องมีการจ่ายเงินสนับสนุนถึงปีละ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 65 หรือ 1300 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเพื่อการช่วยเหลือทางการทหาร สหรัฐและโลกตะวันตกมองอียิปต์ว่ามีความเสี่ยงที่อาจสวิงไปสู่มือของฝ่ายต้องการใช้ความรุนแรง ดังที่ประเทศอิหร่านเมื่อฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยทั้งหลายได้โค่นล้มพระเจ้าชาห์แล้ว อำนาจก็ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายอิสลามหัวเคร่งครัด ซึ่งฐานเสียงมาจากคนระดับล่างของประเทศ

ฝ่ายอิสราเอล ประเทศที่เคยสู้รบกับอียิปต์มาสองครั้ง ก็ไม่อยากที่จะเห็นรัฐบาลใหม่ที่ไม่เป็นมิตรกับอิสราเอล เพราะเท่ากับทำให้ชาติเขาต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ต้องประสบกับความไม่ลงรอยกับปาเลสไตน์ อิหร่าน และหากรวมถึงอียิปต์เข้าไปอีก อาการของชาตินี้คงหนักหนา แม้จะยังมีสหรัฐทำหน้าที่เป็นชาติลูกพี่คอยคุ้มภัยอยู่

แม้สื่อตะวันตกเองในระยะแรกๆ ก็ไม่กล้าออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับอียิปต์มากนัก จะนำเสนออย่างระมัดระวังตัวเอง จนกระทั่งภาพและข้อมูลที่ปรากฏชัดว่าได้มีพวกอันธพาลการเมือง (Thugs) ที่ได้รับจ้างมาทำร้ายผู้ประท้วง

ดังนั้น หลายฝ่ายจึงรีๆรอๆ อียิปต์ภายใต้มูบารัคเอง ก็พร้อมจะฝืนคำแนะนำของสหรัฐ เพราะแม้อียิปต์จะได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แต่ในปัจจุบันมีมูลค่าเพียงร้อยละ 1 ของรายได้ประชาชาติ ไม่ใช่มากถึงร้อยละ 20 ดังเมื่อต้องได้รับความช่วยเหลือระยะแรกๆ มูบารัคอาจจะใช้การดื้อเงียบๆ และขณะเดียวกัน ก็มีฝ่ายทหาร ตำรวจ ข้าราชการที่มีผลประโยขน์ร่วมกับฝ่ายมีอำนาจ ที่ไม่อยากให้อำนาจปล่อยหลุดมือไปอยู่กับส่วนอื่นๆ

ในด้านหนึ่ง ฝ่ายมูบารัคได้แสดงการยอมถอยมาระดับหนึ่งแล้ว ด้วยการประกาศว่าเขาและรวมทั้งบุตรชาย กามาล มูบารัค (Gamal Mubarak) จะไม่ลงรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในสมัยหน้า แต่ที่จะไม่ยอมถอยต่อไปอีก คือการต้องลาออก และเดินทางลี้ภัยไปต่างประเทศ เพราะประธานาธิบดีกล่าวว่า จะเขาจะขอตายในแผ่นดินอียิปต์นี้

ในอีกด้านหนึ่ง ฝ่ายต่อต้านมูบารัค และผู้ประท้วงที่ปักหลักอยู่ที่จุตรัสทาเฮียร์ (Tahrir Square) ต่างเห็นว่าพวกเขาได้เสียมามากแล้ว และการต้องเลิกรากลับไป โดยที่มูบารัคยังอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น เขาอาจมาตามล้างตามเก็บได้อีก และด้วยความไม่ไว้วางใจนี้ วิธีการเดียว คือ ตีงูต้องตีให้หลังหัก หรือต้องแพ้ชนะกันเด็ดขาด มูบารัคต้องสละตำแหน่ง และเดินทางออกนอกประเทศ

สำหรับฝ่ายบ้านเมือง ทหารตำรวจ เมื่อผู้ประท้วงชุมนุมอยู่ ณ ที่หนึ่งแม้มีจำนวนหลายๆแสนคน แต่เป็นไปด้วยความสงบ และรัฐบาลก็ไม่ได้ทำอะไร หากปล่อยให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ ทุกวันมีรถวิ่งตามถนน ราชการ และร้านค้าสามารถเปิดบริการได้ ให้เหตุการณ์กลับสู่ปกติ ท้ายสุด คนจะอารมณ์เย็นลง อำนาจฝ่ายเรียกร้องก็จะลดลง เพราะคนส่วนใหญ่ที่ต้องทำมาหากิน ก็จะไม่อยากให้มีความขัดแย้งแบบยืดเยื้อ และในขณะเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลเองยังไม่มีแผนการปฏิรูปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่ชัดเจน ทุกอย่างยังล่องลอย ทำให้ไม่มีใครไว้ใจพอที่จะยอมรับการปฏิรูปให้ดำเนินไปภายใต้รัฐบาลมูบารัค

ดังนี้จึงเรียกว่า อียิปต์ได้เข้าสู่ทางตัน คงต้องรออีกสักระยะหนึ่ง เพราะสนามเล่นเกมนี้ไม่ได้อยู่ที่เพียงจัตุรัสทาเฮียร์ กลางกรุงไคโร แต่อยู่ในหลายๆที่ ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น

Saturday, February 5, 2011

ตะวันออกกลางกำลังเผชิญกับ “พายุการเมือง”

ตะวันออกกลางกำลังเผชิญกับ พายุการเมือง

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

เก็บความจากข่าว “Clinton: Mideast faces 'perfect storm' of unrest” ใน NBC, msnbc.com and news services, updated 2/5/2011 9:04:54 AM ET

ฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวต่อผู้นำในภูมิภาคว่าจำเป็นต้องมีการปฏิรูปสู่ความเป็นประชาธิปไตย มิฉะนั้นก็จะเผชิญกับความโกลาหลทางการเมืองขนานใหญ่

คลินตันได้กล่าวในที่ประชุมว่าด้วยความมั่นคงที่เมืองมิวนิช ประเทศเยอรมัน โดยกล่าวว่า เพราะความที่ขาดการปฏิรูปทางการเมืองในประเทศตะว้นออกกลาง ประกอบกับการมีประชากรยุคใหม่ที่มีการใช้การสื่อสารสมัยใหม่อย่างอินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้ครองอำนาจที่เป็นคนรุ่นเก่าในภูมิภาคต้องประสบวิกฤติการทางการเมือง และเป็นวิกฤติต่อความมั่นคงของสหรัฐด้วยเช่นกัน

ภูมิภาคตะวันออกกลางกำลังถูกพายุการเมืองกระหน่ำ (Perfect storm) ซึ่งเป็นแนวโน้มทางการเมืองที่ทรงพลังมาก และนี่เป็นเหตุให้มีการเดินขบวนประท้วงไปตามถนนในเมืองตูนิส ไคโร และเมืองอื่นทั่วทั้งภูมิภาค การจะคงอยู่โดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงนั้นทำได้ยาก

คำว่า Perfect Storm นั้น หมายถึงพายุทางการเมือง ที่มีองค์ประกอบหลายด้านที่นำไปสู่การเกิดพายะกระหน่ำในภูมิภาคอย่างพร้อมๆกัน กล่าวคือ ประเทศมีเศรษฐกิจโดยรวมดี แต่การแบ่งปันทรัพยากรไม่เป็นไปอย่างทั่วถึง มีช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย สังคมเป็นแบบมีระบบชั้น การศึกษาได้มีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง แต่การศึกษาในแบบใหม่ไม่ได้ทำให้คนมีงานทำ เยาวชนจำนวนมาก ในบางประเทศมีเยาวชนไม่มีงานทำกว่าร้อยละ 30-40 เป็นความกดดันต่อคนรุ่นใหม่ แต่ขณะเดียวกัน ช่องการสื่อสารใหม่ๆที่ในสมัยคนรุ่นพ่อแม่ไม่มี คือ อินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายสังคมอย่าง Facebook, Twitter ทำให้เขาสื่อสารกับโลกภายนอกได้อย่างกว้างขวาง ทีวีในยุคใหม่ที่สามารถรับสารจากภายนอกประเทศได้ ผ่านดาวเทียม หรืออินเตอร์เน็ต อย่าง Aljazeera, BBC, CNN, ได้เข้ามาทดแทนสื่อวิทยุและโทรท้ศน์ที่รัฐบาลควบคุมได้ก็จริง แต่ผู้คนที่ต้องการเสรีภาพก็ไม่ได้สนใจหรือเชื่อถือทั้งหมด

ความจริงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในภูมิภาคนั้นไม่เลว ดังเข่นในประเทศอียิปต์ ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา GDP เติบโตถึงร้อยละ 7 โดยเฉลี่ย แต่นั่นไม่สามารถทำให้เกิดความพึงพอใจแก่ประชาชนโดยทั่วไป ตราบเท่าที่การเมืองของประเทศก็ยังเป็นระบบเผด็จการ อำนาจทางการเมืองอยู่แต่ในกลุ่มคนชั้นนำ และผู้นำประเทศได้ปกครองอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 20-30 ปี เสถียรภาพอย่างหยุดนิ่ง และขณะเดียวกัน ยังมีการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการคิดในการนำเสนอข่าวสาร จึงทำให้เกิดการประทุกันอย่างกว้างขวางในหลายๆประเทศ

ความล้มเหลวของความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ความล้มเหลวของความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

เรียบเรียงจาก “State multiculturalism has failed, says David Cameron” BBC News, Politics, 5 February 2011Last updated at 11:15 GMT

เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรได้กล่าววิจารณ์แนวนโยบายความหลากหลายทางวัฒนธรรม (State multiculturalism) และวิจารณ์การใช้ความรุนแรง (Radicalisation) ที่ได้ก่อให้เกิดลัทธิก่อการร้ายขึ้นทั่วโลก การนำเสนอของเขาได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว โดยเฉพาะในชุมชนและประเทศอาหรับ แต่กระนั้น ก็ควรได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของเขาเรื่องการสร้างสังคมที่หลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างเข้มแข็ง

เขากล่าวว่า การจะเป็นเสรีนิยม ต้องเป็นอย่างเข้มแข็ง ไม่ใช่แบบเฉื่อยหรืออ่อนแอ

ในการประชุมด้านความมั่นคงในเยอรมัน เขาได้นำเสนอว่าอังกฤษต้องการลักษณะความเป็นชาติที่เข้มแข็ง เพื่อป้องกันคนที่จะนำไปสู่ลัทธิความรุนแรงนานาประการ

เขาส่งสัญญาณแข็งกร้าวต่อกลุ่มที่ส่งเสริมอิสลามหัวรุนแรง (Islamist extremism) นายคาเมรอนแนะให้ต้องมีการตรวจสอบกลุ่มมุสลิมที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสังคม แต่ดำเนินการน้อยมากที่จะแก้ปัญหามุสลิมหัวรุนแรง

นักบวชควรจะปฏิเสธที่ยอมรับกลุ่มหัวรุนแรงเหล่านี้ในการที่จะใช้เงินที่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณะ และไม่ปล่อยให้กลุ่มหัวรุนแรงเหล่านี้ได้เข้าไปมีบทบาทส่งสารในมหาวิทยาลัยและในคุก

เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน คาเมรอนกล่าวว่า เราควรลดความอดทนแบบเฉื่อย (Passive tolerance) ให้เหลือน้อยลง ในช่วงหลายปีหลังนี้ที่โลกได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มหัวรุนแรง และเน้นไปที่การเป็นเสรีนิยมแบบเข้มแข็ง (Muscular liberalism)”

การตัดสินว่าจะสนับสนุนองค์การใดๆ เราต้องดูว่าเขามีความเชื่อในเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือไม่ นั่นรวมถึงสิทธิของสตรีและผู้นับถือศาสนาอื่นๆ เขาเชื่อในเรื่องความเท่าเทียมกันตามกฎหมายหรือไม่ เขาเชื่อในประชาธิปไตยที่ให้สิทธิของคนที่จะเลือกรัฐบาลของเขาเอง เขาส่งเสริมให้คนอยู่ร่วมกันหรืออยู่อย่างแบ่งแยก

มารู้จักเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร

มารู้จักเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

เดวิด คาเมรอน มีชื่อเต็มในภาษาอังกฤษว่า David William Donald Cameron (อ่านว่า /ˈkæmᵊrən/) เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1966 ปัจจุบันเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศสหราชอาณาจักร (Prime Minister of the United Kingdom) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (First Lord of the Treasury), รัฐมนตรีดูแลกิจการพลเรือน (Minister for the Civil Service) และผู้นำของพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (Member of Parliament - MP) จากเขต Witney

คาเมรอนศึกษาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด โดยได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม เขาได้เข้าร่วมฝ่ายวิจัยนโยบายพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Research Department) และเป็นทีปรึกษาพิเศษให้กับ Norman Lamont, ต่อมาให้กับ Michael Howard และต่อมาให้กับ Michael Howard เขาเป็นผู้อำนวยการกิจการองค์การที่ Carlton Communications เป็นเวลา 7 ปี

คาเมรอนสมัครเข้ารับการแข่งขันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งแรกในปี 1997 แต่ต้องพ่ายแพ้ แต่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาฯ ในปี ค.ศ. 2001 โดยเป็นตัวแทนในเขต Oxfordshire ของ Witney เขาได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนฝ่ายค้านแถวหน้า (Opposition front bench) และไต่เต้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายประสานงานด้านนโยบายในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 2005 เขามีภาพลักษณ์ของความเป็นนักการเมืองสายกลางที่ได้รับความนิยมในผู้ออกเสียงรุ่นใหม่ และในปี ค.ศ. 2005 เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมในปี ค.ศ. 2005

ในการเลือกตั้งใหญ่ปี 2010 (2010 general election) ที่ได้จัดให้มีขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 พรรคอนุรักษ์นิยมได้ครองเสียงข้างมาก แต่ไม่เป็นเสียงชนะขาด (hung parliament) คาเมรอนได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 โดยเป็นรัฐบาลร่วมของพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย (Liberal Democrats) ด้วยวัย 43 ปี จัดเป็นนายกรัฐมนตรีที่หนุ่มที่สุด นับตั้งแต่ Earl of Liverpool ที่ได้เข้าสู่ตำแหน่งเมื่อ 198 ปีก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของคาเมรอนจัดเป็นรัฐบาลผสมแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

Thursday, February 3, 2011

รัฐบาลโอบาม่าเสนอให้มูบารัคออกทันที

White House, Egypt Discuss Plan for Mubarak’s Exit By HELENE COOPER and MARK LANDLER
Published: February 3, 2011

New York Times: WASHINGTON — รัฐบาลโอบาม่ากำลังปรึกษากับผู้บริหารระดับสูงของอียิปต์ โดยเสนอให้ประธานาธิบดีมูบารัคลาออกทันที และในระยะเปลี่ยนผ่าน ให้รองประธานาธิบดีโอมา สุไลมานทำหน้าที่โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายทหารและข้าราชการ ข่าวจากนักการฑูตจากประเทศอาหรับ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ผ่านมา

Wednesday, February 2, 2011

คุณแม่เสือ บทเรียนสาหัสจากการเป็นแม่ยุคใหม่

คุณแม่เสือ บทเรียนสาหัสจากการเป็นแม่ยุคใหม่

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

เก็บความและเรียบเรียงจาก Tiger Moms: Is Tough Parenting Really the Answer? รายงานโดย Annie Murphy Paul Time, Thursday, Jan. 20, 2011

ภาพ Amy Chua ผู้ประพันธ์ และเรียกตัวเองว่า "คุณแม่เสื่อ" (Tiger Mom)

บทเรียนจากคุณแม่ชั่ว (Amy Chua) ศาสตราจารย์ทางกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยเยลอันมีชื่อเสียง ที่ได้ทำหน้าที่เป็นมารดา และเรียกตัวเองว่า แม่เสือ (Tiger mother) บังคับให้ลูกสาววัย 7 ปี ชื่อ Lulu ให้ต้องฝึกปฏิบัติเล่นเปียโน วันละหลายชั่วโมง โดยไม่หยุดพักดื่มน้ำ หรือเข้าห้องน้ำ จนในที่สุด ลูลู่ (Lulu) สามารถเล่นเปียโนนั้นได้อย่างดี

สำหรับผู้อ่านอื่นๆ คุณแม่ชัว ได้เรียกลูกสาวอีกคนชื่อ โซเฟีย (Sophia) ว่า ขยะ (Garbage) หากลูกสาวได้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เคารพเชื่อฟัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ชัวเคยถูกพ่อที่เคร่งครัดเรียกเมื่อเป็นเด็ก

เมื่อลูกลูลู่ทำการ์ดแบบเด็กๆ มาให้คุณแม่ชัวในวันเกิด คุณแม่ก็พูดว่า ฉันไม่ต้องการมัน คุณแม่ชัวกล่าวต่อว่า ฉันควรได้สิ่งที่ดีกว่านี้ เพราะฉันได้ทำหน้าที่แม่อย่างหนัก แล้วก็ขว้างการ์ดวันเกิดนั้นใส่ลูกสาว ฉันไม่รับมัน เพราะฉันควรได้ดีกว่านี้

เริ่มต้นเรื่องก็ดูสยองแล้วสำหรับพ่อแม่หลายๆคนที่รักลูกและเลี้ยงลูกในแบบที่ให้ความรัก คุณแม่ชัวภูมิใจกับการเลี้ยงลูกในแบบจีนของเธอ และหนังสือเล่มนี้ได้วางขายเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2011 เป็นหนังสือแนะนำการเลี้ยงดูเด็ก ที่เป็นที่พูดกันทั้งตามสนามเด็กเล่น ร้านจ่ายของ และร้านกาแฟ หนังสือเล่มดังกล่าวได้มีการนำเสนอในนิตยสารชื่อดังด้านธุรกิจ คือ The Wall Street Journal ที่ว่า ทำไมคุณแม่แบบจีนจึงดีกว่า (Why Chinese Mothers Are Superior) งานที่ได้นำเสนอในแบบออนไลน์ มีคน Download ไปกว่าล้านครั้ง มีคนแสดงความคิดเห็นกลับมากว่า 7,000 ครั้ง เมื่อเธอออกรายการ Today Show ในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2011 Meredith Vieira ผู้ดำเนินรายการ ได้อ่านส่วนที่มีคนวิจารณ์คนหนึ่งออกอากาศ เธอเป็นนางยักษ์ วิธีการเลี้ยงลูกแบบนี้สุดโหด แล้วความรักอยู่ที่ไหน แล้วการยอมรับละ?”

ขัว คุณแม่ร่างเล็กวัย 48 ปี ที่ใส่เสื้อผ้าและกระโปรงสั้น ขนาดเดียวกับลูกสาววัย 15 และ 18 ตอบกลับไปว่า ขอตอบอย่างตรงๆว่า ดิฉันรู้ว่าวิธีการเลี้ยงลูกอย่างคนเอเชียนั้น เป็นเรื่องสร้างความตระหนกแก่พ่อแม่ในแบบตะวันออกมาก แต่ก็ลองย้อนดูว่าพ่อแม่แบบตะวันตกนั้น ได้ปล่อยให้ลูกเสียเวลาไปเท่าใดในแต่ละวัน ใช้เวลาไปกี่ชั่วโมงกับ Facebook และเกมส์คอมพิวเตอร์ และวิธีการเตรียมเด็กสำหรับอนาคตที่อ่อนด้อย เธอตอบกลับ Vieira ผู้ดำเนินรายการ โลกภายนอกนั้นมันโหดอยู่แล้ว

เพียงบทนำก็สร้างความสนใจแล้ว เราทุกคนเคยเป็นทั้งลูก และกำลังเป็นพ่อแม่ สำหรับผมแถมพิเศษที่มาเป็นครูอาจารย์ ทำงานการสอนคนอีกเป็นระยะเวลายาวนาน จึงขอเริ่มต้นเรื่องเอาเป็นบทเรียกน้ำย่อย แต่อยากให้ผู้อ่านได้หาเรื่องเต็มของเขามาอ่าน แล้วช่วยกันเล่าสู่กันฟัง และสำหรับผม จะใช้เวทีของ มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย (SpringBoard For Asia Foundation – SF4AF) ขอเชิญชวนคุณแม่และนักวิชาการด้านการศึกษาและเด็กทั้งหลาย ลองมาศึกษาประเด็นสำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ การเป็นพ่อแม่ที่ดี (Parental Education, Parenting) ไม่ใช่เพียงลูกๆเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้ พ่อแม่และผู้ปกครองทั้งหลายก็ต้องเรียนรู้ด้วยเช่นกัน