ผมได้เขียนบทความเล็กและใหญ่รวมกว่า 1,800 รายการ ปัจจุบันอาศัยการเชื่อมโยงการเขียนงานกับ Facebook > Pracob Cooparat บทความใดที่ดูจะเป็นประโยชน์และต้องการการขยายความ ก็จะรวบรวมเขียนไว้ใน Webiste: My Words นี้ ซึ่งสามารถค้นหาได้ด้วย Google ตามลักษณะเนื้อหาที่สนใจ
Sunday, May 17, 2009
อาชีพอะไรบ้างที่คนไทยมีโอกาสทำในต่างประเทศ
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
เผยแพร่ ปี 2552
ผมไม่ได้มีความรู้ไปทุกเรื่อง แต่เห็นว่า การที่คนไทยได้มีโอกาสไปศึกษาต่อต่างประเทศ (Study abroad) นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การไปศึกษาต่อต่างประเทศในลักษณะที่ต้องไปศึกษาอย่างเดียว โดยไม่มีโอกาสได้หางานที่เป็นประโยชนำ และต้องอาศัยเงินบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือรัฐบาลต้องจ่ายให้แต่ฝ่ายเดียว นับเป็นการลงทุนที่สูงเกินไปสำหรับพ่อแม่คนไทยโดยทั่วไป
การไปศึกษาต่อต่างประเทศ ดังในกรณีนี้ ขอพูดถึง การไปศึกษาต่อในประเทศอย่าง สหรัฐอเมริกา (United States, USA), สหราชอาณาจักร (United Kingdom – UK), แคนาดา (Canada), ออสเตรเลีย (Australia), นิวซีแลนด์ (New Zealand), ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนสูง แต่มีโอกาสในการหารายได้ที่มากพอ
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการศึกษาพบว่า ในบางมหาวิทยาลัยที่คนอเมริกันตัดสินใจส่งบุตรรหลานศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยนั้น บางแห่งมีค่าใช้จ่ายถึงร้อยละ 30-37 ของรายได้ครอบครัว ค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดคือค่าเล่าเรียน ที่สูงขึ้นเกินกว่าค่าเงินเฟ้อโดยทั่วไปของประเทศ
ในประเทศอังกฤษก็เช่นเดียวกัน ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของเขานั้นก็สูงขึ้น แม้ไม่มากเท่าในสหรัฐอเมริกา แต่สำหรับผูเรียนจากต่างประเทศ จากนอกประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union- EU)ที่เรียกว่า International students ก็ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอย่างสูง คิดแล้วประมาณ 500,000 บาท ต่อปี และเมื่อนับถึงค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และอื่นๆแล้ว ก็นับได้เป็นล้านบาทต่อปีขึ้นไป ในฐานะที่ผมเป็นนักการศึกษามาตลอดชีวิตการทำงาน เราไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างเกินควรเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ เราสามารถหาวิธีการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งผมเห็นด้วยว่าต้องมีการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา (Education Quality Improvement – EQI) กันอย่างจริงจัง อย่างที่ต้องเรียกกันว่า “ปฏิวัติการศึกษา” (Education Revolution) หรือ “การปฏิรูปการศึกษา” (Education Reform) กันอย่างจริงจัง
การไปศึกษาต่อต่างประเทศนั้นมีอีกหลายๆวิธีการ เช่น
เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย (Work Study Program) คือได้เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย มีรายได้บ้างเล็กน้อย ทำงานสัปดาห์ละไม่เกิน 20 ชั่วโมง และเป็นเวลา 2, 6, หรือ ไม่เกิน 12 เดือน มีรายได้เพื่อช่วยค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของผู้เรียน เช่น ค่าที่พักและค่าอาหาร เป็นต้น แต่ขณะเดียวกัน งานที่ฝึกนั้นก็เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของเขา เหมาะและสอดคล้องกับสิ่งที่เขาเรียน
การไปฝึกงานในต่างประเทศ (Internship Programs) ภายใต้ความร่วมมือ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ เราอาจต้องการ หรือไม่ต้องการใบวุฒิบัตรจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศก็ได้ แต่เป็นประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของผู้ฝึกงานจริงๆ
เท่าที่ผมได้สำรวจ มีงานที่คนไทยมาทำเป็นงานพิเศษ แล้วมีรายได้เสริมในระหว่างเรียน เช่น การทำงานในร้านอาหาร เป็นพนักงานเสิรฟ พ่อครัว แม่ครัว แต่จริงๆแล้ว ยังมีงานอีกมากที่จะมาหาทำ เพียงแต่ว่าต้องมีการเตรียมการ ทั้งตัวผู้เรียน และฝ่ายองค์การสนับสนุน
เมื่อคนกำลังศึกษาเล่าเรียน และเขารู้ว่ามีอาชีพอะไรบ้างในต่างประเทศที่เป็นที่ต้องการ เขาจะมองการไปศึกษาต่อต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการฝึกงานได้อย่างชัดเจนขึ้น
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย ยินดีให้ความสนับสนุนด้านการประสานงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ในข้อเขียนสั้นๆ ของผมนี้ อยากชักชวนท่านผู้มีความคิดความอ่าน และความเข้าใจในเรื่องการศึกษา ได้มาช่วยกันนำเสนอแนวคิดและทิศทางการพัฒนาการศึกษาไทยกันอย่างจริงจึง
ขอเชิญทุกท่านครับ
Saturday, May 16, 2009
บริการสุขภาพดีถ้วนหน้า (Universal health care)
ประกอบ คุปรัตน์
แปลและเรียบเรียง
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Updated: Monday, June 09, 2008
From Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: healthcare, health care, สุขภาพดีถ้วนหน้า
ความนำ
บริการสุขภาพดีถ้วนหน้า (Universal health care, หรือ universal healthcare) เป็นการดูแลสุขภาพ (health care)ที่ครอบคลุมถึงประชากร (citizens) ทุกคน และในบางแห่งครอบคลุมถึงทุกคนที่เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร (permanent residents) ในสังคมนั้น โปรแกรมบริการสุขภาพดีถ้วนหน้ามีโครงสร้าง และวิธีการสนับสนุนทางการเงินที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะให้การเงินภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสุขภาพจะมาจากประชากรโดยทางการบังคับประกันสุขภาพ (health insurance) หรือการจ่ายภาษี (taxation) หรือเป็นทั้งสองอย่างรวมกัน
บริการสุขภาพ หมายถึงการต้องมีบริการจะเป็นบริการภาครัฐบาลจัดให้ หรือเป็นเอกชนดำเนินการก็ตามที และบริการนั้นควรต้องดีและมีมาตรฐานระดับที่สูงพอ บางแห่งมีบริการให้ แต่เป็นบริการที่ไม่ดีพอ ไม่เป็นประโยชน์ และผิดหลักสุขภาพโดยรวม ก็ไมจัดเป็นบริการสุขภาพดีถ้วนหน้า
ระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้าต้องมีภาครัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยทั่วไปคือการต้องมีกฏหมาย (legislation), การมอบหมายอำนาจให้ดำเนินการ (mandates) และกฎเกณฑ์ต่างๆ (regulation)
ในช่วงทศวรรษที่ 1880s ประชากรเกือบทั้งหมดของเยอรมันได้รับการดูแลสุขภาพแบบครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งเป็นการผลักดันโดย Otto von Bismarck ในประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติได้วางระบบบริการสุขภาพดีถ้วนหน้า และเป็นระบบบริการสุขภาพโดยรัฐบาลแห่งแรกของโลก และตามที่ศึกษาโดยสถาบันเพื่อสุขภาพ (Institute of Medicine) แห่งบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (the National Academy of Sciences) ประเทศสหรัฐอเมริกา (the United States) เป็นชาติที่ร่ำรวย และเป็นชาติอุตสาหกรรมเพียงแห่งเดียวที่ไม่มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
การดำเนินการ ( Implementation)
บริการสุขภาพดีถ้วนหน้า มีแนวคิดที่กว้างและสามารถดำเนินการได้ในหลายรูปแบบ แต่โดยที่การดำเนินการกันนั้น มักจะต้องมีภาครัฐบาลเข้าไปดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้บริการสุขภาพนี้ได้ครอบคลุมกว้างขวางให้มากที่สุด ประเทศที่ได้ดำเนินการไปแล้วได้อาศัยกระบวนการทางนิติบัญญัติ การวางกฎเกณฑ์ และการจัดเก็บภาษี กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆนั้น เพื่อให้ทิศทางว่าระบบบริการสุขภาพนั้นจะให้แก่ใคร และในขอบเขตกว้างขวางแค่ไหนเพียงใด จะมีการดูแลโรคบางประการที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่างไร เช่น การทำฟัน การจัดฟัน การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ การผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การดูแลโรคไต ปอดพิการเรื้อรัง จะดูแลกันอย่างไร และในระดับไหน โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายบางส่วนจะจ่ายโดยผู้ป่วย แต่ได้รับการสนับสนุนโดยระบบภาษีและการชดเชยให้กับคนป่วยโดยรัฐบาล บางโปรแกรมจัดเป็นบริการประกันสุขภาพภาคบังคับ (compulsory insurance) บางแห่งเป็นโปรแกรมที่รัฐบาลจ่ายให้ทั้งหมด โดยอาศัยระบบภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บ และเป็นบริการให้ทั้งกับประชากรและผู้อยู่อาศัยในสังคมนั้นทุกคน
ในยุโรป ( Europe)
โดยทั่วไปในทวีปยุโรปมีระบบบริการสุขภาพที่รัฐให้การสนับสนุนอย่างใดอย่างหนึ่ง ประเทศเหล่านี้รวมถึง Austria, Belgium, Bosnia, Bulgaria, Croatia, Czech Republic, Denmark, Finland, Estonia, France, Georgia, Germany, Greece, Hungary, Iceland, Ireland, Italy, Malta, the Netherlands, Norway, Latvia, Liechtenstein, Luxembourg, Poland, Portugal,[4] Romania, Russia, Serbia, Slovakia, Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland และ the United Kingdom.[5]
จะสังเกตุได้ว่าประเทศในกลุ่มยุโรปโดยรวมมีการจัดการด้านสุขภาพที่ครอบคลุม และมีค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบที่ดีกว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นประเด็นที่ในสหรัฐเอง ก็ต้องมีการนำไปสู่การต้องปฏิรูปการเมืองเพื่อการดูแลสุขภาพของประชากรของประเทศ ดังในการที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 นี้
ประเทศเยอรมัน (Germany)
ประเทศเยอรมันมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มตั้งแต่ยุคของ Otto von Bismarck ที่ได้ประกาศกฏหมายประกันสุขภาพในปี ค.ศ. 1883 (Health Insurance Act of 1883) ระบบจัดเป็นการบังคับประกันสุขภาพ ในยุคเริ่มต้น เป็นการบังคับใช้สำหรับกลุ่มคนงานผู้มีรายได้ต่ำ และคนงานในภาครัฐบางส่วน แต่ค่อยๆขยายวงกว้างจนครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ ในปัจจุบันร้อยละ 85 ของประชากรได้รับการครอบคลุมด้วยบริการสุขภาพที่เรียกว่า 'Statutory Health Insurance' ซึ่งเป็นการให้บริการขั้นมาตรฐานแก่ทุกคน
ส่วนกลุ่มคนที่เหลือจะได้อยู่ในกลุ่มครอบคลุมด้วยระบบประกันสุขภาพเอกชน ซึ่งให้บริการและสิทธิประโยชน์ที่เสริมเพิ่มขึ้น ตามการประมาณการโดยองค์การสุขภาพแห่งโลก (World Health Organization) ประเทศเยอรมันมีระบบดูแลสุขภาพที่รัฐสนับสนุนร้อยละ 77 และอีกร้อยละ 23 เป็นการให้บริการโดยภาคเอกชน
รัฐบาลมีหน้าที่หลักในการกำหนดกฎเกณฑ์ (Regulatory) ทำหน้าที่จัดประชุมเป็นทุกปี โดยมีตัวแทนของฝ่ายผู้บริโภค กลุ่มนายจ้าง ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่และนักวิชาชีพด้านสุขภาพ พนักงานในระบบสหภาพ และอุตสาหกรรมประกันสุขภาพ เข้าร่วม แม้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง แต่คนดำเนินการบริหารเป็นอ้นมากจากผู้ให้บริการประกันสุขภาพ และได้รับการสนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายจากนายจ้างและลูกจ้าง รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่ไม่มีงานทำ คนทำงานมีรายได้น้อยสามารถเบิกค่าใช้จ่าย สำหรับอัตราค่าใช้จ่ายมีการกำหนดล่วงหน้า คนที่มีรายได้สูง ก็จ่ายตามสภาพรายได้ของตนเอง และคนกลุ่มนี้อาจเลือกบริการสุขภาพที่เป็นประกันภาคเอกชน ซึ่งโดยทั่วไปจะเสียค่าใช้จ่ายที่แพงกว่า แต่ทั้งหมดนี้จะมีความแตกต่างกันตามสภาพสุขภาพร่างกายของแต่ละคน
ในโรงพยาบาลของเยอรมัน แพทย์และพยาบาลจะเป็นแบบรับเงินเดือน โดยผ่านทางโรงพยาบาลที่เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรของภาครัฐ (public non-profit hospitals) แต่จะมีองค์การไม่แสวงกำไรภาคเอกชนที่มีอยู่ แต่เป็นจำนวนน้อย ระบบรถพยาบาล (Ambulatory care) เป็นบริการโดยระบบแพทย์และกลุ่มทำงานขนาดเล็ก ซึ่งอาจไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล การเบิกค่าใช้จ่ายจะเป็นไปตามอัตราค่าบริการ แต่จำนวนผู้ป่วยที่จะรับได้นั้น ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่รัฐบาลและสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องจะกำหนด บริการเล็กๆน้อยๆ (Capitated care) ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้ถูกห้ามไปในราวทศวรรษ 1930s แต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณา เพื่อเป็นกลไกที่มีค่าใช่จ่ายไม่สูงที่ควบคุมได้ การจ่ายค่าใช้จ่ายร่วม (Copayments) ที่ได้นำเสนอในช่วงทศวรรษที่ 1980s เพื่อสกัดการใช้บริการเกินความจำเป็น ทำให้อัตราการพัก ณ โรงพยาบาลได้ลดลง จาก 14 วัน เป็น 9 วัน ซึ่งก็ยังสุงกว่าในประเทศสหรัฐ ซึ่งจะเฉลี่ยที่ 5-6 วัน ทั้งนี้โดยเปลี่ยนเงื่อนไขการเบิกเงินจากรัฐบาลที่อาศัยวันที่พักในโรงพยาบาล เป็นการเบิกตามสภาพอาการป่วย การรักษาพยาบาล และการตรวจวิเคราะห์โรคที่เกิดขึ้น
ค่าใช้จ่ายด้านยาได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก และช่วงค.ศ. 1991-2005 ค่ายาได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 หรือเกือบร้อยละ 10 ต่อปี ทั้งนี้เพราะความง่ายของกระบวนการเบิกจ่าย และกลไกการเบิกแบบครอบจักรวาล แต่โดยรวมค่าบริหารงานยังไม่สูงนัก คือประมาณ EU 160 ต่อคน/ปี แต่แม้ว่าจะมีความพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่ค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพก็ยังสูงขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 ของรายได้มวลรวมของประเทศ (GDP) ในปี ค.ศ. 2005
แต่โดยเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปตะวันตก ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็ยังต่ำกว่าของสหรัฐมาก คือประเทศสหรัฐต้องจ่ายค่าสุขภาพเกือบร้อยละ 16 ของ GDP
ประเทศไทย ( Thailand)
ประเทศไทยได้เริ่มนำระบบสุขภาพดีถ้วนหน้ามาใช้ โดยมีการปฏิรูปในปี ค.ศ. 2001 และจัดเป็นประเทศหนึ่งในส่วนน้อยของกลุ่มที่มีรายได้ระดับกลางค่อนข้างต่ำที่ได้จัดให้มีบริการนี้ ระบบที่พยายามจัดบริการแก่ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นลูกจ้างในระบบ ได้ถูกแทนที่ด้วยการให้บริการใหม่ครอบคลุมที่กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยครอบคลุมไปถึงคนงาน คนทำงานอิสระ และเกษตรกร ซึ่งแต่เดิมจะไมได้ครอบคลุมในระบบ การประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้านี้ โดยทั่วไปเรียกว่า “30 บาท รักษาทุกโรค” ซึ่งเป็นระบบที่ผู้ป่วยต้องร่วมจ่ายเพียงส่วนน้อย โดยเสียเงินค่ารักษาขั้นต้นที่ 30 บาท หรือประมาณ USD 1.00 ต่อครั้งที่มารักษาพยาบาล
ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับบัตรทอง ที่จะทำให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพในท้องที่ของตน และถ้าจำเป็นสามารถโอนย้ายไปรับบริการในที่อื่นๆได้ ค่าใช้จ่ายในการนี้มาจากภาครัฐผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข และบางส่วนมาจากเงินประกันสังคม (Contracting Units for Primary Care) ตามข้อมูลขององค์การสุขภาพแห่งโลก (WHO) ร้อยละ 65 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประชาชนมาจากงบประมาณภาครัฐบาล และอีกร้อยละ 35 มาจากแหล่งเอกชน
โครงการปฏิรูปบริการสุขภาพนี้ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะกับคนยากจน และเจาะจงไปที่คนยากจนในชนบท และแม้เปลี่ยนรัฐบาลในช่วงการรัฐประหารในปี ค.ศ. 2006 แต่โครงการฯยังคงอยู่ แต่ได้มีการยกเลิกค่าใช้จ่ายร่วมที่ผู้ป่วยร่วมจ่ายครั้งละ 30 บาท โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น คือ นพ. มงคล ณ สงขลา (Mongkol Na Songkhla) และถือว่าบริการสุขภาพนี้เป็นบริการให้ฟรีทั้งหมด สำหรับในระยะต่อไป ไม่แน่ใจว่าโครงการฯ จะมีการปรับปรุงต่อไปอย่างไรในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 ที่เป็นรัฐบาลประสม
Friday, May 15, 2009
การจับจ่ายที่ห้างสรรพสินค้า Bloomingdale's
การจับจ่ายที่ห้างสรรพสินค้า Bloomingdale's
ประกอบ คุปรัตน์
แปลและเรียบเรียง
From Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: cw105, USA, New York City – NYC, สังคมอเมริกัน, ห้างสรรพสินค้า
ความนำ
ผมเป็นคนไม่ค่อยชอบจับจ่ายใช้สอยนัก จริงๆแล้วไม่ใช่นักเดินห้าง หรือ Shopper แต่ในฐานะที่ประเทศไทยได้กลายเป็นเมืองนักทองเที่ยว สิ่งหนึ่งที่จะติดตามมาคือการเป็นศูนย์การจับจ่ายของนักท่องเที่ยว
ผมมีชีวิตได้เห็นธุรกิจค้าปลีกได้เกิดขึ้น แข่งขันกันอย่างสูงมีที่สำเร็จก็มี และที่ต้องล้มหายตายจากไปก็มาก ทั้งที่เป็นห้างสรรพสินค้าของไทยเอง และของต่างชาติที่ได้เข้ามาเปิดบริการในประเทศไทย
การมาท่องเที่ยวและพำนักอยู่ในเมืองนิวยอร์ค จึงถือเป็นโอกาสในการได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจห้างสรรพสินค้า โดยได้ไปเที่ยวร้านอย่าง Macy’s, อันเป็นร้านเก่าแก่ และใหญ่ที่สุด ห้าง Century 21 ที่อยู่ใกล้กับบริเวณอาคาร World Trade Center ที่เป็นร้านขายของมียี่ห้อ แต่ขายของลดราคา (Discount Stores) และรวมถึงห้างมีระดับอย่าง Bloomingdale’s
เท่าที่ติดตามดู คนไทยที่มาเที่ยวเมืองนิวยอร์ค ก็มักจะหาทางไปเยี่ยมร้านชื่อเหล่านี้แหละ
ห้างสรรพสินค้า Bloomingdale's หรือที่ชาวท้องถิ่นเขาเรียกชื่อเล่นว่า Bloomie's เป็นห้างสรรพสินค้าสำหรับคนมีระดับ (Upscale) ของอเมริกันที่อยู่ในเครือของ Macy's, Inc.โดยมีบริษัทแม่ ชื่อ Macy's. มีสาขาทั่วประเทศ 36 แห่งทั่วประเทศ โดยมียอดการขายที่ USD 1900 ล้านเหรียญ เป็นห้างสรรพสินค้าที่สินค้ามีราคาสูงกว่า Parisian, Nordstrom,Lord & Taylor เล็กน้อย และมีราคาต่ำกว่า ห้างสรรพสินค้า Saks Fifth Avenue, Neiman Marcus, Bergdorf Goodman, และ Barneys New York
ข้อมูลอย่างย่อ
ห้างสรรพสินค้า Bloomingdale's หรือ Bloomingdale's Department Store จัดเป็นหน่วยงานในระดับ (Division) ที่มีบริษัทแม่
ก่อตั้ง (Founded) ในปี ค.ศ. 1860 โดยมีสำนักงานกลาง (Headquarters) อยู่ที่เมืองนิวยอร์ค (New York City), รัฐ New York, ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)
จัดเป็นอุตสาหกรรม (Industry) ประเภทค้าปลีก (Retail) โดยมีสินค้า (Products) ประเภท เสื้อผ้า (Clothing), รองเท้าถุงเท้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับเท้า (footwear), เครื่องนอน (bedding), เฟอร์นิเจอร์ (furniture), เครื่องเพ็ชร (jewelry), เครื่องสำอางค์ (beauty products), และเครื่องใช้ในบ้าน (housewares)
โดยมีเจ้าของ (Owners) หรือบริษัทแม่ คือ Macy's, Inc. ซึ่งมีสำนักงานกลางที่เมืองนิวยอร์ค เช่นกัน
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (Website) คือ www.bloomingdales.com
การเดินทาง
สถานที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า Bloomingdale’s อยู่ที่ถนน Lexington (Avenue) ตัดกับถนน 59th and 60th (Streets) บนเกาะแมนฮัตตัน (Manhattan) เมืองนิวยอร์ค (New York City – NYC), ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)
การเดินทางไป ให้สะดวก หากอยู่ในเมืองนิวยอร์คในที่ใดที่หนึ่งของ 5 Boroughs ให้ใช้รถไฟใต้ดินที่เรียกว่า Subway หรือ MTA โดยลงที่สถานี ถนน Lexington (Avenue) ตัดกับถนน 59th and 60th (Streets)
ประวัติความเป็นมา History
ก่อตั้งโดยพี่น้องชื่อ Joseph และ Lyman G. Bloomingdale โดยเริ่มต้นขายกระโปรงสตรีแบบสุ่ม (Hoop-skirts) โดยมีที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณด้านใต้ฝั่งตะวันออก ในขณะที่บิดา คือ Benjamin Bloomingdale ซึ่งเป็นคนเกิดใน Bavaria ประเทศเยอรมัน ที่มีอาชีพเร่ขายเสื้อผ้าสตรีในยุคนั้น และใช้ชีวิตในรัฐแคโรไลน่าเหนือ (North Carolina) และรัฐแคนซัส (Kansas) บุตรทั้งสองคน คือ Joseph และ Lyman ได้หันมาตั้งถิ่นฐานและทำธุรกิจในเมืองนิวยอร์ค (New York City)
กิจการของ Bloomingdale’s เติบโตไปพร้อมๆกับการขยายตัวของเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1886 ห้างจึงได้ย้ายมาตั้งอยู่ ณ ถนน 59th Street ตัดกับถนน Lexington Avenue พี่น้อง Bloomingdale's ตระหนักถึงโอกาสจากสภาพเมืองที่เปลี่ยนไป ย่านที่ตั้งของ Bloomingdale's ซึ่งเป็นจุดธุรกิจหลักนั้น ได้มีพิพิธภัณฑ์ the Metropolitan Museum of Art มาเปิด มีโบสถ์ชื่อ St. Patrick's Cathedral ตั้งใกล้ๆกับห้าง สวนสาธารณะ Central Park สำเร็จ กลายเป็นแหล่งดึงดูดที่พักอาศัยมีระดับ รถไฟใต้ดิน หรือ Subway ได้เริ่มแผนก่อสร้าง ย่านตะวันออกของเกาะ Manhattan กลายเป็นย่านคนมีระดับ คล้ายกับย่านถนนสุขุมวิท บ้านพักในยุค Brownstones สีน้ำตาลผลุดขึ้นมากมายรอบๆสวนสาธารณะ สภาพแวดล้อมเช่นนี้ ทำให้ห้างฯ ได้รับผลจากลุ่มลูกค้ามีฐานะ ส่งเสริมให้ห้างฯ เหมาะแก่การเป็นห้างสรรพสินค้ามีระดับ
แม้ในช่วงนับร้อยปีที่ผ่านมา Bloomingdale’s จะเปลี่ยนผ่านความเป็นเจ้าของหลายครั้ง กว่าจะมาเป็นส่วนหนึ่งของเครือห้าง Macy’s แต่กิจการของห้างก็ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเป็นต้นมาจนปัจจุบัน
จากการสำรวจในปี ค.ศ. 1972 ร้อยละกว่า 60 ของลูกค้าพักอาศัยและทำงานในอาคารสูงหรูในย่านนั้น Bloomingdale’s จับลูกค้าหลักคือคนในชุมชนใกล้เคียงที่เป็นคนหนุ่มสาวและนักวิชาชีพอย่างที่เรียกว่าYuppies (Young Urban Professionals) ในขณะเดียวกันนี้นักออกแบอย่าง Ralph Lauren, Perry Ellis, และ Norma Kamali ได้เกิดขึ้น และได้นำไปสู่สินค้าประเภทแฟชั่นมีระดับ ซึ่งเป็นช่วงการเติบโตของ Bloomingdale’s และได้กลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองนิวยอร์ค
ในช่วงพระราชินีแห่งอังกฤษ คือ Queen Elizabeth II ได้เสด็จเยี่ยมเมืองนิวยอร์คในปี ค.ศ. 1976 ได้มีการปรับเปลี่ยนการจราจรบนถนน Lexington Avenue หน้า Bloomingdale’s แบบกลับทิศทาง เพื่อให้พระองค์ออกจากรถเสด็จเข้าสู่ร้านซึ่งถือเป็นร้านหลักของเมือง (Famous Manhattan Flagship) อย่างสง่างาม งานเสด็จเยี่ยมในครั้งนั้น ทำให้ห้างฯ ได้รับความนิยมอย่างมีระดับถาวรต่อมา
นับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 บริษัทแม่ คือ Macy's Inc. มีสาขาที่ได้เปิดในแบบเครือข่ายแล้ว 41 แห่งตามเมืองใหญ่ในสหรัฐ และได้วางแผนที่จะขยายไปเปิดในที่ต่างๆอีกหลายแห่ง ทั้งในสหรัฐอเมริกา เมืองใหญ่ฝั่งตะวันตก รวมถึงแผนที่จะเปิดบริการในเมือง Dubai ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรต
Thursday, May 14, 2009
ห้างสรรพสินค้า Macy's แห่งกรุงนิวยอร์ค
ห้างสรรพสินค้า Macy's แห่งกรุงนิวยอร์ค From Wikipedia, the free encyclopedia ประกอบ คุปรัตน์ E-mail: pracob@sb4af.org มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF) Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255 Fax: +66 2 3548255 Email: pracob@sb4af.org Blogger: http://pracob.blogspot.com Updated: Thursday, May 14, 2009 Keywords: cw105, USA, New York City, NYC, สหรัฐอเมริกา, สังคมอเมริกัน การท่องเที่ยวกับการจับจ่ายใช้สอยเป็นของคู่กัน หากคนที่มาเที่ยวนิวยอร์ค ซึ่งในที่นี้หมายถึงเมือง New York City (NYC) ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็คงไม่พลาดที่จะต้องมาที่ห้างสรรพสินค้า Macy’s ซึ่งอยู่บริเวณถนนสาย 34 ตัดกับถนน Broadway ซึ่งบริเวณดังกล่าวเรียกว่า Herald Square สามารถดูได้จากในแผนที่รถไฟใต้ดินของเมืองนิวยอร์คที่เรียกว่า Subway หรือ MTA ที่ Macy’s นี้สามารถพาคนมาจับจ่ายแล้วปล่อยไว้ได้เป็นวันๆ เพราะมีขนาดใหญ่ มีสินค้านานาชนิด มีร้านอาหารราคาไม่แพง อย่าง MacDonald’s และมี Cafeteria แบบช่วยตัวเอง อาหารอร่อยภายในมื้อละ USD 12-14 ต่อคน จากสถิติของ Guinness World Records ห้างสรรพสินค้า Macy’s ที่ Herald Square บนเกาะแมนฮัตตัน กรุงนิวยอร์ค มีพื้นที่ขายสินค้า 198,500 ตารางเมตร หรือ 2,150,000 ตารางฟุต จัดเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก (department store building) แต่อาจมีการกล่าวอ้างอื่นๆ เช่นที่ ห้าง GUM store ในกรุง Moscow ประเทศรัสเซีย หรือ Tobu's สาขา Ikebukuro ในกรุงโตเกียว (Tokyo) ประเทศญี่ปุ่น Macy’s จัดเป็นองค์การประเภท (Type) ห้างสรรพสินค้า เป็นหน่วยงานในเครือบริษัท Macy's, Inc. ก่อตั้งในปี ค.ศ. (Founded) 1858 ซึ่งได้ฉลองครบรอบ 150 ปีไปเมื่อปี ค.ศ. 2008 จัดเป็นห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ มีชื่อเสียงของเมืองนิวยอร์ค ของประเทศสหรัฐ และของโลก เช่นเดียวกับ Harrod’s ของกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ปัจจุบันมีสำนักงานหลัก (Headquarters) อยู่ที่เมือง Cincinnati, มลรัฐ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)
Macy’s Department Store จัดเป็นอุตสาหกรรมบริการ (Industry) ประเภทค้าปลีก (Retail) มีสินค้า (Products) หลักๆ ประเภท เสื้อผ้า (Clothing), รองเท้า ถุงเท้า (footwear),เตียงนอน ที่นอน (bedding), เฟอร์นิเจอร์ (furniture), เครื่องเพ็ชร (jewelry), เครื่องสำอางค์ (beauty products), และเครื่องใช้ในบ้านต่างๆ (housewares) หากดูกิจการเปรียบเทียบในประเทศไทย คงคล้าย ห้างสรรพสินค้าเซนทรัล (Central Department Stores) หรือ The Mall รายได้ของ Macy’s (Revenue) มากกว่าปีละ US$ 26.32 billion (FY2007) จัดเป็นรายได้จากการดำเนินการ (Operating income) ปีละมากกว่า US$ 1.863 billion(FY2007), มีรายได้สุทธิ (Net income) ที่ปีละกว่า US$ 893 million (FY2007) มีคนทำงานในเครือ (Employees) ทั้งสิ้น 182,000 คน (2008) มีบริษัทแม่ (Parent) คือ Macy's, Inc. มีเวบไซต์ทางการ (Website) คือ www.macys.com
ในช่วงประวัติศาสตร์ห้างสรรพสินค้า Macy’s ซึ่งมืชื่ออย่างเป็นทางการว่า 'R.H. Macy's จัดเป็นห้างสรรพสินค้าในเมือง สำหรับคนระดับกลาง จนถึงระดับสูงของสหรัฐอเมริกา โดยมีห้างที่เป็นระดับเรือธง คือมีชื่อเสียงของโลกอยู่ที่ Herald Square, ในเมือง New York City เขาอ้างอิงว่าเป็นห้างสรรพสินค้าทีใหญ่ที่สุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1924 ถึงแม้ปัจจุบันจะเสมอกับห้าง Harrods ในด้านพื้นที่ขายสินค้า ในช่วงของการพัฒนาและฟันฝ่าทางเศรษฐกิจ Macy’s ได้มีการยุบรวมกิจการ ขยายกิจการ ปิดบางสาขา และเพิ่มสาขา ในปัจจุบันมีร้าน Macy’s และเครือข่ายต่างๆทั่วสหรัฐอเมริกาถึง 810 แห่ง (กันยายน ค.ศ. 2008)
ห้าง Macy’s ที่เมืองนิวยอร์ค (New York City, NYC) มีสัญญลักษณ์ของอาคารที่มองเห็นไม่ยาก อยู่ในบริเวณ Herald Square อยู่ไม่ห่างจากอาคาร Empire State ที่มีชื่อเสียงของโลก เดินทางไปได้สะดวกด้วยรถไฟใต้ดิน หรือ Subway ภาพ ห้าง Macy’s มีสาขาหลักที่เรียกว่า “เรือธง” เป็นห้างที่ก่อสร้างโดยใช้วัสดุภายนอกเป็นหินสีน้ำตาล (Brownstone) ตั้งอยู่ระหว่างถนนสาย 4 ตัดกับถนน Broadway ที่มีชื่อเสียงด้านมหรสพและบันเทิงทั้งหลาย The Macy's flagship department store with the famous brownstone at 34th and Broadway. ห้างสรรพสินค้า Macy's มองจากตึกละฟ้า Empire State Building ซึ่งครั้งหนึ่ง จัดเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน ป้ายประวัติศาสตร์ของห้าง (Historical plaque) อยู่บริเวณด้านนอกของอาคาร
อยู่ไม่ห่างจากอาคาร Empire State ที่มีชื่อเสียงของโลก
โปรดศึกษาวิธีการใช้ระบบขนส่งมวลชน
Rapid Mass Transit ในเมือง New York
ห้าง Macy’s มีสาขาหลักที่เรียกว่า “เรือธง” เป็นห้างที่ก่อสร้างโดยใช้วัสดุภายนอกเป็นหินสีน้ำตาล (Brownstone) ตั้งอยู่ระหว่างถนนสาย 4 ตัดกับถนน Broadway ที่มีชื่อเสียงด้านมหรสพและบันเทิงทั้งหลาย
ซึ่งครั้งหนึ่ง จัดเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน
Tuesday, May 12, 2009
มารู้จักเมือง Paterson, New Jersey
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมือง Paterson NJ. ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจของเมืองที่แหล่งงานลดลง และอุตสาหกรรมได้ย้ายไปยังประเทศอื่นๆ อัตราการว่างงานสูง บ้านที่เคยเป็นธุรกิจที่พักอาศัยก็พลอยได้รับผลกระทบตาม
ประกอบ คุปรัตน์
E-mail: pracob@sb4af.org
Updated: Tuesday, May 12, 2009
Keywords: cw105 , USA, สหรัฐอเมริกาท่องเที่ยว, การลงทุน, อสังหาริมทรัพย์, real estate,
ความนำ
ทำไมจึงสนใจเมือง Paterson, New Jersey
เมืองในลักษณะนี้มีอยู่มากมายในสหรัฐอเมริกา
สมัยหนึ่งเมืองใหญ่ทั้งหลายในสหรัฐมีลักษณะที่เขาเรียกว่า “เมืองโดนัท” คือมีเนื้ออยู่รอบๆ แต่ตรงกลางมีความว่างเปลา เมืองใหญ่ดังกล่าว เช่น New York City ในรัฐนิวยอร์ค, Chicago ในรัฐอิลลินอยส์, Philadelphia ในรัฐเพนซิลเวเนีย เป็นต้น
เมืองโดนัท (Donut cities) หมายถึงเมืองใหญ่ๆในสหรัฐสมัยหนึ่งเมื่อมีการย้ายถิ่นฐานแรงงาน คนผิวดำและคนกลุ่มน้อยที่ยากจนเข้าสู่เมืองใหญ่ เมื่ออยู่กันหนาแน่นยิ่งขึ้น บ้านเรือนที่อยู่อาศัยในย่ายกลางเมืองที่เรียกว่า Inner City ก็จะยิ่งเสื่อมโทรม คนอยู่อาศัยไม่มีความสามารถจ่ายภาษีในการบำรุงรักษาท้องถิ่น ถนนทรุดโทรม ระบบน้ำประปา ไฟฟ้า การรักษาความสะอาด ความปลอดภัยมีปัญหา
ส่วนชนชั้นกลาง คนผิวขาวก็ย้ายไปอยู่นอกเมือง โดยเป็นรอบๆ ที่เขาเรียกว่า “ย่านชานเมือง” หรือที่เรียกว่า Suburb หรือไม่ก็เป็นเมืองบริวาร (Satellite towns)
เมืองอย่าง Paterson จัดเป็นเมืองบริวารของเมืองใหญ่ที่กำลังมีปัญหา มีคนอาศัยที่เป็นแรงงานระดับล่าง ร้านค้าย้ายออกจากเมืองไปอยู่ตามศูนย์การค้าประเภท Super malls หรือย่านขายของมีแบรนด์ราคาประหยัด อย่างที่เรียกว่า Outlets เมืองที่เคยเติบโต ก็กลายเป็นเมืองที่มีประชากรลดลง
แต่นั่นแหละ ชุมชน ก็เหมือนกับคน มีดีที่สุด ก็จะกลับมาเสื่อมโทรม เมื่อเสื่อมโทรมแล้ว ก็ต้องมีคนหรือระบบต้องปรับตัวให้ดีขึ้น มีลักษณะแข่งขันกันไป เมืองใดมีระบบบริหารที่ไม่เข้มแข็ง ตามไม่ทันการแข่งขัน ท้ายสุดก็จต้องอ่อนแอลง
การเดินทาง
การเดินทางจากที่พัก ณ 80 St James Place, เขต Brooklyn สู่ Paterson, New Jersey
เส้นทางการขับรถไปยังสถานที่ ณ 810 E 27th St, Paterson, NJ 07513
รวมระยะทาง 29.3 ไมล์ – ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที (อาจนานถึง 1 ชั่วโมง 20 นาที หากรถติด)
80 St James Pl
Brooklyn, NY 11238
1. มุ่งไปทางทิศ ใต้ ไปตาม St James Pl เข้าสู่ Greene Ave 233 ฟุต
2. เลี้ยวซ้าย ที่ Greene Ave 0.3 ไมล์
3. เลี้ยวซ้าย ที่ Classon Ave 0.9 ไมล์
4. เลี้ยวซ้าย ที่ Kent Ave 217 ฟุต
5. เลี้ยวขวา ที่ Penn St 148 ฟุต
6. เบี่ยงซ้ายเล็กน้อยที่ Williamsburg St E 489 ฟุต
7. ใช้ทางลาด I-278/Bklyn-Qns Expy ทางด้านซ้าย 0.2 ไมล์
8. ตัดเข้าไปยัง I-278 E 6.3 ไมล์
9. ใช้ทางออกไปยัง I-278 E
ถนนที่เก็บค่าผ่านทางบางช่วง 3.3 ไมล์
10. ใช้ทางออก 47 ไปยัง Maj Deegan Expy/I-87 เข้าสู่ Albany ทางพิเศษ 0.2 ไมล์
11. ตัดเข้าไปยัง I-87 N 2.9 ไมล์
12. ใช้ทางออก 7N-7S เพื่อตัดเข้าสู่ I-95 S/US-1 S ไปยัง Trenton วิ่งต่อไปตามเส้นทาง I-95 S
กำลังเข้า มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ 5.8 ไมล์
13. ต่อไปยัง I-80 W (ป้ายบอกทาง I-80/Garden State Pkwy/Paterson) 8.3 ไมล์
14. ใช้ทางออก 59 เพื่อตัดเข้าสู่ Market St ไปยัง Paterson 0.3 ไมล์
15. เมื่อถึงวงเวียน ใช้ทางออก ที่ 1 และวิ่งต่อไปบน Market St 0.6 ไมล์
16. เลี้ยวขวา ที่ E 27th St 0.1 ไมล์
810 E 27th St
Paterson, NJ 07513
การเดินทางจาก Gusto Food ไปยัง
ภาพ Paterson City Hall
เส้นทางการขับรถไปยัง Gust Good ซึ่งอยู่ ณ 810 E 27th St, เมือง Paterson, ในรัฐ NJ 07513 ซึ่งเป็นสถานที่ใกล้กัน เป็นระยะทาง 1.5 ไมล์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 นาที
1. มุ่งไปทางทิศ ตะวันออก ไปตาม Market St เข้าสู่ Colt St 0.2 ไมล์
2. เบี่ยงขวาเล็กน้อย เพื่อวิ่งบน Market St 1.1 ไมล์
3. เลี้ยวซ้าย ที่ E 27th St 0.1 ไมล์
การเดินทางไป JFK International Airport
810 E 27th St
Paterson, NJ 07513
การเดินทางจาก Gusto Food เมือง Paterson, NJ, โดยใช้เส้นทางการขับรถไปยัง John F Kennedy International Airport เป็นระยะทาง 34.1 ไมล์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที (อาจนานถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที หากรถติด)
810 E 27th St
Paterson, NJ 07513
1. มุ่งไปทางทิศ ใต้ ไปตาม E 27th St เข้าสู่ 19th Ave 0.1 ไมล์
2. เลี้ยวซ้าย ที่ Market St 0.6 ไมล์
3. เมื่อถึงวงเวียน ใช้ทางออก ที่ 1 ไปยัง Lakeview Ave 440 ฟุต
4. เลี้ยวซ้าย เข้าสู่ทางลาดไปยัง I-80 E 381 ฟุต
5. ชิดซ้ายตรงทางแยก ขับตามป้ายบอกทาง I-80/Elmwood Park/New York City แล้วตัดเข้าสู่ I-80 E 8.4 ไมล์
6. ต่อไปยัง I-95 N ถนนที่เก็บค่าผ่านทางบางช่วง กำลังเข้า มลรัฐนิวยอร์ก 9.8 ไมล์
7. ใช้ทางออก 10 เข้าสู่ I-678 0.8 ไมล์
8. ตัดเข้าไปยัง I-678 S ถนนที่เก็บค่าผ่านทางบางช่วง 13.8 ไมล์
9. ใ้ช้ทางออกเข้าสู่ Terminal 1 456 ฟุต
10. เบี่ยงขวาเล็กน้อยที่ Terminal 1 ปลายทางจะอยู่ทางซ้าย 0.3 ไมล์
การเดินทางจากที่พักย่าน St. James Place, Brooklyn, New York City ไปยังสนามบินนานาชาติหลัก คือ JFK International Airport จะใช้เวลาไม่ต่างกัน
เมือง Paterson,
New Jersey
From Wikipedia, the free encyclopedia
เมืองแพตเตอร์สัน (City of Paterson, New Jersey) มีชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า “เมืองแห่งผ้าไหม (The Silk City) เพราะในยุคเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมือง Paterson มีกิจการทอผ้าไหมที่ขึ้นชื่อ
ภาพ แผนที่เมือง Paterson ตามการสำเรวจของสำนักสำรวจสัมโนประชากร
Census Bureau map of Paterson, New Jersey
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
Coordinates: 40°54′56″N 74°09′47″W / 40.91556°N 74.16306°W
เมือง Paterson เป็นส่วนหนึ่งของ ประเทศ (Country) สหรัฐอเมริกา (United States) ในรัฐ, มลรัฐ (State) นิวเจอร์ซี ( New Jersey ) เขตปกครอง (County) มีชื่อว่า พาสเซอิค (Passaic) ก่อตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ ค.ศ. 1792 และได้รับการยอมรับผนวกเข้าส่วนหนึ่งในระบบการปกครอง (Incorporated) ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1831
รัฐบาลท้องถิ่น (Government) เป็นแบบ (Type) ตามกฏหมาย Faulkner Act โดยมีผู้บริหารเป็นนายกเทศมนตรี และคณะกรรมการเมือง หรือคณะเทศมนตรี (Mayor-Council)
โดยนายกเทศมนตรีของเมือง (Mayor) ในปัจจุบัน คือนาย José "Joey" Torres
พื้นที่ (Area )เมือง รวมทั้งสิ้น 8.7 sq mi หรือประมาณ 22.6 km2 เป็นพื้นดิน (Land) 8.4 sq mi หรือ 21.9 km2 เป็นพื้นน้ำ (Water) 0.3 sq mi หรือประมาณ 0.8 km2 คิดเป็นร้อยละ 3.32%
เมืองตั้งอยู่สูงจากน้ำทะเล (Elevation) 105 ft หรือประมาณ (32 เมตร)
มีประชากร (Population) จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2007 ทั้งสิ้น 146,545 คน
มีความหนาแน่นของประชากร (Density) 17,675.4 คน ต่อ 1 sq mi หรือประมาณ 6,826.4 คนต่อ 1 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร (km2)
เขตเวลาสากล (Time zone) จัดเป็นอเมริกาฝั่งตะวันออก (Eastern) เทียบเป็นช้ากว่าเวลากลางที่เมืองกรีนวิช ลอนดอน ประเทศอังกฤษ 5 ชั่วโมง UTC-5) หากเป็นช่วงฤดูร้อน จะมีเวลาเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง( Summer - DST) เทียบเป็นเวลาเดียวกันกับอเมริกาฝั่งตะวันออก (Eastern - UTC-4)
ระหัสไปรสณีย์ (ZIP code) มีเลขระหัสประกอบด้วย 07501-07505, 07509, 07510, 07513, 07514, 07522, 07524, 07533, 07543, 07544
Area code(s) 973 FIPS code 34-57000[3][4]
การกำหนดเขตจุดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (The Geographic Names Information System (GNIS) มีระหัสว่า ID 0879164
หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว๊บไซต์ทางการของเมือง (Website) ให้เชื่อมโยงไปที่ http://www.patersonnj.go
น้ำตก Great Falls of the Passaic River ในเมืองPaterson, จัดเป็นน้ำตกที่มีความสูงและมีปริมาณน้ำเป็นอันดับสองของเชตฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา.
น้ำตก Great Falls ของแม่น้ำพาเสค (Passaic River) ในอดีตเป็นแหล่งที่คิดว่าเป็นศูนย์กลางของพลังงานกล และต่อมาใช้เพื่อพลังไฟฟ้าได้ ศูนย์อุตสาหกรรมต่างๆ จึงตั้งในบริเวณลุ่มแม่น้ำ แต่ต่อมาระบบพลังงานอุตสาหกรรม และตัวอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนไป ระบบการผลิตและประกอบ (Manufacturing) ได้ย้ายไปยังที่ๆมีค่าแรงงานถูกกว่า และรวมถึงการย้ายไปผลิตในต่างประเทศ แล้วส่งกลับมา เมืองจึงมีปัญหาด้านเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกหลายๆเมืองในสหรัฐอเมริกา
ในสมัยก่อน เมือง Paterson, New Jersey ในเขตที่ลุ่มแม่น้ำแพสเสค (Passaic River) จะเป็นบริเวณที่ตั้งของโรงงาน (Mills) ที่อาศัยพลังงานน้ำจากน้ำไหลผ่านตลอดเมือง
เมืองนี้มีอะไรน่าสนใจเป็นพิเศษ จึงได้มีการเขียนถึง
เมือง Paterson มีน้ำตกที่สวยงาม จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ หากใครอยากไป Niagara Falls ที่อยู่ห่างไปอีก 300 ไมล์ สามารถมาเทียวพักผ่อนที่ Paterson ได้ แต่บรรยากาศของเมืองโดยรวมไม่ได้จัดให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยว
อีกเหตุผลหนึ่งที่เมือง Paterson ประสบปัญหาคนในเขตเมืองลดลง เพราะการเกิด Super Mall โดยรอบ ร้านค้าในเมือง ย้ายไปอยู่ใน Mall ต่างๆ ซึ่งในรัฐนิวเจอร์ซีมีภาษีการค้า หรือ VAT ที่ต่ำกว่า New York State แต่การเดินทางติดต่อถึงกันอย่างสะดวก จึงทำให้คนส่วนหนึ่งเวลาซื้อของ จึงถือเป็นช่วงพักผ่อนหย่อนใจ ขับรถออกนอกเมืองไปจับจ่ายซื้อของ โดยเฉพาะพวกที่อยู่ตามหมู่บ้านที่อยู่ไกลๆออกไป ก็ไม่ต้องเข้ามาที่เมือง Paterson อย่างที่เคย
เป็นเมืองที่อยู่ใกล้เมืองใหญ่อย่าง New York City แหล่งงานในเมืองหรือในบริเวณใกล้เคียงไม่มีมากนัก นอกจากต้องมีการมาพัฒนาให้เกิดขึ้น หรือฟื้นฟูสิ่งที่ได้เคยมีมาในอดีต
ขนาดของเมืองขนาด 100,000-200,000 คน เขาจะปรับตัวเพื่อความอยู่รอดอย่างไร
ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1831 ในทางเขตการปกครอง Paterson อดีตเป็นส่วนเมือง (Towship) ของ Acquackanonk Township แต่ยังอยู่ในเชตปกครอง Essex County คล้ายกับอำเภอในประเทศไทย คือ County ซึ่งเป็นส่วนย่อยของรัฐ (State)
ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1837 ได้กลายเป็นส่วนหนี่งของเขตปกครอง Passaic County
วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1851 ได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองระดับ City ด้วยเป็นผลมาจากการลงประชามติ (Referendum)
ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1861 ได้รับการยอมรับเป็นเมืองอีกครั้ง (Reincorporated) อันหมายความว่าการยอมรับในระดับรัฐ และหรือรัฐบาลกลาง ทำให้มีความเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
ประวัติศาสตร์
History
ในปี ค.ศ. 1791 Alexander Hamilton รัฐมนตรีการคลังของรัฐบาลยุคประธานาธิบดี George Washington ได้ช่วยเริ่มก่อตั้งสมาคมริเริ่มด้านอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า the Society for the Establishment of Useful Manufactures (S.U.M.) ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุน กระตุ้นให้เกิดการใช้แรงงานจากน้ำตกของแม่น้ำ Passaic ที่เรียกว่า Great Falls of the Passaic และพลังน้ำที่สามารถแปลงพลังกังหันน้ำมาใช้เป็นพลังขับเคลื่อนในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้สหรัฐอันเป็นประเทศใหม่ ได้มีความเป็นอิสระจากประเทศอังกฤษ เมือง Paterson ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยสมาคมดังกล่าว เพื่อให้เป็นแหล่งฟูมฟักการปฏิวัติระบบอุตสาหกรรมของอเมริกา ชื่อเมือง Paterson เป็นการตั้งเพื่อให้เกียรติแก่ William Paterson,ผู้ว่าการของรัฐนิวเจอร์ชี (Governor of New Jersey) รัฐบุรุษ และหนึ่งในผู้ลงนามในรัฐธรรมนูญของสหรัฐ
สถาปัตย์ วิศวกร และนักวางผังเมืองชื่อว่า Pierre L'Enfant ผู้ออกแบบผังเมืองของกรุงวอร์ชิงตันดีซี (Washington, D.C) ได้เป็นผู้บริหารคนแรกของโครงการ SUM เขาเป็นคนคิดว่าจะนำพลังน้ำจากน้ำตก ซึ่งเขาคิดการทำอุโมงน้ำนำน้ำจากน้ำตกไปใช้ให้เกิดพลังงาน แต่เพราะเขาคิดนานและเป็นโครงการใหญ่ที่ใช้เงินเกินงบประมาณ จึงถูกแทนที่ด้วย Peter Colt, ที่คิดไม่ซับซ้อนเท่า และออกแบบน้ำทำเป็นอ่างเก็บน้ำ ส่งน้ำผ่านคลองไปตามโรงงานที่จะใช้พลังจากน้ำในการขับเคลื่อนเครื่องจักรในอุตสาหกรรม ในปี ค.ศ. 1794 แนวคิดของ Colt ไม่ทำให้เกิดผลดีนัก ในที่สุดจึงหันกลับมาใช้แนวคิดของ L'Enfant แล้วทำจนสำเร็จ ส่วน L'Enfant เมื่อต้องไปออกแบบกรุงวอร์ชิงตันดีซี ก็ได้นำแบบเมือง Paterson ติดตัวไปด้วย และในที่สุดแบบ
เมืองของ Washington ก็เหมือนหรือคล้ายกับเมือง Paterson
อุตสาหกรรมผลิตผ้าไหมในเมือง Paterson เรียกว่า Silk City
การพัฒนาอุตสาหกรรมของเมือง Paterson ได้อาศัยพลังน้ำจากน้ำตกที่มีขนาดกว้างถึง77 ฟุต มีทางน้ำที่ส่งกำลังไปใช้ในอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นโดยรอบ เมืองก็เกิดและขยายตัวไปรอบน้ำตก ในปี ค.ศ. 1914 มีโรงงานนับเป็นสิบๆที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นพวกเกี่ยวข้องกับการทอผ้า และระยะต่อมาเป็นพวกโรงงานอาวุธ โรงงานทอผ้าไหม มีโรงงานสร้างและประกอบรถไฟ
ในช่วงหลังๆของศตวรรษที่ 1800s ผ้าไหมเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้เมืองมั่งคั่ง จนทำให้เมืองได้ชื่อว่าเป็น “เมืองผ้าไหม” ในปี ค.ศ. 1835 Samual Colt ได้เริ่มอุตสาหกรรมอาวุธ แต่ทำได้ไม่กีปี ก็ย้ายอุตสาหกรรมไปอยู่ที่เมือง Hartford, รัฐ Connecticut ในช่วงศตวรรษที่ 19 เมือง Paterson ได้สถานที่พัฒนาเรือดำน้ำโดยนักประดิษฐอเมริกัน เชื้อสายชาวไอริช ชื่อ John Holland ต้นแบบ 2 รายการ ลำหนึ่งอยู่ที่บริเวณแม่น้ำ Passaic และแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ของเมือง (Paterson Museum) ซึ่งอาศัยโรงงานใกล้ๆกับน้ำตก Passaic Falls
เป็นศูนย์กลางของแรงงานอพยพ
มีส่วนในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินรบในสงครามโลกครั้งที่สอง
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมือง Paterson ได้มีบทบาทสำคัญในการผลิตเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินรบในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่หลังจากนั้นก็เป็นความเสื่อมของเขตเมือง (Urban) ของสหรัฐอเมริกาโดยทั่วไป เริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 1970s เมืองได้ประสบปัญหาอัตราคนว่างงานสูงเป็นต้นมา เช่นเดียวกับหลายๆเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา
ครั้งหนึ่ง เมือง Paterson เป็นแหล่งจับจ่ายและสันทนาการของด้านทิศเหนือของรัฐนิวเจอร์ซี่ แต่ในยุคหลังๆ ได้มีการสร้างศูนย์การค้า (Malls) ที่มีรูปแบบที่ดี ดึงดูดผู้คนจากเมืองต่างๆไปจับจ่ายใช้สอย ดังเมือง Wayne และ Paramus ทำให้เครือข่ายร้านค้าใหญ่ๆ ได้ย้ายออกจากเขตการค้า (downtown) ของเมือง เหลือเพียงธุรกิจระดับเล็ก ส่วนโรงงานขนาดใหญ่ได้เลิกกิจการในเมือง และย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาอย่างจีน อินเดีย หรือประเทศไทย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมืองยังเป็นแหล่งดึงดูดผู้อพยพจากประเทศอื่นๆ immigrants ให้เข้ามาอยู่ในเมือง และทำให้ธุรกิจขนาดย่อยได้เกิดขึ้น ทำให้ธุรกิจของเมืองยังคงมีชีวิตชีวา
จะด้วยรูปแบบการสร้างเมืองในอดีต หรือเป็นเพราะมาตรฐานความปลอดภัย เมือง Paterson ได้ประสบปัญหาไฟไหม้หลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1991 ได้เกิดไฟไหม้เมือง ทำให้บริเวณที่ไหม้ทั้งหมดกินเป็น Block
จากการที่เกิดเพลิงไหม้นี้ทำให้บริเวณศูนย์การค้าหลักของเมืองได้ถูกทำลายไปด้วย รวมถึงง Meyer Brother Department Store ซึ่งจัดเป็นศูนย์การค้าเพียงไม่กี่แห่งที่เหลือของเมือง
Friday, May 8, 2009
การศึกษาการใช้ Password ระบบทดสอบภาษาอังกฤษในประเทศไทย
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
Updated: Friday, May 08, 2009
Keywords: ระบบทดสอบภาษาอังกฤษ, ESL,
Password คืออะไร
Password คือระบบทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้พัฒนาขึ้นโดยหน่วยงาน มหาวิทยาลัย 4 แห่งในประเทศอังกฤษ และมีเครือข่ายผู้ใช้ที่เป็นมหาวิทยาลัยในยุคใหม่ที่ต้องการสรรหาและคัดเลือกคนเข้าศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ
เป็นระบบทดสอบออนไลน์ สามารถทดสอบในขั้นเบื้องต้นในเวลา 60 นาที ด้วยข้อสอบ 72 ข้อ สามารถจัดทดสอบได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา (Anywhere, Anytime) มีความปลอดภัยในระบบทดสอบ เพราะใช้ระบบอินเตอร์เน็ตช่วยในการทดสอบ (Internet-Based Testing - IBT)
รายละเอียดสามารถดูได้จาก http://pracob.blogspot.ocm แล้วพิมพ์คำว่า Password ใช้ช่องสืบค้น หรือ
ดูได้จาก Website: การพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Education Quality Improvement – EQI) ดูได้ที่ www.itie.org/eqi/ ทั้งในส่วนที่เป็นบทความ และเสวนาและข่าว
หากต้องการค้นหา Password ระบบทดสอบภาษาอังกฤษ ในระบบสืบค้นอย่าง Google หรือ Yahoo ให้ใช้คำว่า Password Pathway to Academic Success
หากมีการนำมาใช้ในประเทศไทย
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย (SpringBoard For Asia Foundation – SB4AF) อันเป็นมูลนิธิส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษา มีความสนใจที่จะเป็นตัวแทนดำเนินการส่งเสริมการใช้และพัฒนาระบบทดสอบแบบใหม่ ที่ใช้อินเตอร์เน็ตช่วยในการทดสอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ และให้ความน่าเชื่อถือแก่ผู้ต้องการใช้งาน โดยมีค่าใช้จ่ายไม่สูง และเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานผู้ใช้ อันได้แก่ มหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียน และสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรนานาชาติ (International Programme)
การวิเคราะห์ด้วย SWOT
เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการ ผู้เขียนจึงได้นำเสนอการวิเคราะห์ SWOT เพื่อดูสภาพแวดล้อมของระบบทดสอบ Password ที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย
S – Strength หมายถึงความแข็งแกร่งของหน่วยงาน ในที่นี้หมายถึง มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย และ Password ที่จะดำเนินการในประเทศไทย
W – Weakness หมายถึงจุดอ่อนขององค์การและระบบทดสอบ Password ทั้งในสหราชอาณาจักร และในประเทศไทย
O – Opportunities หมายถึงโอกาส จากสภาพแวดล้อม (Environment) ของระบบทดสอบ และโอกาสที่จะดำเนินการในประเทศไทย
T - Threats หมายถึงการคุกคาม หากดำเนินการบริการระบบทดสอบภาษาอังกฤษ Password ในประเทศไทย มีใครหรือระบบอะไรบ้างที่เป็นสินค้าและบริการอย่างเดียวกันนี้ในประเทศไทย และในโลก
S – Strength
จุดแข็งของ “มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย” มีดังนี้
1. เป็นองค์การประเภทมูลนิธิ ไม่แสวงกำไร โปร่งใส พร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการพัฒนาในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อระบบการศึกษา และการพัฒนากำลังคนของชาติ
2. มีขนาดไม่ใหญ่โต ดำเนินการ ตัดสินใจได้อย่างคล่องตัว
3. มีสายสัมพันธ์กับประเทศสหราชอาณาจักรในกิจการอื่นๆอยู่แล้ว
4. มีเครือข่ายการดำเนินการในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในกิจกรรมพัฒนาการศึกษาอยู่แล้ว ทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย เวียตนาม เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา สิงค์โปร์ สามารถครอบคลุมบริการได้ทั้งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
5. มีความเข้าใจในเทคโนโลยีระบบทดสอบโดยใช้อินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ช่วยอย่าง International Computer Driving Licence – ICDL ซึ่งมีศูนย์ทดสอบอยู่แล้ว และกำลังจะขยายไปทั่วประเทศและภูมิภาค
6. มีเครือข่าย และกลไกในการติดต่อกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ทั้งในส่วนราชการ เอกชน และองค์การไม่แสวงกำไรทั้งหลาย
จุดแข็งของ Password ระบบทดสอบภาษาอังกฤษแบบออนไลน์มีดังนี้
1. เป็นระบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นใหม่ และเห็นปัญหาของการทดสอบภาษาอังกฤษที่มีในประเทศสหราชอาณาจักร
2. เป็นระบบทดสอบแบบออนไลน์ หรือ Internet-Based Testing แก้ปัญหาข้อจำกัดด้านเวลาทดสอบ และสถานที่ทดสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการทดสอบได้ทั่วประเทศไทย และทั่วโลก
3. ใช้เวลาในการทดสอบไม่มาก คือเพียงประมาณ 60 นาที
4. ค่าใช้จ่ายไม่สูง หากมีการใช้บริการจำนวนมากๆ ราคาก็จะลดลงได้อีกมาก
5. มีช่องทางเลือกเพื่อการพัฒนาและให้บริการร่วมกันกับสถานศึกษาแบบข้ามประเทศ (International Linkages)
W – Weakness
จุดอ่อนของมูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย และจุดอ่อนของ Password ระบบทดสอบภาษาอังกฤษแบบออนไลน์มีดังนี้
SB4AF
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย (SB4AF) มีจุดอ่อนในการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. มีขนาดเล็ก เพิ่งเกิดใหม่
2. ไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง
3. ไม่มีความเป็น Research and Development เป็นของตนเอง
Password
Password มีหน่วยงานขนาดเล็กที่ได้จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ
1. Password ดำเนินการโดย English Language Testing Ltd, ตั้งอยู่ที่ Great West House, Great West Road, Brentford, TW8 9DF ประเทศสหราชอาณาจักร
2. หากต้องการขยายนวตกรรมไปสู่ ระบบทดสอบออนไลน์ในสาขาวิชาการอื่นๆ เช่น การทดสอบวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรืออื่นๆ หน่วยงานอย่าง English Language Testing Ltd. จะไม่เหมาะและอาจไม่สนใจที่จะดำเนินการ
Password สนใจที่จะร่วมงานกับ SB4AF ในการพัฒนาระบบทดสอบภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งใช้ Know How ใกล้เคียงกัน
O – Opportunities
SB4AF และ Password มีโอกาสในการดำเนินการให้บริการทดสอบภาษาอังกฤษในประเทศไทยดังนี้
ระบบทดสอบภาษาอังกฤษที่มีดำเนินการอยู่แล้ว อย่างน้อย 3 รายดังนี้
1. TOEFL ระบบทดสอบภาษาอังกฤษที่มีฐานการดำเนินในสหรัฐอเมริกา มีการดำเนินการอยู่แล้วทั้งในระบบทดสอบที่เป็นกระดาษ (Paper-Based Testing – PBT, และระบบทดสอบใหม่ที่เป็น Internet-Based Test – IBT) จัดเป็นรายใหญ่ที่สุด
2. IELTS ระบบทดสอบภาษาอังกฤษที่มีฐานการดำเนินการในประเทศสหราชอาณาจักร เป็นระบบทดสอบที่ได้รับการยอมรับนสถาบันการศึกษาในประเทศสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพทั้งหลาย ยังไม่มีระบบทดสอบแบบ IBT ออกสู่ตลาด
3. CU-TEP ระบบทดสอบภาษาอังกฤษ ที่พัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบริการทีขยายตัวอย่างเร็ว ราคาค่าบริการไม่สูง เป็นที่ยอมรับของมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาในประเทศไทย แต่ไม่สามารถใช้อ้างอิงในประเทศอื่นๆได้ ยังไม่มีระบบทดสอบแบบ IBT ออกบริการ
ระบบทดสอบ Password มีโอกาสดังต่อไปนี้
1. Password เป็นระบบทดสอบภาษาอังกฤษที่เป็นแบบ IBT เหมือนกับ TOEFL แต่มีค่าบริการที่ประหยัดกว่า และยังไม่มีในระบบทดสอบ IELTS และมีราคาประหยัดกว่า
2. เป็นระบบทดสอบที่เป็นที่ยอมรับสำหรับหน่วยงานประเภทสถาบันพัฒนาภาษาอังกฤษ และโปรแกรมเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อ ซึ่งเขามีระบบเตรียมพื้นฐานรองรับอยู่แล้ว ซึ่งมีอยู่มากในประเทศสหราชอาณาจักร และอื่นๆ
3. สามารถขยายบริการทดสอบจากศูนย์ทดสอบ ICDL ที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี ตลอดจนมาตรฐานการควบคุมดูแลระบบจัดสอบ
T - Threats
ระบบทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษในประเทศไทย ตลอดจนหน่วยงานพัฒนานวตกรรมอย่าง SB4AF จะต้องคำนึงถึงปัญหาดังต่อไปนี้
1. สถานะทางการเมือง ความไม่มั่นคงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินการด้านการศึกษา ซึ่งมีผลต่อสถาบันการศึกษาต่างๆอยู่แล้ว
2. สภาพวิกฤติทางเศรษฐกิจ หลายหน่วยงานที่ควรจะคิดก้าวหน้า อาจเลือกอยู่อย่างเฉยๆ
3. บรรยากาศความไม่กล้าตัดสินใจ โดยเฉพาะหน่วยงานส่วนกลางของราชการไทยทั้งหลาย
4. อาจมีหน่วยงานที่ต้องการดำเนินการในลักษณะเดียวกัน อย่างต่างคนต่างทำ แต่ทำได้อย่างไม่เข้มแข็ง
ทางเลือกในการดำเนินการ
ทางเลือกในการดำเนินการของ SB4AF มีดังต่อไปนี้
1. SB4AF ตระหนักในปัญหาด้านการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ แต่เลือกที่จะต้องดำเนินการบางอย่าง ไม่อยู่เฉย โดยเฉพาะความจำเป็นในการพัฒนาระบบการศึกษาของชาติ
2. ความพร้อมที่จะดำเนินการแบบร่วมมือเป็นเครือข่าย ไม่จำเป็นต้องทำคนเดียว ฝ่ายเดียว หากใครพร้อมที่จะมาร่วมมือ ทั้งในด้านบุคคล องค์การ สถานศึกษา หรือองค์การท้องถิ่น ทาง SB4AF ยินดีพิจารณาความร่วมมือต่างๆ ทั้งนี้โดยยืดหลักประโยชน์ตกอยู่แก่คนหมู่มากและสังคมเป็นหลัก
3. ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จากเล็กไปหาใหญ่ ในระยะเริ่มแรก จะได้นำระบบ Password มาทดสอบพร้อมเก็บข้อมูลจำนวน 100 Tests โดยเร็วที่สุด หากสถาบันการศึกษาใดต้องการระบบทดสอบนี้เพื่อลองใช้โปรติดต่อที่ SB4AF
4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เพื่อหาหน่วยงานความร่วมมือที่จะให้เกิดศูนย์ทดสอบภาษาอังกฤษในแบบออนไลน์ (Password Accredited Test Centers) ในประเทศไทย พัฒนาและสร้างขีดความสามารถในการให้บริการทดสอบ ร่วมไปกับระบบทดสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์สากล ICDL ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว
Thursday, May 7, 2009
วันระลึกถึงทหารผู้เสียชีวิตในสงครามของสหรัฐ
ประกอบ คุปรัตน์
E-mail: pracob@sb4af.org
From Wikipedia, the free encyclopedia
Updated: Thursday, May 07, 2009
Keywords: สหรัฐอเมริกา, USA, US, memorial day, การสงคราม, การสูญเสียชีวิต,
วัน Memorial Day จัดเป็นวันหยุดของสหรัฐอเมริกา (The United States of America – USA) กำหนดโดยรัฐบาลกลาง
ในปี ค.ศ. 2009 กำหนดให้วันจันทร์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม คือวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 เป็นวันหยุด Memorial Day แต่เดิมเรียกว่า Decoration Day หรือวันสดุดีให้เยรติแก่ทหารสหรัฐที่ได้เสียชีวิตในการรับใช้หน้าที่ในการทหาร
เมื่อเริ่มต้นเป็นการให้เกียรติแก่ทหารฝ่ายรัฐบาล คือฝ่ายเหนือ ในการรบในสงครามกลางเมือง เป็นการฉลองช่วงสงครามกลางเมืองใกลยุติ ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ได้มีการฉลองให้เกียรติแก่ทหารที่ได้เสียชีวิตในสงครามดังกล่าว และรวมถึงทุกสงครามที่ได้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต
คนอเมริกันเกือบทุกครอบครัว จะมีญาติพี่น้องและบรรพบุรุษที่ได้เสียชีวิตไปในไม่สงครามใดก็สงครามหนึ่ง
ตาราง การสูญเสียทหารของประเทศสหรัฐอเมริกาในสงครามหรือการส่งทหารเข้าดูแลพื้นที่ (Military casualties suffered by the United States of America in war or deployments)
สงครามหรือความขัดแย้ง
War or conflict
ต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสงคราม ช่วงเวลา (Date) การตาย (Deaths) อันเป็นการตายในการสู้รบ (combat) และอื่นๆ (other) รวมการตาย (total)
1. American Revolutionary War 1775–1783
การตายในการสู้รบ 8,000
17,000
25,000
2. Quasi-War 1798–1800
การตายในการสู้รบ 20
20
3. Barbary Wars 1801–1815
การตายในการสู้รบ 35
35
4. Other actions against pirates 1800–1900
การตายในการสู้รบ 10
10
5.Northwest Indian War 1785–1795
การตายในการสู้รบ 1221+
6. War of 1812 1812–1815
การตายในการสู้รบ 2,260
~17,000
~20,000
7. First Seminole War 1817–1818
การตายในการสู้รบ 30
30
8. Black Hawk War 1832
60+
9. Second Seminole War 1835–1842
การตายในการสู้รบ 328
~1,500
10.Mexican–American War 1846–1848
การตายในการสู้รบ 1,733
11,550
13,283
11. Third Seminole War 1855-1858
การตายในการสู้รบ 26
26
12. Civil War: total 1861–1865
การตายในการสู้รบ 212,938
~625,000
กองทัพรัฐบาล (Union)
การตายในการสู้รบ 140,414
224,097
364,511
กองทัพฝ่ายใต้ (Confederate)
การตายในการสู้รบ 72,524
~260,000
13. Indian Wars 1865–1898
การตายในการสู้รบ 919
14. Korean expedition 1871
การตายในการสู้รบ 3
3
15. Spanish–American War 1898
การตายในการสู้รบ 385
2,061
2,446
16. Philippine–American War1898–1913
การตายในการสู้รบ 1,020
3,176
4,196
17. Boxer Rebellion 1900–1901
การตายในการสู้รบ 37
37
18. Mexican Revolution 1914–1919
การตายในการสู้รบ 5+
19. Occupation of Haiti 1915–1934
การตายในการสู้รบ 146
20. World War I 1917–1918
การตายในการสู้รบ 53,402
63,114
116,516
21. Northern Russian Expedition 1918-1920
การตายในการสู้รบ 424
22. American Expeditionary Force Siberia 1918-1920
การตายในการสู้รบ 189
23. China 1918; 1921; 1926-1927; 1930; 1937
การตายในการสู้รบ 5
24. US occupation of Nicaragua 1927-1933
การตายในการสู้รบ 48
25. World War II 1941–1945
การตายในการสู้รบ 291,557
113,842
405,399
26. China {Cold War} 1945-1947
การตายในการสู้รบ 13
27. Berlin Blockade 1948-1949
การตายในการสู้รบ 0
31
28. Korean War 1950–1953
การตายในการสู้รบ 33,746
?
36,516
29. Russia {Cold War}1950-1955
การตายในการสู้รบ 32
30. China {Cold War}1956
การตายในการสู้รบ 16
31. Bay of Pigs Invasion 1961
การตายในการสู้รบ 4
32. Vietnam War 1957–1973
การตายในการสู้รบ 47,424
10,785
58209
33. Invasion of Dominican Republic 1965-1966
การตายในการสู้รบ 13
34. El Salvador Civil War 1980–1992
การตายในการสู้รบ 9
20
35. Beirut deployment 1982–1984
การตายในการสู้รบ 256
266
36. Persian Gulf escorts 1987–1988
การตายในการสู้รบ 39
0
39
37. Invasion of Grenada 1983
การตายในการสู้รบ 18
1
19
38. Invasion of Panama 1989
การตายในการสู้รบ 23
40
39. Gulf War 1990–1991
การตายในการสู้รบ 148
151
299
40. Somalia 1992–1993
การตายในการสู้รบ 29
14
43
41. Haiti 1994–1995
การตายในการสู้รบ 1
4
42. Bosnia-Herzegovina 1995-2004
การตายในการสู้รบ 1
12
43. Kosovo 1999
การตายในการสู้รบ 1
19
20
44. Afghanistan* 2001–present
การตายในการสู้รบ 463
214
677
45. Iraq War 2003–present
การตายในการสู้รบ 3,741
540
4,281
Includes: Afghanistan, Philippines, Horn of Africa and Pankisi Gorge
ดูตารางรายละเอียดได้จาก http://www.itie.org/eqi/
สหรัฐอเมริกา จัดเป็นประเทศที่มีสงครามที่เข้าสู้รบมากที่สุด จนเกือบจะไม่มีสมัยใดที่สหรัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการรบในที่หนึ่งที่ใด
สหรัฐอเมริกา นับแต่เกิดประเทศ หรือสงครามประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ. 1776 จนถึงปัจจุบัน มีสงครามที่เข้าร่วม 45 ครั้ง มีสงครามครั้งใหญ่ๆที่ทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตและบาดเจ็บที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้
สงครามประกาศอิสรภาพ
American Revolutionary War
สงครามประกาศอิสรภาพของคนอเมริกันต่อประเทศแม่ คืออังกฤษ ในช่วงปี ค.ศ. 1775–1783 มีทหารเสียชีวิตจากการสู้รบ 8,000 คน เสียชีวิตจากเหตุอื่นๆ 17,000 คน รวมเสียชีวิตทั้งสิ้น 25,000 คน บาดเจ็บจากสงคราม 25,000 รวมเป็นเสียชีวิตและบาดเจ็บจากสงคราม 50,000 คน
สงครามกลางเมือง
Civil War
สงครามกลางเมือง อันเป็นการรบกันเองระหว่างฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ในช่วงปี ค.ศ. 1861–1865 มีผู้เสี่ยชีวิตทั้งสองฝ่าย 212,938 คน รวมเสียชีวิตและบาดเจ็บด้วยแล้ว 625,000 คน
ฝ่ายรัฐบาล (ฝ่ายเหนือ – Union) เสียขีวิตในการต่อสู 140,414 คน เสียชีวิตจากอื่นๆ 224,097 คน รวมเป็น 364,511 คน บาดเจ็บอีก 281,881 คน รวมตายและบาดเจ็บ 646,392 คน
ฝ่ายใต้ (Confederate) อันเป็นฝ่ายแพ้สงครามเสียชีวิต 72,524 คนรวมเสียชีวิตเป็นประมาณ 260,000 คน
สงครามโลกครั้งที่ 1
World War I
สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1917–1918 คน มีทหารอเมริกันเสียชีวิตในการสู้รบ 53,402 คน เสียชีวิตจากอื่นๆ 63,114 คน รวมเสียชีวิต 116,516 คน มีบาดเจ็บอีก 204,002 คน รวมเสียชีวิตและบาดเจ็บ 320,518 คน
สงครามโลกครั้งที่ 2
World War II
สงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1941–1945 มีทหารอเมรกันเสียชีวิตในการสู้รบ 291,557 คน เสียชีวิตจากอื่นๆอีก 113,842 คน รวมเสียชีวิตทั้งสิ้น 405,399 คน บาดเจ็บ670,846 คน รวมเสียชีวิตและบาดเจ็บ 1,076,245 คน
จัดเป็นสงครามที่มีความสูญเสียในทหารมากที่สุด
สงครามเกาหลี
Korean War
สงครามเกาหลี เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1950–1953 มีทหารอเมริกันเสียชีวิตจากการสู้รบ 33,746 คน บาดเจ็บอีก 36,516 คน รวมเสียชีวิตและบาดเจ็บ 103,284 คน
ช่วงสงครามเกาหลีเป็นต้นมา สหรัฐได้เข้าสู่ยุคสงครามเย็นที่สหภาพโซเวียตในยุโรปได้เป็นผู้นำของกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่จะขยายตัวยึดครองประเทศในยุโรป และประเทศจีนคอมมิวนิสต์ได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ และได้มีการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ไปในเอเซีย
สหรัฐได้เป็นผู้นำในการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งในแบบเปิด และแบบสงครามเย็น (Cold War) ที่ไม่ได้มีการสู้รบกันโดยตรงระหว่างสหรัฐกับสองประเทศคอมมิวนิสต์ คือ สหภาพโซเวียต และจีน
สงครามเวียตนาม
Vietnam War
สงครามเวียตนาม หรือเรียกว่าสงครามอินโดจีน เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1957–1973 มีทหารอเมริกันเสียชีวิตในการสู้รับ 47,424 คน เสียชีวิตด้วยเหตุอื่นๆ 10,785 คน รวมเสียชีวิต58209 คน บาดเจ็บอีก 153,303 คน รวมเสียชีวิตและบาดเจ็บ 211,454 คน ในสงครามดังกล่าว สหรัฐได้ส่งทหารเข้าสู่สงครามกว่า 600,000 คน
หลังสงครามเวียตนาม
หลังสงครามเวียตนาม สหรัฐได้มีนโยบายที่การเข้าร่วมสงคราม ฝ่ายบริหารจะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา สงครามที่เข้าร่วม ก็จะเป็นประเภทเริ่มเร็ว และต้องจบลงอย่างรวดเร็ว แต่กระนั้นก็จะยังมีการเข้าร่วมในสงครามอีกถึง 12 ครั้ง ดังต่อไปนี้
1. การบุกสาธารณรัฐโดมินิกัน (Invasion of Dominican Republic)
2. การเข้าร่วมในสงครามกลางเมืองของเอลซัลวาดอร์ (El Salvador Civil War)
3. การเข้าแก้ปัญหาในเมืองเบรุต เลบานอน (Beirut deployment)
4. การเข้าสนับสนุนในอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf escorts)
5. การบุกกรานาดา (Invasion of Grenada)
6. การบุกปานามา (Invasion of Panama)
7. การบุกอีรัคในสงครามอ่าว (Gulf War)
8. การบุกโซมาเลีย (Somalia)
9. การเข้าร่วมในการดูแลไฮติ (Haiti)
10. การเข้าร่วมในการรักษาความสงบในบอสเนียและเฮอเซโกวีน่า (Bosnia-Herzegovina)
11. การเข้าร่วมในการรักษาความสงบในโคโซโว (Kosovo)
12. การบุกอัฟกานิสถาน (Afghanistan)
13. การบุกยึดครองอีรัคในสงครามอีรัค (Iraq War)
สงครามอัฟกานิสถาน (Afghanistan)
เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2001 และยังคงมีการสู้รบจนถึงปัจจุบัน เป็นเหตุสืบเนื่องมาจากหลังเหตุการณ์วันที่ 11 เดือนกันยายน ค.ศ. 2001 ที่มีกลุ่มก่อการร้ายอิสลามหัวรุนแรง ได้เข้าโจมตี
ในสงครามอัฟกานิสถาน มีทหารเสียชีวิตในการสู้รบ 463 คน เสียชีวิตจากเหตุอื่นๆ 214 คน รวมเสียชีวิต 677 คน บาดเจ็บ 2,379 คน รวมเสียชีวิตและบาดเจ็บ 3,056 คน
เหตุการณ์ 9/11
เหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 201 กลุ่มอัลไคดา (Al-Qaeda) ได้จี้เครื่องบินโดยสาร 4 ลำ แล้วนำพุ่งเข้าชนสถานที่สำคัญ
- 2 ลำพุ่งเข้าชนอาคารแฝด World Trade Center บนเกาะแมนฮัตตัน ในเมืองนิวยอร์ค
- 1 ลำพุ่งชนอาคารกระทรวงกลาโหมที่เรียกว่า Pentagon ในเมือง Arlington, รัฐเวอร์จิเนีย นอกเมืองหลวงของสหรัฐ Washington D.C.
- 1 ลำตกในทุ่งนอกเมือง Shanksville ในชนบทของเขต Somerset County, รัฐ Pennsylvania รวมทั้งสิ้นมีผู้ก่อการร้ายเสียชีวิต 19 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 2974 คน และสหรัฐประกาศสงครามกับผู้ก่อการร้าย การบุกเข้าอัฟกานิสถาน และตามด้วยการบุกเข้าอีรัค
สงครามอีรัค (Iraq War)
เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2003 หลังเหตุการณ์วันที่ 11 เดือนกันยายน ค.ศ. 2001 และการบุกอัฟกานิสถานแล้ว จนถึงปัจจุบัน มีทหารเสียชีวิตจากการสู้รบ จนถึงปัจจุบัน 3,741 เสียชีวิตจากเหตุอื่นๆ 540 คน รวมเสียชีวิตทั้งสิ้น 4,281 คน บาดเจ็บ 46,132 คน รวมบาดเจ็บและเสียชีวิต 50,413 คน
Saturday, May 2, 2009
มาตรฐานรางรถไฟ (Rail gauge)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
From Wikipedia, the free encyclopedia.
Keywords: cw132, รถไฟ, การขนส่ง, คมนาคม, พลังงาน
ทางรถไฟมีมาตรฐานสำคัญที่ความกว้าง ซึ่งเขาเรียกว่า Rail Gauge อันเป็นระยะทางระหว่างรางคู่นั้น ในโลกร้อยละ 60 ในปัจจุบันใช้มาตรฐานความกว้างที่ 1435 มิลิเมตร หรือ 4 ฟุต 8.5 นิ้ว ซึ่งเรียกว่า “รางมาตรฐาน” (Standard Gauge) หรือมาตรฐานนานาชาติ (International Gauge) รางที่มีความกว้างกว่านี้เรียกว่า “รางกว้าง” (Broad Gauge) และรางที่มีความแคบกว่านี้เรียกว่า “รางแคบ” หรือ Narrow Gauge
ระบบรางคู่ (Dual Gauge) หมายถึงระบบที่มีราง 3 หรือ 4 เส้นรางร่วมกันไปเพื่อรองรับมาตรฐานความกว้างล้อรถไฟที่มีความกว้างในมาตรฐานที่แตกต่างกัน
ประวัติ (History)
พัฒนาการของรถไฟ เกิดขึ้นที่ในยุโรป และมีการพัฒนาอย่างแยกกันในทวีปอเมริกาเหนือ ระบบการคมนาคมด้วยรถไฟได้เข้ามาเป็นกระแสหลักในการขนส่งมวลชน จนกระทั่งมีรถยนต์ ทางหลวง และเครื่องบินโดยสาร เข้ามาเป็นทางเลือกมากขึ้น พัฒนาการของมาตรฐานรางรถไฟ (Rail Gauge) นับเป็นเรื่องที่มีปัญหาระหว่างการไม่มีมาตรฐานกลางในโลก ดังที่มีระบบชั่ง ตวง และวัดที่แตกต่างกันระหว่างระบบอังกฤษ และระบบเมตริก เหมือนกับโลกที่มีพื้นฐานภาษาที่แตกต่างกัน และยากในการสื่อสารกัน หรือระบบการขับขึ่รถที่มีทั้งยึดขับด้านซ้ายหรือขวาของถนน และระบบรถจึงมีทั้งที่เป็นพวงมาลัยด้านซ้ายและขวาของรถ
รางรถไฟนับเป็นความแตกต่างหนึ่งที่ต้องเรียนรู้ไว้เป็นประว้ติศาสตร์ และการต้องมีทางออกทางเลือกเพื่อการได้รับโอกาสจากการคมนาคมใหม่ๆ
เริ่มต้นจากประเทศอังกฤษ
รางมาตรฐาน (Standard Gauge) พัฒนาโดยวิศวกรอังกฤษ ชื่อว่า George Stephenson ซึ่งเป็นผู้ออกแบบรางรถไฟระหว่าง Stockton และ Darlington เขาหว่านล้อมให้นักอุตสาหกรรมให้สร้างชิ้นส่วนต่างๆ ให้รองรับรางในระบบ 4 ฟุต 8.5 นิ้ว หรือ 1435 มิลิเมตร ซึ่งได้ทำขึ้นในปี ค.ศ. 1845 และคณะกรรมการแห่งประเทศอังกฤษขณะนั้นก็ได้เสนอแนะให้ใช้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานกลาง ในปีต่อมา รัฐสภาของอังกฤษก็ได้ออกกฎหมายที่เรียกว่าพระราชบัญญัติรางรถไฟ (Gauge Act) ซึ่งบังคับให้ทางรถไฟสร้างใหม่ทั้งหลายต้องใช้มาตรฐานดังกล่าว ยกเว้นทางรถไฟสาย Great Western ซึ่งใช้รางในระบบที่กว้างกว่านั้น ในขณะนั้นมีรางรถไฟหลายระบบ แต่ในที่สุดในปี ค.ศ. 1892 ทางสาย Great Western ก็ได้เปลี่ยนมาใช้ทางความกว้างมาตรฐาน
แม้จะมีรางมาตรฐานในประเทศอังกฤษ แต่ประเทศอื่นๆ ก็ยังมีมาตรฐานรางที่แตกต่างกันไปตามประว้ติศาสตร์ของแต่ละประเทศและภูมิภาค
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในช่วงเริ่มต้น ทางรถไฟในสหรัฐอเมริกาและแคนาดามีการใช้รางหลายมาตรฐาน บางแห่งในเขตตะวันออกเฉียงเหนือใช้ระบบรางมาตรฐาน แต่ทื่อื่นๆ ไม่ได้ใช้อย่างเดียวกัน และมีการใช้รางที่กว้างไปถึงระดับ 1829 มิลิเมตร ทำให้ระบบมีความแตกต่างไปจากอังกฤษ การที่จะต้องมาใช้มาตรฐานสากลในประเทศสหรัฐนั้นดูไม่มีเหตุผลมากนักในขณะนั้น เพราะอยู่กันคนละทวีป แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อระบบรางรถไฟหลายบริษัทที่ต้องจัดทำแล้วมาบรรจบกัน จนในที่สุดจึงต้องมีมาตรฐานกลางในสหรัฐ ซึ่งใช้ 5 ฟุต หรือกว้าง 1524 มิลิเมตร ในช่วงหลังสงครามกลางเมือง (American Civil War) มีการค้าขายระหว่างเหนือและใต้เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ต้องเลือกว่าจะใช้มาตรฐานเดียวกันอย่างไร และในที่สุดสหรัฐก็เลือกเปลี่ยนทางขนาดกว้าง 5 ฟุต (หรือ 1524 มิลิเมตร) ไปเป็น 4 ฟุต 9 นิ้ว (1448 มิลิเมตร) ซึ่งได้เริ่มระบบใหม่ใน 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1886 เมื่อมีการต้องซ่อมแซมรางใหม่ จึงมีการปรับระบบให้เป็นระบบใหม่ทั้งหมด
ประเทศรัสเซีย
การใช้รางต่างมาตรฐานด้วยเหตุผลทางการทหาร - ในช่วงศตวรรษที่ 19 ประเทศรัสเซียเลือกใช้ระบบรางกว้าง (Broad Gauge) อย่างจงใจทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางการทหาร ป้องกันประเทศเพื่อนบ้านที่จะรุกรานโดยสรวมยานพาหนะเข้ากับระบบรางที่มีอยู่ได้โดยง่าย ต่อมา Pavel Melnikov ได้จ้างวิศวกรรถไฟจากสหรัฐอเมริกา ชื่อ George Washington Whistler ให้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายหลักระหว่างกรุง Moscow และ เมือง St. Petersburg ในช่วงนั้นได้มีการเลือกใช้รางขนาด 1.5 เมตร ซึ่งแนะนำโดยวิศวกรชาวเยอรมันและออสเตรีย ซึ่งก็เป็นระบบที่ต่างจากระบบ 5 ฟุต (1524 มิลิเมตร) ที่ใช้กันในสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ในที่สุดระบบทางรถไฟของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งรวมรัฐทาง Baltic, Ukraine, Belarus, และขยายปึง Caucasian และ Central Asian republics, และ Mongolia ซึ่งระบบ 1520 มิลิเมตร ก็จะแคบกว่าระบบ 5 ฟุต (1524 มิลิเมตร) อยู่ 4 มิลิเมตร ซึ่งระบบทั้งสองสามารถปรับให้เข้าหากันได้
ระบบรางของประเทศฟินแลนด์ - ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซียในช่วงศตวรรษที่ 19 ได้ใช้ระบบ 5 ฟุต (1524 มิลิเมตร) ในช่วงประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ. 1927 ได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบมาตรฐานกลาง แต่ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป
เครือข่ายยุโรป
ส่วนเครือข่ายทางของยุโรป ของสเปน และปอค์ตุเกส ในช่วงแรกสร้างในระบบ 6 ฟุต (Castilian Feet) และปอร์ตุเกสใช้ระบบ 5 ฟุต แต่ต่อมาได้ใช้ระบบเมตริก (Metric System) ระบบทั้งสองจึงเปลี่ยนเป็น 1674 มิลิเมตร (5 ฟุต 5.9 นิ้ว) และ 1665 มิลิเมตร (5 ฟุต 5.55 นิ้ว) ตามลำดับ ระบบทั้งสองใกล้เคียงกันมากพอที่จะใช้งานร่วมกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้รองรับรถไฟความเร็วสูง จึงได้เริ่มมาใช้ระบบ Iberic Gauge ซึ่งมีความกว้าง 1668 มิลิเมตร โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 แต่อย่างไรก็ตามในที่สุดรถไฟความเร็วสูงก็เลือกใช้รางมาตรฐาน เพราะท้ายสุดจะต้องต่อเชื่อมกันกับทางฝรั่งเศสและเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในยุโรป ในบางส่วนก็ได้มีการใช้ระบบราง 3 เส้นเพื่อรองรับมาตรฐานที่แตกต่างกัน
ทวีปออสเตรเลีย
ระบบรางของประเทศออสเตรเลีย - ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศเดียว ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง แต่ระบบรางรถไฟของทั้งประเทศก็มีความแตกต่างกัน ในช่วงศตวรรษที่ 19 ออสเตรเลียได้เริ่มใช้รางมาตรฐานแบบอังกฤษ แต่เพราะความแตกต่างทางการเมืองในช่วง 30 ปีต่อมา จึงทำให้เกิดการใช้รางอีกระบบหนึ่ง คือเป็น 5 ฟุต 3 นิ้ว (1600 มิลิเมตร) ส่วนรัฐ New Suth Wales ได้กลับไปใช้ระบบรางมาตรฐาน ในขณะที่รัฐ Victoria และรัฐทางออสเตรเลียใต้ยังคงยึดระบบ 5 ฟุต 3 นิ้ว (1600 มิลิเมตร) ประเทศ Ireland และ Northern Ireland ซึ่งก็อยู่ใกล้อังกฤษ ก็ใช้ระบบ 1600 มิลิเมตร เช่นกัน ซึ่งอาจเรียกว่าระบบไม่เลือกใช้มาตรฐานอังกฤษ ส่วน Queensland, Tasmania, Western Australia และบางส่วนของ South
Australia เลือกใช้ระบบรางแคบที่ราคาค่าก่อสร้างถูกกว่า คือระบบ 3 ฟุต 6 นิ้ว (1067 มิลิเมตร)
อาณานิคมอังกฤษ
ในประเทศฮ่องกง ระบบรางสำหรับ MTR อันเป็นทางรถไฟฟ้าใต้ดินเลือกใช้ขนาดกว้าง 1432 มิลิเมตร ซึ่งแคบกว่าทางมาตรฐาน 3 มิลิเมตร ซึ่งสามารถวิ่งบนทางระบบมาตรฐานได้ แต่ก็ต้องวิ่งอย่างช้าๆ ไม่สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วปกติ เมื่อทางสายดังกล่าวต้องเชื่อมต่อระหว่าง Hong Kong และ Zhuhai-Macau Bridge, การเชื่อมต่อไปยังสาย Tung Chung Line (1432 มิลิเมตร) ก็จะต้องหาทางแก้ไขความต่าง 3 มิลิเมตรนี้ให้ได้
รางในประเทศอาณานิคมอังกฤษ เมื่อเป็นอิสระจากอังกฤษ India, Pakistan, Bangladesh และ Sri Lanka มีระบบรางหลายมาตรฐาน แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 1676 มิลิเมตร India ได้เลือกใช้แนวทางปรับระบบทางสู่ขนาดมาตรฐาน เรียกว่าโครงการ Unigauge เพื่อปรับทางหลายมาตรฐานสู่ระบบทางกว้าง 1676 มิลิเมตร ทางในประเทศ Argentina และ Chile ในอเมริกาใต้ ก็ใช้ระบบ 1676 มิลิเมตรเช่นกัน
ส่วนอื่นๆ
ระบบของประเทศอัฟกานิสถาน - ประเทศอัฟกานิสถาน (Afghanistan) อยู่ในสถานะที่น่าสนใจ เพราะอยู่ในช่วงทางผ่านของระบบรถไฟต่างๆ ที่ไม่รู้จะเลือกระบบใด จึงทำให้มีระบบแตกต่างกันถึง 3 ระบบ ทั้ง 1435 มิลิเมตร, 1520 มิลิเมตร และ 1676 มิลิเมตร
ประเทศอิหร่าน และจีน เลือกใช้ระบบรางมาตรฐาน ทั้งจากตะวันออกไปจนถึงใต้ และอิทธิพลจากจีนในทางการค้าในโลกยุคใหม่จะทำให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่ต้องมีการติดต่อค้าขายและการคมนาคมขนส่งร่วมกับจีน ก็จะต้องคิดถึงการเชื่อมโยงระบบต่างๆ เข้าด้วยกันด้วย ซึ่งรวมถึงภูมิภาคในอินโดจีนอย่างไทย ลาว เขมร เวียตนาม และพม่า
ปากีสถาน เลือกใช้ระบบ 1676 มิลิเมตร แต่ในทางตอนเหนือ และเอเชียกลาง อย่าง Turkmenia, Uzbekistan, และ Tajikistan เลือกใช้ระบบ 1520 มิลิเมตร
ระบบรางแคบ
หลายประเทศได้เลือกใช้ระบบรางแคบ (Narrower Gauge) ด้วยเหตุผลด้านค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง โดยเฉพาะในช่วงทำทางผ่านภูเขา และการดูแลรักษา แต่ทางแคบก็จะมีปัญหาด้านการรับน้ำหนักไม่ได้มาก และไม่สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูง แต่เพราะทางแคบนั้นมีข้อดีด้านค่าใช้จ่าย อย่างทางรถไฟที่จะชักลากอ้อยและกล้วยหอมออกจากไร่ ก็เลือกใช้รางแคบเพียงกว้าง 2 ฟุต หรือ 610 มิลิเมตรเท่านั้น แต่ก็เพียงพอสำหรับกิจกรรมที่ต้องการใช้ในการชักราก และไม่ต้องใช้ในความเร็วสูงนัก
รางแคบ 1000 มิลิเมตร มีใช้ก้นมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางรถไฟเกือบทั้งหมดใช้ระบบรางแคบ ซึ่งรวมประเทศ Vietnam, Cambodia, Laos, Thailand, Myanmar และ Malaysia ใช้รางขนาด 1000 มิลิเมตร รถไฟที่วิ่งในบริเวณดังกล่าวจะวิ่งด้วยความเร็วได้ไม่สูงนัก แต่เมื่อระบบทางหลวงสำหรับรถโดยสารและรถบรรทุกได้มีเครือข่ายกว้างขวาง และแข่งขันได้ด้วยเวลาที่เร็วกว่า สะดวกกว่า ระบบรถไฟก็ต้องปรับตัวตาม
ในการประชุมด้านคมนาคมของประเทศใน ASEAN ได้เสนอให้ใช้ระบบรางมาตรฐาน โดยแผนทางรถไฟมาตรฐาน ASEAN Railway ได้เสนอใช้รางมาตรฐาน หรือระบบ Dual Gauge เพื่อรองรับทั้งระบบทางแคบและทางมาตรฐาน เพื่อให้เกิดการใช้งานทางรถไฟร่วมกันได้
ประเทศญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟในมาตรฐานทางแคบ คือ 3 ฟุต 6 นิ้ว (1067 มิลิเมตร) แต่สำหรับทางรถไฟความเร็วสูงสาย Shinkansen, หรือที่เรียกกันว่า Bullet Trains เลือกใช้รางมาตรฐานเพื่อรองรับน้ำหนักได้อย่างมีเสถียรภาพมากกว่า ซึ่งก็ทำให้เกิดควายุ่งยากในการเชื่อมโยงระบบทางรถไฟความเร็วสูงกับทางรถไฟสายปกติ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศรุกเข้าไปในประเทศอื่นๆ และวางระบบรางรถไฟไว้ เมื่อญี่ปุ่นยึดครองไต้หวัน ในช่วงปี ค.ศ. 1895-1945 ก็ทำให้เกิดรางรถไฟกว้าง 1064 มิลิเมตร แต่ทางรถไฟความเร็วสูง HSR ก็เลือกใช้ขนาดรางมาตรฐาน
ทางรถไฟในประเทศทางอัฟริกา อ้นได้แก่ ประเทศ South Africa และรวมถึงประเทศอื่นๆ ในอัฟริกา อันได้แก่ Angola, Botswana, Congo, Ghana, Mozambique, Namibia, Nigeria, Zambia และ Zimbabwe, เลือกใช้ทางขนาดกว้าง 1067 มิลิเมตร ซึ่งบางที่เรียกกันว่า Cape gauge ส่วนประเทศ. Indonesia's ซึ่งอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เลือกใช้ระบบทางแคบ 1067 มิลิเมตรเช่นกัน
ระบบรางรองรับ 2 มาตรฐาน
(Dual gauge and adjustable axles)
เพราะความที่ประเทศต่างๆ ในโลกได้เลือกใช้รางมาตรฐานที่แตกต่างก้นด้วยเหตุผลในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อโลกต้องมีการติดต่อข้ามเมือง ข้ามประเทศ ระบบรถไฟก็ต้องใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ร่วมกัน ใช้ตู้สินค้า รถโดยสารก็ต้องให้สามารถเดินทางข้ามประเทศหรือแม้แต่ทวีปได้ ก็จะต้องมีการทำให้ระบบความกว้างของทางที่ต่างกันหมดไป ส่วนหนึ่งที่แก้ปัญหาคือการใช้ “ระบบรางคู่” (Dual Gauge) เช่นการเชื่อมระหว่างรางมาตรฐานกับรางแคบ (1000 มิลิเมตร) ทำให้รถไฟสองระบบวิ่งบนรางร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายแบบรางคู่นี้มีใช้กันในประเทศ Switzerland, Australia, Argentina, Brazil, North Korea, Tunisia และรวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง Vietnam.
อนาคต (Future)
ประเทศต่างๆ ในโลกจำเป็นต้องมีการติดต่อค้าขาย มีการคมนาคมต่อกัน แต่ละประเทศต้องพยายามวางระบบเพื่อการเชื่อมต่อ จึงต้องมีองค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่ในการประสานความพยายามนี้ รถไฟนับเป็นการคมนาคมสาธารณะที่มีประสิทธิภาพหากมีการวางระบบการเชื่อมต่อ และมีรางที่มีมาตรฐานที่รองรับการใช้งานได้ดีเพียงพอ หลายประเทศพิจารณาการจัดทำรางแยก 2 ทาง คือวิ่งไปทางหนึ่ง วิ่งมาทางหนึ่ง โดยไม่ต้องรอสับหลีก ทำให้รถไฟสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูง ระบบทางรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดจะเป็นระบบทางคู่ขนาน แต่อีกด้านหนึ่งคือเรื่องการต้องทำให้ระบบทางมีมาตรฐานเพื่อการใช้คมนาคมในเส้นทางขนาดยาวและติดต่อกันได้
แรงกระตุ้นส่วนหนึ่งของการต้องพัฒนาระบบรางและการบริการขนส่งคือ รถไฟที่มีระบบรางเป็นระบบที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดระบบหนึ่ง เพราะการขับเคลื่อน 1 ขบวน สามารถขนคนได้นับเป็นพันคน หรือขนสินค้าได้เท่ากับรถบรรทุกหลายสิบค้น โดยใช้คนทำงานน้อยกว่า เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น คนต้องกลับมาหาระบบที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อปัญหาการเชื่อมโยงส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของมาตรฐาน ก็ต้องแก้ที่การปรับมาตรฐาน
สหภาพยุโรป หรือ European Union ได้พยายามที่จะทำให้ตู้รถขนสินค้า และรถโดยสารทั่วทั้งยุโรปได้มีมาตรฐานรางร่วมกัน นอกจากนี้คือการกำหนดให้มีระบบสัญญาณต่างๆ ระบบไฟฟ้าที่จะใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนรถไฟ และสำหรับประเทศใหม่ที่เข้าร่วมที่ใช้ระบบทาง 1520 มิลิเมตรอย่างประเทศในเขต Baltic อย่าง Lithuania, Latvia, และ Estonia ได้ปรับระบบมาใช้ขนาดรางมาตรฐาน และขณะเดียวก้นทางรถไฟความเร็วสูงของ Spain และ Portugal ที่จะต้องเชื่อมต่อกับทางรถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศส และการเชื่อมต่อกับประเทศในยุโรปทั้งหลาย
สำหรับแผนการใช้รถไฟความเร็วสูง (High Speed Trains) ทั้งหมด เลือกใช้ระบบรางมาตรฐาน Japan, Taiwan, Spain และ Portugal เพราะรถไฟความเร็วสูงเหมาะแก่การเชื่อมโยงการคมนาคมข้ามประเทศ และเมื่อรางรถไฟความเร็วสูงมีมากขึ้น ก็จะทำให้ระบบอย่างน้อยต้องเปิดให้สำหรับการทำให้ระบบใช้ร่วมกันได้ (Interoperability)