ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: ภูมิศาสตร์, India, อินเดีย, รัฐอัสสัม, Assam, 7 รัฐสาวพี่น้อง, Seven sister states of India
ภาพ แผนที่รัฐอัสสัม (Assam) พื้นที่สีแดง ซึ่งอยู่ในประเทศอินเดีย ซึ่งมีพื้นที่สีเหลือง
รัฐอัสสัม หรือ Assam State (Assamese অসম [Asom] ( listen)) เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย โดยมีเมืองหลวงคือ ทิสปุระ (Dispur) อยู่ในเขตเมืองคูวาหตี (Metropolitan area of Guwahati) อยู่ทางตอนใต้ของหิมาลัยตะวันออก รัฐอัสสัมมีลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra River) และแม่น้ำพารัก (Barak River) และตำบลครรพี กับเขาจาชาร์เหนือ ปัจจุบันมีพื้นที่ 78,438 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับพื้นที่ของไอร์แลนด์ หรือออสเตรีย
รัฐอัสสัม (Assam) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศอินเดีย จัดเป็นรัฐเริ่มแรกของประเทศ โดยจัดตั้งในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 มีเมืองหลวงชื่อทิสปุระ (Dispur) มีเมืองใหญ่สุด ชื่อ กุวาฮาติ (Guwahati) รัฐมีพื้นที่ 78,550 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 31,169,272 คน จัดเป็นรัฐหนึ่งและรัฐประชากรมากที่สุดของ “รัฐ 7 สาวพี่น้องของอินเดีย” (7 sister states of India) ซึ่งมีรัฐอื่นๆอีก 6 รัฐ อันได้แก่ อรุณาจัลประเทศ (Arunachal Pradesh), นาคาแลนด์ (Nagaland), มณีปุระ(Manipur), มิโซรัม (Mizoram), ตริปุระ (Tripura) และ เมฆาลัย (Meghalaya) รัฐเหล่านี้เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ของอินเดีย โดยผ่านพื้นที่แคบ ในเบงกอลตะวันตก (West Bengal) ที่เรียกว่า "คอไก่" (Siliguri Corridor หรือ Chicken's Neck) อัสสัมยังมีชายแดนร่วมประเทศภูฏาน (Bhutan) และบังคลาเทศ (Bangladesh) มีวัฒนธรรม ประชากร และภูมิอากาศในลักษณะเดียวกันกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นส่วนสำคัญของนโยบายมองตะวันออก ของอินเดีย
รัฐอัสสัมมีอัตราผู้รู้หนังสือร้อยละ 76.3 มีภาษาทางการคือ ภาษาอัสสัม (Assamese) และโบโด (Bodo) ในเขตของโบโดแลนด์
ภาพ ชาอัสสัม
รัฐอัสสัมมีชื่อเสียงด้านแหล่งใบชา ปิโตรเลียม ไหมอัสสัม และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ยังประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์แรดนอเดียว จากสภาพสูญพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติกาจิรังคา (Kaziranga National Park), เสือในอุทยานแห่งชาติมนัส (Manas National Park) และจัดหาแหล่งอาศัยสุดท้ายของสัตว์ป่าสำหรับช้างเอเชียด้วย อัสสัมเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในฐานะแห่งท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า และทั้งกาจิรังคาและมนัส ก็เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อัสสัมยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะป่าต้นสาละ (Sal tree forests) และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนลดลงมาก อัสสัมเป็นพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก จึงมีพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำพรหมบุตร และลำน้ำสาขา กับทะเลสาบรูปเกือกม้า ที่ให้ความชุ่มชื้นและความสวยงามแก่ภูมิประเทศ
ภาพ ทิวทัศน์ของแม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra river)
ภาพ แรดนอเดียวของอินเดีย (Indian Rhinoceros) ที่เขตป่าสงวนแห่งชาติคาริรังกา (Kaziranga National Park)
ภาพ ลิง Langur สีทอง สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่พบในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าจักราศิล (Chakrashila Wildlife Sanctuary) ในเขต Dhubri district
ภาพ เป็ดป่าปีกขาว (White-winged Wood Duck) หรือ Deohanh ที่กำลังจะสูญพันธุ์ พบได้ในป่าเขตมรสุมของรัฐอัสสัม
ภาพ สวนชาในรัฐอัสสัม ชาที่ปลูกในเขตที่ราบใกล้ระดับน้ำทะเล จะให้กลิ่นรสหวานและมีกลิ่นดิน ส่วนชาที่ปลูกในที่สูง จะให้กลิ่นคล้ายดอกไม้ เหมือนชา Darjeeling และ Taiwanese
ภาพ สตรีทำงานในไร่ชา กำลังเก็บใบชาในสวนชาของอัสสัม
ภาพ ต้นหมาก (Areca nut) หรือ Tamul เหมือนที่มีปลูกในประเทศไทย นับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวอัสสัม
ตามการสำรวจในปี ค.ศ. 2001 ในรัฐอัสสัมมีผู้นับถือศาสนาฮินดู (Hindus) 17,296,455 คน Hindus, มุสลิม (Muslims) 8,240,611 คน, คริสเตียน (Christians) 986,589 คน, ซิก (Sikhs) 22,519 คน, พุทธ (Buddhists) 51,029 คน,ไจอิน (Jains) 23,957 คน และอีก 22,999 คนนับถือความเชื่ออื่นๆ
เรามีความสนใจในวัฒนธรรมไทยที่ยังมีอยู่ในรัฐอัสสัม พบว่ายังมีภาษาไทยแบ่งออกเป็น 6 สาย มีสองสายภาษาที่ได้สูญหายไปแล้ว โดยมีดังต่อไปนี้ ไท เพก (Tai Phake), ไทไอตัน (Tai Aiton), คัมติ (Khamti), คัมยัง (Khamyang) ใกล้จะสูญหาย (critically endangered), ไทอาหม (Ahom) สูญหายแล้ว (extinct), และ ไททุรุง (Turung สูญหายแล้ว (extinct)
No comments:
Post a Comment