ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
ศึกษาและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
Keywords: ไข้หวัดนก, Bird Flu
หน่วยที่ 7. ประวัติการระบาดของไข้หวัดนกในมนุษย์
ความสนใจในเรื่องการระบาดมีคนอย่างน้อย 2 กลุ่มที่ศึกษาต่างกัน
1. กลุ่มสัตว์แพทย์ สนใจศึกษาในเชิงการระบาดในสัตว์
2. กลุ่มการแพทย์และสาธารณสุข สนใจศึกษาในเชิงการระบาดสู่มนุษย์ สัตว์ที่มีสายพันธุ์ใกล้มนุษย์และกระบวนการป้องกันและรักษาโรคที่เกิดขึ้น
การเรียนรู้จากกลุ่มนักวิชาการทั้งสองฝ่ายมีผลและข้อมูลความรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้
โดยทั่วไปไวรัสไข้หวัดนกจะไม่มีผลติดต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นอกจากสัตว์ปีกและหมู แต่จากการที่มีไข้หวัดนักระบาดในฮ่องกงในปี ค.ศ. 1997 อันเป็นผลให้มีผู้ป่วย 18 คนที่พบว่ามาจากไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 และมีความรุนแรงระดับทำให้เสียชีวิต 6 คน การระบาดในคนนี้ก็สอดคล้องกับการระบาดในสัตว์ปีกในฮ่องกง ที่ทำให้สัตว์ปีกล้มตายลงอย่างมากและเฉียบพลัน
จากการสืบสวนเรื่องการระบาดของคนที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดนก พบว่าจะเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับสัตว์ปีก เช่นเป็ด ไก่ ซึ่งทำให้เชื่อกันว่าเป็นสาเหตุของการระบาดสู่คน และจาการศึกษาเชิงพันธุกรรมศาสตร์ พบว่าระดับที่ไวรัสได้ถ่ายความสามารถในการระบาดจากสัตว์ปีกสู่คนนั้น ได้บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อสู่หมู่คนที่ทำงานด้านสาธารณสุข ด้านสุขภาพ แต่อาการของโรคไม่รุนแรง
การทำลายล้างนั้นรุนแรง ภายในเวลา 3 วัน ต้องมีการทำลายประชากรสัตว์ปีกในฮ่องกงทั้งหมดประมาณ 1.5 ล้านตัว เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายโรค และการติดต่อถึงมนุษย์ และนั่นอาจหมายถึงการตัดวงจรที่จะเกิดการระบาดใหญ่ในระดับโลก ที่เรียกว่า Pandemic ไปได้
ในเหตุการณ์ระบาดนี้ได้ทำให้บุคลากรด้านสาธารณสุขทั่วโลกตื่นตัว เพราะมันเป็นครั้งแรกที่มีการระบาดสู่หมู่มนุษย์ที่ทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงและถึงขั้นชีวิต แต่การระบาดนี้ก็ยังไม่หมดไป โดยในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 ได้เกิดการระบาดในฮ่องกงอีกครั้ง และคราวนี้พบผู้ป่วยด้วยไข้หวัดนกตระกูล H5N1 จำนวน 2 คน และ 1 คนที่เสียชีวิตเป็นบุคคลในครอบครัวที่ได้มีประวัติเดินทางไปทางตอนใต้ของประเทศจีน เด็ก 1 คนในครอบครัวได้เสียชีวิตลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
ความกังวลต่อการไม่สามารถควบคุมการระบาดได้นั้น เพราะในประเทศจีนที่มีประชากรถึงกว่า 1300 ล้านคนนั้น มีการเลี้ยงสัตว์ปีกต่างๆ ไว้เป็นอาหารในครัวเรือน และเป็นการเลี้ยงแบบเปิดที่ทำให้สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ห่าน ต้องอยู่ใกล้กับคนอย่างมากๆ เป็นการเลี้ยงแบบพื้นบ้านที่ยากจะควบคุม
ไวรัสไข้หวัดนกได้มีประวัติการระบาดในที่อื่นๆ ที่ทำให้เกิดการป่วยในมนุษย์เช่นกัน การระบาดด้วยเชื้ออย่างรุนแรงได้เกิดขึ้นจากสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดนก H7N7 ซึ่งเกิดในประเทศเนเธอแลนด์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 ทำให้สัตวแพทย์ 1 คนเสียชีวิตในอีก 2 เดือนต่อมา และมีอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงในอีก 83 คน โรคไข้หวัดนกอย่างอ่อนด้วยสายพันธุ์ H9N2 ได้พบอีกในฮ่องกง มีผู้ป่วย 2 คน และในกลางเดือนธันวาคม ค.ศ. 2003 พบอีก 1 รายที่เป็นสายพันธุ์ H9N2 ซึ่งไม่ใช่เชื้อที่มีความรุนแรง
ในระยะหลังที่มีเหตุเตือนภัยเกิดขึ้นอีก ในช่วงเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 เมื่อได้มีการตรวจพบในห้องทดลองว่าได้มีการระบาดของไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในหมู่มนุษย์ที่ทำให้เกิดความขัดข้องในระบบหายใจ ในบริเวณตอนเหนือของเวียตนาม
No comments:
Post a Comment