Tuesday, July 30, 2013

รถยนต์ไฟฟ้า BMW i3 ใหม่ทั้งระบบเปิดตัวแล้ว


รถยนต์ไฟฟ้า BMW i3 ใหม่ทั้งระบบเปิดตัวแล้ว

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเดินทาง, transportation,การขนส่ง, ยานพาหนะ, vehicles, รถยนต์ไฟฟ้า, electric car, ev, BMW i3, Range extender, LiveDrive, Live Module, Drive Module, CFRP

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Worldwide debut of the all-new BMW i3 [VIDEO] EV News, MONDAY, JULY 29, 2013



รถยนต์ไฟฟ้า BMW i3 ใหม่ถอดด้ามจากค่ายเยอรมัน นับเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรกจากค่าย BMW เป็นการออกแบบเพื่อเป็นรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ

แนวคิดการออกแบบของ BMW i3 เป็นเจตนาเพื่อเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ มีข้อดีกว่านำโครงสร้างรถแบบใช้น้ำมันมาดัดแปลงเป็นรถยนต์ไฟฟ้า เพราะทำให้วิศวกรสามารถคิดและออกแบบใหม่ได้อย่างเสรี โดยไม่จำกัดอยู่ในทรงและกรอบแบบรถยนต์ใช้น้ำมันเดิม

การออกแบบใหม่นำไปสู่แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบ LifeDrive ซึ่งประกอบด้วย 2 โมดุล อันประกอบด้วย Life Module และ Drive Module โดย Life Module เป็นการคิดทางด้านห้องที่นั่งของผู้โดยสาร หรือ Greenhouse นับเป็นรถยนต์รุ่นแรกที่ผลิตโดยใช้วัสดุพลาสติคเสริมไฟเบอร์คาร์บอน (Carbon Fiber Reinforced Plastic - CFRP) ซึ่งมีความแข็งแรงเท่ากับเหล็กกล้า แต่น้ำหนักเบาลงมาร้อยละ 50 และเบากว่าอลูมิเนียมร้อยละ 30 ผลจึงทำให้ได้รถยนต์ไฟฟ้าที่หนักเพียง 2,700 ปอนด์ หรือ 1,227 กิโลกรัม และเพราะความที่ประหยัดน้ำหนักได้ จึงทำให้มีภาระด้านแบตเตอรี่น้อยลง ใช้ขนาดแบตเตอรี่ที่เบาลง ใช้เวลาชาร์จไฟน้อยลง ทำให้ชาร์จได้เร็วขึ้น หรือจะใส่แบตเตอรี่ให้ขนาดใหญ่ขึ้น วิ่งได้ระยะทางเพิ่มขึ้นได้ และเมื่อน้ำหนักลดลง ก็ทำให้จุดศูนย์ถ่วงลดลง ทำให้วิ่งเกาะถนนได้ดีขึ้น และด้วยโครงสร้างที่เบาแต่แข็งแรง จึงทำให้สร้างความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารได้มาก

ส่วนของ Drive Module นั้นสร้างด้วยอลูมินัมร้อยละ 100 ใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออน (Lithium-ion) หนัก 450 ปอนด์ หรือ 204.5 กิโลกรัม ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ระบบกันสะเทือนแบบ MacPherson strut และระบบกันสะเทือนหลังแบบ 5-link ลดผลกระทบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ส่วนแบตเตอรี่ติดตั้งอยู่ส่วนหลัง ใกล้กับล้อ ทำให้ช่วยในการจับถนนได้ดี

ข้อดีอีกด้านหนึ่ง คือสถาปัตยกรรม LifeDrive ไม่เสียที่ให้กับช่องที่ต้องใส่ระบบเฟืองเกียร์และเพลาของระบบขับเคลื่อนตรงกลางของรถยนต์ เพราะระบบขับเคลื่อนทั้งหน้าและหลังแยกออกจากกัน ทำให้มีพื้นที่ห้องโดยสารมากขึ้นกว่ารถรุ่น BMW 3

ส่วนวัสดุตกแต่งภายในเป็นแบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable & recycled materials) ร้อยละ 25 และชิ้นส่วนภายนอก ที่เป็นพลาสติกทำมาจากพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่เช่นกันร้อยละ 25 เช่นกัน
ในการพัฒนารถยนต์รุ่นนี้ BMW ใช้กำลังคน 1000 คน ทดลองขับรถยนต์รุ่นดังกล่าวกว่า 12.5 ล้านไมล์ การขับในแต่ละวันประมาณ 30 ไมล์ BMW i3 สามารถวิ่งได้ 80-100 ไมล์จากการชาร์จไฟ 1 ครั้ง รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นนี้สามารถวิ่งได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ด้วยการวิ่งในแบบประหยัด (ECO PRO mode)  รถสามารถชาร์จไฟอย่างเร็วด้วยไฟฟ้ากระแส 220 โวลต์ ระดับ 2 32-amp J1772 charger ใช้เวลาชาร์จไฟ 3 ชั่วโมง แต่หากใช้ระบบ SAE DC Combo Fast Charging จะสามารถชาร์จไฟได้เต็มร้อยละ 80 โดยใช้เวลาเพียง 20 นาที และเต็มร้อย ด้วยเวลา 30 นาทีซึ่งมีไว้เป็นทางเลือก

เพื่อเป็นการลดความกังวลใจในระยะทางวิ่ง รถ BMW i3 มีเครื่องยนต์ติดตั้งที่ด้านหลัง ขนาด 650 ซีซีขนาด 2 สูบใช้น้ำมันเบนซิน ทำหน้าที่ปั่นไฟฟ้าไปขับเคลื่อนมอเตอร์ ที่ทำให้รถยนต์วิ่งได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยระบบไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะทำงานไปจนเมื่อระดับไฟตกไปถึงระดับหนึ่ง เครื่องยนต์ที่เรียกว่า Range Extender ก็จะทำงานปั่นไฟฟ้าขึ้นมาทดแทน เครื่องยนต์นี้มีน้ำหนัก 330 ปอนด์ หรือ 150 กิโลกรัม มีถังน้ำมันจุได้ 2.4 แกลลอน


ภาพ BMW i3 เปิดตัวแล้ว ภาพด้านหน้า


ภาพ BMW i3 เป็นแบบ Hatchback ลักษณะการเปิดประตูหลังแบบเปิดแบบไม่มีเสากลางคัน ทำให้คนเข้านั่งที่ด้านหลังสะดวกยิ่งขึ้น แม้เป็นรถขนาดเล็ก

ข้อมูลหลักๆขั้นพื้นฐาน

- Pricing (before federal or local incentives) starts at $41,350; $45,200 for Range Extender model. Destination & Handling Fee not included.
- On Sale: Q2 of 2014 in the USA.
- BMW's 360 Electric electro mobility services.
- BMW i Remote app, which connects with the car.
- BMW Navigation is standard.
- BMW Intelligent Emergency Call ('eCall"), Anti theft alarm and Rear Parking Distance Control are standard.

ในด้านการขับ
Driving.

- 170-hp, 184 lb-ft hybrid-synchronous electric motor with max. revs of 11,400 rpm.
- 80-100 mile real-world EV range.
- 22-kWh lithium-ion battery, which weighs 450 lbs.
- 650cc gasoline powered Range Extender optional; holds charge, doesn't power wheels.
- 0-30mph in 3.5 seconds, 0-60mph in approximately 7.0 seconds (preliminary).
- Top speed of 93 mph, electronically limited to preserve efficiency.
- BMW's signature, near-perfect 50-50 weight distribution.
- Ultra-tight turning radius (32.3 ft), which is ideal for city driving.
- Macpherson strut front and 5-link rear suspension set up.
- Single Pedal Driving Concept with Brake Energy Regeneration, which feeds power back into battery.
- 3 drive modes: Comfort, ECO PRO and ECO PRO+.
- 3 hour 220 V @32 amps charging time.
- Optional SAE DC Combo Fast Charging allows for 80% charge in 20mins; 100% in 30 mins.

ระบบโครงสร้างและตัวถัง เป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด นับเป็นรถยนต์ทีผลิตจำนวนมากรุ่นแรกที่ใช้ระบบ CFRP เพื่อผลิตเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

- Built on innovative LifeDrive architecture composed of two parts: Life Module and Drive Module.
- Life Module is essentially the cabin, constructed from Carbon Fiber Reinforced Plastic (CFRP).
- Drive Module is where all of the powertrain components are housed.
- Drive Module is made from 100% aluminum.
- Magnesium cross-member for instrument panel saves 20% weight vs. steel.
- BMW 1 Series external footprint with BMW 3 Series interior space.
- Adaptive Full LED headlights and LED taillights (standard in US market).
- Weighs in at roughly 2,700 lbs.(1224 kg)
- No space-consuming transmission tunnel dividing car's interior.
- Pillar-less design with rear coach doors allow for easy entry and exit to rear seats.
- Driver-oriented super-ergonomic controls.
- Three vehicle Worlds (trim levels): Mega (standard in US), Giga, and Tera.
- Standard 19-inch light alloy wheels with unique 155/70 all-season tires. 20-inch light alloy wheels optional.
- No transmission tunnel and low console allows for Slide-through Experience, which benefits urban driving by the ability to exit from the passenger side.

ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม
Sustainability.

- Made with sustainable, renewable materials.
+ Instrument panel surround and door trim use fibers from Kenaf plant.
+ Carbon fiber reinforced plastic (CFRP) roof panel is made partially with recycled CFRP from manufacturing process of other components
+ 25% of plastic used in interior comprised of recycled materials.
- Dashboard wood trim crafted from responsibly-forested eucalyptus.
- CFRP components are sustainably produced in Moses Lake, WA, USA, where the factory uses hydroelectric power.
- The Leipzig, Germany assembly plant uses wind-generated electricity.
- Olive-leaf extract is used to tan interior leather surfaces.

Sunday, July 28, 2013

เดือนมิถุนายนนับเป็นเดือนที่ขายรถยนต์ไฟฟ้าได้ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา


เดือนมิถุนายนนับเป็นเดือนที่ขายรถยนต์ไฟฟ้าได้ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเดินทาง, transportation,การขนส่ง, ยานพาหนะ, vehicles, รถยนต์ไฟฟ้า, electric car, ev, Nissan Leaf, Chevy Volt, GM, Tesla Model S

ศึกษาและเรียบเรียงจากข่าว “Electric cars enjoyed one of the best months of sales to-date.” EV News, SATURDAY, JULY 27, 2013



ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Nissan Leaf

รถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) เริ่มขายได้ติดตลาด โดยในเดือนมิถุนายนของปีนี้ (2013) สามารถขายรถยนต์ไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊กได้ 9,000 คันในสหรัฐอเมริกา ทำให้มียอดรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนกว่า 110,000 คัน ซึ่งเป็นการขายรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นการรายงานของ Electrification Coalition

ในจำนวนนี้ Tesla นับเป็นผู้ชนะที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในด้านการเติบโต สามารถครองตลาดรถหรูได้ร้อยละ 8.4 ซึ่งนับเป็นการสรุปสถิติของช่วงครึ่งปีแรกของ 2013 Tesla ชนะคู่แข่งรถยนต์หรูทั้งหมด ซึ่งรวมถึง Mercedes-Benz S-class, Audi A8, และ BMW 7 series

สถิตินี้นับว่าเป็นเยี่ยมยอดที่สุด เกินความคาดหมายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

Nissan Leaf ก็ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่เช่นกัน โดยครองตลาดร้อยละ 3.3 ของรถยนต์ขนาด Subcompact นอกจากนี้ Nissan Leaf และ Chevrolet Volt ของค่าย GM ต่างก็ได้รับการประเมินว่าได้รับความพอใจจากลูกค้าสูงสุดจากการรายงานของนิตยสารรถยนต์หลัก

รถยนต์ไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊ก หรือ Plug-in electric vehicle (PEV) มียอดขายเพิ่มขึ้น 3 เท่า จาก 17,000 คันในปี ค.ศ. 2011 เป็นประมาณ 52,000 คันในปี ค.ศ. 2012 และในช่วงครึ่งปีแรกของ ค.ศ. 2013 คนอเมริกันได้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (PEV) แล้วมากกว่าในระยะเดียวกันของปีก่อนเป็นสองเท่า

Thursday, July 25, 2013

อาหารเช้า - ครัวซอง (Croissant) กับกาแฟร้อนๆ

อาหารเช้า - ครัวซอง (Croissant) กับกาแฟร้อนๆ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: อาหาร, food, การทำอาหาร, cuisine, ขนมปัง, หัวเชื้อทำพอง, leavening, แป้งจากข้าว, flour, แป้งสาลีเหนียว, dough, ขนม, dessert, bakery, dough, ครัวซอง, Croissant


ภาพ ครัวซอง Croissant เป็นขนมปังของฝรั่งเศส

Croissant เป็นภาษาฝรั่งเศสให้อ่านตามการออกเสียงภาษาฝรั่งเศส จึงเรียกว่า ครัวซอง

ครัวซอง (Croissant) เป็นขนมปังแบบขนมอบ (Viennoiserie) ที่ทำจากแป้งขนมปังที่นวดแล้ว ทาเนย (Buttery) ทำเป็นม้วนในลักษณะกางเขน (crescent) เป็นขนมปังที่ทำให้พองฟูด้วยการใช้ยีสต์ที่ผสมในแป้งนวด แล้วแป้งที่นวดแล้ว (Dough) จะทำเป็นชั้นๆที่แยกด้วยการทาเนย ม้วนหลายๆครั้ง แล้วทำเป็นแผ่น เทคนิคแบบนี้เรียกว่า Laminating ซึ่งเมื่อนำเข้าเตาอบ จะได้ลักษณะเนื้อที่เป็นเกล็ด (Flake texture) จัดอยู่ในพวกขนมปังอบที่ฟู (Puff pastry)

ครัวซองที่มีรูปคล้ายกางเขนนี้ เป็นขนมปังที่มีทำกันตั้งแต่สมัยกลาง (Middle Ages) และขนมปังหรือเค๊ก (Cake) ในรูปกางเขนนี้ก็มีการทำกันมาช้านานมาก ยากที่จะบอกว่าใครเป็นผู้คิดค้น

ครัวซองเป็นอาหารหลักที่นิยมของฝรั่งเศส อยู่ในพวกที่เรียกว่า Bakeries และ Pâtisseries ในราวทศวรรษที่ 1970s ได้มีการพัฒนาครัวซองในแบบผลิตแล้วแช่แข็งจากโรงงาน โดยทำเป็นแป้งสำเร็จแต่ยังไม่ปิ้ง (Unbaked dough) ที่พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของอาหารจานด่วน (Fast food) ที่สามารถใช้คนที่ไม่มีทักษะอะไร ก็สามารถทำเป็นอาหารที่สำเร็จสมบูรณ์ได้ อาหารในแบบครัวซองเทรี (Croissanterie) ในแบบทำกึ่งสำเร็จนี้ เพื่อตอบสนองต่อวิถีชีวิตการกินอาหารจานด่วนของอเมริกัน และในปัจจุบัน ครัวซองที่มีการบริโภคกันร้อยละ 30-40 ที่มีการขายกันในร้านขนมปังของฝรั่งเศสทำจากกระบวนการอุตสาหกรรมนี้

ด้วยวิธีการประดิษฐ์การผลิตครัวซองที่มีความซับซ้อนได้ จึงทำให้อาหารชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันในฐานะอาหารฝรั่งเศสไปทั่วโลก และครัวซองนี้ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเช้าแบบภาคพื้นทวีปของยุโรป (Continental breakfast)


ภาพ ครัวซองที่อบแล้ว ปัจจุบัน ร้อยละ 30-40 ของครัวซองทำจากระบบผลิตอุตสาหกรรม

บราวนี (Brownie, chocolate brownie) ขนมอร่อยที่นิยมกัน


บราวนี (Brownie, chocolate brownie) ขนมอร่อยที่นิยมกัน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: อาหาร, food, การทำอาหาร, cuisine, ขนมปัง, หัวเชื้อทำพอง, leavening, แป้งจากข้าว, flour, แป้งสาลีเหนียว, dough, ขนม, dessert, bakery, บราวนี, brownie, chocolate brownie

บราวนี ขนมอร่อยอีกอย่างหนึ่ง

บราวนี หรือชอคโกแลตบราวนี (Brownie, chocolate brownie) เป็นอาหารประเภทอบ เป็นชิ้นแบนสี่เหลี่ยม ได้พัฒนาในสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และมีชื่อเสียงในทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 ซึ่งอาจมีข้อโต้เถียงได้ว่ามีการคิดค้นทำกันในที่อื่นๆในยุโรป


ภาพ ขนมบราวนี (Brownie) ในสูตรที่ใส่ั่ถั่วร่วมด้วย


ภาพ ขนมบราวนีในแบบที่จะเห็นโดยทั่วไป

ภาพ ขนมบราวนีที่ใส่คุกกี้ Oreo ผสมลงไป ทำให้มีลักษณะกรอบด้วย

บราวนีเป็นลูกครึ่ง ระหว่างเค๊ก (Cake) กับคุกกี้ (Cookie) ในลักษณะเนื้อ (Texture) คือไม่นุ่มเหมือนเค๊ก แต่ก็ไม่แข็งเท่าคุกกี้ บราวนีที่ทำกันมีหลายรูปแบบ ซึ่งแตกต่างกันตามลักษณะความเหลว (Fudgy) หรือความเป็นปึก (Cakey) ขึ้นอยู่กับความเป็นมวลแน่น (Density) มันอาจรวมถึงการใส่ถั่ว (Nuts) ชนิดต่างๆ การเคลือบน้ำตาล (Frosting), การใส่ครีมปั่น (Whipped cream), ชอคโกแลตชิป (Chocolate chips) และส่วนประสม (Ingredients) อื่นๆ มีบางชนิดที่ทำด้วยน้ำตาลทรายแดง (Brown sugar) แต่ไม่ใส่ชอคโกแลต แล้วเรียกแผลงเป็น บลอนดี (Blondie) ซึ่งเป็นสีน้ำตาลอ่อน ออกไปทางเหลือง

บราวนีจัดเป็นส่วนหนึ่งของอาหารพกพา เหมาะแก่การใส่กล่องไปกินเป็นส่วนหนึ่งของอาหารกลางวันได้ หากินได้ง่ายๆ โดยทั่วไปใช้มือจับกิน และกินกับเครื่องดื่มอย่างนม (Milk) หรือกาแฟ (Coffee) บางที่บริการพร้อมกับไอศกรีม (A la mode) แต่งด้วยครีมปั่น (Whipped cream) หรือเครื่องปรุงมาร์ซิปัน (marzipan) หรือโรยด้วยน้ำตาลผง (Powdered sugar) บราวนีเป็นที่นิยมตามร้านอาหาร (Restaurants) เพราะเป็นของหวานที่เก็บได้นาน ไม่เสียเร็ว มักจะพบร่วมกับรายการของหวาน (Dessert) อื่นๆ

Wednesday, July 24, 2013

สุภาษิตเยอรมัน – ปีศาจอยู่ในรายละเอียด


สุภาษิตเยอรมัน – ปีศาจอยู่ในรายละเอียด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สุภาษิต, proverbs, เยอรมัน, German, idioms, แนวคิด, concept, รายละเอียด, detail, details, devil, ปีศาจ, การออกแบบ, design, สถาปัตยกรรม, architecture,


ภาพ โครงสร้างระบบทางขนส่งยกระดับ Hopewell ที่สร้างแล้วดำเนินการต่อไม่ได้ เป็นความล้มเหลวการออกแบบที่ไม่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบ กลายเป็นอนุสรณ์ไว้เตือนสติคนทำงานขนาดใหญ่ที่ต้องมีความรอบคอบในทุกรายละเอียด 


มีสุภาษิตหรือคำกล่าวเยอรมันบทหนึ่งว่า “Der Teufel steckt im Detail.” ซึ่งตรงกับประโยคที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า “The devil is in the details.” แปลเป็นไทยตรงๆว่า “ปีศาจอยู่ในรายละเอียด”

สุภาษิตนี้เป็นคำกล่าวที่บอกต่อกันมาว่า ในการจะทำการใดๆ ให้พึงนึกถึงในรายละเอียด และคิดให้รอบคอบ ดังในการออกแบบบ้าน และการดำเนินการจนเสร็จ การทำตัวบ้านโดยโครงสร้างให้เสร็จนั้นก็ส่วนหนึ่ง ซึ่งหมายถึงระบบฐานราก เสา คาน พื้นคอนกรีต ระบบไฟฟ้า ประปา ระบบระบายน้ำทิ้ง เหล่านี้มีรายละเอียดอยู่ในตัวของมันเอง แต่ในรายละเอียดต่อไป ตั้งแต่พื้นบ้าน หน้าต่าง ประตู เครื่องสุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ฯลฯ จะเป็นแบบใด สไตล์อะไร เข้ากันได้กับบ้านอย่างลงตัวหรือไม่ เวลาคนอยู่แล้วอยู่สบายไหม เหล่านี้นับได้เป็นอีกเกือบครึ่งหนึ่งของราคาบ้าน และเป็นเรื่องที่สถาปนิก นักออกแบบต้องคำนึงถึงอย่างมาก คนทำงานมีประสบการณ์ย่อมได้เปรียบ

The Devil is in the details จาก Wikipedia, the free encyclopedia

"The devil is in the detail" เป็นคำกล่าวที่เตือนว่า ให้จับในทุกสิ่งที่ซ่อนอยู่ในรายละเอียด ไม่ว่าท่านจะทำงานเป็นนักกฎหมาย นักออกแบบ ผู้จัดการรายการคอนเสิร์ต หรือศิลปินผู้ร้องเพลงอัดวีดิทัศน์แต่ละรายการ การถ่ายภาพแต่ละภาพ ล้วนมีรายละเอียดทั้งนั้น และงานที่ดีมักจะเป็นเรื่องที่ต้องมีรายละเอียด
คำกล่าวที่ว่า “The devil is in the detail.” มาจากวลีเดิมที่มีก่อนหน้านี้ว่า “God is in the detail.” เป็นคำกล่าวที่มีความหมายว่า ไม่ว่าคนจะทำอะไรนั้น ต้องทำอย่างรอบคอบ และคิดให้รอบด้าน และรายละเอียดเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่วนสำนวน (Idiom) นี้ในระยะหลังมีคนนำมาพูดบ่อยครั้ง และมากที่สุดโดยสถาปนิกชาวเยอรมันคนหนึ่ง ชื่อ Ludwig Mies van der Rohe (1886–1969) ซึ่งเขาใช้กล่าวบ่อยครั้งและมีข้อเขียนออกมา แต่เมื่อเขาจะเสียชีวิต เขาก็บอกว่า เขาไม่ได้เป็นคนเริ่มใช้ประโยคนี้ มันมีมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งได้ความว่า งานเขียนใดๆก่อนหน้านี้มักจะยังไม่มีคนใช้คำกล่าวนี้ มีแต่พูดกัน

สุดท้ายนี้ก็ฝากถึงผู้นำที่บริหารบ้านเมือง การจะมีนโยบายใดๆออกมา จะคิดเชิงยุทธศาสตร์บริหารประเทศ เรื่องแนวคิด (Concepts) เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่แล้วท้ายสุด ก็ต้องมีการระดมคนทำงาน นั่งคิดและตรวจสอบในทุกรายละเอียด และดีที่สุด ก็คือการออกแบบการดำเนินการให้มีคนที่ต้องเป็นแม่งานไปดำเนินการในรายละเอียดเหล่านั้นอย่างใส่ใจ แต่ที่ไม่ควรทำคือการไม่คิดให้รอบคอบ แล้วปล่อยผลงานออกมาอย่างที่คนรู้คนเห็นในความบกพร่องอย่างเต็มบ้านเต็มเมือง

Tuesday, July 23, 2013

อาหารเช้าทำให้หัวใจแข็งแรง - อย่าอดอาหารมื้อนี้


อาหารเช้าทำให้หัวใจแข็งแรง - อย่าอดอาหารมื้อนี้

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: อาหาร, food, โภชนาการ, nutrition, อาหารเช้า, breakfast, อาหารกลางวัน, lunch, อาหารว่าง, supper

ศึกษาและเรียบเรียงจากข่าว “Breakfast linked to 'healthy heart'”, BBC News, 23 July 2013 Last updated at 06:53 GMT


ภาพ การได้กินอาหารเช้า ดังอาหารพวกซีเรียล (Cereal) ใส่นมสักถ้วยหนึ่ง จะช่วยดูแลสุขภาพได้มาก
คนควรกินอาหารเช้า เพื่อช่วยรักษาหัวใจให้อยู่ในสภาพที่ดี ทั้งนี้เป็นคำแนะนำจากผู้วิจัยในสหรัฐอเมริกา

จากการศึกษาผู้ชาย 27,000 คน แสดงให้เห็นว่า คนที่ไม่กินอาหารเช้าจะมีความเสี่ยงปัญหาหัวใจมากกว่าคนที่กินอาหารเช้า

มูลนิธิหัวใจในประเทศอังกฤษ (British Heart Foundation) กล่าวว่า อาหารเช้าจะช่วยให้คนหลีกเลี่ยงอาหารว่างที่มีน้ำตาลมากในช่วงก่อนอาหารกลางวันได้

ชายอายุระหว่าง 45-82 ปี ได้รับการศึกษาเป็นเวลา 16 ปี ในช่วงเวลานี้มีคนกว่า 1,500 คนที่มีปัญหาหัวใจวาย และบางคนล้มเหลวจนถึงเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม คนที่หลีกเลี่ยงอาหารเช้า พบว่าจะมีกรณีปัญหาโรคหัวใจมากกว่าคนที่กินอาหารเช้าร้อยละ 27 ทั้งนี้ ผู้วิจัยในควบคุมตัวแปรอื่นๆที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ และการออกกำลังกาย

นักวิจัย Dr. Leah Cahill บอกแก่ BBC ว่า “กินอาหารเช้าภายในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง หลังตื่นนอน
ผลปรากฏว่า การกินอะไรบางอย่าง ดีกว่าไม่กินอะไรเลย แต่จะดียิ่งขึ้นหากกินบางอย่างที่จะดีต่อสุขภาพ และเป็นอาหารที่มีความสมดุล

ผู้วิจัยกล่าวว่า จังหวะเวลาในการกินอาหาร นับเป็นกุญแจสำคัญ การกินอาหารเช้าให้เพียงพอ แล้วจนกระทั่งถึงเวลาอาหารกลางวัน จึงกินอีกครั้ง ดีกว่าที่จะประสบสภาพทนไม่ไหว จนทำให้ร่างกายเกิดสภาพความเครียด

ความตึงเครียดทางด้านอาหาร จะไปเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และเบาหวาน ซึ่งจะทำให้เป็นผลเสียต่อหัวใจ

 อย่าหลีกเลี่ยงการกินมื้อเช้า” Dr. Cahill สรุป

Victoria Taylor ของมูลนิธิโรคหัวใจของอังกฤษกล่าวว่า “นักวิจัยเหล่านี้ มักมองไปที่คนอายุเกิน 45 ปี เราจึงควรมองไกลไปอีก เพื่อจะได้ยืนยันว่า อาการเช้ามีผลต่อโรคหัวใจในกลุ่มคนอื่นๆด้วย

การกินอาหารเช้าอย่างพอเหมาะ จะทำให้ไม่ไปกังวลหาของว่างอย่าง Biscuit กิน และในขณะเดียวกัน ทำให้ท่านมีโอกาสเลือกอาหารที่หลากหลายในช่วงอาหารกลางวันได้

ขนมปังผลิตจากข้าวไม่ขัดสี (Wholegrain) ที่ปิ้ง หรือพวกซีเรียล (Cereals) หรือธัญพืชต้ม (Porridge) ที่ใส่นมไขมันต่ำ นับเป็นอาหารเช้าที่ดีที่จะเริ่มวันใหม่ ลองกินกล้วยเฉือนบางๆ หรือผลไม้ตากแห้ง ใส่เข้าไปในซีเรียล จะทำให้ท่านอยู่ท้องไปได้ถึง 5 ชั่วโมง

สรุปเรื่องนี้อยากจะบอกว่า หากจะควบคุมน้ำหนัก ก็อย่าถึงกับงดไม่กินอาหารเช้า เพราะเป็นมื้อที่สำคัญ และเมื่อจะกินอาหารเช้า ก็ควรเลือกกินอย่างมีหลักโภชนาการ กินอาหารที่ให้พลังงานด้วย
คาร์โบไฮเดรตที่ซับซ้อน เช่นซีเรียล หรือธัญพืชกับนมพร่องไขมัน และอาจจะมีผลไม้แห้ง ที่ช่วยทำให้มื้ออาหารมีความสมบูรณ์ทางโภชนาการยิ่งขึ้น แม้อาหารเช้าจะเป็นช่วงเวลาที่ต้องเร่งรีบ

การจะควบคุมน้ำหนักให้ได้นั้นเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะสำหรับคนมีปัญหาน้ำหนักเกิน (Obesity) ที่จะมีผลต่อไปยังโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน เก๊าท์ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แต่ทางที่ดีต้องมีหลักในการกิน

อาหารที่เหมาะสม หากจะลดน้ำหนัก การจำกัดอาหารในมื้อเย็น ช่วงก่อนนอน เพราะเมื่อหลับไปในตอนกลางคืนนั้น ร่างกายไม่ได้ต้องการพลังงานสะสมอะไรเพิ่มเติมแล้ว สภาพร่างกายโดยรวมจะทำงานช้าลง ใช้พลังงาน้อยลง ช่วงมื้อเย็นหรือก่อนนอนนี้แหละที่ควรควบคุมปริมาณอาหาร


การลดน้ำหนัก - การควบคุมปริมาณแคลอรี่ต่อวัน


การลดน้ำหนัก - การควบคุมปริมาณแคลอรี่ต่อวัน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: อาหาร, food, โภชนาการ, nutrition, การควบคุมน้ำหนัก, diet, แคลอรี่, calorie, การออกกำลังกาย, exercise


ภาพ โรคอ้วน (Obesity) กำลังเป็นปัญหาในประเทศพัฒนาแล้ว ที่กินอาหารที่สมบูรณ์มากขึ้น แต่มีการออกกำลังกายน้อยลง


หลักการลดน้ำหนัก สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการศึกษาเกี่ยวกับ 2 เรื่อง คือ การลดอาหารที่ให้พลังงานลง ดังเช่นพวก น้ำตาล แป้ง และไขมัน และอีกด้านหนึ่ง คือการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นกว่าที่เคย

การควบคุมปริมาณการใช้พลังงานต่อวัน (Daily Calorie Intake) ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นแคลอรี่ (Calorie) ซึ่งมีอยู่ในอาหารเกือบทุกประเภท แต่แตกต่างกันไป แต่ละคนจะต้องการพลังงานในแต่ละวันไม่เท่ากัน แต่มีหลักง่ายๆ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้น

กระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ (UK Department of Health) ประมาณว่าคนทั่วไปต้องการอาหารให้พลังงาน (Estimated Average Requirements - EAR) หญิง 1940 แคลอรี่ และชาย 2550 แคลอรี่

ขนาดร่างกายของคนอังกฤษ ซึ่งเป็นชาวยุโรปที่มีร่างกายสูงใหญ่กว่าเรา น้ำหนักตัวชายเฉลี่ยของเขาในปัจจุบัน น่าจะตกอยู่ที่ 175 ปอนด์ หรือ 79.5 กิโลกรัม เท่ากับพิกัดรุ่น Light heavyweight แต่ชายไทยในปัจจุบัน น่าจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ขนาด Welterweight หรือ 147 ปอนด์ หรือ 66.8 กิโลกรัม ส่วนผู้หญิงนั้นก็มีน้ำหนักตัวลดลงไปตามสัดส่วน

ความต้องการพลังงานจากอาหารในแต่ละวัน แตกต่างกันมากสำหรับแต่ละคน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตและองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งรวมถึง อายุ (Age) ส่วนสูง (Height) และน้ำหนัก (Weight) กิจกรรมพื้นฐานในแต่ละวัน (Basic level of daily activity) และลักษณะโครงสร้างร่างกาย (Body composition)

ในการต้องการลดน้ำหนัก ท่านต้องกินอาหารที่มีแคลอรี่น้อยลงในแต่ละวัน เช่นหากต้องการลดน้ำหนัก 1 ปอนด์ หรือ 454.5 กรัม/สัปดาห์ จะต้องลดอาหารพลังงานลง 500 แคลอรี่ต่อวัน หากต้องการลดน้ำหนักลงสัปดาห์ละ 2 ปอนด์ หรือ 909 กรัม ก็ต้องลดอาหารที่ให้พลังงานลง 1000 แคลอรี่ต่อวัน

คิดง่ายๆ หากต้องการลดน้ำหนักลง 5 กิโลกรัม ควรใช้เวลาสัก 10-12 สัปดาห์ หากต้องการลดน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ควรใช้เวลาสัก 20-25 สัปดาห์ กล่าวคือ ควบคุมน้ำหนักด้วยการลดการบริโภคอาหารพลังงานลงในระดับไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ ไม่หักโหม แต่กระทำต่อเนื่องทุกวัน

การจะลดน้ำหนัก ไม่ใช่หยุดกินอาหารและของเหลว แต่กินให้น้อยลง และในอีกด้านหนึ่ง คือการออกกำลังกายให้มากขึ้น เป็นการเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน ดังเช่น การเดินขนาดเร็วปานกลาง 5 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะใช้พลังงานราว 500 แคลอรี่ ทั้งนี้เป็นแนวคิดโดยประมาณ

การออกกำลังกายในแต่ละวัน สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การเดินเล่น การเดินในสวนสาธารณะ เดินตามห้าง การวิ่งเหยาะๆ (Jogging) การพายเรือ กรรเชียงเรือ การว่ายน้ำ หรือทำกิจกรรมอะไรที่ทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เช่น การทำความสะอาดบ้าน เช็ดหรือขัดถูห้องน้ำ การล้างรถ เช็ดรถ ขัดเงารถยนต์ การดูแลสนามหญ้า การตัดแต่งต้นไม้ ฯลฯ

หากต้องการทรายรายละเอียดเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอาหารและการลดน้ำหนัก ให้ไปศึกษาได้จาก Weight Loss Resources ของประเทศอังกฤษ http://www.weightlossresources.co.uk/

รถยนต์ไฟฟ้า Chevy Spark ดีกว่ารถยนต์ขนาดเดียวกันที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง


รถยนต์ไฟฟ้า Chevy Spark ดีกว่ารถยนต์ขนาดเดียวกันที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเดินทาง, transportation,การขนส่ง, ยานพาหนะ, vehicles, รถยนต์ไฟฟ้า, electric car, ev, GM, Chevy Spark

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “CR: If you buy a Chevy Spark, make sure it's the EV.” จาก Autoblog โดย By Danny King RSS feed, Posted Jul 18th 2013 6:03PM


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Chevy Spark EV รุ่น 2014 ของ General Motors 

ข้อมูลจากนิตยสารเพื่อผู้บริโภค Consumer Reports (CR) ได้เสนอข่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้า Chevrolet Spark ที่เป็นไฟฟ้าทั้งระบบมีสมรรถนะที่เหนือกว่ารถยนต์ขนาดเดียวกันที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง นับเป็นรถยนต์แบบ Hatchback ขนาดเล็กที่ดีที่สุด

Spark EV ให้พลังงาน 130 แรงม้าจากมอเตอร์ไฟฟ้า สามารถทำความเร็วจาก 0 ถึง 60 ไมล์ได้ต่ำกว่า 8 วินาที ซึ่งนับว่าเร็วอย่างเหลือเชื่อสำหรับรถยนต์ในขนาดนี้ และจากข้อมูลทดสอบอย่างเป็นทางการ สามารถวิ่งได้ 82 ไมล์ หรือ 131.2 กิโลเมตรด้วยการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว ซึ่งเหนือกว่า Nissan Leaf
สำหรับด้านราคา Spark EV จะได้เงินอุดหนุนลดภาษีจากทั้งรัฐบาลกลาง และส่วนของท้องถิ่นดังในรัฐแคลิฟอร์เนียถึง $10,000 หรือ 300,000 บาท เฉพาะรัฐบาลกลาง จ่ายให้สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทุกคันทั่วประเทศ $7,500 จึงทำให้รถยนต์ไฟฟ้า Spark EV มีราคาต่ำกว่า $17,500 หรือ 525,000 บาท หรือจะเลือกใช้การเช่า ก็จะมีทางเลือกให้เสียค่าเช่าใช้เดือนละ $199 หรือ 5,970 บาท/เดือน

เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ขนาดเล็ก อย่าง Smart ForTwo ในเครือข่าย Mercedes ที่ใช้น้ำมัน รถยนต์ไฟฟ้า Spark EV มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด


Monday, July 22, 2013

ความรู้เรื่องขนมปังทำเร็ว (Quick bread)


ความรู้เรื่องขนมปังทำเร็ว (Quick bread)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat E-mail: pracob.cooparat@gmail.com 

Keywords: อาหาร, food, การทำอาหาร, cuisine, ขนมปัง, bread, หัวเชื้อทำพอง, leavening, แป้งจากข้าว, flour, แป้งสาลีเหนียว, dough,

เมื่อเร็วๆนี้ มีการโต้เถียงกันเล็กน้อยเรื่องอาหารการกินของตะวันตก โดยไม่แน่ใจว่าอาหารประเภท เค๊ก (Cakes), บราวนีส์ (Brownies) และคุกกี้ส์ (Cookies), เช่นเดียวกับ ขนมปังกล้วยหอม (Banana bread), ขนมปังเบียร์ (Beer bread), บิสกิทส์ (Biscuits), ขนมปังข้าวโพด (Cornbread), มัฟฟินส์ (Muffins), แพนเค้ก (Pancakes), สโกนส์ (Scones), และเค๊กโซดา (Soda bread) เหล่านี้จะจัดอยู่ในพวกขนมปังได้หรือไม่ และอยู่ในหมวดอะไร

คำตอบคือสิ่งที่ได้กล่าวมานี้จัดเป็นพวกขนมปังอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “ขนมปังทำเร็ว” หรือ Quickbread
ขนมปังทำเร็ว (Quikck bread) เป็นขนมปังชนิดหนึ่งที่กระบวนการทำให้พองหรือฟู โดยใช้ตัวช่วยทำฟูอื่นๆ นอกจากใช้ยีสต์ (Yeast)

โดยประวัติศาสตร์ ขนมปังทำเร็ว อาจเริ่มมาจากในประเทศสหรัฐอเมริกา ในราวปลายศตวรรษที่ 18 ก่อนหน้านี้การทำให้ขนมปังฟูได้ ก็ด้วยใช้ยีสต์ (Yeast) หรือใช้ไข่ (Eggs) แต่ในช่วงสงครามกลางเมืองของอเมริกา (American Civil War) ในช่วงปี ค.ศ. 1861-1865 ความต้องการอาหารสำหรับส่งบำรุงกองทัพสูง จำเป็นต้องมีกระบวนการทำขนมปังที่เร็วกว่าแบบดั่งเดิม และปลอดภัยจากโรคทางเดินอาหาร ไม่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ

การใช้ยีสต์ทำขนมปัง ที่ต้องใช้เวลาหมักทำให้กระบวนการทำอาหารซับซ้อนไม่เหมาะกับการทำอาหารในภาคสนาม จึงได้มีการใช้ผงทำฟู เรียกว่า Baking soda แทนยีสต์ ซึ่งการใช้เคมีภัณฑ์ที่ปลอดภัยสำหรับการทำอาหาร จึงเป็นการค้นพบ หรือ “ค้นพบใหม่” (Rediscovery) ที่นิยมแพร่หลายเข้าไปในกองทัพ ส่วนการใช้สารเคมีนี้ได้มีการเริ่มใช้ในเชิงพาณิชย์และตามครัวเรือนกันในสหรัฐอเมริกา อย่างน้อยในช่วงปี ค.ศ. 1846 เป็นต้นมา

ต่อไปนี้ เป็นภาพของขนมปังทำเร็ว (Quickbread) ในแบบต่างๆ ซึ่งหลายรายการเรามองว่าเป็นหมวดขนม ไม่ใช่ขนมปัง (Bread)


ภาพ เค๊ก (cakes) มีหลากหลายชนิด มีวิธีการผลิตคล้ายกัน ส่วนใหญ่ใช้การอบ แม้ไม่ทั้งหมด แต่ไม่ใช้ยีสต์ (Yeast) ในการทำให้ฟู


ภาพ บราวนีส์ (Brownies


ภาพ คุกกี้ส์ (Cookies)


ภาพ ขนมปังกล้วยหอม (Banana bread)


ภาพ ขนมปังเบียร์ (Beer bread)


ภาพ บิสกิทส์ (Biscuits)


ภาพ บิสกิทส์ (Biscuits)


ภาพ ขนมปังข้าวโพด (Cornbread)


มัฟฟินส์ (Muffins)


แพนเค้ก (Pancakes)


แพนเค้ก (Pancakes)


ภาพ ขนมรวงผึ้ง (Waffles) มีส่วนประสมคล้ายกับ Pancake แต่ทำให้สุกในเบ้าอบ ที่มีลักษณะเป็นเหมือนรวงผึ้ง ให้ความร้อนได้ทั่วถึง ทำได้เร็ว


สโกนส์ (Scones)


เค๊กโซดา (Soda bread) ที่เห็นในภาพ คือ Irish Soda Bread สามารถทำในกระทะได้


ขนมปังพิต้า (Pita bread) นิยมแถวตะวันออกกลาง


ขนมปังพิต้า (Pita bread) นิยมแถวตะวันออกกลาง

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com



ภาพ ขนมปังพีต้า ที่จะเห็นโดยทั่วไปในชุมชนชาวตะวันออกกลาง


Keywords: อาหาร, food, การทำอาหาร, cuisine, ขนมปัง, bread, หัวเชื้อทำพอง, leavening, แป้งจากข้าว, flour, แป้งสาลีเหนียว, dough, ขนมปังพีต้า, Pita

ขนมปังพิต้า (Pita bread) เป็นขนมปังโบราณที่ทำให้กึ่งอืด (Semi-levened bread) นิยมแพร่หลายในตะวันออกกลาง ใน Levant และในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Europe) ขนมปังพิต้า จะมีกรอบนอกเป็นแผ่น และมีช่องว่างตรงกลาง ทำให้สอดใส่ไส้ต่างๆเข้าไปได้


ภาพ กองของขนมปังพีต้าที่วางขายที่ตลาด Mahane Yehuda marketplace เมืองเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล (Jerusalem, Israel)


ภาพ ขนมปังพีต้า (Pita) ขณะกำลังร้อนและโป่งพองจากเตา ขณะเคลื่อนไปตามสายพาน และเมื่อเย็นลงจะแบนและพร้อมจะบรรจุลงหีบห่อ


ภาพ พีต้าใส่ไส้ของกรีก โดยการเตรียมและการอบที่ทำให้ได้แผ่นแบน และมีช่องว่างตรงกลาง เหมาะแก่การใส่ใส้ชนิดต่างๆ

Sunday, July 21, 2013

ดีทรอยท์ – 6 หนทางที่หดเมืองเพื่อความอยู่รอด


ดีทรอยท์ – 6 หนทางที่หดเมืองเพื่อความอยู่รอด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, government, ธรรมาภิบาล, สหรัฐอเมริกา, USA, ชุมชนเมือง, urban, suburban, ดีทรอยท์, มิชิแกน, Detroit, Michigan, Pittsburg, Flint

ศึกษาและเรียบเรียงจาก บทความหลัก “Detroit: Six ways 'shrinking' cities try to survive.” โดย Tom Geoghegan, BBC News, Washington, 21 July 2013 Last updated at 00:22 GMT


ภาพ การล้มละลายของเมืองดีทรอยท์ เป็นผลจากการต้องเสียประชากรไปกว่า 1 ล้านคน แล้วเมืองอื่นๆที่ประสบปัญหาแบบเดียวกันดำรงอยู่ได้อย่างไร

การที่เมืองดีทรอยท์ต้องล้มละลายมีหลายเหตุผล – ดังเช่น ความเสื่อมของอุตสาหกรรม, เงินเบี้ยบำนาญของคนที่เกษียณแล้วสูง, ยืมเงินมากจนเกินตัว, และการจัดการเมืองที่ย่ำแย่ เหล่านี้เป็นเหตุผลบางส่วน

แต่การต้องเสียประชากรไป 1.2 ล้านคนนับแต่ช่วงทศวรรษ 1950s ไม่ว่าเมืองไหนก็ต้องประสบปัญหา เมื่อประชากรผู้พักอาศัยต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นๆ เมืองต้องถูกปล่อยให้เผชิญกับเงินภาษีที่เก็บได้ลดลง อัตราของอาชญากรรมยิ่งสูงขึ้น และถนนถูกปล่อยให้ว่างร้าง ขาดคนดูแล

แต่ในขณะเดียวกัน เขตร้างด้วยการเปลี่ยนและย้ายฐานอุตสาหกรรม ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “เขตสนิมเกรอะ” (Rust Belt) ได้เกิดขึ้นในเมืองอื่นๆมาแล้ว และเขาดำเนินการกันอย่างไร

1. ทุบอาคารร้างเสีย

Demolish derelict buildings...


ภาพ การทุบอาคารเก่า ที่ไม่มีคนอยู่อาศัยทิ้ง

บางเมืองได้พัฒนาอุตสาหกรรมการทำลายอาคารที่ถูกทิ้งร้างเสีย (Demolition industry) ไม่ปล่อยให้เป็นที่สร้างความเสื่อมโทรมหนักขึ้นไปอีก ซึ่งก็ยิ่งไปทำลายบรรยากาศของเมืองและชุมชนส่วนที่ยังเหลืออยู่

เมืองยังทาวน์ รัฐโอไฮโอ (Youngstown, Ohio) เสียประชากรไป 120,000 คน นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950s ในปัจจุบันเหลือประชากรเพียง 66,000 คน ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ได้มีการทำลายบ้านไปแล้ว 4,000 หลัง เจเน็ต ทาร์ปเลย์ (Councillor Janet Tarpley) ผู้เป็นคณะกรรมการเมือง ผู้เป็นตัวแทนของ 6 เขต ที่ซึ่งต้องมีอาคารถูกทุบทิ้งมากที่สุด

 “เมื่อทุบทิ้งแล้ว ปัญหาอาชญากรรมในบริเวณนั้นก็ลดลง” เพราะเขตเสื่อมโทรม อาคารร้างได้เป็นที่ๆมีการเก็บซ่อนของที่โจรกรรมมาได้ เป็นแหล่งโสเภณี ค้ายา คนสลัมก็เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการทำลายบ้านที่เสื่อมโทรม คุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยในส่วนที่เหลือก็ดีขึ้น”

ในวันนี้ เมืองดูดีกว่าเมื่อปี ค.ศ. 2008 เมื่อเธอเข้ารับตำแหน่ง เจเน็ต ทาร์ปเลย์ มีหน้าที่ไปเคาะประตูบ้าน เตือนเพื่อนบ้านให้ตัดหญ้าหรือดูแลบ้านเรือนของตนเองให้สะอาด หรือไม่ก็จะถูกเชิญไปที่ศาลากลางของเมือง เพื่อเสียค่าตัดหญ้าที่จัดบริการโดยเมือง

แต่การทำลายอาคารอย่างขนานใหญ่ก็ได้รับการวิพากษ์ โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น เพราะมันมีค่าใช้จ่าย คิดเป็นเงินต่อหลังประมาณ $10,000 หรือประมาณ 300,000 บาท แต่ชาวบ้านบางส่วนบอกว่าการกวาดล้างชุมชนออกไปทำให้นักพัฒนาที่ดินไม่เข้ามาพัฒนา

2. ขายที่ดินไปในราคาถูก

...and sell the land for $25

ลองจินตนาการดู หากมีใครมาเคาะประตู แล้วให้ข้อเสนอซื้อที่ดินในราคา $25 หรือ 750 บาท
เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้วที่เมืองฟลินท์ มิชิแกน (Flint, Michigan) เมื่อประชากรของเมืองลดลงกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในปี ค.ศ. 2002  แดน คิลดี (Dan Kildee) ผู้เกิดที่เมืองนี้ และปัจจุบันเป็นวุฒิสมาชิก เขาดำเนินการโดยพัฒนาระบบที่เรียกว่า “ธนาคารที่ดิน” (Land banks) ซึ่งรับหน้าที่แทนเจ้าของที่ดินที่เป็นเอกชน

 “เมื่อมีบ้านถูกทิ้งร้างหลังหนึ่งในถนน” เขาอธิบาย “เราก็เข้ายึดสมบัติที่เป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วยกฎหมายยึดทรัพย์ (Tax foreclosure) เมื่อเจ้าของบ้านไม่จ่ายภาษี แทนที่จะจัดประมูลสินทรัพย์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เราก็นำที่ดินเข้าใน Land bank”

และเพราะว่ามีบ้านจำนวนมากเหลือเกินที่ได้อยู่ในสภาพที่ดินถูกยึดเพราะการเสียประชากรไป เราต้องทนอด กัดก้อนเกลือกิน ทำลายอาคารที่ถูกทิ้งร้าง เราเคาะประตูเพื่อนบ้านหลังถัดไป แทนที่จะต้องอยู่ถัดจากบ้านที่ถูกทิ้งร้าง ก็ขายที่ดินแก่เขาไปเพียงหน่วยละ $25 แต่ขอให้เขาดูแลมันให้สะอาด แทนที่จะมีบ้านร้างอยู่ถัดไป ก็กลายเป็นพื้นที่ว่าง เป็นสนามหญ้าที่กว้างเพิ่มขึ้น ซึ่งชาวบ้านก็สามารถใช้ประโยชน์ ทำเป็นโรงเก็บรถ เป็นสนามเด็กเล่น หรือทางรถยนต์ นับเป็นการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีประโยชน์ยิ่งขึ้น

3. ยอมรับเมืองที่เล็กลง แต่จะดีขึ้น

Accept that smaller can be better

ยอมรับเสียเถิดว่า ทำให้เล็กลง แต่ก็ทำให้ดีขึ้นได้

“นับเป็นเรื่องยากสำหรับคนอเมริกันที่จะทำ คือการมาร่วมหัวกันคิด” แดน คิลดีกล่าว โดยในปี ค.ศ. 2010 เขาได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์พัฒนาชุมชน (Center for Community Progress) เพื่อช่วยพัฒนาชุมชนเมืองขึ้น

 โดยจิตวิทยาคนอเมริกันที่ติดยึดกับการเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก แล้วขยายตัวไปเรื่อยๆ การเติบโตและความมั่งคั่งเป็นสิ่งเดียวกัน
แต่นั่นเป็นเรื่องอธิบายได้ยากสำหรับคนที่อยู่ในเมืองที่สูญเสียประชากรไป แล้วจะไม่มีโอกาสได้คนเหล่านั้นกลับคืนมา เราต้องกลับมาคิดกันใหม่ที่จะอธิบายคำว่า ความมั่งคั่ง”

4. สร้างสถาบันใหม่ขึ้นมา

Build institutions


ภาพ เมืองพิทส์เบอร์ก (Pittsburgh) ได้รับการยกย่องว่าเป็นตำนานความสำเร็จ ที่สามารถเป็นเจ้าภาพการประชุมใหญ่ G20 summit ในปี ค.ศ. 2009 นั่นคือการไปขึ้นเงินจากเช๊คที่ได้เคยเขียนไว้เมื่อ 50 ปีก่อน ศาสตราจารย์ไมเคิล แมดิสัน (Professor Michael Madison) แห่งมหาวิทยาลัยพิทส์เบอร์ก (University of Pittsburgh) กล่าว

ในช่วงทศวรรษที่ 1940s ได้มีการจัดตั้งองค์การชื่อ Allegheny Conference on Community Development (the ACCD) เมื่ออุตสาหกรรมเหล็กชั้นนำได้ร่วมกับเมืองพิทส์เบอร์กและเขตแอลลิเกนี (Allegheny County) เพื่อเรียกร้องให้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ในอดีตพิทส์เบอร์กมีปัญหาการคงอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ และชุมชนแวดล้อม ที่ทั้งได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศจากการเผาถ่านหิน และในอีกด้านหนึ่งก็ต้องอยู่ท่ามกลางความยากจน

หากจะว่าไปแล้ว หากเราศึกษาประวัติศาสตร์การพัฒนาเมืองพิทส์เบอร์ก และศึกษาอย่างลึกๆพอ เราอาจพบหนทางการแก้ปัญหาในลักษณะคล้ายกันที่เกิดขึ้นที่จังหวัดระยอง โดยเฉพาะเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด – ผู้แปล

ในอดีต โรงถลุงเหล็กตั้งอยู่ในเขตเมือง แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มันได้รับการแก้ไข

ยกตัวอย่าง ในชุมชนเขาการมีกฎหมายใหม่ ต้องเลิกการใช้เตาสร้างความอบอุ่นในบ้าน (Furnaces) ที่ใช้ถ่านหิน ทั้งนี้เพื่อขจัดฝุ่นควัน และในอีกด้านหนึ่ง ก็สร้างองค์การท่าเรือ (Port Authority) ขึ้นมา
ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา “ในสมัยทศวรรษ 1950s เขาเริ่มรู้กันแล้วว่าต้องมีการพัฒนาเมืองขึ้นมาใหม่ (Reinventing itself) แต่เขาไม่รู้ว่าเขาจะเลิกสิ่งที่เขายังได้รับประโยชน์เหล่านี้ในทุกวันได้อย่างไร” แมดิสันกล่าว

ในช่วงของการพัฒนานี้ เมืองพิทส์เบอร์กได้มีการพัฒนามหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อในระดับโลก 2 แห่ง มีศูนย์การแพทย์ที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950s และ 60s

เมืองอื่นๆควรเรียนรู้จากการจัดตั้งสถาบันขึ้นมาทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงเมือง จากยุคอุตสาหกรรม ไปสู่การมีโครงสร้างใหม่ที่จะนำความมั่งคั่งใหม่สำหรับอนาคต” เขากล่าว

5. อย่าติดกับประวัติศาสตร์




Don't be trapped by history

อดีตพิทส์เบอร์กได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเหล็ก (Steel city) แต่อุตสาหกรรมเหล็กก็เป็นสิ่งเสื่อมถอยไปของเมือง และนั้นเป็นผลกระทบที่รุนแรง พิทส์เบอร์กจะเป็นเมืองอย่างที่เคยเป็นในอดีตไปเรื่อยๆกระนั้นหรือ

ชุมชนต้องการความสัมพันธ์กับสิ่งที่เคยมีในอดีต ใช้ความแข็งแกร่งที่ได้จากอดีต แต่ไม่ใช่ถูกครอบงำจากอดีต แมดิสันกล่าว

 “พิทส์เบอร์กต้องทำตัวเองให้ห่างออกจากอดีตที่เคยรุ่งเรืองจากความเป็นเมืองเหล็กในศตวรรษที่ 20 ทุกคนรักประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเหล็ก แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่าสิ่งเหล่านั้นจะไม่หวนกลับมา”


ภาพ ทีมอเมริกันฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของเมือง “ชาวเหล็ก” Pittsburgh Steelers”

6. ดึงดูดงานที่เหมาะสม

Entice the right jobs

เมื่ออุตสาหกรรมเหล็ก (Steel industry) ของเมืองต้องล้มลง ผู้นำทางเศรษฐกิจของเมืองพิทส์เบอร์กต่างก็มีสัญชาติญาณรีบหาอุตสาหกรรมอื่นๆมาทดแทน ที่สามารถจ้างงานคนจำนวนมาก แมดิสันกล่าว เป้าหมายก็คือการสร้างโรงงานให้ใหญ่ขึ้น ดังเช่น ผลิตโทรทัศน์หรือรถยนต์ นั่นเป็นเหมือนเป็นการแก้ปัญหาที่ดีเลิศ

แต่อุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องแข่งขันกันสูงมาก และหลายอุตสาหกรรมได้ย้ายฐานไปเอเชียที่มีค่าแรงถูกกว่า หรือแม้แต่ไปยังส่วนอื่นๆที่โดยรวมค่าใช้จ่ายถูกกว่า

พิทส์เบอร์กใช้เวลาอยู่สักระยะหนึ่งที่จะตระหนักกว่า ยุทธศาสตร์ที่ยึดตามแนวเดิมนี้มีแต่ทำให้เสียหายหนักขึ้น แมดิสันกล่าว ดังนั้นจึงหันมาสู่อุตสาหกรรมบริการ (Service industries) ดังเช่น มหาวิทยาลัย ศูนย์การแพทย์ และธุรกิจไฮเทค และสร้างงานให้เกิดขึ้นในชุมชน แทนที่จะส่งออกงานไปยังต่างประเทศ

ขนมปังมีหลากหลายประเภท (Types of bread)


ขนมปังมีหลากหลายประเภท (Types of bread)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: อาหาร, food, การทำอาหาร, cuisine, ขนมปัง, bread, หัวเชื้อทำพอง, leavening, แป้งจากข้าว, flour, แป้งสาลีเหนียว, dough,

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

ขนมปัง (Bread) เป็นอาหารที่มีกินกันอย่างแพร่หลายในยุโรป (Europe) และในถิ่นที่มีวัฒนธรรมจากยุโรปเผยแพร่ไปถึง ดังได้แก่ อเมริกาทั้งเหนือและใต้ (Americas), ตะวันออกกำลัง (Middle East), อัฟริกาเหนือ (North Africa) และอัฟริกาใต้ (Southern Africa) ซึ่งตรงกันข้ามกับเอเชียตะวันออก (East Asia) ที่อาหารหลักที่มีคนกินกันมากๆ คือข้าว (Rice)

ขนมปังโดยทั่วไปทำจากแป้งข้าวสาลี (Wheat-flour dough) ที่หมักกับยีสต์ (Yeast) แล้วปล่อยให้พองอึด แล้วจึงนำไปอบ (Baked) ในเตาอบ (Oven) และด้วยความที่ขนมปังต้องมีส่วนของความเป็นแป้งเหนียว (Gluten) ที่ทำให้เนื้อแป้งที่นวดแล้ว (Dough) มีลักษณะเป็นเหมือนฟองน้ำ (Sponginess) และมีความยืดหยุ่น (Elasticity) และเพราะข้าวสาลีมักจะเป็นธัญพืชที่นำมาทำขนมปังมากที่สุด คนจึงเรียกข้าวสาลีว่า ข้าวขนมปัง” (Bread wheat)

Gluten = ของเหนียว

อย่างไรก็ตาม ขนมปังทำได้จากธัญพืชอื่นๆ หรือข้าวสาลีพันธุ์อื่นๆได้ เช่น ดูรัม (Durum), สเปลท์ (Spelt) และเอมเมอร์ (Emmer), ข้าวไร (Rye), ข้าวบาร์เลย์ (Barley), ข้าวโพด (maize/ corn), และข้าวโอ๊ต (Oats) ซึ่งบางทีในการทำเป็นขนมปัง ก็มีการใส่แป้งข้าวสาลี (Wheat flour) ลงไปด้วย

ประเภท
Types

เมื่อขนมปังแพร่หลายไปทั่วยุโรป และทั่วโลก ก็ทำให้มีความหลากหลายในวิธีการทำ ตลอดจนวัตถุดิบ ในบทความนี้จะพยายามทำให้เห็นว่าคำว่า “ขนมปัง” นั้นมิได้มีลักษณะเป็นหนึ่งเดียว


ภาพ ขนมปังสีขาว (White bread) ทางซ้าย และขนมปังสีน้ำตาล (Brown bread)
ภาพ ขนมปัง White bread แบบที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม ทาเนยถั่ว นับเป็นอาหารอย่างง่ายๆ ไม่ต้องใช้จานรองรับ ทาแล้วกินเลยก็ได้

ภาพ ขนมปังแบบดั่งเดิมของฝรั่งเศส เรียกว่า บูเล (Classic French bread, boule)

บูเล (Boule) เป็นขนมปังฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายว่าบอล (Ball) หรือรูปกลมๆ เป็นขนมปังแบบดั่งเดิมของฝรั่งเศส มีลักษณะเหมือนลูก Squashed ball เป็นขนมปังที่มีเสน่ห์ มีกลิ่นและรสหลายแบบ บูเลอาจทำให้พอง (Leavened) ด้วยเชื้อยีสต์ (Yeast) สารเคมี (Chemical leavening) หรือยีสต์จากแป้งหมัก (Wild yeast sourdough)

ขนมปังสเปลท์ (Spelt bread) หรือเรียกกันว่าดิงเคลบรอท (Dinkelbrot) มักนิยมกินกันในประเทศเยอรมนี




ภาพ ขนมปังเอมเมอร์ (เป็นอาหารของอียิปต์โบราณ Emmer bread)

ขนมปังแคนาดา (Canadian bread) ได้ชื่อว่าเป็นของอร่อย เนื่องจากทำจากแป้งข้าวสาลีในแคนาดาที่มีระดับโปรตีนสูงกว่าแป้งจากที่อื่นๆ


ภาพ ขนมปังพีต้า (Pita bread)

ขนมปังพิต้า (Pita bread) เป็นขนมปังโบราณที่ทำให้กึ่งอืด (Semi-levened bread) นิยมแพร่หลายในตะวันออกกลาง ใน Levant และในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Europe) ขนมปังพิต้า จะมี
กรอบนอกเป็นแผ่น และมีช่องว่างตรงกลาง ทำให้สอดใส่ใส้ต่างๆเข้าไปได้

ขนมปังขาว (White bread) เป็นขนมปังที่ทำจากข้าวสาลีขัดขาว โดยเป็นเมล็ดส่วนกลาง ไม่มีรำข้าว เรียกว่าเอ็นโดยสเปิร์ม (Endosperm)

ขนมปังสีน้ำตาล (Brown bread) เป็นขนมปังที่ทำจากข้าวขัดขาว และมีส่วนเป็นรำร้อยละ 10 ซึ่งบางทีก็เรียกว่าขนมปังขาว (White bread) โดยมีการใส่สารให้สี เช่น คาราเมล (Caramel) ทำให้ได้เป็นสีน้ำตาล ซึ่งขนมปังลักษณะนี้ในอเมริกาเรียกว่า “ขนมปังข้าวสาลี” (Wheat bread) ซึ่งจะต่างจากขนมปังข้าวสาลีกล้อง ที่ทำจากเมล็ดข้าวที่ไม่ขัดสี เรียกว่า Whole-wheat bread ซึ่งต้องการประโยชน์จากรำข้าวและความมีเยื้อใย (Fiber) มากกว่า

ขนมปังข้าวสาลีกล้อง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wholemeal bread ซึ่งมีข้าวสาลีอย่างครบถ้วน คือ ส่วนเมล็ดข้าวแกนกลาง (Endosperm), รำข้าว (Bran), และจมูกข้าว (Germ) ซึ่งในทวีปอเมริกาเหนือจะเรียกว่า whole-grain หรือ whole-wheat bread

ขนมปังจมูกข้าวสาลี (Wheat germ) คือขนมปังที่ใส่ส่วนที่เป็นจมูกข้าวลงไปด้วย

ในภาษาอังกฤษคำว่า Whole-grain bread อาจเรียกว่า Wholemeal bread หรือขนมปังขาว ที่มีการใส่ส่วนที่เป็นเมล็ดพืชทั้งหมด เพื่อเพิ่มเยื่อใย (Fibre content) ซึ่งบางทีก็เรียกว่า 60% whole-grain bread สำหรับแนวโน้มการบริโภคอาหารยุคใหม่ที่เน้นสุขภาพ คนจะนิยมขนมปังจากข้าวกล้องมากขึ้น ที่จะให้คุณค่าของโภชนาการที่ครบถ้วนได้มากกว่า และที่สำคัญคือการเพิ่มเยื่อใยอาหาร

คำว่า Whole grain หมายความว่าเป็นข้าวที่เมื่อกะเทาะเปลือกข้าว (Husk) ด้านนอก จะมีส่วนที่เป็นสีขาวในตอนกลาง เรียกว่าเอ็นโดสเปิร์ม (Endosperm) หรือส่วนข้าวขาว และส่วนที่เป็นรำ (Bran) อยู่ในส่วนนอก และส่วนที่เป็นจมูกข้าว (Germ)


ภาพ โรตี (Roti)


ภาพ โรตี (Roti) ที่มมีขายในประเทศไทย มีลักษณะเป็นขนม หรือของว่าง ใช้ใส่นมข้นหวาน และโรยน้ำตาล 


ภาพ โรตี (Roti) ที่มีขายในประเทศไทย มีทั้งที่ใส่ไข่ หรือใส่ผลไม้

โรตี (Roti) เป็นขนมปังแบบหนึ่งที่ทำจากข้าวสาลี มีบริโภคกันมากในเอเชียใต้ ส่วนชาปาตติ (Chapatti) เป็นโรตีขนาดที่ใหญ่


ภาพ ชาปาตติ (Chapatti) เป็นโรตีขนาดที่ใหญ่


ภาพ ชาปาตติ (Chapattiเป็นโรตีขนาดที่ใหญ่


ภาพ นาน (Naan) 

นาน (Naan) เป็นขนมปังในแบบโรตีที่ทำให้ฟูและนุ่ม คล้ายขนมปังของตะวันตก

Granary bread หมายถึงขนมปังที่ทำจากข้าวทั้งเมล็ด ดังการทำที่ใช้ข้าวทั้งเมล็ดที่ทำให้เป็นเกร็ด (Flaked grains) แล้วนำไปทำเป็นขนมปังร่วมไปกับแป้งข้าวขาวหรือข้าวน้ำตาล


ภาพ ขนมปังผสมเมล็ดธัญพืช ให้ความเป็นเยื่อใย

Granary แปลว่ายุ้งฉางที่ใช้เก็บข้าว หรือข้าวหลังจากที่ได้มีการกะเทาะเปลือก (Husked) ออกแล้ว ขนมปังบางชนิด นอกจากจะมีส่วนที่เป็นเนื้อนุ่มแล้ว จะเห็นส่วนที่เป็นเมล็ดหรือเกร็ดเล็กๆ ที่หยาบกว่าร่วมมาด้วย ส่วนที่หยาบนี้ จะมีรำข้าว ที่ทำหน้าที่เป็นคาร์โบไฮเดรคตที่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โรคเก๊าท์ ผู้ต้องควบคุมความดันโลหิต ฯลฯ

ขนมปังไร (Rye bread) ทำจากแป้งที่มาจากข้าวไร (Rye grain) ที่มีความละเอียดหลายระดับ ให้ความเป็นเยื่อใยสูงกว่าขนมปังทั่วไป โดยทั่วไปจะมีสีเข้มกว่าและมีรสชาติที่เข้มกว่าขนมปังทั่วไปเช่นกัน นับเป็นขนมปังที่นิยมกันมาในแถบสแกนดิเนเวีย (Scandinavia), เยอรมนี (Germany), ฟินแลนด์ (Finland), และรัฐแถบบัลติก (Baltic States), และรัสเซีย (Russia)

ขนมปังมัทโซ (Matzo), เป็นขนมปังที่ไม่ทำให้พองฟู ใช้ในงานเลี้ยงของชาวยิว ไม่ใส่ยีสต์ จึงไม่พองขึ้นมา เป็นขนมปังแบนกรอบ คล้าย Cracker


ภาพ ขนมปังมัทโซ (Matzo) ของยิว เป็นแผ่น กรอบแห้ง เก็บได้นานสะดวกในการสำรองขณะเดินทาง

ขนมปังแป้งเปรี้ยว (Sourdough bread) ทำจากกระบวนการที่ต้องหมัก (Fermentation starter) เพื่อช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ในสมัยก่อนไม่มีกระบวนการเรียนรู้ด้านเคมีและชีววิทยาอย่างลึกซึ้ง แต่จากประสบการณ์ เขาจะใช้ของหรือภาชนะที่มีแบคทีเรียอย่างที่ต้องการตกค้างอยู่อย่างต่อเนื่อง แล้วเขาก็เก็บสภาพนั้นไว้ไม่ให้แบคทีเรียต้องตายไป หรือกลายสภาพ

ขนมปังในแบบนี้ยังมีการผลิตในปัจจุบัน นับเป็นของอร่อยที่มีกลิ่นและรสไม่เหมือนใคร


ภาพ ปัง ลูวัง Pain au Levain ขนมปังทำจากแป้งเปรี้ยว (Sourdough Bread) ที่มีชื่อเสียง

ขนมปังแผ่นบาง (Flatbread) เป็นขนมปังที่มีกระบวนการทำที่ง่าย ทำจากแป้ง น้ำ และเกลือ แล้วนำไปประสมกันพร้อมกับนวดเป็นแป้งขนมปัง (Dough) แล้วทำให้แบน แล้วผ่านกระบวนการอบ โดยไม่ใช้ยีสต์ หรือกระบวนการหมักเป็นแป้งเปรี้ยว แต่มีกระบวนการบางแห่งที่ใช้ยีสต์ประสม

ขนมปังกรอบ (Crisp bread) เป็นขนมปังลักษณะแผ่นบาง แห้ง หรือที่เรียกว่า Cracker ส่วนใหญ่ทำด้วยแป้งจากข้าวไร (Rye flour)

ขนมปังข้าวเฮม (Hemp bread) มีกลิ่นและรสของแป้งหรือเมล็ดเฮมที่แรง เป็นอาหารที่ได้ชื่อว่าเป็น “ยาสารพัดนึกสู่ความเป็นอัมตะ” (Superior elixirs of immortality) แป้งเฮมเป็นผลพลอยจากการหีบเอาน้ำมันเฮมออก แล้วเหลือเป็นกาก แป้งเฮมเป็นของที่มีโภชนการสูง เน่าเสียได้ง่าย จึงต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น แป้งจากเฮม (Hemp dough) จะไม่พองขึ้นเนื่องด้วยไม่มีส่วนแป้งเหนียว (Gluten) ด้วยเหตุดังกล่าว จึงต้องมีการประสมแป้งข้าวสาลี ในอัตราส่วน ข้าวสาลีต่อแป้งเฮม 5:1 เพื่อที่จะให้ได้ขนมปังก้อน (Loaf) ที่มีโปรตีนสูง และมีกรดไขมันที่จำเป็น ส่วน เฮมเป็นพืชที่เป็นส่วนของยาจีนโบราณ (Traditional Chinese Medicine) มาหลายพันปีแล้ว


ภาพ ขนมปังข้าวเฮม (Hemp bread) ที่มีส่วนของความเป็นเมล็ดอยู่ด้วย

เมล็ดเฮมโดยปกติมีน้ำมันอยู่สูงถึงร้อยละ 25-35 และสามารถใส่เข้าไปในแป้งสาลีได้ร้อยละ 15 ซึ่งจะทำให้ได้ขนมปังสุขภาพที่จะมี Omega 6 จนถึง Omega 3 ในสัดส่วน 2:1 ถึง 3:1 ซึ่งเหมาะสมที่จะเป็นโภชนาการของมนุษย์

ขนมปังแบบทำเร็ว
Quick breads

ขนมปังแบบทำเร็ว (Quick bread) โดยทั่วไปหมายถึงขนมปังที่ทำให้พองได้ทางเคมี โดยมีการใส่ผงแป้งฟู และ (Baking powder) และผงโซดาที่ใช้ในการอบ (Baking soda) ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สมดุลในความเป็นกรดและความเป็นด่าง

ขนมปังพวกนี้ ได้แก่ แพนเค๊ก (Pancakes) และแวฟเฟิลส์ (Waffles) มัฟฟิน (Muffins) และเค๊กแครอท (Carrot cake) ขนมปังบอสตันสีน้ำตาล (Boston brown bread) และซุคคีนิ (Zucchini) และเค๊กกล้วยหอม (Banana bread) เหล่านี้จัดเป็นขนมปังทำเร็ว


ภาพ แวฟเฟิล (Waffles) หรือขนมรวงผึ้ง เป็นส่วนหนึ่งของอาหารเช้า


ภาพ ขนมรังผึ้ง หรือแวฟเฟิลส์ (Waffles) สามารถนำไปตกแต่ง หรือประกอบเป็นได้ทั้งของหวาน หรือของคาว ทำได้ง่าย ภายใน 2-3 นาที


ภาพ แพนเค๊ก (Pancakes)


ภาพ แพนเค๊ก (Pancake) หรือเค๊กที่ทำในกระทะ ในภาพ มีลักษณะเป็นของว่าง


ภาพ แพนเค๊ก (Pancake)


ภาพ มัฟฟิน (Muffins)


ภาพ เค๊กแครอท (Carrot cake) ที่เคลือบด้วยหน้าเป็นครีมหวาน ทำเป็นของหวานวันเกิด


ภาพ ขนมปังบอสตันสีน้ำตาล (Boston brown bread) อบในภาชนะทรงกลม


ภาพ Zucchini Pancakes 


ภาพ ขนมปังในบางลักษณะใช้ทอดได้ โดยใช้น้ำมันแต่น้อย 


ภาพ ขนมปังที่ผลิตเพื่อใช้เป็น Hamburger