Thursday, October 30, 2014

รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมโฟล์คสวาเกน VW XL1 มีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันสูงที่สุดในโลก

รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมโฟล์คสวาเกน  VW XL1 มีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันสูงที่สุดในโลก

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การคมนาคม, การขนส่ง, รถยนต์, Hybrid cars, EV, Electric car, Euro diesel, VW, Volkswagen, โฟล์คสวาเกน, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม, electric hybrid car, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก, PHEV, XL1 Super Efficient Vehicle (SEV)”

ศึกษาและเรียบเรียงจากข่าว “The new Volkswagen XL1 Super Efficient Vehicle (SEV)”


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม VW XL1 ที่มีระบบ 2 ประตู เปิดแบบกรรไกร


ภาพ VW XL1 ที่ออกแบบมาให้มีอากาศพลศาสตร์ เพื่อการประหยัดพลังงาน และมีรูปโฉมเป็นรถสปอร์ต


ภาพ VW XL1 เป็นการออกแบบไม่ใช้เพียงเพื่อทำสถิติ แต่ได้ออกแบบมาให้สามารถวิ่งบนถนนไดจริงๆ

รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมโฟล์คสวาเกน  VW XL1 รถต้นแบบที่มีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันสูงที่สุดในโลกที่ออกแบบมาเพื่อวิ่งบนถนนขณะนี้ ได้เวลาเปิดตัวสู่ตลาดแล้ว โดยในระยะแรกนี้จะผลิตออกมาทดสอบในจำนวนจำกัด 200 คัน ผลิตทั้งหมดในประเทศเยอรมนี

รถยนต์ไฟฟ้า VW XL1 ได้เปิดตัวครั้งแรกในฐานะรถต้นแบบที่งานแสดงสินค้าเมืองกาตาร์ ปี ค.ศ. 2011 (Qatar Motor Show 2011) ได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่าจะผลิตออกสู่ตลาดเป็นเหมือนสินค้าตัวอย่าง 200 คัน

VW XL1 มีสมรรถนะด้วยวิทยาการสร้างรถยนต์ใหม่ มีระบบขับเคลื่อนแบบไฟฟ้าลูกประสม สามารถวิ่งได้ 313 ไมล์/แกลลอน หรือ 131.8 กม./ลิตร หรือเป็น10 เท่าของรถยนต์ใช้น้ำมันขนาดประหยัดแล้วในปัจจุบัน

VW XL1 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก 800 CC ระบบ TDI 2 สูบคอมมอนเรล (Common Rail Diesel Engine) ให้กำลัง 48 PS มีระบบพลังไฟฟ้าจากมอเตอร์และแบตเตอรี่ 27 PS ทำให้มีกำลังรวม 75 PS ซึ่งนับว่าเป็นกำลังไม่มาก แต่ด้วยน้ำหนักรถทั้งคันเพียง 795 กิโลกรัม จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้พลังมากเกินไปนัก

VW XL1 ใช้ระบบ 7 เกียร์ ระบบคลัชอัตโนมัติ (Automatic clutch) ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างอิสระจากเครื่องยนต์ดีเซล TDI แต่เมื่อต้องการเร่งเครื่องดังระยะที่ต้องเข้าสู่ระบบทางด่วนที่มีรถยนต์หนาแน่น ก็สามารถเร่งความเร็วได้ 62 ไมล์ในเวลา 11.9 วินาที

โดยทั่วไประบบอิเลคโทรนิกส์ของรถยนต์จะจำกัดความเร็วที่ไม่เกิน 99 ไมล์/ชั่วโมง และเหตุที่ทำให้ประหยัดพลังงานได้มาก เพราะรถนี้เป็นระบบลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก 2 ที่นั่งสามารวิ่งได้ 50 กม. ด้วยระบบไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ต้องใช้น้ำมันเลย

VW XL1 ได้รับประสบการณ์จาก XL1 ที่เรียนรู้จากความพยายามสร้างรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ขนาด 1 ลิตรในปี ค.ศ. 2002 และปี ค.ศ. 2009 ที่ใช้เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่ตัวถังใช้วัสดุก้าวหน้าใหม่ทำให้มีน้ำหนักเพียง 230 กก. VW ได้พัฒนาเทคโนโลยีคาบอนไฟเบอร์เสริมแรง หรือ Carbon Fibre Reinforced Polymer (CFRP) ซึ่งเรียกกระบวนการพัฒนาแม่แบบโครงสร้างนี้ว่า Resin Transfer Moulding (RTM)
โดยรวม XL1 หนักเพียง 795 กก. ระบบขับเคลื่อนหรือ Drivetrain หนัก 227 กก. ระบบไฟฟ้าหนัก 153 กก. ระบบภายในรวมที่นั่ง 2 ทีหนัก 80 กก. โดยรวมมีส่วนของเหล็ก (Steel/iron) ที่ใช้เพียง 184 กก.

นอกจาก XL1 ยังใช้เทคโนโลยีวัสดุเบา เช่น ล้อใช้แมกนีเซียม ระบบเบรกใช้เซรามิก ระบบพวงมาลัยและบางส่วนของเบรคใช้อลูมิเนียม

แม้ XL1 จะประหยัดด้านน้ำหนัก แต่ก็มีความหรูหราดังประตูใช้ระบบเปิดปิดแบบกรรไกร ตัวถึงที่ออกแบบมาให้มีอากาศพลศาสตร์ที่ดีเยี่ยม มีการต้านลมที่ทดสอบให้อุโมงค์ลมที่ 0.186

XL1 มีความยาว 3970 มม. กว้าง 1,682 มม. ขนาดใกล้เคียงกับ Volkswagen Polo หรือ Suzuki Swift รถยนต์ขนาดเล็กที่มีใช้ในประเทศไทย และมีรูปลักษณ์แบบรถสปอร์ต


XL1 จำนวน 200 คันแรกนี้จะผลิตที่โรงงานของโฟล์คสวาเกนที่เมืองออสนาบรูค ประเทศเยอรมนี (Osnabruck, Germany)

Wednesday, October 29, 2014

ทำไมบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla จึงสู้สุดฤทธิเพื่อการขายตรง

ทำไมบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla จึงสู้สุดฤทธิเพื่อการขายตรง

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, commuting, traveling, รถยนต์ไฟฟ้า, ev, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก, PHEV, PHV, ev battery, Tesla Motors, BMW Motors, Nissan, supercharger, Tesla station, direct sale, car dealership

 เรียบเรียงจาก  “Why Tesla keeps fighting for direct sales when it could just work with dealers.” โดย Brian Fung October 22, 2014 ติดตามได้ที่  @b_fung


ภาพ สำนักงานใหญ่ของ Tesla Motors ที่ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย


ภาพ Tesla มีตัวแทนจำหน่ายที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Amsterdam, Netherlands) ถ่ายจากศูนย์แสดงสินค้า

เป็นเรื่องแปลกที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่เน้นการค้าเสรี และเป็นฐานสำคัญที่สุดในโลกในระบบค้าตรงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ดังที่เรียกกันว่า e-commerce, หรือ e-trade ใครอยากสั่งของอะไรก็สั่งผ่าน eBay, Amazon หรือสั่งซื้อสินค้าตรงจากบริษัท จะซื้อเพลง ปัจจุบันก็ไม่ต้องซื้อเป็น CD แต่สามารถ Download เพลงเป็นรายเพลง แล้วจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ ผ่านระบบขายตรง ซึ่งบริการเช่นนี้รวมถึงสั่งจองโรงแรม ซื้อตั๋วเครื่องบิน และอื่นๆอีกมากมาย

แต่ในการค้ารถยนต์ คนอเมริกันยังอยู่ในวัฒนธรรมต้องซื้อรถยนต์โดยผ่านระบบตัวแทนจำหน่ายหรือที่เรียกว่า Dealers และเมื่อต้องมีการซ่อมบำรุงก็เลยทำให้ต้องไปใช้บริการตรวจซ่อมตามอายุที่ศูนย์บริการของตัวแทนจำหน่าย ดังนั้นราคาซื้อรถยนต์จึงรวมไปถึงบริการสินค้า การโฆษณา การตลาด ค่าขนส่ง ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ราคารถยนต์โดยรวมแพงกว่าปกติ

ปัจจุบันอเมริกามีตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เกือบ 16,000 ราย กระจายทั่วไปตามเมืองต่างๆในทุกรัฐของสหรัฐอเมริกา บริษัทรถยนต์ไม่สามารถขายรถยนต์ตรงไปยังผู้บริโภคได้ เพราะมีกฏหมายออกมากำกับ ไม่สามารถไปจัดตั้งศูนย์แสดงรถยนต์หรือ Showroom ตามที่ต่างๆ เพราะนั่นต้องผ่านตัวแทนจำหน่ายของตนเอง (Dealership) ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เหล่านี้มีสมาคมของตนเอง สามารถลอบบี้ทั้งในสภาของรัฐตนเอง และสภาของรัฐบาลกลาง เพื่อกำหนดนโยบายและกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินการของตนเอง

ในวันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมารัฐมิชิแกนอันเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา คือที่เมืองดีทรอยต์ (Detroit, Michigan) ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายที่บังคับให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องขายรถยนต์ผ่านตัวแทนจำหน่าย (Franchised dealerships) การเคลื่อนไหวนี้นับเป็นอุปสรรคต่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla Motors ซึ่งพยายามก้าวข้ามระบบตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในหลายๆรัฐ ซึ่งก็สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง

Tesla Motors เป็นบริษัทรถยนต์ที่เริ่มจากขนาดเล็กที่เริ่มต้นกิจการในรัฐแคลิฟอร์เนีย ทางชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา บริษัทฯต้องการทำกิจการทุกอย่างที่ทำให้คุมคุณภาพของสินค้าและบริการให้เป็นไปดังที่ต้องการ Tesla มีรถยนต์รุ่นที่ได้รับรางวัลเป็นรถยนต์ที่ดีที่สุดในโลก ในเกือบทุกด้าน คือ Tesla Model S บริษัทภายใต้การนำของ Elon Musk ผู้บริหารสูงสุดที่มีวัยเพียง 43 ปี เขาต้องการดำเนินธุรกิจอย่างที่ไม่ต้องเดินตามบริษัทใหญ่ เพราะในกิจการรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว Tesla คือยักษ์ใหญ่แนวหน้าที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เขาเริ่มจากขายรถยนต์แบบขายตรง (Direct Sale) ขายไม่กี่พันคัน แต่ในปัจจุบันได้ผลิตและขายกว่า 25000 คัน และในปี ค.ศ. 2015 เขาตั้งเป้าที่จะขายรถยนต์ของ Tesla กว่า 100,000 คันต่อปี และทั้งหมดเป็นการขายตรง โดยไม่ผ่านตัวแทนจำหน่าย คล้ายๆกับที่บริษัทคอมพิวเตอร์ Apple ขายสินค้าต่างๆ โดยมีการตลาดตรงที่ห้องแสดงสินค้าของตน และขายตรงผ่านศูนย์ของเขาที่มีอยู่ทั่วโลก

มีคนถามว่าหาก Tesla ต้องการขายรถยนต์ของตนให้ได้มากที่สุด ทำไมไม่ร่วมมือกับกลุ่มตัวแทนจำแหน่ายรถยนต์ เลือกตัวแทนที่เขาทำการตลาดให้อย่างที่เคยทำให้กับ Audi, BMW หรือ Mercedes และฝากขายและให้บริการหลังการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายเหล่านั้น ซึ่งใช้หลักเช่นเดียวกับบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ทั้งหลาย ที่เน้นไปที่ดำเนินการด้านการผลิตให้ดีที่สุด ส่วนการขายและบริการหลังการขายให้เป็นหน้าที่ของหุ้นส่วนที่เป็นตัวแทนจำหน่ายในแต่ละท้องที่

แต่คำตอบที่ Musk ต้องระวังคือ หากมีตัวแทนจำหน่าย ซึ่งดูดี เพราะไม่ต้องไปลงทุนทำห้องโชว์สินค้าและจัดบริการหลังจำหน่ายที่มีความยุ่งยากซับซ้อน แล้วมอบงานเหล่านี้ให้กับตัวแทนจำหน่ายไป แต่มันไม่ง่ายและจบได้อย่างนั้น เพราะเป็นที่รู้กันว่า ตัวแทนจำแหน่ายสามารถสร้างประสบการณ์ที่เลวร้ายแก่ลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้าผิดหวังและไม่กลับมาอีกเลยได้ บทเรียนเช่นนั้น Volkswagen และ Toyota เคยประสบมาแล้วในการทำการตลาดนอกประเทศ

Tesla มองหน้าร้านของตนเองเหมือนเป็นแหล่งให้การศึกษามากเท่าๆกับเป็นตัวแทนจำหน่าย หรืออาจมากกว่า Diarmuid O’Connell ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Tesla ให้เหตุผล “เราคิดว่าจะไม่ประสบความสำเร็จโดยการใช้ตัวกลาง (Intermediary model) ในการจัดจำหน่ายในแบบที่เราขายสินค้าแล้วใครบางคนขายสินค้าต่อไปยังสาธารณชน”

ไม่มีใครห้าม Tesla ให้ไม่ทำกิจการผ่าน Franchise แต่ Karl Brauer นักวิเคราะห์ธุรกิจของ Kelley Blue Book ให้เหตุผลว่า Tesla มีผลประโยชน์มหาศาลในการควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างเหนือชื่อของตนเอง เพราะ Tesla เป็นหน้าใหม่ในตลาดรถยนต์ ซึ่งเขาไม่อยากเห็นภาพลักษณ์ของตนเองและกับลูกค้าต้องประสบปัญหาที่ทำให้แตกแยกบาดหมาง กลายเป็นพันๆส่วน

ข้อมูลพื้นฐาน

อ่านบทความที่เกี่ยวกับ Tesla และ Tesla Motors เพิ่มเติมได้ในบทความที่เรียบเรียงโดยประกอบ คุปรัตน์ ใน My Words ดังต่อไปนี้

·       Tesla Motors ตัวอย่าง 3 หลักสู่ความยิ่งใหญ่ที่แท้จริง
·       ประวัติการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster
·       เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ได้หลักประกันว่าจะไม่มีแบตเตอรี่ที่ชำรุด
·       บริษัทรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Motors วางแผนเครือข่ายชาร์จไฟเร็วทั่วประเทศ
·       Nissan, BMW สนใจร่วมมือกับ Tesla ในการพัฒนามาตรฐานสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า

บริษัทรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Motors, Inc เป็นบริษัทรถยนต์ของอเมริกันที่ออกแบบ ผลิต และจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) และยานพาหนะไฟฟ้าที่ผลิตภัณฑ์ระบบขับเคลื่อนของ Tesla
Tesla เป็นบริษัทมหาชนที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ โดยใช้สัญลักษณ์ TSLA ในช่วงไตรมาศแรกของปี ค.ศ. 2013 บริษํทได้มีกำไรเป็นครั้งแรกในประวัติของบริษัท


Tesla Motors ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรก เมื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบสปอร์ต ชื่อ Tesla Roadster ซึ่งเป็นรถสปอร์ตหรูที่ใช้โครงร่างที่พัฒนาโดย Lotus ซึ่งมีน้ำหนักเบา รุ่นต่อมาคือ Tesla Model S เป็นรถยนต์นั่งหรูขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับการตอบสนองอย่างดีจากตลาด ซึ่งได้เริ่มการผลิตแบบเป็นจำนวนมาก จากโรงงานที่ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย รถยนต์รุ่นที่สองนี้มีราคาระหว่าง 65000-80,000 เหรียญสหรัฐ ส่วนรถรุ่นต่อไปคือ Model X ซึ่งเป็นรถยนต์สปอร์ตเอนกประสงค์ และรุ่นต่อไปที่ยังไม่เปิดตัว คือ Model 3 ซึ่งจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าขนาดประหยัด แต่สามารถวิ่งได้กว่า 200 ไมล์ด้วยการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว สิ่งที่เป็นเป้าหมายที่น่าสนใจที่สุด คือการตั้งราคาที่ต่ำกว่า 40,000 เหรียญสหรัฐ อันเป็นราคาที่สามารถขายแข่งขันในตลาดได้ คนทั่วไปในระดับกลางสามารถซื้อหาได้ รถรุ่นนี้คาดว่าจะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2017

Monday, October 27, 2014

พยาบาลอเมริกันที่ถูกกันบริเวณป้องกันอีโบลา (Ebola) อย่างไม่เหมาะสมได้รับการปล่อยตัวแล้ว

พยาบาลอเมริกันที่ถูกกันบริเวณป้องกันอีโบลา (Ebola) อย่างไม่เหมาะสมได้รับการปล่อยตัวแล้ว

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สุขภาพ, health, healthcare, โรคติดต่อ, epidemic, อีโบลา, Ebola, Ebola virus disease – EVD, สหรัฐอเมริกา, The United States, USA, อัฟริกาตะวันตก, West Africa, การกักบริเวณ, quarantine
 เรียบเรียงจาก “American nurse placed in 'inappropriate' Ebola quarantine released, Kaci Hickox had threatened to sue over detention.” The Guardian, 26 ตุลาคม 2014

ความนำ

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผมเห็นเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีการติดตามข่าวที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการระบาดของไวรัสอีโบลาอย่างใกล้ขิด โดยถือหลักว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” และเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างตรงไปตรงมา

จากการสังเกตตัวอย่างการระบาดของไข้หวัดนกที่ผ่านมาไม่นานนี้  อ่านได้ที่ http://pracob.blogspot.com/2009/05/3.html

เรามักจะเริ่มจากการให้ความสบายใจแก่ผู้บริโภค กลัวจะเป็นผลกระทบต่อเกษตรกรรมของประเทศ และต่อการท่องเที่ยวของประเทศ แต่เมื่อเกิดการระบาดจริง เราก็ขาดมาตรการที่เป็นระบบที่เตรียมพร้อม รับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นแบบแผน

ไวรัสอีโบลา (Ebola Virus) ยังไม่ปรากฏเป็นข่าวว่าระบาดมาถึงประเทศไทย แต่ได้มีระบาดพบแล้วใน 6 ประเทศ แต่แม้จะเป็นโรคจากเชื้อไวรัส แต่ยังไม่พบการระบาดได้ทางอากาศ

กรณีพยาบาล Kaci Hickox


ภาพ เคซี ฮิกคอกซ์ (Kaci Hickox) พยาบาลที่ถูกกักบริเวณเพื่อป้องกันโรคไวรัสอีโบลาระบาด

เคซี ฮิกคอกซ์ (Kaci Hickox) พยาบาลที่ถูกกักบริเวณเพื่อป้องกันโรคไวรัสอีโบลาระบาด หลังจากกลับจากอัฟริกาตะวันตกสู่บ้านเกิดในสหรัฐอเมริกา บัดนี้เธอได้รับการปล่อยตัวแล้ว ทั้งนี้เป็นข่าวที่แจ้งโดยฝ่ายโฆษกของผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซี (New Jersey) ขณะเดียวกันผู้ว่าการ 2 รัฐหน้าด่าน รัฐนิวเจอร์ซีและรัฐนิวยอร์ค ต่างก็ออกมาปรับลดระดับแผนบังคับการกักบริเวณ (Quarantine) ที่ใช้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคนที่ได้สัมผัสผู้ป่วยไวรัสอีโบลา

ผู้ว่าการรัฐคริส คริสตี้ (Chris Christie) แห่งนิวเจอร์ซีได้กล่าวในวันจันทร์ที่ผ่านมา (27 ตุลาคม 2557) ว่าเคซี ฮิกคอกซ์ (Kaci Hickox) พยาบาลที่ขู่ว่าจะฟ้องหลังจากถูกกักกันในเต้นท์พลาสติกที่โรงพยาบาลในเมืองนูวัค (Newark) หลังกลับจากประเทศเซียรา เลโอน (Sierra Leone) ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ถึงแม้จะได้รับการตรวจหาไวรัสอีโบลาแล้วพบว่าเป็นลบ คือไม่ได้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ขณะนี้พยาบาลฮิกคอกซ์ได้รับการปล่อยตัวอย่างเงียบๆ ไปยังบ้านที่พักในรัฐเมน (Maine) ตามที่เธอต้องการ

พยาบาลฮิกคอกซ์เป็นพยาบาลผู้ทำงานให้กับองค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในชื่อ Médecins Sans Frontières (MSF) ทั้งนี้ด้วยแรงกดดันจากทางทำเนียบขาวที่เคยวิพากษ์เมืองนิวยอร์ค (New York City – NYC) ที่มีนายกเทศมนตรีคนใหม่ คือนายบิล เดอแลสซิโอ (Bill de Blasio) ว่าให้การดูแลไวรัสอีโบลาในเมืองนิวยอร์คไม่เหมาะสม คือมีกรณีที่มีผู้ป่วยด้วยไวรัสอีโบลามารับการรักษา แต่ทางฝ่ายโรงพยบาลไม่ได้คิดว่าจะมีไวรัสอีโบลาระบาด จึงรักษาเหมือนเป็นโรคไข้เลือดออกธรรมดา แต่พอป่วยหนัก กลับมาโรงพยาบาลอีกครั้ง อาการก็หนักเสียแล้ว และผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาต่อมา

กรณีของพยาบาลฮิกคอกซ์เป็นเรื่องตรงกันข้าม คือบังคับใช้การกักบริเวณอย่างไม่เลือกหน้า และเกินความจำเป็นโดยไม่มีการกรองกรณีผู้เสี่ยงต่อการป่วย โดยคิดว่าจะเป็นมาตรการให้ความอุ่นใจแก่ประชาชนกว่า 30 ล้านคนในบริเวณเมืองนิวยอร์คและปริมณฑลว่าปลอดจากไวรัสอีโบลา

ในช่วงที่ผ่านมา หลังถูกกักบริเวณได้ไม่นาน พยาบาลฮิกคอกซ์ได้ตัดสินใจขอให้ทนายสิทธิมนุษยชน นอร์แมน ซีเกล (Norman Siegel) ผู้มีชื่อเสียงมาเป็นทนายของเธอในการฟ้องรัฐนิวเจอร์ซีที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของเธอ ซึ่งทำให้ฝ่ายการเมืองผู้มีอำนาจของเมืองและรัฐต้องปรับนโยบายให้อ่อนลง

ไวรัสอีโบลากับการเมือง


ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซี และรัฐนิวยอร์ค ออกมาให้ข่าวมาตรการกักกันบริเวณเพื่อป้องกันไวรัสอีโบลาระบาด


ภาพ คนขวาคือคริส ตริสตี ผู้ว่รัฐนิวเจอร์ซี และคนซ้ายคือ นายคูโอโม ผู้ว่ารัฐนิวอร์ค

ฝ่ายผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซี คริสตี จากพรรครีพับลิกันเองก็ออกมาถอย คริสตีเองเป็นหนึ่งในตัวเก็งจากพรรครีพับลิกันที่จะเป็นตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในปี ค.ศ. 2016 หลังจากที่เขาออกมายืนยันมาตรการกักบริเวณว่าเป็นความจำเป็นเพื่อปกป้องประชากรของรัฐนิวเจอร์ซี แล้วเขาออกข่าวยังยืนยันถึงความจำเป็น

ผู้ว่าการรัฐคริสตียังคงยืนยันว่า พยาบาลฮิกคอกซ์ป่วยอย่างชัดเจน แม้หลังจากเธอได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสอีโบลาที่มีผลเป็นลบ ซึ่งแสดงว่าเธอไม่ได้รับเชื้อมา

ไวรัสอีโบลากลายเป็นการเมืองระดับประเทศ เพราะผู้ว่าการรัฐทั้งนิวเจอร์ซีและนิวยอร์ค ล้วนเป็นนักการเมืองระดับแนวหน้าของทั้งสองพรรค ที่มีโอกาสที่จะเสนอตัวเองเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2016 ที่จะมาถึง

นักการเมืองท้องถิ่นระดับใหญ่อีกคน นายบิล เดอ แบลสซิโอ (Bill de Blasio) นายกเทศมนตรีเมืองนิวยอร์ค ผู้ไม่ได้รับการปรึกษาหารือเกี่ยวกับแผนกักบริเวณ กล่าวในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า พยาบาลฮิกคอกซ์เป็นวีรสตรี (Hero) ที่ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม เขากล่าวในขณะเยี่ยมโรงพยาบาลเบลวู (Bellevue hospital) ที่แมนฮัตตัน เขตเศรษฐกิจของเมืองนิวยอร์ค

พยาบาลฮิกคอกซ์วัย 33 ปีถูกจำกัดบริเวณในเต้นท์ที่ไม่มีที่อาบน้ำที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยที่นูวัค (Newark) ในรัฐนิวเจอร์ซี ฮิกคอกซ์ได้ให้ข่าวต่อสื่อมวลชนในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา เธอบอกว่าเธอได้รับการดูแลที่ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นอาชญากร ก่อนที่เธอจะได้รับการปล่อยตัว เธอบอกกับสำนักข่าว ABC ด้วยหวังว่า “ฝันร้ายนี้จะเป็นการต่อสู้ที่ไม่สูญเปล่า”

นายกเทศมนตรีนิวยอร์คกับทัศนะที่ต่างกัน


ภาพ นายแพทย์เครก สเปนเซอร์ (Dr Craig Spencer) ผู้ทำงานให้กับองค์การ MSF และได้รับการวินิจฉัยว่าติดโรคไวรัสอีโบลา

บิล เดอ แบลสซิโอกล่าววิจารณ์การให้ข่าวที่ผิดพลาดที่บอกว่านายแพทย์เครก สเปนเซอร์ (Dr Craig Spencer) ผู้ทำงานให้กับองค์การ MSF และได้รับการวินิจฉัยว่าติดโรคไวรัสอีโบลาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา “นี่คือมนุษย์ที่สุดประเสริฐที่หาไม่ได้” ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค นายคูโอโม (Cuomo) ได้ออกมาแก้ข่าวที่ให้ไปผิดพลาดที่บอกว่านายแพทย์สเปนเซอร์วัย 33 ปี ไม่ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางการกักบริเวณ เมื่อเขาเลือกการติดตามตรวจสุขภาพตนเองตามแนวทางปฏิบัติของ MSF และสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention - CDC).

เดอ แบลสซิโอเรียกร้องให้ชาวเมืองนิวยอร์คทุกคนให้ความเคารพและปฏิบัติต่อบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนอย่างเข้าใจ เพราะเขาได้รับรายงานว่าพยาบาลที่เบลวู (Bellevue) ถูกปฏิเสธไม่ให้บริการที่ศูนย์ขายส่งอาหาร ส่วนลูกๆก็ได้รับการปฏิบัติที่เปลี่ยนไป ตั้งแต่มีการรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยไวรัสอีโบลาในโรงพยาบาล

ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ทำเนียบขาว ฝ่ายบริหารรัฐบาลกลางของสหรัฐได้ออกมาเตือนไม่ให้ตอบโต้ต่อกรณีนายแพทย์สเปนเซอร์เร็วเกินไป ฝ่ายทำเนียบขาวกล่าวว่าได้บอกกล่าวต่อผู้ว่าการรัฐทั้งสองของนิวเจอร์ซีและนิวยอร์ค (Christie และ Cuomo) ให้ต้องระวังผลกระทบอันไม่คาดคิดที่จะตามมา ฝ่ายโอบามาไม่เห็นด้วยที่จะเร่งเสนอนโยบายกักบริเวณสำหรับทุกคนที่มาจากเขตโรคไวรัสอีโบลาระบาด หากนโยบายนั้นยังไม่มีฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้

ซาแมนธา พาวเวอร์ (Samantha Power) ฑูตประจำองค์การสหประชาชาติ เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดที่ได้ให้ข้อแถลง โดยกล่าวในการให้สัมภาษณ์ต่อโทรทัศน์ NBC “เราต้องมั่นใจได้ว่า เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขที่กลับมาจากการทำงานต้านไวรัสอีโบลาจะได้รับการดูแลเยี่ยงวีรบุรุษ มิใช่กลายเป็นอย่างอื่น”

มาตรการที่เวอร์จิเนีย

ในรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia) ทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเมื่อวันจันทร์ว่าได้เพิ่มมาตรการสังเกตการณ์ (Monitoring) ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากอัฟริกาตะวันตกผ่านทางสนามบินนานาชาติอัลเลส (Dulles international airport) นอกเมืองหลวงวอร์ชิงตันดีซี (Washington DC.) แต่ไม่บังคับใช้การกักบริเวณ

ผู้เดินทางจากสามประเทศที่มีไวรัสอีโบลาระบาด คือไลบีเรีย (Liberia) เซียรา เลโอน (Sierra Leone) และกีนี (Guinea) จะต้องลงนามยินยอมให้มีการสังเกตการณ์ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และพักอยู่กับบ้านในช่วงเวลา 21 วันที่เป็นระยะฟักตัวของโรค และในการยึดตามข้อตกลงนี้ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของรัฐเวอร์จิเนีย จะมีการเฝ้าติดตามใกล้ชิด แต่ในกรณีที่มีความเสี่ยงน้อย ก็จะติดตามด้วยการโทรศัพท์สื่อสาร

สนามบินนานาชาติดัลเลส (Dulles) เป็นหนึ่งใน 5 สนามบินของสหรัฐอเมริกาที่มีคนร้อยละ 90 ของผู้โดยสารที่มาจากอัฟริกาตะวันตก แม้ว่าจะไม่มีการบินตรง แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้โดยสารประมาณ 15 ต่อวันที่มาจากอัฟริกาตะวันตกที่มาจากดินแดนที่มีไวรัสอีโบลาระบาด


ตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมาเป็นต้นไป CDC หน่วยงานควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐได้บังคับใช้ ให้ผู้เดินทางที่มาจากสามประเทศในอัฟริกาตะวันตก ที่มีโรคไวรัสอีโบลาระบาด จะต้องรายงานอุณหภูมิร่างกายต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเขาเหล่านี้จะต้องรายงานทุกวันในช่วง 21 วัน หลังจากกลับจากอัฟริกา ซึ่งเป็นช่วงระยะฟักตัวมากที่สุดหลังได้รับเชื้ออีโบลา และเขาเหล่านี้จะต้องรายงานฝ่ายสาธารณสุขว่าจะพักที่ไหน และยื่นรายชื่อบรรดาญาติที่มีอยู่


ภาพ นายโรนัลด์ เอ เคลน (Ronald A. "Ron" Klain) ผู้ซึ่งโอบามาเสนอให้เข้ารับงานปราบปรามไวรัสอีโบลา เขาเป็นนักการเมืองที่มีฐานทางกฏหมาย และสนใจด้านสิ่งแวดล้อม แต่ได้รับมอบหมายให้มาทำงานด้านควบคุมและป้องกันอีโบลา
 

Sunday, October 26, 2014

โจโค วิโดโด (Joko Widodo) เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของอินโดนีเซีย

โจโค วิโดโด (Joko Widodo) เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของอินโดนีเซีย

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, การปกครอง, อาเซียน, ASEAN, อินโดนีเซีย, Indonesia, โจโค วิโดโด, Joko Widodo, Jokowi, การกระจายอำนาจ, decentralization, การขนส่งทางทะเล, sea transportation, การขนส่งทางอากาศ, air transportation, พลังงาน, energy, petroleum, gas, coal

ความนำ

ทุกคนชอบประธานาธิบดีที่ทำตัวเหมือนชาวบ้าน ยกเว้นในเรื่องความมั่นคงของชาติ วิโดโด (Joko Widodo) ก้าวสู่ตำแหน่งไม่ใช่ด้วยประวัติการศึกษาอันสูงส่งจากสถาบันชั้นนำของโลก หรือของประเทศ เขาจบมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นสาขาวนศาสตร์แล้วหันมาทำธุรกิจช่างไม้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ แต่ผลงานการเมืองที่สำคัญของเขาคือการเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองสุราการ์ตา (Surakarta) ที่ทำงานต่อเนื่อง 7 ปี และผู้ว่าราชการแห่งนครจาการ์ตา เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย 2 นโยบายที่เป็นรูปธรรม คือ ทำความสะอาดเมือง หาบเร่แผงลอยที่มาขายของบนทางเท้า โดยหาที่ทำกินให้ใหม่เป็นจุดๆ และการทำให้การบริหารบ้านเมืองโปร่งใส ห้ามเครือญาติและครอบครัวเข้าไประมูลงานราชการ
บทเรียนประชาธิปไตยของอินโดนีเซียเป็นอันมาก ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประเทศไทย ผู้เขียนจึงเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะติดตามเรียนรู้การทำงานของประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศนี้


ภาพ นายโจโควิ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการจังหวัดจาการ์ตาได้เยี่ยมชุมชนต่างๆ


ภาพ นายโจโควิในช่วงการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศอินโดนีเซีย


ภาพ แม้อินโดนีเซียจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีในระดับร้อยละ 6-7 ต่อปี แต่ปัญหาความยากจน การขาดที่พักอาศัย ปัญหาขาดน้ำสะอาด ฯลฯ ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไข


ภาพ ความแตกต่างระหว่างคนมีและคนยากจนในประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นการท้าทายผู้นำประเทศที่จะต้องลดช่องว่างทางเศรษฐกิจนี้


ภาพ ปัญหาพลังงาน คนอยากใชน้ำมันราคาถูก แต่ขณะเดียวกัน ปัญหาการจราจรติดขัดก็เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ

ประชาธิปไตยที่เพิ่งก่อร่าง

ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศใหญ่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันมีประชากร 250 ล้านคน แต่เพิ่งก่อตั้งเป็นประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มมีประธานาธิบดีคนแรก คือซูการ์โน (Sukarno, 1945-1967) ในยุคก่อตั้งประเทศซึ่งยังอ่อนแอและสับสนในทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งต่อมาตามด้วยการยืดอำนาจด้วยฝ่ายทหารของนายพลซูฮาร์โต (Suharto, 1967-1998) ซึ่งเขาครองอำนาจยาวนานถึง 31 ปี และตามด้วยช่วงรัฐบาลเปลี่ยนผ่านในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของเอเซีย ที่หลายคนเรียกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง โดยมีนายบาชารุดดิน จูซุฟ ฮาบิบี (Bacharuddin Jusuf Habibie, 1998-1999) ซึ่งครองอำนาจรักษาการในช่วงสั้นๆ ก่อนเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิไตยเป็นครั้งแรก ในยุคนายอับดุลราห์มาน วาฮิด (Abdurrahman Wahid, 1999-2001)

การบริหารงานภายใต้การนำของนายวาฮิด นอกจากจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สับสนและมีอำนาจการเมืองที่ไม่เด็ดขาดแล้ว นายวาฮิดเองยังมีจุดอ่อนทางร่างกายที่สายตาที่เกือบจะมองอะไรไม่เห็น อ่านอะไรไม่ได้ ซึ่งก็ครองอำนาจเพียงช่วง 2 ปีสั้นๆ ก่อนสละอำนาจต่อไปยังนางเมกะวาตี ซูการ์โนบุตรี (Megawati Sukarnoputri, 2001-2004) ซึ่งนางนอกจากเป็นบุตรสาวของอดีตผู้นำและวีรบุรุษของชาติ คือซูการ์โนแล้ว นางมีประสบการณ์ทางการเมืองน้อยมาก และขาดความสามารถในการตัดสินใจทางการเมือง ครองอำนาจในช่วงวาระให้ครบภายใต้พรรคประชาธิปไตยและการต่อสู้ (Indonesian Democratic Party – Struggle) ก่อนที่นายพลซูสิโล บัมบัง ยุดโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono, 2004-2014)
นายพลซูสิโล บัมบัง ยุดโดโยโน เป็นทางเลือกใหม่ที่ประชาชนหันไปเลือกคนที่มีประสบการณ์บริหาราชการในระดับกองทัพมาแล้ว เพราะเหนื่อยหน่ายกับการนำประเทศจากคนที่ไม่มีประสบการณ์ ยุดโดโยโนสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศ ทำให้อินโดนีเซียกลับมาเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เขาครองอำนาจอย่างต่อเนื่อง 2 สมัยๆละ 5 ปีติดต่อกัน ในช่วงนี้นับได้ว่ามีการพัฒนาทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องภายใต้พรรคประชาธิปัตย์ (Democratic Party)

ปี ค.ศ. 2014 นับเป็นอีกหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง เมื่อผู้แข่งขันชิงตำแหน่งทางการเมืองที่มาจากสองพรรคใหญ่ต้องมาแข่งขันกันในระบอบประชาธิปไตย โดยมีการเลือกประธานาธิบดีโดยตรง

ฝ่ายหนึ่งคือปราโบโว สุเบียนโต (Prabowo Subianto) อายุ 63 ปี เป็นนักธุรกิจ นักการเมือง และนายพลในกองทัพของอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 2009 เขาลงสมัครเป็นรองประธานาธิบดีในทีมของนางเมกะวาตี ซูการ์โนบุตรีที่สมัครเป็นประธานาธิบดีต่ออีกสมัยหนึ่ง แต่ต้องพ่ายแพ้ต่อฝ่ายประธานาธิบดียุดโยโนไป
ในปี ค.ศ. 2014 นายพลสุเบียนโตลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามพรรคการเคลื่อนไหวที่ยิ่งใหญ่ของอินโดนีเซีย (Great Indonesia Movement Party หรือ Partai Gerindra)

นายพลสุเบียนโตลงแข่งกับนายโจโควิ (Joko Widodo) ผู้ว่าราชการจังหวัดจาการ์ตา ผู้สมัครจากพรรคพรรคประชาธิปไตยและการต่อสู้ (Indonesian Democratic Party – Struggle) แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้ต่อนายโจโควิไป และเป็นการแพ้ชนะกันอย่างหวุดหวิด นายพลสุเบียนโตในอีกส่วนหนึ่งคืออดีตสามีของสิติ เฮเดียติ (Siti Hediati) บุตรสาวคนที่สองของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตผู้ยิ่งใหญ่

ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2014 นายโจโค วิโดโด (Joko Widodo) ก็ได้เข้าสาบานตนรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีมีฐานจากพรรคประชาธิปไตยและการต่อสู้ (Indonesian Democratic Party – Struggle) เขาเป็นความหวังของประเทศอินโดนีเซียที่จะพัฒนาไปในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก็ยังมีปัญหาต่างๆที่จะต้องเผชิญต่อไปอีกมากมาย

ประวัติโจโควิ (Jokowi)

โจโค วิโดโด (Joko Widodo) ประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศอินโดนีเซีย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอินโดนีเซียว่า “โจโควิ” (Jokowi) เขาเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจาการ์ตา (Jakarta) และก่อนหน้านี้เคยเป็นนายกเทศมนตรีเมืองสุราการ์ตา (Surakarta)

โจโควิได้รับเลือกจากพรรคประชาธิปัตย์แห่งอินโดนีเซีย (Indonesia Democratic Party – Struggle ซึ่งใช้ชื่อย่อว่า PDI-P เขาหาเสียงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจาการ์ต้า โดยมีนายบาซูกิ ชาฮาจา เปอร์นามา (Basuki Tjahaja Purnama) เป็นผู้สมัครร่วมทีม เขาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจาการ์ตาเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2012 หลังจากต้องเลือกรอบที่สอง ซึ่งเขาชนะคู่แข่งขันคือผู้ครองตำแหน่งเดิม นายฟาอูซิ โบโว (Fauzi Bowo) โดยในการลงคะแนนเสียงรอบที่สองนี้เขาชนะด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ซึ่งเป็นการสะท้อนความนิยมของประชาชนที่เลือกผู้นำใหม่ที่ต้อง “ใหม่และสะอาด” และเป็นปฏิเสธการเมืองเก่าและน้ำเน่าแบบเดิมของอินโดนีเซีย

โจโคโวได้รับคะแนนนิยมพุ่งขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากเขาได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจาการ์ต้าในปี ค.ศ. 2012 ในปี ค.ศ. 2013-2014 เขาปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นว่าจะเป็นตัวแทนพรรค PDI-P ที่จะเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 2014 และเขาก็ได้รับเลือกจากพรรคให้สมัครเข้าแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2014

โจโควิได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 53 เหนือกว่าคู่แข่งขัน คือปราโบโว สุเบียนโต (Prabowo Subianto) ซึ่งประท้วงผลการนับคะแนนและถอนตัวจากการนับคะแนนในครั้งที่สองจะเสร็จสมบูรณ์

การชนะการเลือกตั้งของโจโควิยังนับว่าเป็นความก้ำกึ่ง มันยังเป็นการต่อสู้ระหว่างนักการเมืองฐานรากหญ้ากับนักการเมืองสายเก่า

แม้โจโควิจะครองอำนาจฝ่ายบริหาร แต่ฝ่ายปราโบโว สุเบียนโตครองเสียงในรัฐสภาที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และผู้สันทัดทางการเมืองส่วนหนึ่งได้ออกมาแสดงความเห็นว่าโจโควินั้นเป็นคนดีมือสะอาด แต่ยังเป็นผู้ไร้เดียงสาทางการเมือง

ทิศทางของอินโดนีเซีย

คะแนนนิยมของโจโควิมาจากคนหนุ่มสาวและชนชั้นกลางในเมือง แต่เขาเข้าสู่การเป็นประธานาธิบดีด้วยคะแนนเสียงก้ำกึ่งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งทำให้เขาต้องถูกโต้แย้งเรื่องการนับคะแนนและเสียเวลาในคดีความกว่าจะได้เข้าสู่ตำแหน่งจริงในที่สุด

เขาแสดงตนเป็นคนมือสะอาด เติบโตมาจากการเมืองส่วนท้องถิ่น เขาไม่ใช่คนที่อยู่ในการเมืองส่วนกลางของประเทศและเติบโตมาด้วยมีระบบพรรคพวกในแบบเดิม

นโยบายของโจโควิที่จะได้รับการทดสอบ คือการปล่อยราคาเชื้อเพลิงแบบลอยตัว เพื่อลดการขาดดุลของงบประมาณลงครึ่งหนึ่ง เพราะนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมันทำให้รัฐต้องใช้จ่ายงบประมาณกว่า USD23,000 ล้าน หรือ 736,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งเป็นเรื่องหนักสำหรับประเทศที่อยู่ในช่วงเศรษฐกิจโลกซบเซา แต่การขึ้นราคาน้ำมันแบบลอยตัวนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับประเทศอย่างอินโดนีเซียที่จะได้รับการต่อต้าน เพราะนโยบายการปล่อยราคาน้ำมันลอยตัวนี้เคยทำให้นายพลซูฮาร์โต เผด็จการทหารที่ครองอำนาจประเทศมาอย่างยาวนานต้องหลุดจากอำนาจไปในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเอเซีย

วิโดโดสัญญาว่าจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตในระดับร้อยละ 7 ต่อปี การขจัดคอรัปชั่นและการรั่วไหลในระบบราชการให้หมดไป การให้ความสำคัญของการพัฒนาที่การศึกษา การสาธารณสุข และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง

ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะ 13,500 เกาะ มีประชากร 250 ล้านคน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรอาเซียน จัดเป็นประเทศมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วิโดโดเน้นการพัฒนาการขนส่งทางเรือและทางอากาศ เน้นให้อินโดนีเซียมีบทบาทเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค หันกลับไปสู่การเป็นเจ้าในมหาสมุทร และเน้นการเดินทางผ่านช่องแคบและการใช้ประโยชน์จากอ่าวต่างๆ และในขณะเดียวกัน อินโดนีเซียก็จะมุ่งมั่นเร่งการพัฒนาทางด้านสังคม

วิโดโดยังคงนโยบายของสุซิโล บัมบัง ยุดโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) ประธานาธิบดีคนที่ผ่านมา ด้วยการคงสัมพันธภาพที่ดีกับสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่สมัยฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) เยือนประเทศอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 2009 การคงสัมพันธภาพทางการค้ากับจีน แต่ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งของจีนกับฟิลิปปินส์ สมาชิกอาเซียนในการอ้างอิงดินแดนทางทะเล

ในด้านนโยบายต่างประเทศ นายจอห์น แครี (John Kerry) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เน้นย้ำนโยบายสำคัญ 2 ประการ คือ การต่อสู้กับอิสลามหัวรุนแรงในอิรัคและซีเรีย และหนุนให้อินโดนีเซียเข้าร่วมเสนอข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าย่านแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership Trade)

3 นโยบายหลักที่น่าติดตาม

Huffington Post หนังสือพิมพ์ออนไลน์ได้ให้ข้อคิดสิ่งที่รัฐบาลของประเทศอินโดนีเซียภายใต้การนำของโจโควิต้องให้ความสำคัญที่สุด 3 ประการคือ

1. การลดการสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและไฟฟ้า เพราะเป็นการไปสนับสนุนคนที่ฐานะที่ใช้รถยนต์และการใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ

คนขับรถสาธารณะคนหนึ่งให้ความเห็น "เป็นเรื่องดีที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง" และเขาก็เสริมว่า "มันเป็นเรื่องบ้าที่จะทำให้คนใช้รถเมอซีเดซคันใหญ่ได้ใช้น้ำมันราคาถูก มันต้องใช้เงินค่าภาษีที่จัดเก็บได้ไปใช้กับโรงเรียนและคลินิคจะเกิดประโยชน์กว่า

ปัจจุบันคนในเขตอุตสาหกรรมจ่ายค่าเชื้อเพลิงที่ USD0.53 หรือประมาณ 17 บาท/ลิตร การสนับสนุนนี้เกิดขึ้นในเกาะชวาที่มีอุตสาหกรรมมาก ด้วยราคาที่ไม่เป็นธรรมชาตินี้ บรรดาปั๊มน้ำมันมีน้ำมันขายที่หน้าปั๊มอย่างจำกัด แล้วลักลอบไปปล่อยน้ำมันขายในราคาแพงในตลาดมืด หรือตามเกาะแก่ง ซึ่งไม่สามารถควบคุมราคาน้ำมันได้ เพราะต้องไปบวกค่าขนส่งและดำเนินการ

ส่วนการดูโทรทัศน์ ก็จะเป็นเรื่องตลกเศร้าที่นักการเมืองจะออกมาพูดถึงเรื่องต้องสนับสนุนราคาน้ำมันสำหรับคนยากคนจนในประเทศ แต่ขณะเดียวกัน นักการเมืองเหล่านี้ก็ได้ประโยชน์จากคอรัปชั่นค่าที่แตกต่างระหว่างราคาสนับสนุนโดยรัฐกับราคาที่จะเป็นจริงในตลาดนอกระบบ ที่มีขายกันแบบใส่ขวดลิตรกันตามข้างทางทั่วไป

2. การสร้างแรงจูงใจในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในบริเวณนอกเกาะชวา คนป่วยต้องนั่งมากับเรือเดินทะเลบรรทุกสินค้าเป็นวันเพื่อจะไปโรงพยาบาล แล้วต้องเดินทางต่อด้วยเรือหาปลา เพราะท่าเรือที่มีอยู่พัง เรือขนาดใหญ่เข้าเทียบไม่ได้ ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะอยู่ 17,008 แห่ง มี 6000 แห่งที่มีผู้คนอาศัยอยู่ ด้วยสภาพเป็นเกาะกระจายไปทั่วนี้ ไม่มีทางที่จะสร้างสะพานเชื่อมโยงระหว่างเกาะหลักๆได้ ทางที่ดีคือสร้างระบบการขนส่งทางน้ำที่มีประสิทธิภาพ และเสริมด้วยการมีการขนส่งทางอากาศที่จำเป็น

การส่งเสริมแบบกระจายอำนาจมากเกินไป (Over Decentralization) ทำให้เกิดระบบการบริหารแบบตัวใครตัวมัน ทำให้เขต/อำเภอขาดแรงจูงใจที่จะมานั่งร่วมกันคิดวางแผนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วม ส่วนการลงทุนด้วยภาคเอกชนก็ยังถูกจำกัดด้วยการคิดแบบสังคมนิยมในกรอบรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้รัฐต้องเข้าไปควบคุมทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจที่มีผลต่อสวัสดิการสังคม นอกจากนี้ยังมีการกำหนดราคาดังเช่นค่าไฟฟ้าที่สับสนด้วยกฎเกณฑ์ที่เปลี่ยนไปมา

อีกส่วนหนึ่งที่มีผลติดลบคือการคิดแบบชาตินิยม (Nationalism) ที่มีด้วยกันทั้งสองฝ่ายคู่ชิงประธานาธิบดีในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ทำให้นักลงทุนต่างชาติอ่อนล้าในการเข้ามาลงทุน ส่วนชาวอินโดนีเซียเองก็มีจำนวนน้อยที่จะเข้าใจปัญหาโครงสร้างที่ไกลตัว ส่วนใหญ่ไปออกคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยนโยบายที่สัมผัสได้ใกล้ๆตัว เหมือนใครทำให้ได้สินค้าและบริการถูกกว่ากัน ก็เลือกคนนั้น คล้ายกับนโยบายประชานิยมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

3. การดำเนินนโยบายด้วยการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น/ภูมิภาค อย่างเน้นผลงาน ซึ่งเรียกว่า Performance-Based Cash Transfers ที่ทศวรรษที่ผ่านมาจัดได้ว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีการกระจายอำนาจมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ซึ่งเป็นการกระตุ้นกิจกรรมด้านบริการสุขภาพอนามัย การศึกษา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และอื่นๆอีกมาก การกระจายอำนาจนี้ผ่านไปยังรัฐบาลท้องถิ่น อำเภอ/เขต (Districts) กว่า 500 แห่ง อินโดนีเซียจัดเป็นห้องทดลองการกระจายอำนาจ แต่ไม่มีใครไปติดตามผลการดำเนินการ ได้เพียงแต่ไปลอกรูปแบบการดำเนินการกันต่อๆไป

เปรียบเทียบกับไทย อินโดนีเซียรับนโยบายกระจายอำนาจอย่างสุดใจ และเดินตามนโยบายนั้น แต่สำหรับประเทศไทย เมื่อช่วงหลังปีพ.ศ. 2535 ได้พูดถึงเรื่องการกระจายอำนาจ แต่แล้วในช่วงรัฐบาลภายใต้ทักษิณ ชินวัตร 10 ปี เกือบทุกอย่างกลับรวมศูนย์สู่ส่วนกลาง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด กลายเป็น “ผู้ว่าฯซีอีโอ” เหมือนผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ส่วนการกระจายอำนาจการศึกษา ก็กลายเป็นให้สิทธิโรงเรียนจำนวนมหาศาลเกือบ 30,000 แห่ง มีความเป็นนิติบุคคล แต่ยังขึ้นตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการ แต่เขตพื้นที่การศึกษาที่มีการจัดแบ่งโครงสร้างไปแล้ว กลับมิได้มีความเป็นนิติบุคคล

การประมูลจัดซื้อจัดจ้างในยุค 10 ปีที่ผ่านมา ยิ่งเน้นการจัดทำโดยส่วนกลาง ซึ่งเท่ากับเปิดช่องการให้เกิดการคอรัปชันมากขึ้นไปอีก เพราะชาวบ้านระดับรากหญ้าไม่มีขีดความสามารถมาติดตาตรวจสอบรัฐบาลส่วนกลางได้ เมื่อประชาชนต่างจังหวัดได้รับผลประโยชน์จากนโยบายประชานิยมไปแล้ว ก็พอใจแล้ว ขอเพียงให้รัฐบาลให้ประโยชน์ต่อประชาชน โดยไม่ได้ใส่ใจว่าแล้วเกิดการรั่วไหลหรือเป็นนโยบายพึ่งพาส่วนกลางที่ไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน

ในอีกด้านหนึ่งที่เขาเห็นว่าเป็นปัญหาของอินโดนีเซีย คือเงินที่ปล่อยไปยังรัฐบาลท้องถิ่นมาในรูปเงินก้อน (Block Grant) จากจาการ์ตา โดยแทบจะไม่มีเงื่อนไขผูกมัด บางรัฐบาลดำเนินการไปได้ด้วยดีมากๆ แต่บางรัฐบาลท้องถิ่นก็ดำเนินการไปได้อย่างเลวมากๆ ปัจจุบันไม่มีระบบให้รางวัลรัฐบาลท้องถิ่นที่ทำดี และไม่มีการลงโทษรัฐบาลที่ทำเลว

อินโดนีเซียยุคกระจายอำนาจไม่มีการแลกเปลี่ยนบทเรียนกันอย่างเป็นระบบระหว่างอำเภอ/เขตต่างๆ ยังไม่มีการประเมินซึ่งกันและกันว่าสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร และยังไม่มีการกำหนดเงื่อนไขการให้เงินสนับสนุน ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้และการได้ผลงานที่ดีตามลำดับ

โจโควิต้องใช้อำนาจจากความนิยมในตัวเขาเพื่อเอาชนะการต่อต้านจากคนหัวเก่าที่นั่งอยู่ในระบบพรรคการเมืองหลายฝ่ายของอินโดนีเซีย ทั้งนี้เพื่อการสร้างรากฐานการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นอนาคตของอินโดนีเซีย

ดูนโยบายให้ดูที่ผลงาน

โจโควิมีอายุ 53 ปี ถือว่าเป็นคนหนุ่มทางการเมือง และเขาก้าวสู่อำนาจในช่วงที่ประชาชนเบื่อนักการเมืองในแบบเดิมๆที่เกาะติดอยู่กับระบบรัฐสภาและฐานอำนาจพรรคการเมืองส่วนกลาง

โจโควิมีฐานอำนาจสุดท้ายที่สำคัญคือการได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจาการ์ตา ซึ่งมีเมืองที่ประชากรกว่า 10 ล้านคน และมีเขตปริมณฑลอีกกว่า 20-30 ล้านคน ซึ่งเมื่อเขาได้รับตำแหน่งดังกล่าวในปี ค.ศ. 2012 นั่นเป็นเพียงฐานที่จะก้าวกระโดดสู่การชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ฐานที่เป็นผลงานของเขาคือการเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองสุราการ์ตา (Surakarta)

เมืองสุราการ์ตา (Surakarta) มีประชากร 505,461 คนในเขตชวากลาง (Central Java) อันเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย และที่เมืองใหญ่ขนาดกลางนี้ ที่เป็นฐานอ้างอิงประว้ติการทำงาน 7 ปีของเขา ที่ทำให้เขาก้าวสู่การได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการจังหวัดจาการ์ตาในปี ค.ศ. 2012 และก้าวสู่การเป็นประธานาธิบดีในระบอบประชาธิปไตย โดยไม่ได้ติดยึดกับระบบการเมืองในส่วนกลางดั่งเดิม
ผลงานของโจโควิที่เมืองสุราการ์ตาในช่วงเวลา 7 ปีของการทำงาน คือ

·       การพัฒนาตลาดดั่งเดิมในแบบใหม่ (New Traditional Markets) รวมถึงตลาดค้าของเก่า (Antiques market) และตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า
·       การสร้างทางเท้ายาว 7 กิโลเมตร ขนาดกว้าง 3 เมตร เพื่อเป็นทางเดินหลักของเมืองสุราการ์ตา
·       การฟื้นฟูสวนสาธารณะสำคัญสองแห่ง คือ เบเลกัมบัง (Balekambang Park) และสวนสรีเวดารี (Sriwedari Park)
·       การบังคับใช้กฏเกณฑ์การตัดต้นไม้ใหญ่ของเมืองบนถนนสายหลักอย่างจริงจัง
·       การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของเมืองสุราการ์ตาให้เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของชาวชวา โดยให้ชื่อเมืองปรากฏควบคู่ไปกับคำว่า “สปิริตแห่งชวา” (The Spirit of Java)
·       ส่งเสริมให้เมืองเป็นศูนย์กลางของการประชุม การสร้างแรงจูงใจ และนิทรรศการ ซึ่งเรียกว่า MICE ซึ่งมาจากคำว่า Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions (MICE)
·       เขาสร้างวัฒนธรรมใหม่ทางการเมืองที่เรียกว่า บลูซุกัน (Blusukan culture) แบบที่โจโควิเข้าไปเยี่ยมแต่ละท้องที่อย่างไม่มีพิธีรีตอง เพื่อรับฟังปัญหาและข้อวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชน
·       การห้ามสมาชิกในครอบครัวของเขาเข้าประมูลงานราชการของเมือง
·       การมีประกันสุขภาพ (Healthcare Insurance) สำหรับประชากรของเมืองทุกคน
·       การมีระบบขนส่งสาธารณะในรูปของรถโดยสารสองชั้น (Double-decker buses) และรถประจำทางระบบราง (Railbus)
·       การพัฒนาอุทธยานเทคโนโซโล (Solo Techno Park) ซึ่งสนับสนุนโครงการถยนต์อีเซมคาของอินโดนีเซีย (Esemka Indonesian car project)

ในข้อมูลส่วนนี้ผู้เรียบเรียงอยากเสนอให้ผู้นำและผู้บริหารเมืองของไทย ได้ใช้โอกาสที่เราจะต้องปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศแบบกระจายอำนาจ ซึ่งต้องอาศัยฐานจากรากหญ้าทั่วประเทศ อินโดนีเซียมีเมืองขนาดใหญ่มากกว่าไทย เพราะส่วนหนึ่งเขามีประชากรมากกว่าไทยถึง 4 เท่า แต่อีกส่วนหนึ่งคือ ประเทศไทยไม่ได้เน้นการพัฒนาเขตชุมชนในส่วนภูมิภาคอย่างจริงจัง นอกจากกรุงเทพฯที่เป็นเมืองใหญ่สุดแล้ว ประเทศไทยมีเมืองใหญ่มีประชากรกว่า 50,000 คนเพียง 30 แห่ง นั่นแสดงว่ามีอีกหลายจังหวัดที่ไม่มีเมืองขนาดใหญ่ แต่ในอนาคต เมืองในต่างจังหวัดจะมีการเติบโตขึ้นอย่างมาก เพียงแต่ว่าจะเติบโตอย่างไร้แผนและไร้ทิศทาง

ซึ่งในเรื่องนี้ เราควรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN อย่างอินโดนีเซีย

ตารางแสดงขนาดของเมืองในอินโดนีเซีย จากขนาดใหญ่ไปสู่เล็ก สุราการ์ตา (Surakarta) อยู่ในอ้นดับที่ 27

ลำดับที่Rank
เมือง
City/Town
ประชากร
City Population
จังหวัดProvince
1
10,135,030
2
2,843,144
3
2,575,478
4
2,510,951
5
2,185,789
6
2,001,925
7
1,869,681
8
1,575,068
9
1,561,959
10
1,436,187
11
1,398,801
12
1,142,646
13
1,030,732
14
1,022,002
15
923,970
16
876,880
17
856,412
18
843,284
19
842,691
20
683,386
21
675,030
22
645,866
23
643,101
24
586,930
25
581,989
26
573,751
27
505,461
28
430,490
29
420,941
30
416,901
31
404,003
32
368,987
33
364,014
34
362,621
35
315,872
36
328,827
37
314,042
38
319,353
39
316,971
40
295,954
40
289,975
41
282,473
42
282,473
43
281,368
45
260,018
46
260,018
47
255,243
48
254,450
49
229,182
50
215,906
51
214,444
52
170,332
53
175,910
54
201,308
55
223,446
56
187,652
57
171,390
58
171,136
59
220,962
60
187,359
61
167,892
62
199,627
63
185,705
64
193,370
65
180,127
66
171,163
67
154,445
68
145,945
69
145,248
70
148,945
71
130,389
72
147,932
73
161,984
74
145,471
75
126,202
75
126,776
76
118,227
77
142,579
78
120,348
79
120,132
80
136,991
81
126,181
82
125,421
83
116,825
84
100,512
85
95,915
86
91,737
87
90,489
88
80,649
89
78,025
90
72,458
91
70,032
92
54,049
93
53,081
94
45,439
95
28,454