Wednesday, August 29, 2012

เมื่อจะโกหก ต้องโกหกให้ยิ่งใหญ่ - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์


เมื่อจะโกหก ต้องโกหกให้ยิ่งใหญ่ - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: การเมือง การปกครอง, Racism, การเหยียดผิว, ความเกลียดชังต่อชนกลุ่มน้อย, Jew, Nazi, Holocaust


อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)

Make the lie big, make it simple, keep saying it, and eventually they will believe it. - Adolf Hitler

เมื่อจะโกหก ต้องโกหกให้ยิ่งใหญ่ พูดด้วยภาษาง่ายๆ พูดมันบ่อยๆ แล้วในที่สุด คนก็จะเชื่อมันเอง - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เกิดเมื่อวันที่ 20  เมษายน ค.ศ. 1889 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 เป็นชาวเยอรมันเชื้อสายออสเตรีย เป็นนักการเมือง ผู้นำพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติของเยอรมนี (German: Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei - NSDAP) โดยทั่วไปเรียกว่า “นาซี” (Nazi Party) เขาเป็นผู้นำสูงสุดของเยอรมันในปี ค.ศ. 1933 ถึงปี ค.ศ. 1945 เขาเป็นผู้ก่อตั้งลัทธินาซี (Nazism) ที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นผู้รับผิดชอบต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในยุโรปที่เรียกว่า Holocaust

ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ซึ่งประมาณว่าก่อนกระบวนการสังหาร มีชาวยิวอยู่ 9 ล้านคนในยุโรป หลังการสังหารหมู่ ได้มีชาวยิวสูญหายไป 2 ใน 3 หรือ 6 ล้านคน 1 ล้านคนเป็นเด็ก 3 ล้านคนเป็นชาย และ 2 ล้านคนเป็นหญิง ทั้งหมดนี้ ชาวโลกรับรู้น้อยมาก จนกระทั่งภายหลังสงคราม เรื่องต่างๆจึงถูกเปิดเผย


ภาพ ในกระบวนการสังหารในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ค.ศ. 1944 ชาวยิวถูกส่งไปสิ่งที่เข้าใจว่าไปค่ายกักกันเชลย แต่ที่จริงคือส่งไปเข้าห้องรมแก๊สพิษสังหาร ในภาพชาวยิวจากฮังการี จาก Carpatho-Ruthenia เป็นอันมากมาจากสลัมคนยากจนที่เรียกว่า Berehov ghetto คนถ่ายภาพ คือ Ernst Hofmann หรือ Bernhard Walter ของหน่วย SS ภาพด้วยความอนุเคราะห์ของ Yad Vashem

เขตเก็บเงินค่าจราจรหนาแน่นกรุงลอนดอน (London Congestion Charge Zone - CCZ)


เขตเก็บเงินค่าจราจรหนาแน่นกรุงลอนดอน (London Congestion Charge Zone - CCZ)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: การเดินทาง, การขนส่ง, transportation, CCZ, กรุงลอนดอน, London,


ภาพ ช่องทางเดินรถที่มีสัญลักษณ์ตัว C บอกเตือนว่าได้เข้ามาในเขตจราจรหนาแน่นแล้ว และจะต้องจ่ายค่าใช้ถนน ซึ่งคิดวันละ 10 ปอนด์ หรือประมาณ 500 บาท

เขตเก็บเงินค่าการจราจรหนาแน่นในกรุงลอนดอน หรือ London Congestion Charge หรือเรียกย่อๆว่า CCZ ในเขตลอนดอนส่วนกลาง (Central London) ในช่วงเวลา 7:00  ถึง 18:00 น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 จัดเป็นเขตเก็บเงินค่าการจราจรหน้าแน่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถึงแม้จะมีการยกเว้นเขตตะวันตก ซึ่งได้เริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 และเลิกไปในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 จุดมุ่งหมายของการจัดเก็บเพื่อลดความแออัด และเพิ่มรายได้ให้กับกรุงลอนดอนเพื่อใช้ในระบบขนส่ง

การจัดเก็บจะคิดที่วันละ £10 หรือประมาณ 500 บาท/วัน สำหรับรถที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้น และสำหรับรถที่ฝ่าฝืนไม่จ่าย ก็จะต้องเสียค่าปรับระหว่าง £60 and £187 (3,000-9350 บาท) การบังคับใช้นั้นอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “การจำตัวเลขบนป้ายทะเบียนรถ (Automatic Number Plate Recognition - ANPR) โดยหน่วยงานชื่อ Transport for London(TfL) ซึ่งได้ใช้บริการเทคโนโลยีของบริษัท IBM ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศิจายน ค.ศ. 2009


ภาพ แผนที่ของกรุงลอนดอนที่กำหนดเป็น London Congestion Charge Zone คือเก็บเงินค่าจราจรหนาแน่น หากใครขับเข้าในเขตดังกล่าวในเวลาเร่งด่วนที่เขากำหนด ก็ต้องจ่ายค่าผ่านทาง


ภาพ ป้ายข้างทางที่บอกถึงที่หมดเขตการจราจรหนาแน่น หรือ London Congestion Charging Zone

เขตที่กำหนดให้เป็นเขตจราจรหนาแน่น มีการเก็บค่าเข้าสู่บริเวณดังกล่าวนั้น จะเป็นที่เขาเรียกว่า London Inner Ring Road ซึ่งรวมถึงตัวเมืองลอนดอน (City of London) ซึ่งเป็นเขตศูนย์กลางตลาดการเงิน การค้า และบันเทิง แต่แม้จะเป็นเขตพาณิชย์ แต่ก็มีผู้อาศัยอยู่ประมาณ 136,000 คน จากประชากรของมหานครลอนดอน ที่เรียกว่า Greater London ซึ่งมีคนอยู่กว่า 7,000,000 คน ซึ่งในเขต London CCZ นี้ มีอุตสาหกรรมหนักไม่มากนัก

Tuesday, August 28, 2012

รถยนต์ไฟฟ้า Mia Electric (EV) น่าสนใจที่แนวคิดการออกแบบ



รถยนต์ไฟฟ้า Mia Electric (EV) น่าสนใจที่แนวคิดการออกแบบ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: การคมนาคม, electric car, ev, รถยนต์ไฟฟ้า,
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Mia Electric ความน่าสนใจอยู่ที่การออกแบบ ที่ไม่เหมือนกับรถยนต์ทั่วไป

รถยนต์ไฟฟ้า Mia Electric (EV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าออกแบบมาเพื่อให้ใช้ในเมือง ผลิตโดยบริษัท Franco-German company มีฐานการผลิตที่เมือง Cerizay, ในประเทศฝรั่งเศส (France) รถยนต์ไฟฟ้า Mia รุ่นมาตรฐานใช้มอเตอร์ขนาด 9.7 kW (13 แรงม้า) โดยใช้พลังจากแบตเตอรี่แบบ lithium iron phosphate (LiFePO4 or LFP) ขนาด 8 kWh ผลิตโดยบริษัท EVida สามารถวิ่งได้ 130 กม.ด้วยการชาร์ตไฟเพียงครั้งเดียว โดยมีความเร็วสูงสุดที่ 100 กม./ชั่วโมง

Mia Electric ได้เริ่มมีการผลิตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 โดยมีการขายอย่างจำกัดแก่ลูกค้าที่ซื้อใช้ในกิจการของตนในฝรั่งเศสและเยอรมัน การขายแก่ประชาชนทั่วไปจะเริ่มในปี ค.ศ. 2012 การขายในสหราชอาณาจักรเริ่มในต้นปี ค.ศ. 2012

แนวคิดการผลิตของ Mia Electric คือ คนต้องการใช้ยานพาหนะเพื่ออะไรในเขตเมือง?

คำตอบในการผลิตก็คือ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าที่จะใช้ในเมือง เป็นแบบง่ายๆ เบา และไม่ซับซ้อน ไม่ใช่ใหญ่ที่สุด มากที่สุดจะดีที่สุด โดยละทิ้งแนวทางการผลิตรถยนต์อย่างที่เคยมา Mia Electric จะมีพื้นที่ภายในที่กว้างขวางสำหรับรถขนาดเล็ก ประตูเป็นแบบเลื่อน เพื่อให้ใช้ได้สะดวกในเมืองที่มีพื้นที่คับแคบ ส่วนที่นั่งคนขับด้านหน้าจะเป็นแบบวางตรงกลาง สามารถขึ้นหรือลงรถได้สะดวก แม้ 2 ประตูจะอยู่คล้อยไปทางหลัง

รถยนต์ไฟฟ้า Mia electric
ผู้ผลิต
Manufacturer
Mia Electric
การผลิต
Production
June 2011–present
การประกอบ
Assembly
Cerizay, France
มอเตอร์ไฟฟ้า
Electric motor
9.7 kW (13 hp)
แบบแบตเตอรี่
Battery
ระยะทางวิ่ง
Electric Range
130 กม. (81 mi)


ภาพ ที่นั่งของคนขับอยู่แถวหน้า มีอยู่ที่นั่งเดียว วางตำแหน่งไว้ตรงกลาง คล้ายคนขับรถตุ๊กตุ๊ก (Tuk Tuk, Motor Tricycle) ช่องว่างด้านข้าง ทำให้คนขับจะเข้าหรือออกได้สะดวก โดยผ่านทางประตูด้านข้างที่อยู่คล้อยไปทางหลัง



ภาพ ลักษณะรถยนต์ไฟฟ้า Mia Electric ออกแบบมาเป็นเหมือนก้อนขนมปัง เน้นประโยชน์ใช้สอย จุผู้โดยสารได้ 4 คน รวมคนขับได้อย่างสบายๆ เน้นการขับและใช้ประโยชน์ในเมือง ประตูเป็นแบบเลื่อน ทำให้ไม่เปลืองที่เวลาจอด คำตัวรถก็ไม่ยาว ทำให้หาที่จอดได้ไม่ยาก ที่สำคัญเขาเปิดเป็นช่องว่างด้านบน และด้านล่าง ทำให้เวลาคนจะขึ้นหรือลง ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ไม่ต้องคุ้มตัวลงมามากนัก

ภาพ ที่นั้ง 3 ที่ตอนหลัง ออกแบบมาให้วางในตำแหน่งที่เหยียดขาไปด้านหน้าได้สะดวก มีช่องว่างให้ขา ไม่ต้องงอเข่าให้เมื่อย มีผลดีต่อสรีระของชาวยุโรปที่ตัวใหญ่ เมื่อร่วมกับที่นั่งคนขับด้านหน้า ทำให้นั่งได้ 4 คนสบายๆ
ภาพ อีกรูปแบบหนึ่งของการวางตำแหน่ง 2 ที่นั่งหลัง ที่เยื่องเพียงเล็กน้อยไปด้านหลัง แต่มีที่วางขาที่กว้างขวาง เพราะเหยียดมาด้านหน้าได้ ไปทางข้างๆของคนขัย

Sunday, August 26, 2012

นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 82 ปี


นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 82 ปี

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: History, USA, space program, ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกา, Astronaut, การบินอวกาศ, Neil Armstrong, risk taking, ความเสี่ยง,


ภาพ นีล อัลเดน อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong)

CNN: 26 สิงหาคม 2555 ข่าวด่วน นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) นักบินอวกาศอเมริกัน มนุษย์คนแรกที่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์ ได้เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 82 ปี

 “เราเสียใจอย่างสุดซึ้งที่จะแจ้งให้ทราบว่า นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) ได้ถึงแก่กรรมอันเป็นผลซับซ้อนจากกระบวนการผ่าตัดหัวใจ” ครอบครัวอาร์มสตรองได้แถลงข่าว

นีล อาร์มสตรองได้เข้ารับการผ่าตัดหัวใจในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 นี้

 “ในขณะที่เราเศร้าสลดเสียใจในการจากไปของคนดีมากอย่างเขา เราก็ฉลองชีวิตที่น่าทึ่งของเขา และหวังว่า การที่เขาได้รับใช้มวลมนุษย์ จะเป็นตัวอย่างแรงจูงใจแก่คนหนุ่มสาวทั่วโลก ในการทำงานหนัก เพื่อให้ความฝันนั้นเป็นความจริง ด้วยการก้าวเข้าสู่การสำรวจที่ไปจนสุดขอบของมนุษย์ อย่างเสียสละ เพื่อรับใช้สิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าชีวิตของตนเอง” ครอบครัวของอาร์มสตรองแถลงข่าว


ภาพ นีล อาร์มสตรอง ขณะถ่ายภาพร่วมกับประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าแห่งสหรัฐ ณ ห้องทำงานทำเนียบขาว ที่ทำการประธานาธิบดี ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ในปี ค.ศ. 2009

นีล อัลเดน อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1930 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 เขาเป็นมนุษย์อวกาศชาวอเมริกัน (American astronaut), นักบินทดสอบ (Test pilot), วิศวกรยานอวกาศ (Aerospace engineer) เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย (University professor) และเป็นนักบินแห่งกองทัพเรือสหรัฐ (United States Naval Aviator)

เขาเป็นมนุษย์คนแรกที่ลงเดินเหยียบดวงจันทร์ ก่อนที่เขาจะเป็นนักบินอวกาศ (Astronaut) อาร์มสตรองเคยเป็นนายทหารของกองทัพเรือสหรัฐ เคยรบในสงครามเกาหลี หลังสงคราม เขาได้ทำหน้าที่นักบินทดสอบเกี่ยวกับยานบินความเร็วสูง (National Advisory Committee for Aeronautics High-Speed Flight Station) ในปัจจุบันหน่วยงานนี้ รู้จักในนาม Dryden Flight Research Center ที่ซึ่งเขาได้ทำการบินกว่า 900 เที่ยว เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเปอดูว์ (Purdue University) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้ (University of Southern California) ในสหรัฐอเมริกา

อาร์มสตรองเข้าร่วมในกิจการกองทัพอากาศสหรัฐ ในโครงการ “มนุษย์สู่อวกาศเร่งด่วน” (Man In Space Soonest) โครงการ X-20 Dyna-Soar อันเป็นโครงการนำมนุษย์เข้าสู่การเดินทางในอวกาศ (human space flight) ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นการทดลองส่งสัตว์ทดลองขึ้นไปบินโคจรเหนือโลก


ภาพ ลูกเรือที่เดินทางไปกับยานอวกาศ Apollo 11 จากซ้ายไปขวา นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) และ บัส อัลดริน (Buzz Aldrin)

อาร์มสตรองทำการบินในอวกาศ 2 เที่ยว เที่ยวที่สองเป็นการเดินทางไปกับทีมนักบินอวกาศรวม 3 คน โดยยานอวกาศชื่อ Apollo 11 ซึ่งส่งยานไปลงจอดบนผิวดวงจันทร์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1969 ในการเดินทางไปครั้งนี้ อาร์มสตรองเดินทางไปกับบัส แอลดริน (Buzz Aldrin) ซึ่งทั้งสองลงสำรวจดวงจันทร์เป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง ในขณะที่ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) ยังคงทำหน้าที่ควบคุมอยู่ในยานหลัก (Command Module) อาร์มสตรอง พร้อมกับ บัส แอลดริน และ ไมเคิล คอลลินส์ได้รับเหรียญเชิดชู Presidential Medal of Freedom จากประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) อาร์มสตรองได้รับเหรียญเชิดชู Congressional Space Medal of Honor จากประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ (Jimmy Carter) ในปี ค.ศ. 1978 และเหรียญ Congressional Gold Medal ในปี ค.ศ. 2009

ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 อาร์มสตรองได้เสียชีวิตที่เมืองซินซินนาติ รัฐโอไฮโอ (Cincinnati, Ohio) ด้วยวัย 82 ปี ด้วยความซับซ้อนของโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน

It suddenly struck me that that tiny pea, pretty and blue, was the Earth. I put up my thumb and shut one eye, and my thumb blotted out the planet Earth. I didn't feel like a giant. I felt very, very small.

ในทันใดนั้น ผมก็เห็นเม็ดถั่วเล็กๆ สวยงามและเป็นสีฟ้า มันคือโลกของเรา ผมเอาหัวแม่มือบังและมองด้วยเพียงตาเดียว หัวแม่มือของผมปิดบังดาวโลกจนมิด ผมไม่ได้รู้สึกเหมือนเป็นยักใหญ่ แต่ผมกลับรู้สึกตัวเล็กมากๆ

นีล อาร์มสรอง (Neil Armstrong) มนุษย์อวกาศผู้เหยียบผิดดวงจันทร์เป็นคนแรก

Thursday, August 23, 2012

อามิเลีย เอียฮาร์ท (Amelia Earhart) เป็นมากกว่าผู้บุกเบิกการบิน


อามิเลีย เอียฮาร์ท (Amelia Earhart) เป็นมากกว่าผู้บุกเบิกการบิน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: History, USA, women’s right, aviation, อามิเลีย เอียฮาร์ท (Amelia Earhart), ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกา, สิทธิสตรี, การบิน, risk taking, ความเสี่ยง,


ภาพ อามิเลีย เอียฮาร์ท (Amelia Earhart)

The most difficult thing is the decision to act, the rest is merely tenacity. The fears are paper tigers. You can do anything you decide to do. You can act to change and control your life; and the procedure , the process is its own reward.

สิ่งที่ยากที่สุดคือการตัดสินใจที่จะทำ ที่เหลือเป็นเพียงการยืนหยัด ความกลัวเป็นดังเสือกระดาษ ท่านสามารถทำอะไรก็ได้ที่ท่านตัดสินใจที่จะทำ ท่านสามารถกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงและควบคุมชีวิตของตนเอง และในกระบวนการทำเช่นนั้น นั่นแหละคือรางวัลในตัวของมันเอง

อามิเลีย เอียฮาร์ท (Amelia Earhart)

อามิเลีย แมรี่ เอียฮาร์ท (Amelia Mary Earhart) เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1897 และสูญหายไปในปี ค.ศ. 1937 เธอเป็นนักบินบุกเบิกและนักเขียนชาวอเมริกัน เอียฮาร์ทเป็นนักบินหญิงคนแรกที่บินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เธอได้รับเหรียญเกียรติยศ Distinguished Flying Cross ในฐานะผู้บุกเบิกด้านการบิน เธอได้ทำสถิติหลายรายการ เธอได้เข้าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย Purdue University ในภาควิชาด้านการบินในปี ค.ศ. 1935 และเป็นที่ปรึกษาแก่สตรีด้านการอาชีพ และช่วยจูงใจด้านการอาชีพแก่สตรี ด้วยความรักในการบินของเธอ 

เธอเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อสตรีแห่งชาติ (The National Woman's Party) และก่อนหน้านี้ได้เป็นผู้สนับสนุนการแก้กฎหมายเพื่อสิทธิที่เท่าเทียม (Equal Rights Amendment


ภาพ อามิเลีย เอียฮาร์ท ในชุดนักบิน

ในความพยายามบินเพื่อสำรวจเส้นทางรอบโลก (circumnavigational flight) ในปี ค.ศ. 1937 ด้วยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย Purdue โดยใช้เครื่องบินรุ่น Lockheed Model 10 Electra อามิเลียได้สูญหายไปมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้เกาะฮาวแลนด์  (Howland Island) ด้วยความประทับใจในชีวิต การทำงาน และการสูญหายไปในทะเลของเธอ ยังเป็นเรื่องที่กล่าวขวัญถึง แม้ในทุกวันนี้

Tuesday, August 21, 2012

สุภาษิตเยอรมัน – มีสุนัขสักตัวมีอายุยืนยาวกว่ารั้ว 3 เท่า


สุภาษิตเยอรมัน – มีสุนัขสักตัวมีอายุยืนยาวกว่ารั้ว 3 เท่า

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สุภาษิต, เยอรมัน, Safety, security, honesty, ความปลอดภัย, ความมั่นคง, ความซื่อสัตย์

สุภาษิตเยอรมันบทหนึ่งกล่าวว่า “A fence lasts three years, a dog lasts three fences, a horse lasts three dogs, and a man lasts three horses.” แปลเป็นไทยได้ความว่า “รั้วมีอายุยืน 3 ปี; สุนัขสักตัวมีอายุยืนยาวกว่ารั้ว 3 เท่า; ม้าสักตัวมีอายุยืนยาวกว่าสุนัข 3 ตัว; และคนสักคน มีอายุยืนยาวกว่าม้า 3 เท่า
รั้วเป็นสัญลักษณ์ของความปลอดภัยในบ้านเรือน แต่รั้วเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต

แต่เพื่อความปลอดภัยนั้น ต่อให้สร้างรั้วสูง แต่ขโมยก็ปีนข้ามรั้วได้ เมื่อเขาต้องการเข้ามาขโมยของ แต่มีหมา 1 ตัว มันจะเห่าส่งเสียงให้ขโมยไม่กล้าเข้า หรือเข้ามาแล้วก็ต้องรีบหนีออกไป เพราะหมาจะส่งเสียงทำให้เจ้าของบ้านตื่น นอกจากนี้ มีสุนัขที่ซื่อสัตย์รู้หน้าที่ เรายังให้มันติดตามตัวเราไปได้ในทุกที่ คอยทำหน้าที่ของมันโดยไม่จำกัดด้วยพื้นที่

แต่มีหมาสัก 3 ตัวก็ไม่เท่ากับคนที่มีม้า 1 ตัว เพราะม้าทำให้เจ้าของสามารถเดินทางติดต่อกับคนอื่นๆได้ คนที่มีเพื่อนบ้าน หรือญาติพี่น้อง แม้อยู่ห่างไกลออกไป แต่หากมีม้า ก็ยังขอความช่วยเหลือกันได้

แต่หากมีม้า 3 ตัว ก็ไม่เท่ามีคนที่เป็นเพื่อนแท้ 1 คน มี 1 คนที่เป็นคู่ชีวิต เป็นสามีหรือภรรยา ที่จะอยู่กินกันไป ช่วยเหลือพึงพากันไปจนแก่เฒ่า หรือมีลูกสักคน ที่เขาจะดูแลเราไปยามเราแก่เฒ่า ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ นั่นย่อมมีคุณค่ากว่าสิ่งใดๆทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้ว

Monday, August 20, 2012

21 สิงหาคม ค.ศ. 1959 ฮาวายได้เป็นรัฐที่ 50 ของสหรัฐ

21 สิงหาคม ค.ศ. 1959 ฮาวายได้เป็นรัฐที่ 50 ของสหรัฐ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: Hawaii, USA, Pearl Harbor, การเมือง, การปกครอง, ประวัติศาสตร์, สหรัฐอเมริกา, ฮาวาย, ฮอโนลูลู, Honolulu

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Aug 21, 1959: Hawaii becomes 50th state.” จาก History.com


ภาพ ธงประจำรัฐฮาวาย (Hawaii State Flag)

วันนี้ในอดีต 21 สิงหาคม ค.ศ. 1959 ในสมัยประธานาธิบดีไอเซนเฮาว์ (Dwight D. Eisenhower) ฮาวายได้กลายเป็นรัฐที่ 50 ของอเมริกา เมื่อประธานาธิบดีผู้นำประเทศได้ลงนามประกาศให้ฮาวายเป็นรัฐหนึ่งของประเทศ มีการเพิ่มดาวอีกหนึ่งดวงในธงชาติของสหรัฐ โดยมีแนวเป็น 6 แถวๆละ 5 ดวง ธงชาติสหรัฐได้มีการเปลี่ยนใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 อันเป็นวันชาติของสหรัฐ
ชนพื้นเมืองของฮาวายเป็นพวกนักเดินทางชาวโปลินิเชียน (Polynesian voyagers) ที่ได้เข้ามาอยู่ในเกาะฮาวายในศตวรรษที่ 8 ในช่วงศตวรรษที่ 18 พ่อค้าอเมริกันได้เข้ามาที่เกาะฮาวาย เพื่อแสวงหาไม้จันทร์ (Sandalwood) ซึ่งเป็นไม้ที่มีค่าในประเทศจีนในขณะนั้น ในทศวรรษที่ 1830s ได้มีการนำอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมาสู่ฮาวาย เมื่อมีคนอเมริกันมาอยู่ที่เกาะมากขึ้น มีพวกนักบวชในคริสต์ศาสนา พวกทำพืชไร่ขนาดใหญ่ ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และศาสนา ในปี ค.ศ. 1840 ได้มีการสถาปนาประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข และถอดกษัตริย์ออกจากอำนาจในแบบเดิม


ภาพ พระราชินีลิลิอัวคาลานี (Queen Liliuokalani

ในปี ค.ศ. 1893 ชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่ง และพวกเจ้าของไร่ โดยการสนับสนุนของนาวิกโยธินสหรัฐ ได้ปลดพระราชินีลิลิอัวคาลานี (Queen Liliuokalani) ออกจากตำแหน่ง และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของเกาะ หนึ่งปีต่อมา ฮาวายได้กลายเป็นสาธารณรัฐภายใต้การดูแลของสหรัฐ โดยมีคนเกิดในฮาวาย ชื่อแซนฟอร์ด บี โดล (Sandford B. Dole) เป็นประธานาธิบดีคนแรก แต่ในขณะนั้นมีวุฒิสมาชิกของสหรัฐหลายคนไม่เห็นด้วยที่จะให้ผนวกฮาวายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1898 หลังจาที่สหรัฐได้มีการจัดตั้งฐานทัพเรือที่อ่าวไข่มุก (Pearl Harbor) ในยุคทำสงครามกับสเปน (Spanish-American War) และฮาวายได้กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการขยายอิทธิพลของสหรัฐไปทั่วโลก และในที่สุดเป็นที่แน่ชัดว่าจำเป็นที่สหรัฐจะต้องผนวกฮาวายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ หลังจากนั้นสองปี ก็ได้มีการผนวกฮาวายเป็นเขตการปกครองของสหรัฐ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ฐานทัพสหรัฐที่อ่าวไข่มุก (Pearl Harbor) ได้ถูกโจมตีโดยกองทัพญี่ปุ่น โดยหวังให้ทัพเรือของสหรัฐเป็นอัมพาต ไม่มีกำลังที่จะทำสงครามในภาคพื้นแปซิฟิก อันเป็นอิทธิพลของญี่ปุ่น


ภาพ แซนฟอร์ด บี โดล (Sandford B. Dole)  ประธานาธิบดีคนแรก ในยุคฮาวายเป็นสาธารณัฐ (Republic)ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1959 รัฐบาลสหรัฐได้รับรองฮาวายเข้าเป็นอีกหนึ่งรัฐของสหรัฐ และในเดือนมิถุนายน ชาวฮาวายได้ลงมิติด้วยเสียงข้างมาก ยอมรับการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และในอีกสองเดือนต่อมา ฮาวายก็ได้เข้าเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และจัดเป็นรัฐอันดับที่ 50

ข้อมูลพื้นฐานของรัฐฮาวาย (Hawaii State)

ข้อมูลพื้นฐานจาก Wikipedia เกี่ยวกับรัฐฮาวาย

ภาษาทางการ
Official language(s)
อังกฤษ และ ฮาวาย
English, Hawaiian
การเรียกคน
Demonym
ชาวฮาวาย
Hawaiian
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด
Capital
(and largest city)
ฮอโนลูลู
Honolulu
พื้นที่
Area 
ใหญ่เป็นอันดับที่ 43 ของสหรัฐ
Ranked 43rd in the U.S.
 - พื้นที่ทั้งหมด
Total
10,931 sq mi
(28,311 km2)
 - ความยาว
Length
1,522 miles (2,450 km)
 - % water
41.2
ประชากร
Population 
 - ทั้งหมด
Total
1,374,810 (2011 est)[2]
 - ความหนาแน่น
Density
214/sq mi  (82.6/km2)
Ranked 13th in the U.S.
 - รายได้เฉลี่ยประชากร
Median household income 
$63,746 (5th)
 - ระดับที่สูงสุด
Highest point
Mauna Kea[3][4][5][6]
13,796 ft (4205.0 m)
ก่อนเป็นรัฐของสหรัฐ
Before statehood
เป็นเขตปกครองฮาวาย
Territory of Hawaii
รับเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐ
Admission to Union 
21 สิงหาคม ค.ศ. 1959
August 21, 1959 (50th)

ฮาวาย (Hawaii) มีทิวทัศน์ที่หลากหลาย มีสภาพอากาศแบบเขตร้อน (Warm tropical climate) มีชายหาดสาธารณะที่สวยงาม มีวิวของมหาสมุทรที่กว้างขวาง มีภูเขาไฟที่ยังครุกรุ่นอยู่ นับเป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยว (Tourists), นักเล่นกระดานโต้คลื่น (Surfers), นักศึกษาด้านชีววิทยา (Biologists), และนักศึกษาด้านภูเขาไฟ (Volcanologists)

ลักษณะภูมิศาสตร์ของรัฐ เป็นทิวเกาะฮาวาย ที่เต็มไปด้วยภูเขาไฟ (Hawaiian Island chain) ซึ่งมีเกาะอยู่หลายร้อยเกาะไปตามแนวยาว 2,400 กิโลเมตร ในด้านตะวันออกเฉียงใต้ มีเกาะสำคัญ 8 เกาะ ที่เรียกว่า “เกาะหลัก” (Main islands) อันได้แก่ Niʻihau, Kauaʻi,Oʻahu, Molokaʻi, Lānaʻi, Kahoʻolawe, Maui, และเกาะ island of Hawaiʻi และเกาะสุดท้าย คือเกาะฮาวายนี้ จัดเป็นเกาะใหญ่สุดที่คนมักเรียกว่า “เกาะใหญ่” (The Big Island) ซึ่งต้องไม่สับสนกับรัฐฮาวาย

หมู่เกาะ (Archipelago) เหล่านี้ ในทางกายภาพ และทางชาติพันธุ์ นับเป็นส่วนหนึ่งของอนุภูมิภาคโปลินิเชียและโอเชียเนีย (Polynesian subregion of Oceania)

สำหรับนักท่องเที่ยว และผู้ต้องการศึกษาธรรมชาติภูมิอากาศเขตร้อน จะเดินทางไปฮาวายจากไทย ระยะทางบินจากกรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยบินไปทางตะวันออกสู่เกาะฮาวาย 10,673 กิโลเมตร


ภาพ ลักษณะรูปร่างและน่าตาของชายชาวฮาวายในปัจจุบัน

ภาพ การแต่งกายของขาวฮาวาย ที่ออกมาในลักษณะแฟชั่นใหม่

หากจะเดินทางจากสหรัฐอเมริกาทางตะวันตกสุด เมืองลอสแองเจลิส (Los Angeles) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ไปทางตะวันตกไปยังเมืองฮอโนลูลู รัฐฮาวาย (Honolulu, Hawaii) จะมีระยะทางบิน 4,106 กิโลเมตร

มารู้จักผู้พันแซนเดอร์ (Colonel Sanders) ผู้ให้กำเนิด KFC

มารู้จักผู้พันแซนเดอร์ (Colonel Sanders) ผู้ให้กำเนิด KFC


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: Restaurant, food, fast food, franchise, ภัตตาคาร, ร้านอาหาร, อาหารจานด่วน, KFC, Kentucky Fried Chicken, ผู้พันแซนเดอร์, Colonel Sanders

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


ภาพ Harland David Sanders  เมื่อวัย 80 ปี ความสำเร็จเริ่มต้นเมื่อวัย 65 ปี

ผู้พันแซนเดอร์
Colonel Sanders
เกิด
Born
Harland David Sanders
September 9, 1890
Henryville, Indiana, U.S.
เสียชีวิต
Died
December 16, 1980 (aged 90)
Louisville, Kentucky, U.S.
สาเหตุของการเสียชีวิต
Cause of death
ปอดบวม
Pneumonia
เชื้อชาติ
Nationality
อเมริกัน
American
การศึกษา
Education
ออกจากโรงเรียนกลางครัน
School dropout[1]
การอาชีพ
Occupation
ผู้ประกอบการ
Entrepreneur
คณะกรรมการ
Board member of
ศาสนา
Religion
Spouse
Josephine King (divorced)
Claudia Price
บุตรธิดา
Children
Harland David Sanders, Jr.
Margaret Sanders
Mildred Sanders Ruggles
พ่อแม่
Parents
พ่อ - Wilbur David Sanders
แม่ - Margaret Ann Sanders (née Dunlevy)

ผู้พัน ฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอร์ส ("Colonel" Harland David Sanders) เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1890 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1980 เป็นนักการภัตตาคารชาวอเมริกัน (American restaurateur) ผู้ก่อตั้ง “ไก่ทอดเคนตั๊กกี้” หรือ Kentucky Fried Chicken (KFC) อันเป็นเครือข่ายร้านอาหารจานด่วนที่มีชื่อเสียงของอเมริกัน เป็นร้านที่มีเครือข่าย 17,000 แห่งทั่วโลก นับเป็นเครือข่ายร้านอาหารที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากแมคโดนัลด์

ผู้พันแซนเดอร์ส มีรูปแบบการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของเขาอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นผู้ทุ่มเทให้กับการบริการอาหารจานด่วน (Fast Food) ภาพของเขาติดอยู่ในทุกกล่องบรรจุอาหารจนทุกวันนี้ โดยรูปหน้าของเขา ยังเป็นสัญลักษณ์ของบริษัท KFC จนในปัจจุบัน

มีคนสงสัยว่า นายฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอร์ส (Harland David Sanders) ไม่ได้รับราชการทหารนานพอที่จะเป็นนายพัน แล้วเขาถูกเรียกว่า “ผู้พันแซนเดอร์ส” (Colonel Sanders) ได้อย่างไร

Colonel แปลได้ว่า พันเอก, ผู้พัน, นายพัน, หรือ พ.อ. Colonel เป็นตำแหน่งยศของกองทัพบกที่คนทั่วไปรับรู้กัน

คำตอบคือ แซนเดอร์สได้รับตำแหน่ง “ผู้พันแซนเดอร์ส” จริง และเขามีสิทธิเรียกตัวเอง หรือคนอื่นเรียกเขาว่า “ผู้พัน” (Colonel) ได้อย่างถูกต้องในรัฐเคนตั๊กกี้

Kentucky colonel เป็นตำแหน่งเกียรติยศสูงสุด (Title of honor) ที่ “จักรภพเคนตักกี้” (Commonwealth of Kentucky) ซึ่งเป็นชื่อรัฐเคนตั๊กกี้ในช่วงเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ผู้ว่าการรัฐ (Governor) และรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ (Secretary of State) มอบให้แก่บุคคลเพื่อแสดงความให้เกียรติที่ได้ประสบความสำเร็จ และมีผลงานให้บริการชุมชน รัฐ หรือประเทศชาติ โดยผู้ว่าการรัฐ (Governor of the Commonwealth of Kentucky) จะเป็นผู้ให้ตำแหน่ง “ผู้พัน” โดยมอบจดหมายสิทธิบัตร (letters patent) ให้

นายแซนเดอร์สได้รับเกียรติตำแหน่ง ผู้พันแห่งเคนตั๊กกี้ (Kentucky Colonel) ในปี ค.ศ. 1935 โดยผู้มอบให้คือผู้ว่าการรัฐ รูบี้ แรฟฟูน (Governor Ruby Laffoon) ในฐานะผู้ทำประโยชน์แก่รัฐเคนตั๊กกี้ ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการร้านอาหารขนาด 140 ที่นั่งในโรงแรมสำหรับคนเดินทางแห่งหนึ่งในรัฐเคนตั๊กกี้ ซึ่งปัจจุบัน ได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ร้านกาแฟฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส (Harland Sanders Café and Museum) ณ ที่นี้ เขาใช้เวลา 9 ปี พัฒนาสูตรลับ (Secret recipe) ในการทำไก่ทอด โดยสูตรการผลิตของเขาใช้หม้อทอดแบบใช้แรงดัน (Pressure fryer) ที่ทำให้ทอดไก่ได้เร็วกว่าทอดด้วยกระทะทอดธรรมดา (Pan frying) ไก่ทอดของเขาในยุคนั้นนอกจากจะมีสูตรการใช้สมุนไพรที่มีลักษณะเฉพาะ เขาเน้นการทอดที่ไก่สุกทั่วทั้งชิ้น และเนื้อข้างในนุ่มและชุ่ม ไม่แห้งหรือแข็งกระด้าง

ผู้พันแซนเดอร์สได้ก่อตั้งมูลนิธิ ซึ่งในช่วงหลัง เขาได้ทำการกุศลและให้การสนับสนุนทุนการศึกษามากกว่าปีละ 1 ล้านเหรียญทุกปี

ชีวิตในช่วงเริ่มต้นและการอาชีพ
Early life and career


ภาพ ฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส (Harland Sanders) เมื่ออายุได้ 20 ปี

แซนเดอร์สเกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1890 ในครอบครัวยากจน ในกระท่อมแห่งหนึ่งใกล้ถนนชนบทห่าง 3 ไมล์ไปทางตะวันออกของเมือง Henryville, รัฐอินเดียน่า (Indiana) เขาเป็นบุตรคนโตของพี่น้อง 3 คน โดยมีน้องชายชื่อ David และน้องสาวชื่อ Margaret Ann Sanders.

พ่อของเขามีอาชีพเป็นชาวนา แต่ประสบอุบติเหตุหลังหัก และต้องเลิกอาชีพ และหันมาทำงานเป็นพ่อค้าเนื้อในเมือง Henryville ในบ่ายวันหนึ่งในฤดูร้อนปี ค.ศ.1895 เขากลับมาบ้านพร้อมกับเป็นไข้ มานอนพัก แล้วก็เสียชีวิต แม่ของเขาต้องไปทำงานในโรงงานมะเขือเทศกระป๋อง ปล่อยให้เขาต้องหุงหาอาหารเลี้ยงน้อง เขาต้องลาออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุได้ 12 ปี เมื่อแม่เขาแต่งงานใหม่ พ่อเลี้ยงของเขาทำร้ายเขาเป็นประจำ ดังนั้นเขาจึงออกจากบ้านไปอาศัยอยู่กับลุมในเมืองอัลบานี (Albany)

เพื่อให้มีงานทำ เขาปลอมหลักฐานการเกิดเพื่อให้ได้เข้าไปทำงานเป็นทหารตั้งแต่อายุได้ 15 ปี เขาได้รับเกณฑ์ทหารแล้วไปทำงานดูแลฬ่อที่ใช้ในกิจการทหารในคิวบา เมื่อเขาถูกปลดประจำการ หลังจากนั้น 4 เดือน เขาได้เดินทางไปยังเมือง Sheffield, รัฐ Alabama ที่ซึ่งเขาพักอยู่กับลุง น้องชายของเขา Clarence ก็ไปพักอยู่ที่นั่น เพื่อหลีกหนีจากพ่อเลี้ยง ในช่วงวัยเด็ก แซนเดอร์สทำหลายงาน เคยเป็นทั้งคนขับเรือกลไฟ พนักงานขายประกัน งานรถไฟ พนักงานดับเพลิง และเป็นชาวนา

ฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส แต่งงานกับโจเซฟีน คิง (Josephine King) ในปี ค.ศ. 1908 และหวังจะเริ่มชีวิตครอบครัว แต่เขาก็ถูกเจ้านายไล่ออกจากงานฐานกระด้างกระเดื่องที่เดินทางไปนอกคำสั่ง ภรรยาของเขาเลิกเขียนจดหมายติดต่อเขา และเขามาพบภายหลังว่าเธอได้ทิ้งเขาแล้ว และได้ยกเครื่องเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับบ้านให้กับผู้คนต่างๆไป แล้วเธอก็หอบลูกกลับไปอยู่กับครอบครัวพ่อแม่ น้องชายของภรรยาเขียนจดหมายมาบอกแซนเดอร์สว่า “เธอไม่มีกิจอันใดที่จะแต่งงานกับคนไม่ดีอย่างคุณ ที่ไม่มีงานทำ” แซนเดอร์สมีบุตรชายหนึ่งคนชื่อฮาร์แลนด์ (Harland, Jr) เช่นกัน ซึ่งได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก แซนเดอร์สได้กลับมาคืนดีกับภรรยา และเขาก็มีบุตรสาวกับอีก 2 คน ชื่อ Margaret Sanders และ Mildred Sanders Ruggles

ในปี ค.ศ. 1930 อันเป็นช่วงที่เศรษฐกิจทั้งประเทศตกต่ำ แซนเดอร์สเปิดปั้มน้ำมันที่เมืองคอร์บิน ในรัฐเคนตั๊กกี้ (Corbin, Kentucky) ที่นี่เขาได้ทำไก่ทอดขาย และมีอาหารจานอื่นๆ เช่น มีแฮมแบบพื้นบ้าน (country ham)  และมีสเต๊ก (steaks) ไว้บริการ เขาทำเป็นภัตตาคารเล็กๆไว้บริการลูกค้า และที่นี่ก็เป็นที่พักของเขาไปด้วย แต่ที่นี่เขาได้เริ่มมีกิติศัพท์ในฝีมือทำอาหารในระดับท้องถิ่น ในที่สุดเขาได้ขยับขยายมาเปิดร้านอาหารในโรงแรมคนเดินทาง (Motel) ขนาดมีขนาด 140 ที่นั่ง และที่นี่ที่เขาได้เริ่มประสบความสำเร็จในกิจการร้านอาหาร

ในปี ค.ศ. 1939 นักวิจารณ์อาหารดันแคนไฮนส์ (Duncan Hines) ได้เยี่ยมร้านอาหารของแซนเดอร์ส แล้วประทับใจมาก โดยได้เขียนให้เกียรติร้านนี้ว่าเป็น “ร้านที่น่ามาท่องเที่ยวชิมอาหาร” โดยข้อเขียนนี้ได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศสหรัฐ ในขณะที่ความสำเร็จของเขาขยายวงไปเรื่อยๆ แซนเดอร์สได้มีบทบาทด้านสังคมมากขึ้น เขาได้เข้าร่วมสมาคมโรตารี่ (Rotary Club), สภาหอการค้า (Chamber of commerce), และสมาคม Freemasons

ในปี ค.ศ. 1947 เขาได้หย่าขาดจาก โจเซฟิน ภรรยาคนแรก และในปี ค.ศ. 1949 เขาได้แต่งงานกับเลขานุการ ชื่อ คลอเดีย (Claudia) และเขาได้รับตำแหน่ง ผู้พันแห่งเคนตั๊กกี้อีกครั้ง จากเพื่อนของเขา คือ ผู้ว่าการรัฐ ลอเรนซ์ เวเธอร์บี้ (Governor Lawrence Wetherby)

สัญลักษณ์ KFC ในปัจจุบัน ที่มีภาพของคนแก่ท่าทางใจดี ผมขาว หนวดและเคราแพะขาว ในชุดเสื้อนอกขาว ผูกไทร์แบบเชือก ส่วน Kentucky Fried Chicken ได้ย่นย่อเป็น KFC เพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น

ในราวปี ค.ศ. 1950 แซนเดอร์สได้พัฒนาบุคลิกของเขาให้เป็นสัญลักษณ์ของกิจการ โดยเขาไว้เคราแพะ แล้วย้อมหนวดและเคราเป็นสีขาว และผูกไทร์แบบเป็นเส้น (String tie) เขาไม่เคยปรากฏตัวต่อสาธารณะในรูปแบบการแต่งกายอื่นๆในช่วง 20 ปีหลังของชีวิตเขา โดยในช่วงฤดูหนาว เขาใส่ชุดผ้าขนสัตว์หนา และในฤดูร้อน เขาใส่เสื้อผ้าทำจากฝ้าย แต่ทั้งหมดเป็นแบบเดียวและมีสีขาว เขาย้อมหนวดและเคราเป็นสีขาว เข้ากับสีผมและเสื้อผ้า และนั่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทุกคนจำได้

แต่กระนั้นในวัย 65 ปี ในราวปี ค.ศ. 1955 ร้านอาหารหลักของเขาก็ประสบปัญหาล้มเหลวอีกครั้ง เนื่องจากเกิดถนนสายระหว่างรัฐที่ 75 (Interstate 75) ทำให้คนไม่เดินทางผ่านถนนท้องถิ่นเดิม มาที่ร้านของเขา เมื่อเกิดวิกฤติ มีคนมากินอาหารน้อยลง เขาได้ใช้เงิน $105 จากเงินสวัสดิการเกษียณอายุ (Social Security check) ใบแรก เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายการเดินทางไปเยี่ยมผู้ซื้อแฟรนไชส์ของเขา และนี่อาจเป็นข้อดีที่ทำให้เขาหันมาทำกิจการแฟรนไชส์เครือข่ายร้านอาหารอย่างจริงจัง แม้วัยของเขาจะเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว

ภาพ ร้านอาหารในเมืองคอร์บิน รัฐเคนตั๊กกี้ (The restaurant in Corbin, Kentucky ที่ซึ่งผู้พันแซนเดอร์ได้พัฒนาไก่ทอดอันเลื่องชื่อของเจา


ภาพ อาหารจานด่วน ที่ประกอบด้วยไก่ทอด และมันฝรั่งทอด 

การที่ธุรกิจหลักของเขาประสบปัญหา กลับเป็นข้อดีที่ทำให้เขาทุ่มเทความตั้งใจไปที่ร้านที่เขาขายแฟรนไชส์ ร้านอาหารจานด่วนแฟรนไซส์ไก่ทอดเริ่มประสบความสำเร็จ จนในช่วงสิบปีต่อมา แซนเดอร์สได้ข่ายกิจการบริษัท Kentucky Fried Chicken ให้กับเพื่อนของเขา คือนายจอห์น วาย บราวน์ จูเนียร์ (John Y. Brown, Jr.) การตกลงนี้ไม่รวมกิจการในประเทศแคนาดา ในปี ค.ศ. 1965 แซนเดอร์สได้ย้ายไปอยู่ MississaugaOntario ประเทศแคนาดา เพื่อดูแลกิจการแฟรนไชส์ของเขา และเขาก็ยังได้รับค่าปรากฏตัวในสหรัฐ และได้ค่าแฟรนไชส์ในแคนาดา

Sunday, August 19, 2012

สุภาษิตเยอรมัน - ต้นไม้แก่มักให้ผลที่หวานที่สุด


สุภาษิตเยอรมัน - ต้นไม้แก่มักให้ผลที่หวานที่สุด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: Management, leadership, experiences, rocket technology, von Braun

สุภาษิตเยอรมันบทหนึ่งกล่าวว่า “The oldest trees often bear the sweetest fruit.” ซึ่งแปลเป็นไทยได้ความว่า “ต้นไม้แก่มักให้ผลที่หวานที่สุด

การมอบหมายให้งานแก่คนที่มีประสบการณ์ แม้จะช้าไปบ้าง ไม่ได้รวดเร็วทันใจ แต่จะได้ผลงานที่ดี
การสร้างทีมงานที่จะพัฒนางานใหม่ๆ แม้จะต้องอาศัยแรงผลักดันและความรู้ความสามารถใหม่ๆจากคนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ที่มีความคิดรวดเร็วที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง แต่จะเป็นประโยชน์มากขึ้น รอบคอบขึ้น หากให้มีผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีสายตากว้างไกล มาเป็นผู้ให้ข้อท้วงติง เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการมองงานอย่างรอบด้าน

ภาพ ฟอน บราวน์ (von Braun) นักวิทยาศาสตร์ด้านจรวดของเยอรมัน ซึ่งได้มาทำงานบุกเบิกจรวดและกิจการอวกาศให้อเมริกัน

ดูตัวอย่างการบุกเบิกงานด้านอวกาศของสหรัฐอเมริกา ฝ่ายสหรัฐเลือกใช้นักวิทยาศาสตร์ด้านจรวดจากเยอรมัน คือ ฟอน บราวน์ (Freiherr von Braun) ผู้เคยรับใช้เยอรมันภายใต้นาซีมาก่อน

ฟอน บราวน์ มีชื่อเต็มว่า Wernher Magnus Maximilian, Freiherr von Braun เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1902 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1977 เขาเป็นชาวเยอรมันโดยกำเนิด เป็นนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเรื่องจรวด (Rocket scientist), เป็นวิศวกรยานอวกาศ (Aerospace engineer), เป็นสถาปนิกออกแบบด้านยานอวกาศ (Space architect) เขาเป็นผู้มีบทบาทในการพัฒนาวิทยาการด้านจรวดมาตั้งแต่สมัยเยอรมันภายใต้นาซี (Nazi Germany) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และเมื่อชนะสงคราม อเมริกันก็ได้นำเขาเข้ามาร่วมงานวิทยาศาสตร์ด้านจรวดต่อในสหรัฐอเมริกา

ในช่วงวัย 20-30 ปีต้นๆ ฟอน บราวน์เป็นคนสำคัญในโปรแกรมพัฒนาจรวดของเยอรมันแล้ว เขารับผิดชอบในการออกแบบจรวด V-2 ที่ใช้ในการรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังสงคราม อเมริกันเล็งเห็นความสามารถของเขา จึงได้เลือกเขาและทีมงานให้เข้ามาทำงานในสหรัฐอเมริกา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการลับ ชื่อ Operation Paperclip โดยกองทัพบกต้องการสร้างจรวดวิถีระยะกลาง (Intermediate range ballistic missile - IRBM) ซึ่งหวังจะใช้ประโยชน์ในสงครามยุคต่อไป ต่อมาเมื่อมีโครงการอวกาศของสหรัฐที่เรียกว่า NASA ฟอน บราวน์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโครงการการบินอวกาศที่มีชื่อเรียกในขณะนั้นว่า Marshall Space Flight Center โดยหน่วยงานมีหน้าที่ประดิษฐ์จรวดขับเคลื่อน Saturn V ทำหน้าที่เป็นตัว Superbooster มีพลังส่งยานอวกาศ Apollo spacecraft ไปยังดวงจันทร์


ภาพ วอลซ์ ดิสนีย์ (คนซ้าย) กำลังอยูีในการทำสารคดี แนะนำการเดินทางในอวกาศในอนาคต

ตามคำบอกเล่าจากภายใน NASA เขาคือนักวิทยาศาสตร์ด้านจรวดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ด้วยความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของเขา ทำให้สหรัฐสามารถพัฒนา Saturn V เป็นตัวจรวดขับเคลื่อน นำยานอวกาศและมนุษย์อวกาศของอเมริกันไปยังดวงจันทร์ได้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1969 ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น อเมริกันมีวิทยาการด้านอวกาศที่ยังตามหลังสหภาพโซเวียตอยู่มาก ในปี ค.ศ. 1975 เขาได้รับเหรียญเชิดชูพิเศษ National Medal of Science จากรัฐบาลสหรัฐ