ทฤษฎีและเทคนิคของอารยะขัดขืน
ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
แปลและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
Keywords: การเมืองการปกครอง, สันติศึกษา, Civil Disobedience, อารยะขัดขืน,
Theories and techniques
ในการต่อสู้ด้วยวิธีการอารยะขัดขืน (Civil Disobedience) อาจหมายถึงผู้ประท้วงอาจกระทำการผิดกฎหมายบางข้อ เช่น การรวมกลุ่มกันเข้าปิดล้อม หรือยึดสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงจะต้องปฏิบัติอย่างมีอารยะ (civil disorder) ด้วยคาดหวังว่าท้ายสุด อาจจะถูกจับกุมคุมขัง บางคนอาจจะต้องคาดได้ว่า ท้ายสุดอาจถูกทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ ผู้ประท้วงจะต้องมีการฝึกที่จะตอบโต้อย่างไรกับเจ้าหน้าที่อย่างอารยะ โดยพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นจะเป็นไปอย่างมีสติ สงบ ต่อต้านโดยไม่ข่มขู่เจ้าหน้าที่
ตัวอย่างในการต่อสู้ของมหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) ได้ให้กฏในการใช้อารยะขัดขื่นในการต่อสู้เพื่ออินเดียเป็นอิสระจากจักรวรรดิอังกฤษ
1. ในการต่อต้านอย่างอาระ (หรือ satyagrahi) ผู้ประท้วงหรือต่อต้านจะต้องไม่แสดงความโกรธ
2. ผู้ประท้วงจะยอมรับการกระทำจากความโกรธของฝ่ายตรงข้าม
3. ในการกระทำนั้น ผู้ประท้วงจะยอมรับการลงโทษจากฝ่ายตรงข้าม โดยไม่มีความหวาดกลัว ไม่ว่าการกระทำนั้นๆจะรุนแรงเพียงใด
4. เมื่อฝ่ายมีอำนาจต้องการจับกุมผู้ประท้วงอย่างอารยะ ผู้ประท้วงจะยอมรับการจับกุม จะไม่ต่อต้าน เมื่อต้องมีการยึดทรัพย์และสิ่งของ เขาจะยอมให้ฝ่ายมีอำนาจกระทำไป
5. ถ้าผู้ประท้วงอย่างมีอารยะ (Civil Resister) เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแลทรัพย์สินใดๆ (Trustee) เขาจึงจะปฏิเสธที่จะยอม แม้การต่อต้านของเขานั้นอาจนำมาซึ่งชีวิต แต่กระนั้น เขาจะไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง
6. การตอบโต้ที่จะไม่กระทำนั้น รวมถึงการด่าทอ การสาบแช่งด้วย
7. ดังนั้น ผู้ประท้วงอย่างมีอาระ จะไม่ด่าทอฝ่ายตรงกันข้าม และจะไม่เข้าร่วมกับกิจกรรมที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณที่จะต่อสู้อย่างอหิงสา (spirit of ahimsa)
8. ผู้ต่อต้านอย่างอหิงสา จะไม่เคาระธงของอังกฤษ (the Union Flag) แต่จะไม่กระทำการด่าทอเจ้าหน้าที่ (Officials) ชาวอังกฤษ (English) หรือชาวอินเดีย (Indian) ที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม
9. ในการต่อสู้นั้น หากมีใครในฝ่ายตนด่าทอ โจมตี หรือจะทำร้ายเจ้าหน้าที่ ผู้ต่อต้านอยางอหิงสา จะต้องปกป้องเจ้าหน้าที่เหล่านั้นจากการด่าทอ โจมตี หรือความเสี่ยงต่อชีวิต
No comments:
Post a Comment