ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
ศึกษาและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
Keywords: ไข้หวัดนก, Bird Flu
หน่วยที่ 8. ทำไมจึงให้ความสำคัญกับ H5N1
ในสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดนก 15 รายการ H5N1 จัดเป็นตัวสร้างความกังวลมากที่สุด เพราะ H5N1 สามารถกลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และมีลักษณะทางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการติดต่อได้ในสัตว์อื่นๆ และสายพันธุ์นี้ในทางพันธุวิทยาสามารถเป็นเชื้อโรคที่อันตรายถึงตายต่อมนุษย์ได้ สัตว์ปีกที่ได้รับเชื้อแต่มีความต้านทานสูง สามารถเป็นตัวพาหะด้วยในช่วง 10 วันต่อมา ก็ยังปล่อยเชื้อผ่านทางอุจาระ น้ำมูก น้ำลาย ซึ่งทำให้เกิดวงจรระบาดในสัตว์ปีกในตลาด และในนกป่าที่มีการย้ายถิ่นฐานข้ามประเทศต่างๆ
เชื้อไข้หวัดนก H5N1 ที่มีความร้ายแรงในการระบาด ได้เกิดขึ้นอีกในช่วงกลางเดือนธันวาคม ค.ศ. 2003 ในประเทศเกาหลีใต้ และได้พบในอีกหลายๆ ประเทศในเอเชีย นับเป็นความกังวลในการสาธารณสุข ดังที่ได้ปรากฏแล้วในการระบาดสู่มนุษย์ในช่วงปี ค.ศ. 1997 และได้เกิดในเวียดนามในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 การระบาดในหมู่สัตว์ปีกเพิ่มความเสี่ยงในการระบาดสู่คนได้ ถ้ามีการระบาดสู่มนุษย์ในช่วงเวลาที่ยาวนานต่อไป และการระบาดสู่มนุษย์ที่ยาวนานนี้ อาจเป็นผลที่ทำให้เกิดโรคระบาดจาก "มนุษย์สู่มนุษย์" ได้ด้วยการที่ผู้ป่วยได้กลายเป็นร่างประสมของเชื้อสายพันธ์ใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการระบาดจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ และนั้นอาจหมายถึงการระบาดใหญ่ที่อาจเป็นการระบาดทั่วโลกที่มีหายนะรุนแรง ในระดับทีเขาเรียกว่า Pandemic
No comments:
Post a Comment