ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
ศึกษาและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
Keywords: ไข้หวัดนก Bird Flu
หน่วยที่ 4. ความกังวลของผู้เชี่ยวชาญ
ช่วงปี ค.ศ. 2005
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นห่วงขณะนี้คือ การกลายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดนก ที่สามารถทำให้เกิดการระบาดใหญ่ได้ในหมู่มนุษย์ และการระบาดในลักษณะมนุษย์สู่มนุษย์นี้สามารถทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตได้นับหลายสิบล้านคน ดังได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วง Spanish Flu ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปทั้งสิ้นกว่า 50 ล้านคน
ในขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้แต่ประชุม และแสดงเหตุผลทางการแพทย์ว่ามันมีความเป็นไปได้ที่จะพบการกลายพันธุ์จากสัตว์ปีก สู่สัตว์และสู่มนุษย์ และกลายพันธุ์เป็นจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้นั้น ในขณะนี้ทางออกที่ไม่ค่อยดีนักประการหนึ่งคือการสะสมยาต้านไวรัส สำหรับเตรียมป้องกันรักษาเมื่อเกิดการระบาดขึ้น เพราะการกลายพันธุ์ได้นี้ทำให้ยากที่จะพัฒนาวัคซีนที่จะแก้ปัญหาได้ตรงจุด นอกจากนี้คือความกลัวว่าตัววัคซีนเองจะมีความไม่ปลอดภัยเพียงพอ และอาจเป็นตัวนำไปสู่การระบาดด้วยตัวของมันเอง
องค์การอนามัยโลก
องค์กรอนามัยโลก (The World Health Organization – WHO) เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศภายใต้สหประชาติ ที่มีกำเนิดเมื่อปี ค.ศ. 1948 มีหน้าที่เพื่อการดูแลด้านสุขภาพ โดยไม่จำกัดชาติ การดูแลสุขภาพในที่นี้หมายถึงการดูแลสุขภาพโดยองค์รวมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยหวังให้คนปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ
WHO มีสมาชิกทั่วโลก 192 ประเทศ มีสภาสุขภาพทำหน้าที่ด้านกำกับนโยบาย (Health Assembly) โดยมีสมาชิกจาก 192 ประเทศ และมีการจัดสรรงบประมาณเป็นราย 2 ปีต่อครั้ง เพื่อดูแลตัดสินใจด้าน
โรคไข้หวัดนกเป็นโรคในสายพันธุ์ไวรัส ที่มีชื่อทั่วไปในภาษาอังกฤษว่า Avian Influenza บ้างก็เรียก Bird Flu, Bird Flue บ้าง เป็นโรคที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อวงการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยดังได้เกิดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2546 จนต้นปี 2547 ทำให้ต้องทำลายสัตว์ปีกไปไม่น้อยกว่า 25 ล้านตัวแล้ว และในปัจจุบันเรายังใช้วิธีการทำลายสัตว์ปีกเพื่อหยุดการแพร่ระบาด แต่ยังไม่สามารถสกัดต้นตอของปัญหา หรือมีมาตรการป้องกันและรักษาที่ได้ผลและชัดเจน การระบาดในครั้งนี้แม้จะไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตคนในวงกว้าง มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนไม่มาก แต่ก็นั่นแหละ ทุกชีวิตล้วนมีค่า และที่สำคัญความเสี่ยง ความไม่รู้ การรับข้อมูลข่าวสารที่ผิด การปกปิดข้อมูลที่ควรจะเปิดเผยให้ได้ทันท่วงที เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการดูแลป้องกันสุขภาพของคน และการจัดการด้านการเกษตร โดยเฉพาะด้านการปศุสัตว์อย่างรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพ
ความรู้ความเข้าใจของคนในแต่ละระดับจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคคลต่างๆ ในแต่ละระดับในประเทศไทย นับตั้งแต่ นักการเมือง ข้าราชการ ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลเชิงนโยบายด้านการเกษตร โดยเฉพาะด้านปศุสัตว์ ดังเช่น การเลี้ยงไก่เนื้อ และไก่ไข่ การดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่นการดูแลและเฝ้าระวังนกอพยพ การดูแลและบริหารกิจการสวนสัตว์ การดูแลด้านการเลี้ยงสัตว์ปีกสวยงามต่างๆ
การรับรู้ระดับชุมชนและครอบครัว
ที่สำคัญในระดับชุมชนและครอบครัว ไข้หวัดนกมีการระบาดไปยังกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กในวัยจนถึง 6 ขวบ และผู้ใหญ่วัยสูงอายุ และคนมีประวัติป่วยเรื้อรัง ที่ก็อยู่ในครอบครัวไทยทั่วไป จึงเป็นความจำเป็นที่ต้องมีการเรียนรู้และได้รับข้อมูลที่เหมาะสม ไข้หวัดนกทำให้เราทราบและต้องตระหนักถึงกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญอื่นๆ เช่น ผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข และสัตว์ปีกทั้งหลาย ผู้ทำงานที่เกี่ยวข้อง การขนย้ายไก่และสัตว์ปีก การขนย้ายมูลไก่ ทำความสะอาดเล้าไก่ คนทำงานแปรรูปอาหาร โรงงานฆ่าสัตว์ปีก
ข้อมูลที่ได้นี้เป็นการแปลข้อมูลจากเอกสารองค์การอนามัยโลก โดยยังเก็บส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษเอาไว้ เพื่อให้ท่านผู้รู้ได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เป็นงานส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ด้วยเงินทุนจากสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ (Health Research Institute)
No comments:
Post a Comment