ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
ห้อง 2 -106 (อาคาร 2 ชั้น 1) เลขที่ 2/1
ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์. 0-2354-8254-5
โทรสาร 0-2354-8316
Website: www.sb4af.org
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
จากความรุ่งเรืองสู่วิกฤติเศรษฐกิจ
(From Prosperity to Depression)
เมื่อประเทศเข้าสู่สภาวะปกติ สหรัฐมีประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ Warren G Harding ในปี ค.ศ. 1920 แต่สภาวะหลังสงครามนั้นทุกอย่างก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ ฝ่ายรัฐบาล Republican ก็ยังคงนโยบายแบบปล่อยเสรีที่เรียกว่า laissez faire มีการกระตุ้นให้มีการรวมธุรกิจ การสนับสนุนกิจการบิน และการพาณิชนาวี รัฐบาลภายใต้การนำของ Harding มีความด่างพร้อยด้วยเรื่อง Teapot Dome และเสียชีวิตในตำแหน่ง โดยมีประธานาธิบดีคนต่อไป คือ Calvin Coolidge ซึ่งเป็นช่วงเศรษฐกิจได้รุ่งโรจน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน ในช่วงทศวรรษที่ 1920 ประเทศมีลักษณะเป็นสังคมเมืองมากขึ้น สังคมกลายเป็นสังคมผู้บริโภค มีการใช้รถยนตร์ โทรศัพท์ วิทยุ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิตแบบในเมืองเต็มไปด้วยความรวดเร็ว ค่านิยมในศีลธรรมแบบเดิมเสื่อมล้า แต่คนกลับมีโอกาสแสวงโชคอย่างมาก มีตลาดหุ้นที่ราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างสุดขีด ในวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการเก็งกำไรกันอย่างกว้างขวาง สำหรับคนในยุคนี้บางส่วน มันคือยุคทอง แต่ในด้านการเกษตรมันไม่ได้เจริญขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมและตลาดเงินมีการขยายตัวอย่างเกินเลยและอันตราย
ในปี ค.ศ. 1929 วิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่สุดของอเมริกันได้เกิดขึ้น และได้มีการขยายไปทั่วโลกในราวปี ค.ศ. 1931 ประธานาธิบดี Herbert Hoover ได้เสนอให้มีการประกาศพักชำระหนี้ต่างประเทศ แต่นั่นก็ไม่พอที่จะป้องกันการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจ และในช่วงปี ค.ศ. 1932 Hoover ก็ได้พ่ายแพ้ในการสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง โดยอเมริกันได้มีประธานาธิบดีใหม่จากพรรค Democrat ทีชื่อ Franklin D. Roosevelt ประธานาธิบดีคนใหม่ได้ใช้นโยบายของเขาที่เรียกว่า New Deal เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติด้านการเงินการธนาคาร เขาได้เสนอนโยบายที่เรียกว่า “Bank Holiday” คือให้ธนาคารหยุดพักไปก่อน คือไม่ต้องล้มละลายหรือปิดธนาคาร นอกจากนี้มีการออกกฎหมายออกมาอีกหลายๆ ฉบับเพื่อลดปัญหาวิกฤติ มีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการจ้างงาน สร้างงานโดยรัฐบาลกลางเพื่อเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม มีการจัดตั้งสำนักงานกลาง อย่างเช่น ฝ่ายบริหารการฟื้นตัวแห่งชาติ (National Recovery Administration) ฝ่ายบริหารการปรับปรุงด้านการเกษตร (the Agricultural Adjustment Administration) ฝ่ายบริหารการทำงานภาครัฐ (the Public Works Administration) คณะอนุรักษ์ภาคประชาชน (the Civilian Conservation Corps) และฝ่ายบริหารแห่งชุมชนหุบเขาเทนเนสซี่ (the Tennessee Valley Authority) องค์กรที่ได้จัดตั้งขึ้นนั้นมีหน้าที่เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน กระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน สร้างงานที่ใช้แรงงานจำนวนมากๆ
ในด้านกฎหมายได้มีการจัดทำโครงการประกันสังคม (Social Security Program) โปรแกรมนี้มีลักษณะที่เป็นพลภาพสูง ทำให้รัฐสามารถมีกลไกส่งเสริมการฟื้นตัวและการสร้างสวัสดิการสังคม ฝ่ายต่อต้านมาตรการนี้เห็นว่าเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นความฟุ่มเฟือยและสิ้นเปลือง ในการนี้ได้มีการต่อสู้กันจนถึงในระดับศาลสูง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะชะลอการปฏิรูป ซึ่งทำให้ Roosevelt ได้พยายามที่จะปรับแก้ศาลสูงเสียใหม่ ซึ่งก็ไม่สำเร็จ แต่ความขัดแย้งนี้เป็นเรื่องภายในกิจการของประเทศเป็นส่วนใหญ่ ในนโยบายต่างประเทศอเมริกายังเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศเพื่อนบ้านคือกลุ่มลาตินอเมริกา หรืออเมริกาใต้ ซึ่งได้เริ่มขึ้นมาในสมัย Herbert Hoover ในการนี้จึงได้มีการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มที่เรียกว่า Pan Americanism หลังจากการบริหารประเทศใน 4 ปีแรก Roosevelt ได้รับเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศอีกครั้งด้วยเสียงท่วมท้นในปี ค.ศ. 1936 และในปี ค.ศ. 1940 เขาได้รับเลือกเป็นครั้งที่ 3 เป็นการแหกแหวกประเพณีที่ประธานาธิบดีตั้งแต่สมัย Washington เป็นคนแรกมา ไม่มีใครแสวงหาที่จะรับเลือกเป็นสมัยที่ 3
No comments:
Post a Comment