Wednesday, June 25, 2014

บทเรียนจากสมรภูมิ Little Bighorn จงกล้าหาญ แต่อย่ากล้าบ้บิ่น

บทเรียนจากสมรภูมิ Little Bighorn จงกล้าหาญ แต่อย่ากล้าบ้าบิ่น

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การทหาร, military sciences, การรบ, war, battle, ความกล้าหาญ, courage, กล้าบ้าบิ่น, reckless, imprudent, การจัดการความเสี่ยง, risk management, จอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์, George Armstrong Custer


 การเป็นนักยุทธศาสตร์ ไม่ว่าในการรบ หรือการทำกิจการใดๆ ต้องใช้สติ ปัญญา ความรอบรู้ และรอบคอบ ที่จะตัดสินใจเพื่อยังประโยชน์ตามเป้าหมาย ความกล้าหาญหากขาดสติและการใช้ปัญญา อาจกลายเป็นหลุมพรางที่นำความพ่ายแพ้และเสียหายอย่างมหันต์

ข้าพเจ้าเจตนาและยินดีที่จะเข้ารบในทุกสมรภูมิทุกวัน ตลอดชีวิตของข้าพเจ้า – นายพลตรีจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์

จอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ (George Armstrong Custer) เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1839 และเสียชีวิตในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1876 ด้วยวัยเพียง 40 ปี คัสเตอร์เป็นนายทหารของกองทัพบกสหรัฐ เป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ทำการศึกในสงครามกลางเมืองของอเมริกา (American Civil War) สงครามรบกับอเมริกันอินเดียน (American Indian Wars) เขาเติบโตและได้รับการเลี้ยงดูในเขตรัฐมิชิแกน (Michigan) และโอไฮโอ (Ohio) คัสเตอร์ได้รับคัดเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกที่เวสต์พอยต์ (Westpoint) อันทรงเกียรติในปี ค.ศ. 1858 ที่ซึ่งเขาจบการศึกษาได้เป็นอันดับสุดท้ายของรุ่น และเพราะการเกิดสงครามกลางเมือง คัสเตอร์จึงถูกเรียกเข้าปฏิบัติงานในกองทัพฝ่ายรัฐบาล (Union Army)
คัสเตอร์มีกิติศัพท์มากในช่วงสงครามกลางเมือง เขาเข้ารบในสมรภูมิที่เรียกว่า First Battle of Bull Run เพราะเขามีความสัมพันธ์กับนายทหารคนสำคัญหลายคนที่ช่วยในอาชีพการทหารของเขา และเขาเองก็เป็นคนทำงานมีประสิทธิภาพ จนได้รับเลื่อนยศเป็นพลตรี (Major General)

คัสเตอร์เป็นนายทหารที่ชอบออกรบและปฏิบัติการณ์อย่างห้าวหาญเสมอ การรบที่เขาเข้ารบที่มีกิติศัพท์มากที่สุด คือเมื่อเขาและทหาร 268 นายของเขาถูกสังหารในสมรภูมิ Battle of the Little Bighorn เมื่อเขาแทนที่จะหยุดจัดการแนวรบแบบตั้งรับให้มีความพร้อม แต่กลับมุ่งเข้าประจัญบานกับนักรบชนเผ่าพื้นเมืองที่รู้ภูมิประเทศดีกว่า  ซึ่งมารู้ภายหลังว่าฝ่ายชนพื้นเมืองมีกำลังคนถึง 3,000-4,000 คน นำโดยหัวหน้าเผ่าชื่อ Crazy Horse และ Sitting Bull ที่โอบล้อมเข้าตี คัสเตอร์เข้าประจันบานในสมรภูมิอย่างเสียเปรียบ ไม่มีที่กำบัง ไม่สามารถรับการส่งกำลังบำรุงได้สะดวก แม้ในท้ายสุดต้องล้มม้าทั้งหมดเพื่อทำเป็นแนวกำบัง อาวุธของทหารที่เสียชีวิตก็ถูกยืดและใช้โดยนักรบอินเดียนแดงกลับมาสังหารทหารของเขาจนคนสุดท้าย

คัสเตอร์ได้รับการยกย่องว่าเป็นนายทหารที่กล้าหาญ แต่ในอีกด้านหนึ่ง เขาเป็นคนบุ่มบ่าม ไม่รอบคอบในการนำคนจำนวนมากเข้าเสี่ยงในการรบ จนในที่สุดทำให้ทหารของเขาเองเสียชีวิตจนหมด


ภาพ หัวหน้านักรบชนพื้นเมืองอเมริกัน Crazy Horse


ภาพวาด สมรภูมิ การรบที่ Little Big Horn ในรัฐมอนทาน่า สหรัฐอมริกา


ภาพ อนุสาวรีย์การรบที่ Little Big Horn, รัฐ Montana, สหรัฐอเมริกา

การรบที่ลิตเติลบิกฮอร์น
The Battle of the Little Bighorn (The Battle of Greasy Grass Creek)
เป็นส่วนหนึ่งกับสงครามกับชนผ่าซีอุกซ์ ปี ค.ศ. 1876-1877
Part of the Great Sioux War of 1876–77

"The Custer Fight" by Charles Marion Russell.
วันเวลา
Date
25-26 มิถุนายน ค.ศ. 1876
 June 25–26, 1876
สถานที่
Location
ใกล้กับแม่น้ำ ชื่อ Little Bighorn เขต Big Horn ในรัฐมอนทานา
Near the Little Bighorn RiverBig Horn County, Montana
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/55/WMA_button2b.png/17px-WMA_button2b.png45°33′54″N 107°25′44″WCoordinatesDescription: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/55/WMA_button2b.png/17px-WMA_button2b.png45°33′54″N 107°25′44″W
ผลการรบ
Result
ชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันอินเดียนชนะ
Native American victory
กำลังพล
Belligerents
ประกอบด้วยชนผ่า
Lakota
Cheyenne
Arapaho
Description: United States กองทัพสหรัฐ
United States
ผู้บัญชาการและผู้นำ
Commanders and leaders
กำลังรบ
Strength
~900–2,500
~647
การเสียชีวิตและการสูญเสีย
Casualties and losses
36-136 คน เสียชีวิต และบาดเจ็บ 160 คน
36-136 estimated killed
160 wounded
~268 คนถูกสังหาร
268 killed
~55 คนบาดเจ็บ
55 wounded


Wednesday, June 18, 2014

ประวัติการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster

ประวัติการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่ง, ยานพาหนะ, รถยนต์ไฟฟ้า, ev, Tesla Roadster, Lotus, Tesla Model S, Elon Musk

ผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของบริษัท Tesla คือรถยนต์สปอร์ตหรูที่ทรงประสิทธิภาพ ชื่อ Roadster ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่เริ่มผลิตจำนวนมาก รถยนต์รุ่นนี้ได้ความคิดมาจาก Martin Eberhard และ Marc Tarpenning โดยในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 ทั้งสองได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Tesla Motors ที่รัฐเดลาแวร์ (Delaware) ทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา โดยหวังว่าจะพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในระดับสามารถขายได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ รถยนต์ไฟฟ้าเป็นกิจกรรมสมัครเล่นแบบประกอบเองของพวกชอบงานช่าง โดยใช้โครงร่างของรถยนต์ทั่วไป แล้วเปลี่ยนเครื่องภายใน และติดตั้งแบตเตอรี่หลายๆลูก เพื่อเป็นพลังงานในการขับเคลื่อน

ต่อมา Tesla Motors ได้ผู้ร่วมงานใหม่อีกหนึ่งคน คืออีลอน มัสค์ (Elon Musk) วิศวกรและผู้ประกอบการที่เกิดในอัฟริกาใต้ เขาได้เข้าร่วมกิจการของบริษัท โดยลงทุนเพิ่มอีก USD7.5 ล้าน แล้วเข้ามาควบคุมการออกแบบและกระบวนการผลิตเริ่มตั้งแต่แรก ขยายเป้าหมายและยุทธศาสตร์การขายในระยะยาว โดยหวังว่าหลังจากการพัฒนารถยนต์สปอร์ต Roadster แล้ว จะพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในระดับคนธรรมดาซื้อหาได้ ที่สามารถแข่งขันในตลาดได้กับรถยนต์ใช้พลังงานเผาไหม้ที่มีอยู่ทั่วไป

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 มัสค์ได้เป็นประธานกรรมการของ Tesla Motors เขาได้สรรหาและเลือกหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัท โดยได้นายเจบี สโตรเบล (JB Straubel) มาร่วมงานในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ Roadster ได้รับการประเมินอย่างดียิ่งในวงการ โดยมัสค์เองก็ได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อม Global Green ในปี ค.ศ. 2006 ในฐานะผู้ออกแบบ Tesla Roadster โดยได้รับรางวัลจากประธานในงาน คือนายมิคาฮิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) อดีตผู้นำของโซเวียตรัสเซีย และในปี ค.ศ. 2007 Tesla Motors ก็ได้รางวัลด้านการออกแบบ Index Design Award สำหรับผลงาน Tesla Roadster นี้


Frontal and rear views of the 2008 Tesla Roadster

ในการจะพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าให้ประสบความสำเร็จนั้น บริษัทต้องอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วและพัฒนาโดยบริษัทอื่น

เบื้องหลังการออกแบบผลิต Tesla Roadster ทางบริษัทได้เทคโนโลยีและลิขสิทธิ์ระบบขับเคลื่อนจาก AC Propulsion ที่สามารถใช้ระบบการชาร์จไฟกลับได้ เมื่อต้องเบรก ชะลอรถ หรือขับลงเขาหรือจากที่สูง อันเป็นการนำเอาพลังงานที่สูญเปล่ากลับมาใช้ได้อีก หลังจากนั้น Tesla ได้พัฒนาระบบมอเตอร์ ระบบขับเคลื่อน (Drivetrain) ซึ่งใช้ร่วมไปกับเทคโนโลยีที่ได้ลิขสิทธิ์จาก AC Propulsion และหลังจากพัฒนาเองไปมากแล้ว Tesla ก็แทบจะไม่ได้ใช้ส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ของ AC Propulsion เพราะในที่สุด ระบบขับเคลื่อนของ Roadster ก็มีความเป็นเฉพาะตัวมาก

หัวใจความสำเร็จของรถยนต์ใดๆอีกประการหนึ่ง คือการทำให้น้ำหนักรถเบาที่สุด โดยไม่เสียความแข็งแรง ปลอดภัย และทนทาน

ในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 Tesla ได้ตกลงทำความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สปอร์ตของอังกฤษ ชื่อ Lotus โดยใช้โครงร่างตัวถังของ Lotus Elise โดย Lotus ได้ร่วมพัฒนาส่วนตัวถังของรถ โดยส่วนตัวถังได้ใช้วัสดุประสมคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber Composite) เพื่อลดน้ำหนักตัวถังทำให้รถรุ่น Roadster เป็นรถที่ใช้วัสดุประสมคาร์บอนไฟเบอร์ที่มีราคาถูกที่สุด และทำให้ตัวรถมีน้ำหนักเพียง 1235 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า

สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้ใน Tesla Roadster นั้น เขาใช้ชิ้นส่วนแบตเตอรี่จากที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว (Laptops) ซึ่งเป็นแบบลิเธียม-ไอออน (Lithium-ion) แล้วน้ำมาผนึกเป็นกลุ่มแบบจัดเรียงเพื่อใช้งาน โดยให้ได้พลังรวมของ 6831 หน่วยแบตเตอรี่นี้ Tesla อธิบายว่า การใช้ชิ้นส่วนแบตเตอรี่ที่ผลิตป้อนอุตสาหกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วที่มีอยู่แล้วนี้ เป็นการลดต้นทุนการผลิต แทนที่จะต้องมาสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ใหม่ในทันที่ ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายมาก

หลังจากนั้น Tesla Roadster ก็ได้เริ่มผลิตออกสู่ตลาดช่วงจากปี ค.ศ. 2004 ถึงปี 2007

ในระหว่างนี้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนารถรุ่นดังกล่าวขึ้นมาเล็กน้อย และมีการทดสอบอีกในช่วงปลายปี ค.ศ. 2006 และต้นปี ค.ศ. 2007 แล้วก็ผลิตรถต้นแบบออกมา 26 คัน รถเหล่านี้ใช้เพื่อการทดสอบความทนทาน และการทดสอบการชน ทั้งนี้เพื่อเตรียมการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก

เมื่อมีการขายออกสู่ตลาดในช่วงสิงหาคม ค.ศ. 2009 รถ Roadster ได้รับการตอบสนองในตลาดด้วยดี ทำให้เดือนนี้เป็นเดือนที่บริษัทมีผลประกอบการกำไร USD1 ล้าน จากเงินเข้าทั้งหมด USD20 ล้าน ในปี ค.ศ. 2010 และเป็นผลจากการที่ Tesla Roadster ได้รับรางวัลในฐานะรถยนต์สปอร์ตที่ประสบความสำเร็จ หลังจากเริ่มผลิต Tesla สามารถผลิตและส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า Roadster ไปยังลูกค้าได้ 109 คัน และรถยนต์รุ่นนี้ก็ยังขายได้ดีอย่างต่อเนื่อง

แต่เนื่องด้วยสัญญาที่ทำกับ Group Lotus ในปี ค.ศ. 2007 ได้สิ้นสุดลง Tesla จึงประกาศหยุดการผลิตรถยนต์รุ่นดังกล่าว และด้วยเหตุที่ทาง Lotus เองก็มีการปรับระบบชิ้นส่วนของ Lotus ทาง Tesla จึงไม่มีแผนที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นดังกล่าวต่อไป และเร่งพัฒนารถยนต์นั่งหรูของ Tesla รุ่น Model S ขึ้นมา พร้อมทั้งพัฒนาระบบการผลิตด้วยโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้รถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่นี้มีราคาที่ลดลงมาร้อยละ 30-40 จากรุ่น Roaster เพราะจะเป็นการผลิตด้วยระบบโรงงานที่ตั้งในสหรัฐที่มีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถทำให้ลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างมาก ทำให้บริษัทมีผลประกอบการเป็นกำไร ราคาหุ้นในตลาดทะยานตัวขึ้นไปตอบรับผลประกอบการที่ดี


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster ที่มีฉากหลังเป็นฟาร์กังหันลมผลิตไฟฟ้า


ภาพ หน้าปัดรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster ที่เริ่มมีแผงหน้าจอแบบคอมพิวเตอร์


ภาพ รถยนต์สปอร์ตไฟฟ้า Roadster ที่ถูกนำมาใช้เป็นแทกซี่ในเมือง Oslo ประเทศนอร์เวย์ เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพลังงานทางเลือก


ภาพ Elon Musk ผู้บริหารใหญ่ของ Tesla Motors

รถยนต์สปอร์ตไฟฟ้า Tesla Roadster
Tesla Roadster Sport 2.5
ภาพโดยรวม
Overview
ผลิตโดย
Manufacturer
ชื่อเรียกอื่นๆ
Also called
Code name: DarkStar[1]
ช่วงการผลิต
Production
2008–2012
สถานที่ประกอบ
Assembly
Hethel, Norfolk, England
Menlo Park, California, USA
ผู้ออกแบบ
Designer
Tesla Motors
ตัวถังและโครงรถ
Body and chassis
ประเภท
Class
ลักษณะตัวถัง
Body style
สปอร์ต 2 ที่นั่ง
2-door Roadster
ลักษณะวางระบบ
Layout
เครื่องวางกลาง ด้านหลังคนขับ ขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง
Rear mid-engine, rear-wheel drive
มีความเกี่ยวพันกับ
Related
ระบบพลังขับเคลื่อน
Powertrain
มอเตอร์ไฟฟ้า
Electric motor
1.5, 2.0 : 248 hp (185 kW), 200·lb·ft/s (270 N·m), 3-phase 4-pole;
2.5 Non-Sport : 288 hp (215 kW), 273·lb·ft (370 N·m), 3-phase 4-pole;
2.5 Sport : 288 hp (215 kW), 295·lb·ft (400 N·m), 3-phase 4-pole
AC induction motor[2]
ระบบเกียร์
Transmission
Single speed BorgWarner fixed gear (8.27:1 ratio)
แบตเตอรี่
Battery
ลิเธียม-ไอออน
53 kWh (Lithium-ion battery at the pack level: 117 Wh/kg and 37 Wh/L)
ระยะการวิ่ง
Electric range
393 กิโลเมตรด้วยการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว
244 mi (393 km) using EPA combined cycle
วิธีการชาร์จไฟ
Plug-in charging
proprietary inlet, 16.8 kW (70 A 240 V) with HPWC outlet[3] and with the SAE J1772-2009 adapter,[4] adapters for domestic AC sockets
ขนาดของรถ
Dimensions
ฐานล้อ
Wheelbase
2,352 mm (92.6 in)
ความยาว
Length
3,946 mm (155.4 in)
ความกว้าง
Width
1,873 mm (73.7 in)
ความสูง
Height
1,127 mm (44.4 in)
น้ำหนักตัวรถ
Curb weight
2,723 lb (1,235 kg)


Tuesday, June 17, 2014

Nissan, BMW สนใจร่วมมือกับ Tesla ในการพัฒนามาตรฐานสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า

Nissan, BMW สนใจร่วมมือกับ Tesla ในการพัฒนามาตรฐานสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, commuting, traveling, รถยนต์ไฟฟ้า, ev, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก, PHEV, PHV, ev battery, carbon-fiber body, Tesla Motors, BMW Motors, Nissan, supercharger, Tesla station



ภาพ เครื่องหมายของบริษัท Tesla Motors

มีรายงานข่าวว่าบริษัทรถยนต์ BMW ของเยอรมันสนใจร่วมมือกับบริษัทรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ของสหรัฐอเมริกา ในการพัฒนาสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าแบบเร่งด่วนที่เรียกว่า Superchargers และล่าสุดบริษัท Nissan ของญี่ปุ่นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายได้มากที่สุดในโลกปัจจุบัน ได้สนใจมาร่วมมือพัฒนาสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งในการดำเนินการเช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย มากกว่าต่างคนต่างทำ ทั้งสามบริษัท คือ Nissan, BMW และ Tesla มีสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ครองส่วนแบ่งรวมกันถึงร้อยละ 80 ของตลาด


ภาพ Elon Musk ผู้บริหารสูงสุดของ Tesla Motors 

Tesla เป็นบริษัทรถยนต์ที่ผลิตแต่รถยนต์ไฟฟ้า เป็นบริษัทเริ่มใหม่ที่มีฐานอยู่ในย่านเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ทางชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทดาวรุ่งที่มีส่วนแบ่งร้อยละ 25 ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า โดย Tesla เน้นที่ตลาดรถยนต์คุณภาพ (Premium grade) โดยเมื่อเริ่มต้นนั้นไม่มีใครคิดว่าบริษัทที่ตั้งใหม่นี้จะประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์มากดังที่เป็นในปัจจุบัน

BMW ซึ่งได้ลงทุนไปอย่างมากกับรถยนต์ไฟฟ้า และมุ่งจะทำให้การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าก้าวสู่ความสำเร็จในตลาดโลก ไม่เพียงในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป BMW ได้รับทราบข่าวการตัดสินใจของ Elon Musk ที่จะเปิดไม่บังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ของรถยนต์ไฟฟ้าที่ Tesla เป็นเจ้าของ แต่ก็บอกว่า การนัดพบกันของแต่ละฝ่ายเป็นเรื่องโดยบังเอิญ

ส่วนบริษัท Nissan พร้อมต้อนรับความริเริ่มใดๆที่จะขยายตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ฝ่าย Nissan กล่าวว่า “ปัจจุบันบริษัทฯเป็นผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าและได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตทั้งหลายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้านี้

สถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Supercharger

เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รถยนต์ใช้น้ำมันปิโตรเลียม วิ่งได้ด้วยเครื่องยนต์ใช้น้ำมันเผาไหม้ เมื่อน้ำมันหมดก็ไปหาสถานีเติมน้ำมัน ใช้เวลา 1-2 นาทีก็สามารถเติมน้ำมันได้เต็มถัง พร้อมเดินทางต่อไป
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อไฟฟ้าหมดลงหรือต่ำกว่ากำหนด ก็ต้องมีการชาร์จไฟเพิ่มเติม โดยทั่วไป ในการออกแบบการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้านั้น หวังว่าจะให้ชาร์จไฟที่บ้านของเจ้าของ และการชาร์จไฟแบบ 110-220 โวลท์ ก็จะใช้เวลา 4-8 ชั่วโมง หรือเสียบปลั๊กไว้แล้วรอให้ชาร์จไฟแบบข้ามคืน แต่หากไปวิเคราะห์ที่พักของประชาชนในสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ทุกบ้านมีโรงรถที่จะติดตั้งที่ชาร์จไฟได้สะดวก บางแห่งเป็นแบบ Apartment หรือ Condominium บางแห่งอาศัยในย่านชุมชนต้องจอดรถข้างถนน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะไปชาร์จไฟที่ตรงไหน หากไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของโครงการ หรือเทศบาลเมือง ซึ่งในระยะยาว ก็ต้องมีการออกกฎหมายหรือเทศบัญญัติกำหนดให้เจ้าของโครงการสถานที่พัก อันได้แก่ บ้าน อพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า ที่ทำงาน หรือที่พักคนเดินทางตามเส้นทางหลวงสายต่างๆ ซึ่งต้องมีที่ชาร์จไฟไว้ให้บริการ จะเป็นแบบเสียค่าใช้จ่ายอย่างไร ก็ต้องไปคิดและออกแบบกันอีกที

Tesla เป็นบริษัทที่บุกเบิกด้านบริการชาร์จไฟสำหรับลูกค้า ด้วยเทคโนโลยีใหม่ในการชาร์จไฟแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้สามารถชาร์จไฟได้เต็มร้อยละ 80 ของแบตเตอรี่ โดยใช้เวลาชาร์จไฟเพียง 30, 40 นาที และไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่เทคโนโลยีนี้ก็เป็นแบบต่างคนต่างพัฒนา ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ บริษัท Tesla ก้าวหน้าด้านการให้บริการ ได้ริเริ่มพัฒนาสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าแบบเร่งด่วน เรียกว่า Tesla Superchagers เอาไว้ตามเส้นทางหลวง Interstates ที่มีคนใช้มาก และเป็นการให้บริการฟรีแก่เจ้าของรถยนต์ Tesla Model S และนี่ก็เป็นส่วนให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าของ Tesla ที่ไม่เคยมีบริษัทรถยนต์อื่นๆคิดทำ

ปัจจุบัน Tesla มีสถานีแบบ Supercharger ที่ชาร์จไฟได้ภายในเวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 ได้มีสถานีดังกล่าวนี้อยู่ 96 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา 20 แห่งในยุโรป และ 3 แห่งในเอเชีย โดยทั้งหมดนี้จะเปลี่ยนเป็น Tesla stations มีบริการเสริม คือสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ชาร์จไฟเต็มแล้วให้ใหม่เรียกว่า Battery-pack swap ด้วยสำหรับรถยนต์ Tesla รุ่น Model S นอกเหนือจากการชาร์จไฟอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ Tesla ที่ต้องเดินทางไกล ว่าสามารถกระทำได้อย่างไม่จำกัดระยะทาง แม้การชาร์จไฟเต็มแบตเตอรี่ในรถยนต์ Tesla รุ่นดีสุดจะสามารถวิ่งได้ไกล 500 กิโลเมตรด้วยการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว แต่การมีบริการชาร์จไฟเสริมนี้ ทำให้สามารถวิ่งได้อย่างไม่จำกัด เพราะเวลาชาร์จไฟ ก็ใกล้เคียงกับเวลาพักรถและพักคนขับที่จะมีกิจกรรมเข้าห้องน้ำ รับประทานอาหาร ฯลฯ



ภาพ รถยนต์ BMW i3 รถยนต์ไฟฟ้าตัวถังเทคโนโลยี Carbon Fiber เบาและแข็งแรง


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Nissan Leaf มียอดการขายสูงสุดในโลก ด้วยราคาไม่แพง ออกแบบให้เป็นรถใช้ในเมืองเพื่อการขับขี่ระยะสั้น


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S เป็นรถยนต์นั่งหรูที่แข่งในตลาดเดียวกับ Mercedes S Class สามารถวิ่งได้ไกลสุด 500 กม. ด้วยการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว


ภาพ สถานีชาร์จไฟเร่งด่วน Tesla Sีpercharger สามารถชาร์จไฟได้เต็ม 80 เปอร์เซนต์ ด้วยเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งบริษัท BMW และ Nissan สนใจเข้าร่วมพัฒนามาตรฐาน แล้วแบ่งกันใช้ประโยชน์

Sunday, June 15, 2014

บริษัทรถยนต์ไฟฟ้า Tesla เปิดลิขสิทธิ์เทคโนโลยีสำคัญ

บริษัทรถยนต์ไฟฟ้า Tesla เปิดลิขสิทธิ์เทคโนโลยีสำคัญ

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, commuting, traveling, รถยนต์ไฟฟ้า, ev, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก, PHEV, PHV, ev battery, carbon-fiber body, Tesla Motors, BMW Motors,

จาก "What does the open patents deal mean for Tesla ... and BMW?" โดย Danny King ใน Green Autoblog, Posted Jun 14th 2014 2:58PM

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเทสลา (Tesla Motors) ประกาศเปิดลิขสิทธิ์รถยนต์ไฟฟ้าของตนให้แก่บริษัทรถยนต์อื่นๆ ฟังแล้วเป็นเรื่องแปลก มีคนมองได้หลายแบบ Tesla จะทำตนเป็นนักบุญในวงการรถยนต์หรือ หรือในอีกด้านหนึ่งคือการเปิดลิขสิทธิ์นี้ เพื่อแลกกับการเปิดลิขสิทธิ์ของบริษัทอื่นๆ สร้างความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นให้แก่บริษัท Tesla เอง

คำตอบที่ถูกต้องน่าจะเป็นในลักษณะที่สอง คือ คงมีการยื่นหมูยื่นแมวกับบริษัทอื่น และหนึ่งในบริษัทเหล่านั้นคือ BMW ของเยอรมัน โดยที่ผ่านมา Tesla ได้มีความร่วมมือกับบริษัท Toyota ยักษ์ใหญ่รถยนต์อันดับหนึ่งของโลกจากญี่ปุ่น และบริษัท Daimler ของเยอรมนี มาแล้วในระดับหนึ่ง

Tesla มีวิทยาการก้าวหน้าด้านแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และด้าน Powertrain รถยนต์ Tesla Model S สามารถวิ่งได้กว่า 450 กิโลเมตรด้วยการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว ส่วนบริษัท BMW นั้นได้พัฒนาตัวถังด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ ที่ทำให้ลดน้ำหนักตัวถึงลงได้มาก

การเปิดลิขสิทธิ์เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความต้องการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน เป็นการลดต้นทุนการผลิต เพราะเมื่อมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ประสบความสำเร็จออกมาในจำนวนที่มากพอ ก็ทำให้รถยนต์ก้าวหน้าของบริษัทนี้เข้าไปมีส่วนแข่งกับรถยนต์แบบเดิมที่ใช้พลังงานน้ำมันปิโตรเลียม ยกตัวอย่างบริษัท Tesla มีแผนจะตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องใช้เงินลงทุนถึง USD 5000 ล้าน หรือ 160,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีการปริมาณการผลิตแบตเตอรีที่มากเกินกว่าความต้องการของบริษัทใดเพียงบริษัทเดียว


เป็นไปได้ว่า ความสำเร็จของรถยนต์ไฟฟ้าในยุคต่อไปนี้ คือความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันของหน่วยงานที่พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในหลายๆด้าน มากกว่าจะแข่งขันกันแบบต่างคนต่างทำ ซึ่งคงต้องใช้เวลายาวนานกว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะคนส่วนใหญ่ก็ยังคุ้นเคยกับการใช้รถยนต์ใช้พลังงานปิโตรเลียมอยู่


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในขณะนี้ 


ภาพ Elon Musk ผู้บริหารสูงสุดของ Tesla Motors


ภาพ ภายในรถยนต์ Tesla Model S ที่เปลี่ยนโฉมการขับขี่รถยนต์ไปอย่างมาก


ภาพ รถยนต์ BMW I3 รถยนต์รุ่นใหม่ของ BMW ที่ขยับมาสู่การเป็นรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม และรถยนต์ไฟฟ้าเต็มระบบ จุดเด่นคือการใช้วิทยาการด้านวัสดุศาสตร์ พัฒนาตัวถึงรถยนต์ด้วย Carbon Fiber ที่มีความแข็งแกร่ง และน้ำหนักเบา

Wednesday, June 11, 2014

ประชาธิปไตยเม็กซิโกกับระบบพรรคเดียว (One-party rule, 1929–2000)

ประชาธิปไตยเม็กซิโกกับระบบพรรคเดียว (One-party rule, 1929–2000)

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, government, ประชาธิปไตย, democracy, การเลือกตั้ง, เม็กซิโก, Mexico, วัฒนธรรมยาเสพติด, Narcoculture

ประชาธิปไตยที่ผูกขาดอำนาจกันในกลุ่มของตนกันอย่างยาวนาน แบบมีสมบัติผลัดกันชม ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี ดูตัวอย่างในประเทศเม็กซิโก

หลังจากการปฏิวัติใหญ่ของเม็กซิโก (Mexico Revolution) คาลเลซ (Calles) ในปี ค.ศ. 1929 ได้ก่อตั้งพรรคปฏิวัติแห่งชาติ ชื่อ National Revolutionary Party (PNR) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น National Revolutionary Party (PNR) และอีกครั้งหนึ่งเป็น Institutional Revolutionary Party (PRI) และเริ่มยุคที่เรียกว่า “แมกซิมาโต” (Maximato)


ภาพ พลูตาโค เอเลียซ คาลเลซ (Plutarco Elías Calles) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เฮเฟ แมกซิโม” (Jefe Máximoในช่วงปฏิวัติเม็กซิโก (Mexican Revolution)


“แมกซิมาโต” (Maximato) เป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์และการพัฒนาการทางการเมืองของเม็กซิโก ช่วงปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1934 เป็นช่วงที่ “พลูตาโค เอเลียซ คาลเลซ (Plutarco Elías Calles) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เฮเฟ แมกซิโม” (Jefe Máximo) ในช่วงปฏิวัติเม็กซิโก (Mexican Revolution)

คาลเลซเป็นประธานาธิบดีของเม็กซิโกในช่วงปี ค.ศ. 1928 ถึง 1928 แต่ในช่วงต่อมา แม้เขาไม่ได้เป็นประธานาธิบดีโดยตรง แต่ประธานาธิบดี 3 คนต่อมาทุกคนอยู่ใต้อาณัติของเขา

1.    เอมิลิโอ พอร์เตซ กิล (Emilio Portes Gil, 1928–1930), กำหนดโดยรัฐสภา เพื่อแทนประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือกตั้ง อัลวาโร โอเบรฮอน (Álvaro Obregón) ผู้ได้รับเลือกตั้งแต่ถูกลอบสังหารก่อนเข้ารับตำแหน่ง

2.    ปาคาล โอร์ติซ รูบิโอ (Pascual Ortiz Rubio, 1930–1932), ได้รับเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่ให้ครบวาระ แต่ลาออกเสียก่อน

3.    อัลเบลาร์โด เอล โรดริเกซ (Abelardo L. Rodríguez, 1932–1934), ได้รับการกำหนดโดยรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งแทนโอร์ติซ รูบิโอ (Ortiz Rubio)

อิทธิพลของคาลเลซจบลงเมื่อ ลาซาโร คาร์ดีนาซ เดล ริโอ (Lázaro Cárdenas del Río) ขับเขาออกนอกประเทศในปี ค.ศ. 1936

เม็กซิโกในช่วงปี ค.ศ. 1940 ถึง ค.ศ. 1980 ยาวนานถึง 40 ปี เป็นการสืบอำนาจต่อๆกันโดยกลุ่มคนระดับนำของพรรค เม็กซิโกเองยังคงเป็นประเทศยากจน แม้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ดังที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า “ปาฏิหาริย์เม็กซิกัน” (Mexican miracle) แต่แม้จะเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับชาติ แต่กลับเกิดความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นฐาน ฝ่ายรัฐบาลพรรค PRI เองก็กลายเป็นฝ่ายบริหารบ้านเมืองอย่างเผด็จการ ใช้อำนาจในการข่มขู่ฝ่ายที่เห็นต่าง ดังในปี ค.ศ. 1968 เกิดการสังหารหมู่ผู้ประท้วงมีผู้เสียชีวิตระหว่าง 30-800 คน

หลังจากการบริหารอย่างผิดพลาดของลูอิส เอคิวาเรีย (Luis Echeverría) ทำให้ประเทศเกิดเงินเฟ้อที่รุนแรงที่สุดจนเป็นวิกฤติในปี ค.ศ. 1982 ในปีนั้นราคาน้ำมันตกต่ำ อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นสูง รัฐบาลของประธานาธิบดิมิเกล เดลา แมดรด (Miguel de la Madrid) ต้องประกาศลดค่าเงิน ซึ่งนำไปสู่วงจรของเงินเฟ้อ หลังจากนั้นการครองอำนาจของพรรคฝ่ายรัฐบาลก็ค่อยๆเสื่อมถอย และเปิดทางสู่ระบบหลายๆพรรค

วัฒนธรรมยาเสพติด (Narcoculture)

เมื่อระบบการปกครองอ่อนแอ ยาเสพติดก็สามารถแพร่หลายอย่างกว้างขวางในประเทศ
เม็กซิโกมีพรมแดนทางตอนเหนือติดกับประเทศสหรัฐอเมริกายาวถึง 3,141 กิโลเมตร และสหรัฐอเมริกาประเทศเพื่อนบ้านทางเหนือที่มีประชากรกว่า 300 ล้านคนนี้ คือประเทศผู้ซื้อยาเสพติดรายใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อเส้นทางยาเสพติดทางด้านอื่นดังเช่นโคลัมเบีย ถูกลดทอนลง เม๊กซิโกจึงกลายเป็นแหล่งป้อนยาเสพติดเข้าสู่สหรัฐรายใหญ่ที่สุด


ภาพ แผนที่ประเทศเม๊กซิโก มีพรมแดนติดกับสหรัฐอเมริกาทางตอนเหนือ

อีกสิ่งหนึ่งที่เม็กซิโกได้จากระบอบประชาธิปไตยแบบฉ้อฉล คือวัฒนธรรมยาเสพติด (Narcoculture) ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยนักการเมืองที่ซื้อได้ด้วยเงิน เจ้าหน้าที่ด้านรักษาความสงบกลับมามีสายสัมพันธ์กับพวกพ่อค้ายาเสพติด ตำรวจทหารอ่อนแอลง และพ่อค้ายาเสพติดแข็งแรงขึ้น ฉลาดขึ้น และค้าขายอย่างไร้พรมแดน คุมได้ทั้งรัฐบาลและสื่อ

นักวิเคราะห์ประมาณการว่าการค้าส่งยาเสพติดมีมูลค่าระหว่าง USD 13,600 ล้าน (448,800 ล้านบาท) ถึง USD 49,400 ล้าน (1,630,200 ล้านบาท) ประมาณว่าโคเคนร้อยละ 90 ที่ผ่านเข้ามาในสหรัฐมาจากเม็กซิโก


ภาพ ประธานาธิบดี เฟลิเป คาลเดรอน (Felipe Calderon, 2006-12) 


ในด้านความรุนแรง เมื่อสิ้นสมัยของเฟลิเป คาลเดรอน (Felipe Calderon, 2006-12) ที่มีการทำสงครามกับพ่อค้ายาเสพติด ทางการเม็กซิโกประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตจากการทำสงครามปราบยาเสพติด 60,000 คน และเมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2013 ประมาณว่าจำนวนคนถูกสังหารอันเกี่ยวกับยาเสพติดมีสูงถึง 120,000 คน ซึ่งยังไม่นับรวม 27,000 คนที่สูญหายไป


ภาพ อาวุธปืนที่จับได้ในการทำสงครามกับยาเสพติดในเม๊กซิโก


ภาพ ความรุนแรงและการสังหารหมู่อันเกี่ยวกับวงการค้ายาเสพติดในเม็กซิโก


ภาพ ความรุนแรงในระดับการสังหารหมู่คนที่ทั้งเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในเม็กซิโก ประมาณว่าจำนวนคนถูกสังหารอันเกี่ยวกับยาเสพติดมีสูงถึง 120,000 คน ซึ่งยังไม่นับรวม 27,000 คนที่สูญหายไป

Sunday, June 8, 2014

รถยนต์ไฟฟ้า Toyota Prius PHV ลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก ได้เป็นรถไฟฟ้าที่ขายดีที่สุดอันดับสองของสหรัฐอเมริกา

รถยนต์ไฟฟ้า Toyota Prius PHV ลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก ได้เป็นรถไฟฟ้าที่ขายดีที่สุดอันดับสองของสหรัฐอเมริกา

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, commuting, traveling, รถยนต์ไฟฟ้า, ev, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก, PHEV, PHV, Nissan Leaf, Toyota Prius, Chevy Volt


ภาพ รถยนต์ Toyota Prius PHV แบบเสียบปลั๊ก

PHV = Plug-in Hybrid Vehicle หรือรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก
PHEV = Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีความหมายในแบบเดียวกัน

ข่าวจากสหรัฐอเมริกา - รถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบอย่าง Nissan Leaf ได้ทำสถิติขายดีที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยขายได้ 3,117 คัน ส่วน Toyota Prius PHV ทำสถิติขายได้เพิ่มขึ้น 180 % เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว เพราะเป็นการเริ่มวางขายเพียงใน 15 รัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา นับว่าโอกาสที่จะทำตลาดยังมีอีกมาก

ส่วน Chevy Volt รถยนต์ไฟฟ้าแบบ PHEV ของอเมริกาเอง มาเป็นอันดับ 3 โดยขายได้ 1,684 คันในเดือนเดียวกัน

รถยนต์ Toyota Prius PHV จะอยู่ในตลาดเดียวกับ Chevy Volt ของบริษัท General Motors แต่รถของ Toyota จะราคาถูกกว่า และใช้เทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จอย่างมากมาแล้วใน Prius แบบไฟฟ้าลูกประสม คือใช้พลังงานจากทั้งเครื่องยนต์ขนาด 1.7 ลิตร ส่งพลังงานสู่ล้อหน้าเหมือนรถทั่วไป แล้วยังมีมอเตอร์ไฟฟ้าส่งพลังเสริมไปที่ล้อหลัง ส่วนแบตเตอรี่นั้นมีสำรองไว้ใช้งานในช่วงแรกของแต่ละวัน หากต้องการเร่งความเร็วก็ใช้ทั้งเครื่องยนต์และไฟฟ้าด้วยกัน หากวิ่งอย่างประหยัดที่สุดก็ใช้พลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม Chevy Volt มีเครื่องยนต์ขนาด 1.4 ลิตรใช้ปั่นไฟฟ้ายามแบตเตอรี่หมดไฟ หรือต่ำกว่ากำหนด

ส่วน Chevy Volt ใช้เทคโนโลยี Range extender คือเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 1.4 ลิตรสำรองไว้ เมื่อรถยนต์วิ่งโดยใช้ไฟฟ้าอย่างเดียวจนระดับไฟต่ำกว่า 20-30 เปอร์เซ็นต์ เครื่องยนต์ก็จะติดแล้วทำหน้าที่ปั่นไฟมาทดแทนไฟฟ้าที่หมดไป Chevy Volt ตั้งราคาถึงผู้ซื้อที่ USD 34,110

Toyota Prius PHV นอกจากจะมีเครื่องยนต์เหมือนกับรถยนต์ทั่วไปแต่เป็นแบบลูกประสม (Hybrid) ประหยัดพลังงานและขี่ได้อย่างไม่ต้องห่วงว่าไฟฟ้าจะหมด ในระยะเดินทางไปกลับทำงานแต่ละวัน รถแบบนี้สามารถเสียบปลั๊ก ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่วิ่งได้ ราคาขายในสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นที่ USD 29,990 หรือประมาณ 960,000 บาทหากใช้ไฟฟ้าอย่างเดียววิ่งจะมีประสิทธิภาพใช้น้ำมันเปรียบเทียบ 95 ไมล์/แกลลอน หากใช้ใน Mode รถไฟฟ้าประสมกับเครื่องยนต์จะได้เท่ากับ 50 ไมล์/แกลลอน

ส่วนรถยนต์ Nissan Leaf เป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ โดยไม่ต้องใช้น้ำมันเลย อาศัยการเสียบปลั๊ก ชาร์จไฟในช่วงกลางคืนของแต่ละวัน หรือชาร์จอย่างเร็วในช่วงเร่งด่วน ชาร์จได้พลัง 80% ในช่วงเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ราคาในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ USD 28,980 ข้อดีก็คือตัดระบบเครื่องยนต์ออกไปได้ ไม่ต้องเสียต้นทุนรถยนต์ที่ต้องมีทั้งสองระบบ แต่ข้อจำกัดคือระยะทางวิ่งโดยการชาร์จไฟหนึ่งครั้งนั้นยังจำกัดอยู่ สำหรับคนที่ต้องการวิ่งทางไกลภายในวันเดียว


ภาพ รถยนต์ Nissan Leaf รูปโฉมไม่ได้เปลี่ยนไปในช่วง 3 ปี แต่มีการรณรงค์ด้านการตลาด บริการ และลดราคาลง เนื่องจากสามารถประกอบรถยนต์ในอเมริกาได้แล้ว

Nissan Leaf ใช้น้ำมันเปรียบเทียบ วิ่งในเมือง 126 ไมล์/แกลลอน วิ่งทางหลวง 101 ไมล์/แกลลอน หากคิดรวมกันจะอยู่ที่ 114 ไมล์/แกลลอน

Range
รุ่น 2011/12 models
117 km (73 mi) EPA
175 km (109 mi) NEDC
รุ่น 2013
121 km (75 mi) EPA[3]
200 km (120 mi) NEDC[4]