Wednesday, August 26, 2009

ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono)

ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุดโยโน 
(Susilo Bambang Yudhoyono)


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

แปลและเรียบเรียงจาก
Wikipedia, the free encyclopedia


Updated: Wednesday, August 26, 2009
Keywords: การเมือง, การปกครอง, อินโดนีเซีย, ความเป็นผู้นำ, leadership, อัตตชีวประวัติ, ซูซิโล บัมบัง ยุดโยโน Susilo Bambang Yudhoyono


Haji
Susilo Bambang Yudhoyono
SBY in Jakarta, 7 August 2009


ประธานาธิบดีของประเทสอินโดนีเซีย
President of Indonesia
เข้ารับตำแหน่งเมือ
Assumed office
20 October 2004
รองประธานาธิบดีVice President
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้านี้
Preceded by


เกิดเมื่อวันที่
Born
9 September 1949 (1949-09-09) (age 59)
Tremas, Pacitan, Indonesia
พรรคที่สังกัด
Political party
ภรรยา
Spouse(s)
บุตรและธิดา
Children
Agus Harimurti Yudhoyono
Edhie Baskoro Yudhoyono
ทำพำนัก
Residence
ทำเนียบประธานาธิบดี
Merdeka Palace
ศิษย์เก่า
Alma mater
อาชีพ
Occupation
Military (Retired)
ศาสนา
Religion
Website
อาชีพการทหาร
Military service
ความจงรักภักดี
Allegiance
การับใช้ราชการทหารService/branch
ช่วงปีการรับราชการ
Years of service
1973 – 2000
ตำแหน่ง
Rank
รางวัล
Awards

ความนำ

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) ในภาษาอินโดนิเซียเขียนว่า Republik Indonesia อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะ ((Archipelagic state) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์
จาก CIA Factbook

ประเทศอินโดนีเซียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของดัช (Dutch) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ในช่วงสงครามโลกครั้งทีสอง เคยถูกยืดครองโดยญีปุ่นในระหว่างปี ค.ศ. 1942-1945 อินโดนีเซียได้ประกาศตนเป็นเอกราชหลังจากที่ญี่ปุ่นยอมจำนน แต่ก็ยังใช้เวลาอีกถึง 4 ปีที่ยังต้องมีการเจรจา และในที่สุดภายใต้การเป็นตัวกลางของสหประชาชาติ ดัช หรือ Netherlands ได้ตกลงคืนอธิไตยให้กับอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 1949
ประธานาธิบดีซูการ์โน (Sukarno) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอินโดนีเซีย เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1901 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1970 และเขาได้มีส่วนนำให้ประเทศได้ประกาศอิสรภาพจากเนเธอร์แลนด์ และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในระหว่างปี ค.ศ. 1945 จนถึงปี ค.ศ. 1967 นับเป็นเวลา 20 ปีที่มีทั้งความสำเร็จและความอลหม่านในประเทศก่อนที่จะได้เป็นอิสรภาพ จนกระทั่งเสียอำนาจ ในที่สุดซูการ์โนก็ได้ถูกขับออกจากอำนาจโดยนายพลคนหนึ่งของเขา คือซูฮาร์โต (Suharto) ที่ได้ครองตำแหน่งประธานาธิบดีในยุคต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1967

ซูฮาร์โต (Suharto) เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1921 และเสียชีวิตในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2008 เป็นประธานาธิบดีทีอยู่ในตำแหน่งระหว่างปี ค.ศ. 1967 ถึงปี ค.ศ. 1998 นานเป็นเวลา 32 ปี ซึ่งเป็นการปกครองประเทศภายใต้รัฐทหาร มีความราบรื่นทางเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง แต่ท้ายสุดเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย เกิดปัญหาข้าวยากหมากแพง ก็ทำให้ต้องมีการกดดันและนำไปสู่การที่เขาต้องลาออกจากตำแหน่งไปในที่สุด พร้อมกับเขาและครอบครัวมีข้อหาคอรัปชั่นและอื่นๆตามมาอีกมากมาย
ประเทศอินโดนีเซียได้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999 ทำให้อินโดนีเซียจัดเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศที่เป็นเกาะ (Archipelagic state) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีจำนวนเกาะที่มากที่สุด และเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมทีมากที่สุดในโลก

รวมทั้งหมดนี้ทำให้เป็นประเทศที่ยากและซับซ้อนในการบริหาร โดยเฉพาะเมื่อต้องเปลี่ยนการปกครองจากระบบเผด็จการทหาร มาเป็นประชาธิปไตย ในระหว่างเปลี่ยนผ่านนี้ มีประธานาธิบดีคนต่อมาอีก 2 คนที่ดำรงตำแหน่งในช่วงสั้นๆ

ประธานาธิบดีคนต่อมา คือ บาชารุดดิน จูซุฟ ฮาบิบี (Bacharuddin Jusuf Habibie) โดยการสนับสนุนของซูฮาร์โต ดำรงตำแหน่งช่วงสั้นๆ ระหว่าง 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ถึง 20 ตุลาคม ค.ศ. 1999 จากพรรค Golkar อันเป็นพรรครัฐบาล

อับดุราห์มาน วาฮิด (Abdurrahman Wahid) ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่สาม เป็นช่วงที่ซูฮาร์โตหมดอำนาจแล้ว เขาดำรงตำแหน่งช่วงสั้นๆ ระหว่าง 20 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ถึง 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 เขามาจากพรรค National Awakening Party เขาได้รับการพิจารณาถอดถอนจากสภา และเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องออกจากตำแหน่ง โดยมีรองประธานาธิบดีเข้าสาบานตนเข้ารับตำแหน่งแทน

นางเมกะวาตี ซูการ์โนบุตรี (Megawati Sukarnoputri) เป็นประธานาธิบดี และบุตรสาวของประธานาธิบดีซูการ์โน เธอดำรงตำแหน่งระหว่าง 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ถึง 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยมีฐานเสียงจากพรรค Indonesian Democratic Party-Struggle อันเป็นพรรคต่อต้านรัฐบาลของซูฮาร์โต
ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) นายทหารนอกราชการ เข้ารับดำรงตำแหน่งระหว่าง 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 และยังดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน (Incumbent) เป็นสมัยที่สอง เขามาจากพรรค Democratic Party และได้เสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ

ในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน ประเทศอินโดนีเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดียุดโยโน เริ่มมีความต่อเนื่องทางการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย มีการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ และมีความสงบในสังคมมากขึ้น มีการวางรากฐานทางด้านสังคม ลดความขัดแย้งที่มีชาติอันเกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี ค.ศ. 1999 เป็นต้นมา

ประเด็นปัญหาของประเทศที่ยังคงมีอยู่คือเรื่อง การขจัดความยากจน (alleviating poverty), การปรับปรุงการศึกษา (improving education), การป้องกันผู้ก่อการร้าย (preventing terrorism), การสร้างความเป็นปึกแผ่นในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย หลังสี่ทศวรรษภายใต้การปกครองในระบอบเผด็จการทหาร การปฏิรูปเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and financial reforms), การลดทอนปัญหาคอรัปชั่น (Stemming corruption), การดำเนินการกับฝ่ายทหารและตำรวจที่ฝ่าฝืนด้านสิทธิมนุษยชน (Human rights violations), การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่เปลี่ยนไป (Climate change), และปัญหาการควบคุมโรคไข้หวัดนก (Avian influenza)

ในทางการเมือง ปีค.ศ. 2005 อินโดนีเซียได้บรรลุข้อตกลงสันติภาพประวัติศาสตร์ที่ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดอาเจห์ (Aceh) และทำให้เกิดรูปแบบการปกครองใหม่ มีการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 แม้ประเทศยังมีปัญหากลุ่มแบ่งแยกดินแดนในปาปัว (Papua) แต่ก็อยู่ในระดับไม่รุนแรง

อินโดนีเซียเป็นชาติที่พูดหลายภาษามาก (Polyglot nation) ได้มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจไปอย่างมากและต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลประธานาธิบดียุดโยโน (Yudhoyono) ที่ต้องประสบความท้าทายจากวิกฤติการเงินโลก และเศรษฐกิจที่ผกผันในช่วงปีที่ผ่านมา

ในด้านเศรษฐกิจ อินโดนีเซียมีหนี้ที่คิดเทียบสัดส่วนกับรายได้ประชาชาติ (GDP) ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะการที่ประเทศมีรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น มีการบริหารการเงินการคลังที่ดีขึ้น รัฐบาลได้นำเสนอการปฏิรูปที่เกี่ยวกับภาคการเงิน การภาษีและศุลกากร การดูแลการคลัง และการดูแลในตลาดเงิน (Capital market) ที่ดีขึ้น

อินโดนีเซียได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 ที่เอื้อต่อการลงทุนจากต่างประเทศและในประเทศ แต่อินโดนีเซียก็ยังต้องดิ้นรนแก้ปัญหาด้านความยากจน การไม่มีงานทำ การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ปัญหาคอรัปชั่น การมีกฏเกณฑ์ที่ยุ่งยาก ซับซ้อนด้านสิ่งแวดล้อม และการยังมีปัญหาการกระจายทรัพยากรที่แตกต่างกันในภูมิภาคต่างๆของประเทศ
ในภาคนอกการเงินการธนาคาร ซึ่งได้แก่เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญ (Pension funds) เงินประก้น (insurance) ยังคงอ่อนแอ แม้จะมีความพยายามที่จะขยายฐานเงินให้กว้างและลึก แต่ก็ยังไม่พัฒนา ปัญหาวิกฤติพลังงานและการเงินที่ได้เริ่มในช่วงต้นของปี ค.ศ. 2008 ก็ยังทำให้ประเทศต้องกังวลกับปัญหาด้านอาหารทีขาดแคลนและราคาสูงขึ้น ตลอดจนราคาน้ำมันที่แพงขึ้น แม้ประเทศเป็นชาติที่ผลิตน้ำมันได้เองส่วนหนึ่ง แต่ก็มีผลกระทบต่อคนยากจน และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง

ในขณะที่โลกได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อในอินโดนีเซียได้ลดลง แต่มีความเสี่ยงด้านสินทรัพย์ของตลาดทุนที่ลดลงตามไปด้วย มูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลง ค่าเงินรูเปียห์ที่ลดลง และเป็นการยากที่จะออกพันธบัตรเพื่อนำเงินมาลงทุนใช้จ่าย

ในช่วงปี ค.ศ. 2009 อินโดนีเซียจะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศไทย และทั่วโลก ที่การส่งออกได้ตกลง อินโดนีเซียจะไม่สามารถคงรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกินร้อยละ 6 ได้ดังที่ผ่านมา แต่ก็กล่าวได้ว่า ประเทศอยู่ในฐานะที่เข้มแข็งกว่าในช่วงเมื่อก่อน 5-10 ปีที่แล้วอย่างมาก ทางการเมืองมีความมั่นคงขึ้น ในทางสังคม แม้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาด้านต่างๆได้ แต่ก็สามารถบรรเทาลงและเป็นที่ยอมรับได้ของประชาชน

การศึกษาความเป็นผู้นำ

บทความนี้ต้องการเน้นที่ความเป็นผู้นำของคนหนึ่งที่ควรติดตามศึกษา คือ ซูซิโล บังบังยุดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) ผู้ได้เข้ามามีอำนาจในการบริหารประเทศในตำแหน่งประธานาธิบดีและผู้นำของประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงหนักแน่นให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สองต่อเนื่อง

การมีความต่อเนื่องทางการเมืองในระบอบประชาธปไตยที่อาจมีต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 2 สมัย รวม 8 ปี ในขณะที่ประเทศไทยยังต้องผจญกับความไม่แน่นอนทางการเมือง และความขัดแย้งของคนภายในชาติ
ยุดโยโน (Yudhoyono) มีความคล้ายกับประธานาธิบดีฟิเดล รามอส (Fidel Ramos) ของประเทศฟิลิปปินส์ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษของไทย ตรงที่มีพื้นฐานมาจากการเป็นทหาร ได้รับการฝึกฝนทางการทหารทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ แล้วเข้ามาปกครองประเทศภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้แปลและเรียบเรียงได้อาศัยการเริ่มต้นค้นหาข้อมูลจาก Wikipedia อย่างง่ายๆ ในบางส่วนได้จากการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆ รวมทั้ง CIA Factbook แต่โดยทั้งหมดได้พยายามให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา ตลอดจนใช้ประสบการณ์และการติดตามประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ได้เคยทำงานให้กับสำนักงานเลขาธิการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMOE Secretariat) ทั้งนี้เพื่อประกอบการศึกษาเรื่องความเป็นผู้นำ (Leadership) ที่เป็นกรณีศึกษาผู้นำระดับสูงของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อาจ่ทำให้เราเข้าใจบทบาทผู้นำ การเข้าสู่ตำแหน่ง และการเข้ามาแก้ปัญหาของชาติ

ประวัติชีวิต

ซูซิโล บังบังยุดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1949 เป็นชาวอินโดนีเซีย เป็นข้าราชการทหารระดับนายพล และเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ยุดโยโนชนะประธานาธิบดีคนก่อนหน้า คือนางเมกะวาตี ซูการ์โนบุตรี (Megawati Sukarnoputri) ยุดโยโนมีชื่อย่อที่เรียกอย่างเข้าใจกันในประเทศอินโดนีเซียว่า SBY เขาได้รัยการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 พร้อมกับรองประธานาธิบดี Jusuf Kalla เขสมัครเข้าชิงตำแหน่งอีกครั้งในเป็นสมัยที่สองในปี ค.ศ. 2009 โดยมี Boediono ร่วมด้วยในฐานะผู้สมัครรองประธานาธิบดี และชนะการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาดในการออกเสียงครั้งแรก (first round of balloting)

ชีวิตเมื่อเริ่มแรก
Early life


ซูซิโล บังบังยุดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) เกิดที่เทรมาส (Tremas) อันเป็นหมู่บ้านหนึ่งของ Arjosari, Pacitan Regency, ในชวาตะวันออก (East Java) ครอบครัวของเขาจัดเป็นคนชั้นกลางระดับล่าง พ่อและแม่ของเขา คือ Raden Soekotjo และ Siti Habibah ตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก เขาไฝ่ฝันที่จะเข้ารับราชการในกองทัพบก ยุดโยโนได้พัฒนาชื่อเสียงของเขาในฐานะเป็นนักเรียนที่เก่ง มีผลการเรียนที่ดี มีความสามารถดีเยี่ยมในด้านการเขียนบทกวี เรื่องสั้น และบทละคร เขามีพรสวรรค์ทางดนตรีและกีฬา โดยได้ร่วมกับเพื่อนตัวชมรมวอลเล่บอลชื่อว่า Klub Rajawali และตั้งวงดนตรีชื่อว่าGaya Teruna.[3]
เมื่อเขาเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เขาได้ไปเยี่ยมที่โรงเรียนนายร้อยของอินโดนีเซียที่ชื่อว่า Indonesian Armed Forces Academy (AKABRI) หลังจากได้เห็นการฝึกของทหาร และอาจเป็นด้วยอาชีพของบิดาเขา ยุดโยโนจึงตั้งใจที่จะเข้ารับราชการทหารของอินโดนีเซีย เริ่มแรกเขาต้องการสมัครเข้าเรียนที่ AkABRI หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาบริบูรณ์ในปี ค.ศ. 1968 แต่เขาพลาดไปที่ไปสมัครเข้าไม่ทัน ยุดโยโนจึงต้องไปสมัครเป้นนักศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Tenth of November Institute of Technology ก่อนที่จะได้เข้าเรียนที่ Vocational Education Development Center ที่เมือง Malang ในชวาตะวันออก ที่นั่นเขาได้เตรียมตัวทุกอย่างที่จะเป็นทหาร โดยในที่สุด เขาได้รับเข้าศึกษาต่อที่ AKABRI ในปี ค.ศ. 1970 โดยเขาผ่านการทดสอบที่เมือง Bandung

อาชีพการทหาร
Military career

ยุดโยโนได้ใช้ชีวิต 3 ปีในโรงเรียนนายร้อยทหารบก Indonesian Armed Forces Academy (AKABRI) และได้เป็นหัวหน้าหมวดของนักเรียนนายร้อย เขาจบการศึกษาในปึ ค.ศ. 1973 และได้รับคะแนนสูงสุดของรุ่น ได้รับรางวัลเหรียญ Adhi Makayasaากประธานาธิบดีซูฮาร์โต (Suharto)

เมื่อจบการศึกษา เขาได้เข้ารับราชการในหน่วยกองกำลังหนุนยุทธศาสตร์ (Army Strategic Reserve - Kostrad) และได้เป็นหัวหน้าหมวด (Platoon commander) กองพันที่ 330 (the 330th Airborne Battalion) นอกจากจะมีหน้าที่นำหมวดทหารแล้ว เขายังได้รับหน้าที่ให้การศึกษาแก่ทหารในความรู้ทั่วไปและภาษาอังกฤษ เพราะความที่เขามีทักษะภาษาอังกฤษ จึงได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ด้านการส่งกำลังทางอากาศ (Airborne) และกิจการทหารม้า (Ranger) ที่ค่ายทหาร Fort Benning ในปี ค.ศ. 1975.

ยุดโยโนกลับมาอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 1976 และรับหน้าที่ผู้นำกองพันที่ 305 และได้รับมอบหมายให้ดูแลบริเวณที่อินโดนีเซียยึดครองที่ ติมอร์ตะวันออก (Indonesian-occupied East Timor) ยุดโยโนรับหน้าที่ลาดตะเวนหลายครั้ง และเช่นเดียวกับทหารอินโดนีเซียหลายคนที่ทำงานในขณะนั้นที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม (War crimes) แต่เขาไม่เคยได้รับการกล่าวโทษโดยตรง

ในปี ค.ศ. 1977 ยุดโยโนได้รับหน้าที่เป็นผู้นำหน่วยปืนครก (Mortar platoon) เป็นหน่วยส่งกำลังทางอากาศ ในช่วงปี ค.ศ. 1977-1978 และเป็นผู้บังคับการกองพัน (battalion commander) ที่ Kostrad ในปี ค.ศ. 1979 ถึงปี ค.ศ. 1981 หลังจากนั้นยุดโยโนได้ใช้เวลาช่วงปี ค.ศ. 1981 และ 1982 ในการทำงานที่ศูนย์บัญชาการกองทัพบก

ในขณะที่ทำงาน ณ กองบัญชาการกองทัพบก ยุดโยโนถูกส่งไปสหรัฐอมริกาอีกครั้ง ในคราวนี้ เพื่อร่วมในการฝึกกองทหารราบหลักสูตรก้าวหน้าที่ Fort Benning และฝึกในการส่งกำลังทางอากาศที่หน่วย 82 (82nd Airborne Division) ยุดโยโนได้ใช้เวลาที่ปานามา (Panama) ในหน่วยสงครามรบในป่า (the jungle warfare school) เมื่อเขากลับมาอินโดนีเซียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1983 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนฝึกทหารราบ อีกไม่นานเขาได้รับโอกาสไปต่างประเทศอีก โดยไปที่ประเทศเบลเยี่ยม (Belgium) และเยอรมันตะวันตกในขณะนั้น (West Germany) เพื่อฝึกในอาวุธต่อต้านรถถัง (Antitank weapons Course) ในปี ค.ศ. 1985 และรวมถึงการฝึกในหลักสูตรกองพันทหารรบพิเศษ (Battalion Commando Course) ในประเทศมาเลเซีย

ในช่วงปี ค.ศ. 1986 ถึง ยุดโยโนได้ทำงานที่หน่วย Udayana Area Military Command ที่ครอบคลุมบาหลี (Bali) และหมู่เกาะ Lesser Sunda Islands และยุดโยโนได้รับตำแหน่งผู้บังคับกองพันในช่วงปี ค.ศ. 1986 – 1988 และเป็นบุคลากรในหน่วยปฏิบัติการในปี ค.ศ. 1988 – 1989 เขาเป็นผู้บรรยายให้กับหน่วยเสนาธิการทหารบก (the Army Staff College) ที่เรียกว่า Seskoad
และที่นี่เขาได้นำเสนอข้อเขียนชื่อ ความเป็นมืออาชีพของ ABRI ในปัจจุบันและอนาคต เขาได้ร่วมกับ Agus Wirahadikusumah เขียนและจัดพิมพ์หนังสือชื่อ การท้าทายและการพัฒนา

ในขณะที่อยู่ที่ Seskoad ยุดโยโนได้รับโอกาสไปรับการศึกษาด้านการทห่ารต่อ โดยเขาได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารของสหรัฐที่ US Army Command and General Staff College ที่ Fort Leavenworth, รัฐ Kansas ประเทศสหรัฐอเมริกา

ในปี ค.ศ. 1992 เขาได้ถูกย้ายไปอยู่หน่วยการข่าวของกองทัพบก และทำงานเขียนสุนทรพจน์ให้กับนายพล General Edi Sudrajat ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยเสนาธิการกองทัพบก และต่อมานายพล Edi ได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก (Commander of the Military of Indonesia – ABRI) ยุดโยโนได้ถูกย้ายกลับไปที่ Kostrad ที่ซึ่งเขาได้เป็นผู้บัญชาการกองพลน้อย (Brigrade Commander)

ในอีก 1 ปีต่อมา ยุดโยโนได้ไปทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารดูแลเขตทหาร Jaya (Jakarta) ก่อนที่จะไปรับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลเขตทหารที่ IV/Diponegoro Military Area Command ในเขตชวากลาง (Central Java) และที่นี่เขาได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศอีกครั้งเมื่อได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์ทหารจากอินโดนีเซียในคณะดูแลรักษาความสงบของสหประชาชาติ (The United Nation Peacekeeping Force) ที่ Bosnia ในช่วงปี ค.ศ. 1995-96

เมื่อเดินทางกลับมาอินโดนีเซีย เขาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะเสนาธิการ KODAM Jaya ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารที่ KODAM II/Sriwijaya และที่นี่เขาได้รับผิดชอบดูแลงานด้านการทหารในเขตสุมาตราใต้ (Southern Sumatra) เขาได้ทำหน้าที่นี้ต่อมาจน ค.ศ. 1997 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหาร (chief of staff) ดูแลกิจการด้านสังคมการเมือง ในขณะเดียวกัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานของส่วน ABRI Faction ในสภาประชาชนที่ปรึกษา และได้มีส่วนร่วมในการเลือกประธานาธิบดีซูฮาร์โตดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกเป็นสมัยที่ 7

ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 อินโดนีเซียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเสียยิ่งกว่าประเทศไทย เกิดปัญหาข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยากทั่วประเทศ มีคนตกงาน ค่าเงินรูเปียร์ของอินโดนีเซียตำต่ำและไร้เสถียรภาพ เกิดการจราจลและการต่อต้านรัฐบาล

ในช่วงเวลานั้นได้นำไปสู่การต้องลาออกของประธานาธิบดีซูฮาร์โตในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 ยุดโยโนและนายทหารกลุ่มปฏิรูปได้ประชุมร่วมกับ Nurcholish Madjid ซึ่งเป็นฆราวาสผู้นำศาสนามุสลิมคนหนึ่งที่สนับสนุนวิถีทางปฏิรูปในอินโดนีเซีย ในการเจรจานั้นยุดโยโนยอมรับความจริงว่าประธานาธิบดีซูฮาร์โตควรลาออก และในการเข้าพบซูฮาร์โตพร้อมกับนายทหารคนอื่นๆนั้น ในที่สาธารณะก็ยังลังเลที่จะถอนการสนับสนุนซูฮาร์โตอย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ตามแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในที่สุดนำไปสู่การต้องลาออกของประธานาธิบดีซูฮาร์โตในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1998

ในขณะที่อินโดนีเซียได้ก้าวสู่ยุคปฏิรูป (reform era) ABRI ได้เสื่อมความนิยมลง เพราะความใกล้ชิดกับนายพลซูฮาร์โต และเพื่อลดบทบาทางการเมืองของฝ่ายทหารอย่าง ABRI ตำแหน่งของยุดโยโนได้เปลี่ยนชื่อเป็นหัวหน้าคณะกิจการเขต (territorial affairs) ในปี ค.ศ. 1999 ส่วนงาน ABRI ก็ได้รับชื่อใหม่เป็น TNI และงานด้านกิจการตำรวจ (Indonesian National Police) หรือ Polri ก็ถูกแยกออก เพื่อลดทอนอำนาจของฝ่ายทหารลง

ในขณะที่ความนิยมฝ่ายทหารโดยรวมลดลง แต่ความนิยมในตัวยุดโยดนได้เพิ่มขึ้น เมื่อเขาเสนอแนวคิดการปฏิรูปกองทัพและชาติ เขาได้เสนอแนวคิดปฏิรูปที่จะปรับปรุงกองทัพ (TNI) เพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีเสถียรภาพ ยุดโยโนได้รับฉายาจากสื่อว่าเป็น นายพลนักคิด (The thinking general)
กองทัพแห่งชาติของอินโดนีเซีย หรือ Indonesian National Armed Forces (Indonesian: Tentara Nasional Indonesia, ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น TNI; ก่อนหน้านี้ใช้ชือว่า Angkatan Bersenjata Republik Indonesia เรียกย่อๆว่า ABRI) ในปี ค.ศ. 2009 มีกำลังคนประมาณ 432.129 คน รวมก่องทัพบก (the Army (TNI-AD), กองทัพเรือ หรือ Navy (TNI-AL) รวมถึงหน่วยนาวิกโยธิน หรือ the Indonesian Marine Corps (Korps Marinir) และกองทัพอากาศ หรือ The Air Force (TNI-AU).

อาชีพการเมือง
Political career

ในช่วงประธานาธิบดีวาฮิด Wahid Presidency

ในช่วงสมัยประธานาธืบดีอับดุร์ราห์มาน วาฮิด (Abdurrahman Wahid) ในช่วงปี ค.ศ. 1999 นายพลวิรันโต (Wiranto) ผู้ได้มีส่วนร่วมในการจัดคณะรัฐมนตรี ได้เสนอแนะประธานาธิบดีว่านายพลยุดโยโนมีความเหมาะสมที่สุดที่จะดำรงตำแหน่งผู้บัญชากองทัพบก (Army Chief of Staff) ประธานาธิบดีวาฮิดไม่เห็นด้วย และได้แต่งตั้งให้ยุดโยโนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในขณะเดียวกันยุดโยโนได้ลาออกจากราชการทหาร ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายพลโท (Lieutenant General) แม้ในระยะต่อมา เขาจะได้รับตำแหน่งเป็นนายพลเอกกิตติมศักดิ์ในปี ค.ศ. 2000

ยุดโยโนได้รับความนิยมแม้จะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 มีข่าวลือว่าประธานาธิบดีวาฮิด ซึ่งมีข้อจำกัดที่สายตาใกล้บอด ไม่สามารถทำงานแบบรายวันได้ จะแต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งรัฐมตรีหลัก (First Minister) เพื่อทำหน้าที่ดูแลงานประจำแบบวันต่อวันบริหารรัฐบาล แต่ในที่สุดวาฮิดก็แต่งตั้งซูการ์โนบุตรี รองประธานาธิบดีในขณะนั้นให้ดำรงตำแหน่งรัฐมตรีหลัก

ในช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2000 หลังจากที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี ยุดโยโนได้รับตำแหน่งรัฐมตรีประสานงานด้านการเมืองและความมั่นคงภายใน หน้าที่ของเขาคือกันไม่ให้ทหารเข้าเกี่ยวข้องกับการเมือง และในหน้าที่นี้ทำให้เขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องในการกำกับนโยบายด้านการทหารของประเทศเป็นต้นมา

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 กองทัพได้ตัดสินใจที่จะออกห่างจากการเมือง ความคิดของการปฏิรูปก็คือการที่กองทัพสนับสนุนงานด้านการป้องกันประเทศ และถอยห่างจากการเมืองอย่างเป็นระบบ แนวโน้มคือการถอยห่างที่ทำให้ที่สุดแล้วหน้าที่ของทหารจะไม่มีงานด้านสังคมและการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในกองทัพ

อีกหน้าที่หนึ่งที่ยุดโยโนได้รับมอบหมาย คือการทำหน้าที่เป็นคนกลางประสานงานระหว่างครอบครัวของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต (Suharto) วาฮิดต้องการให้ซูฮาร์โตคืนเงินที่ได้มาจากการคอรัปชั่นในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหลายสิบปี อย่างไรก็ตาม ยุดโยโนไม่ประสบความสำเร็จในด้านนี้
ในช่วงปี ค.ศ. 2001 ในขณะที่การเมืองร้อนแรง วาฮิดได้สั่งให้ยุดโยโนตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติโดยมียุดโยโนทำหน้าที่เป็นประธาน วัตถุประสงค์ของศูนย์บัญชาการเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตนี้
การทำงานของศูนย์ เพื่อให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดี โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สำนักงานของยุดโยโน และด้วยการที่ได้รับตำแหน่งดังกล่าว จึงถูกจัดให้เป็น คนของวาฮิด ยุดโยโนได้แยกจากวาฮิดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2001 ซึ่งในช่วงนั้นวาฮิดได้ถูกพิจารณาถอดถอน (impeachment) วาฮิดได้แก้เกมการเมืองโดยสั่งยุติอำนาจของสภาตัวแทนประชาชน (The People's Representative Council - DPR) และสั่งให้ยุดโยโนประกาศภาวะฉุกเฉิน (state of emergency) แต่ยุดโยโนปฏิเสธที่จะทำตาม วาฮิดจึงสั่งปลดเขา

ในช่วงประธานาธิบดีเมกะวาตี Megawati Presidency

ในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ในวาระพิเศษ (Special Session) MPR ได้มีมติถอดถอนประธานาธิบดีวาฮิด และเป็นผลให้รองประธานาธิบดีเมกะวาตีได้สาบานเข้ารับตำแหน่ง และสภาได้มีมติสรรหารองประธานาธิบดี ยุดโยโนได้เสนอตัวเข้าแข่งขัน โดยต้องแข่งขันกับคู่แข่งหลายคน ซึ่งจากพรรค Golkar ซึ่งได้แก่นาย Akbar Tanjung และจากพรรค United Development Party (PPP) คือนาย Hamzah Haz.[9] ยุดโยโนและ Akbar แพ้การออกเสียให้แก่ Hamzah ซึ่งได้กลายเป็นรองประธานาธิบดี

ยุดโยโนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิม คือรัฐมนตรีประสานงานด้านการเมืองและความมั่นคงของชาติในคณะรัฐบาลของประธานาธิบดีเมกะวาตี ในช่วงหลังเหตุการณ์วางระเบิดโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงที่เกาะบาหลี (October 2002 Bali bombing) ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2002 เขาได้รับมอบหมายที่จะต้องล่าตัวผู้ก่อการร้าย และในการนี้ ทำให้เขาได้รับซื่อเสียงทั้งในอินโดนีเซียและต่างประเทศ และจัดเป็นนักการเมืองอินโดนีเซียที่จริงจังกับการปราบปรามผู้ก่อการร้าย (War on Terrorism) คำกล่าวสุนทรพจน์ของเขาในวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์ร้ายที่บาหลี ซึ่งมีชาวออสเตรเลียเสียชีวิตไปเป็นอันมาก เขาได้รับคำยกย่องจากสื่อและสาธารณชนออสเตรเลีย

ยุดโยโนได้ทำหน้าที่ด้านกบถแบ่งแยกดินแดนที่ชื่อว่า Free Aceh Movement (GAM) ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดอาเจห์ (Province of Aceh) ด้วยคำแนะนำของเขา เมกะวาตีได้ประกาศกฎอัยการศึก (martial law) ที่เขตจังหวัดอาเจห์ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 กฎอัยการศึกนี้ได้ใช้ต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003

พรรคประชาธิปัตย์ The Democratic Party

กลุ่มสนับสนุนยุดโยโนมองเห็นอนาคตทางการเมืองของยุดโยโนในช่วงการหาเสียงเป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งเขาได้รับความนิยมจากประชาชนและเป้นที่รู้จักเพิ่มขึ้น และเล็งเห็นว่าเขามีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำคนต่อไปของอินโดนีเซีย หนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนเขา คือ Vence Rumangkang ซึ่งได้ชักจูงเขาให้ตั้งพรรคการเมือง เพื่อสามารถรณรงค์หาเสียงเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2004 ยุดโยโนเห็นด้วยกับความคิด หลังจากที่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายแล้ว จึงได้ให้ Rumangkang จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมารองรับ

ในระหว่างวันที่ 12-19 สิงหาคม ค.ศ. 2001 Rumangkang ได้มีการจัดประชุมอยู่หลายครั้งและในระหว่างนั้นได้ปรึกษากับยุดโยโน

ในการประชุมวันที่ 19 สิงหาคม และวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2001 จึงได้แนวคิดพรรคที่ตั้งชื่อว่า The Democratic Party ซึ่งหากเรียกเป็นไทยคงได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์

ในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการประกาศตั้งพรรค และในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการจดทะเบียนพรรคที่กระทรวงยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน (The Ministry of Justice and Human Rights)
เบื้องหลังการจัดตั้งพรรค บรรดาผู้ก่อตั้งพรรคได้ดำเนินการอย่างชัดเจนว่าพรรค Democratic Party จะเป็นพรรคการเมืองที่มียุดโยโนนำ การประกาศจัดตั้งพรรค ก็ใช้วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2001 ซึ่งเป็นวันเกิดของยุดโยโน และเพื่อเป็นการเริ่มต้น พรรคได้มีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 99 คน

เส้นทางสู่ประธานาธิบดี Road to Presidency

ในช่วงปี ค.ศ. 2003 ได้มีกระแสจากหลายฝ่าย ที่จะให้ยุดโยดนได้เป็นตัวแทนสมัครในตำแหน่งประธานาธิบดี พรรค United Democratic Nationhood Party (PPDK) ได้เป็นฝ่ายเริ่มในการเสนอประเด็นการหาผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีดังกล่าว ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 พรรคของยุดโยโนเองก็ได้เตรียมตัวในกรณีเขาพร้อมที่จะรับการเสนอชื่อในตำแหน่งประธานาธิบดี

พรรค Democratic Party ได้รณรงค์หาเสียงโดยเสนอยุดโยโนเป็นตัวแทน ในส่วนของยุดโยโนเอง ไม่ได้ตอบสนองต่อทั้งพรรค PPDK และพรรค Democratic Party ของเขา เขาเองก็ยังคงทำหน้าที่ในคณะรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของนางเมกะวาตีอยู่ พรรค PPDK ผิดหวังในความเงียบเฉย และพรรค Democratic Party ก็รอว่าเมื่อไดที่ยุดโยโนจะลาออกจากคณะรัฐบาล และแยกตัวออกจากรัฐบาลของเมกะวาตี

จุดหักเหเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2004 เมื่อเลขาธิการของยุดโยโน Sudi Silalahi ได้ประกาศต่อสื่อมวลชนว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ยุดโยโนได้ถูกตัดออกจากการงานด้านการเมืองและความมั่นคง ในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2004 ประธานาธิบดีเมกะวาตีได้ตอบโต้ว่า เธอไม่ได้ตัดเขาออกจากบทบาทในรัฐบาล ในขณะที่สามีของประธานาธิบดี คือ Taufiq Kiemas ได้กล่าวว่ายุดโยโนทำตัวเหมือนเด็กที่ไปให้สัมภาษณ์กับสื่อ แทนที่จะพูดคุยกับประธานาธิบดีเป็นการภายใน ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2004 ยุดโยโนได้ส่งจดหมายขอเข้าพบประธานาธิบดีเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งรัฐมตรีของเขา

เมกะวาตีไม่ตอบเมื่อได้รับจดหมาย ถึงแม้จะเขิญยุดโยดนเข้าร่วมประชุมกับคณะรัฐมนตรีในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2004 ยุดโยโนไม่เข้าประชุม แต่ได้จัดให้สัมภาษณ์สื่อว่าเขาจะลาออกจากตำแหน่งรัฐมตรีประสานงานด้านการเมืองและความมั่นคง และเขาได้ประกาศว่าเขาพร้อมที่จะเสนอตัวเป็นผู้สมัครในตำแหน่งประธานาธิบดี

ยุดโยโนได้รับคะแนนนิยมพุ่งขึ้นอย่างมาก ที่เขาหลุดออกจากคณะรัฐมนตรีของเมกะวาตี และประชาชนส่วนใหญ่เห็นใจเขาที่เป็นผู้ถูกกระทำ (underdog) แต่อย่างไรก็ตาม ความนิยมไม่ได้แปลงเป็นคะแนนเสียงได้อย่างง่ายๆ ดังในการสมัครรับเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในปี ค.ศ. 2004 พรรค Democratic Party ของเขาได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อละ 7.5 แต่ก็เพียงพอที่จะสนับสนุนยุดโยโนเพื่อชิงตำแหน่ง

ประธานาธิบดี ยุดโยโนรับการเสนอชื่อ และเลือก Jusuf Kalla จากพรรค Golkar ให้ร่วมสมัครในตำแหน่งรองประธานาธิบดี ในตัวเลือกของผู้สมัครประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีนี้ ได้รับการสนับสนุนจากพรรค Crescent Star Party (PBB),พรรค Reform Star Party (PBR) และพรรค Indonesian Justice and Unity Party (PKPI).

คำประกาศของยุดโยโน คือ อนาคตของอินโดนีเซีย ซึ่งเขาสรุปในหนังสือชื่อ วิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเขาเขียนและได้แจกจ่ายฟรีในช่วงของการหาเสียง หลักของเขาสี่ประการ คือ ความมั่งคั่งของชาติ (prosperity), สันติภาพ (peace), ความยุติธรรม (justice) และประชาธิปไตย (democracy) แผนงานหลักของเขาคือการเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโดยให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 7 การฟื้นฟูผู้ประกอบการน้อยและกลาง เขาเน้นการมีนโยบายปล่อยเงินกู้ที่ดีขึ้น การขจัดปัญหาความล่าช้าในราชการ การพัฒนากฎหมายแรงงาน และการปราบปรามคอรัปชั่นจากตั้งแต่บนสู่ล่าง ซึ่งเขาได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์

หากเราจะลดความยากจนลง สร้างงานใหม่ เพิ่มอำนาจการซื้อของประชาชน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถ้าเป็นเช่นนี้ เราก็ต้องมีเงินทุน ซึ่งแน่นอนที่ต้องมีนโยบายการเชื้อเชิญการลงทุน ซึ่งข้าพเจ้าจะต้องเพิ่มบรรยากาศให้ดีขึ้น ทำให้กฎหมายมีความแน่นอน มีการจัดการแรงงานสัมพันธ์ที่ดี การเมืองมีเสถียรภาพ มีการใช้กฎหมายและระเบียบอันควรในบ้านเมือง มีนโยบายด้านภาษีที่เป็นเหตุเป็นผล มีกระบวนการศุลกากรที่ดี มีการจัดการแรงงานที่ดี ข้าพเจ้าจะกระทำในสิ่งเหล่านี้ เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนในอินโดนีเซีย

ยุดโยโนได้รับฉายาว่าเป็นผู้มีปัญญาและมีทักษะในการสื่อสาร ทำให้เขาได้เป็นหนึ่งในตัวเก็งในการได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานาธิบดีในการลงสมัครรับเลือกตั้ง สำนักสำรวจความคิดเห็นหลายแห่งได้ให้ทัศนะไปในทางเดียวกัน นับเป็นผู้มีคะแนนเสียงนำโด่งจากผู้สมัครชิงตำแหน่งคนอื่นๆ ซึ่งได้แก่ Megawati, Wiranto, Amien Rais, และ Hamzah

ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 ยุดโยโนได้คะแนนเสียงร้อยละ 33 เป็นคะแนนเสียงสูงสุด แต่ก็ไม่ได้คะแนนถึงร้อยละ 50 จึงต้องมีการลงคะแนนเสียงในรอบที่สองทีเหลือผู้สมัครเพียงสองฝ่าย โดยอีกฝ่ายหนึ่งคือ Megawati ในการลงชิงชัยรอบสอง
ยุดโยโนต้องเผชิญกับฝ่าย Megawati ที่ได้รับการสนับสนันจากพรรค Indonesian Democratic Party-Struggle (PDI-P) และได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มแนวร่วมแห่งชาติ (National coalition) ซี่งมีพรรค Golkar, พรรค PPP, พรรค Prosperous Peace Party (PDS) และพรรค Indonesian National Party (PNI)
ส่วนฝ่ายของยุดโยโนได้รับการสนับสนุนจาก พรรค National Awakening Party (PKB), พรรค Prosperous Justice Party (PKS) และพรรค National Mandate Party (PAN) โดยมีชื่อเรียกกลุ่มนี้ว่า แนวร่วมประชาชน

ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2004 ได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบสอง ยุดโยโนได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 60.87 ของคะแนนเสียงทั้งหมด และในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 เขาได้รับการสถาปนาเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศอินโดนีเซีย
ดำรงตำแหน่งช่วง 2004 ถึงปัจจุบัน Presidency: 2004-present

คณะรัฐมนตรี Cabinet

ในวันเข้ารับตำแหน่ง (Inauguration) ยุดโยโนได้ประกาศคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้รับชื่อว่า United Indonesia Cabinet ประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี 36 คน ซึ่งมีตัวแทนจากพรรค Democratic Party, พรรค Golkar และพรรค PPP, PBB, PKB, PAN, PKP, และพรรค PKS และมีนักวิชาชีพวิชาการอีกส่วนหนึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้ามาในคณะรัฐมนตรี ซี่งจะดูแลงานด้านเศรษฐกิจ ในคณะรัฐมนตรีของเขามีฝ่ายทหารเข้าร่วมด้วย โดยมีอดีตคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลเดิมเข้าร่วมอีก 5 คน และทั้งนี้ตามที่ได้ให้สัญญา คือมีสตรี 4 คนที่ได้รับแต่งตั้งเข้าร่วมคณะรัฐมนตรีด้วย

เศรษฐกิจ Economy

ในงานด้านเศรษฐกิจ ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2007 ยุดโยดนได้นำประเทศอินโดนีเซียเข้าสู่สัญญาการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่น

การศึกษาและสาธารณสุข Education and health

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 ยุดโยโนได้เริ่มโครงการช่วยโรงเรียนที่เรียกว่า The Schools Operational Assistance (BOS) program ซึ่งตามโครงการนี้ รัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนโรงเรียนผ่านครูใหญ่เพื่อดำเนินการในโรงเรียน โดยโครงการ BOS นี้ให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่โรงเรียน โดยทำให้โรงเรียนลดค่าเล่าเรียนลง และหากเป็นไปได้ ก็ให้ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนไปเลย ในเดือนกรกฎาค ค.ศ. 2006 เขาได้เริ่มโครงการสนับสนุนด้านตำราเรียน (Books BOS) เป็นเงินทุนเพื่อการจัดซื้อิหนังสือ

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 ยุดโยโนได้เริ่มโครงการประก้นสุขภาพคนจน (The Poor Community Health Insurance) ซึ่งเรียกย่อๆว่า Askeskin โดยโปรแกรมนี้ให้การสนับสนุนคนจนเพื่อให้ได้รับบริการด้านสุขภาพ (healthcare)

ดุลอำนาจกับรองประธานาธิบดีคาลลา Balance of power with Vice President Kalla

ยุดโยโน (Yudhoyono) ถ่ายภาพร่วมกับรองประธานาธิบดี จูซุฟ คาลา (Jusuf Kalla)
แม้ยุดโยโนได้รับชัยชนะการเป็นประธานาธิบดี แต่เขายังไม่ได้รับการสนับสนุนในรัฐสภา ซึ่งในสภาที่มีชื่อว่า People's Representative Council (DPR) พรรค DP ของเขา แม้เมื่อรวมกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็ยังมีตัวแทนในสภาน้อยกว่าพรรค Golkar และพรรค PDI-P ซึ่งเจตนาจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน

เมื่อมีการประชุมสภา (Congress) ในเดือนธ้นวาคม ค.ศ. 2994 ประธานาธิบดียุดโยโนและรองประธานาธบดี Kalla แต่แรกต้องการสนับสนุน Agung Laksono ให้ได้เป็นประธานของพรรค Golka แต่เมื่อ Agung ถูกมองว่าอ่อนแอไปสำหรับที่จะลงแข่งขันกับ Akbar ยุดโยโนและรองประธานาธิบดี Kala ได้หันไปให้การสนับสนุน Surya Paloh และอีกครั้งเมื่อ Poloh ถูกมองว่ายังอ่อนไปที่จะต่อสู้กับ Akbar ยุดโยโนได้ให้ไฟเขียวแก่ Kalla ที่จะลงแข่งขันเป็นประธานของพรรค Golkar และในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2004 Kalla ๆได้รับการเลือกให้เป็นประธานของพรรค Golkar

การที่ Kalla ได้รับชัยชนะทำให้เกิดปัญหาแก่ยุดโยโน แม้จะทำให้เขาได้รับการสนับสนุนด้านการออกกฎหมาย หรือแก้กฎหมาย แต่ตำแหน่งใหม่ของ Kala หมายถึงการมีอำนาจมากขึ้น มากกว่ายุดโยโนในการมีอิทธิพลต่อรัฐสภา

พรรค Party of the Functional Groups (Indonesian: Partai Golongan Karya) เป็นพรรคการเมือง (political party) ในอินโดนีเซีย (Indonesia) มี่ชื่อเป็นที่รู้จักกันว่า .Sekber Golkar (Sekretariat Bersama Golongan Karya, หรือในภาษาอังกฤษคือ Joint Secretariat of Functional Groups). พรรคนี้เป็นพรรครัฐบาลเดิมในสมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต (Suharto's regime - 1966-1998). เป็นพรรคสนับสนุนรัฐบาลในสมัยสั้นๆของประธานาธิบดีฮาบิบี (Habibie's presidency) ในช่วงปี ค.ศ. 1998-1999 และในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนรัฐบาลประธานาธิบดียุดโยโน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมพรรคการเมืองสนับสนุนรัฐบาล (2004-2009).

ในช่วงที่เกิดวิบัติภัยสุนามิ ค.ศ 2004 (2004 Indian Ocean Tsunami) Kalla ได้ใช้การริเริ่มเองโดยการรวมรัฐมนตรีและลงนามเพื่อการดำเนินการในฐานะรองประธานาธิบดี เพื่อการฟื้นฟูในเขตอาเจห์ (Aceh) ซึ่งในการนี้ความถูกต้องทางกฎหมายก็ยังเป็นปัญหาอยู่ว่ารองประธานาธิบดีจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ แต่ยุดโยดนได้ยืนยันว่า เขาเป็นผู้สังการให้รองประธานาธิบดี Kalla ให้เป็นผู้ดำเนินการ

ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 เมื่อยุดโยโนต้องเดินทางไปนิวยอร์ค (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมประชุมใหญ่ประจำปีของสหประชาชาติ (the annual United Nations Summit) เขาได้มอบอำนาจให้รองประธานาธิบดีปฏิบัติราชการแทน แต่ขณะเดียวกัน ยุดโยดนได้จัดประชุมทางไกลผ่าน video conference จากเมืองนิวยอร์ค เพือรับฟังรายงานจากคณะรัฐมนตรี มีผู้วิจารณ์ว่าเขาไม่ไว้ใจรองประธานาธิบดี Kalla ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น Kalla ได้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตร 1 ครั้ง แต่นอกจากนั้นได้ทำงานในพรรค Golkar

ความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้ปรากฏให้เห็นอีกเมือเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 เมื่อยุดโยโนได้ตั้งคณะทำงานที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดีเพื่อการปฏิรูป (the Presidential Work Unit for the Organization of Reform Program) ซึ่งมีชื่อย่อเรียกว่า UKP3R เขาให้คณะทำงานมีหน้าที่เพื่อการปรับปรุงสภาพที่เอื้อต่อการลงทุนจากภาคธุรกิจ การปรับงานภาครัฐด้านการทูตและการบริหาร การปรับปรุงรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ การขยายบทบาทของภาคผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลาง การปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายโดยรวม คณะทำงานนี้นำโดย Marsillam Simanjuntak ผู้ซึ่งได้ทำหน้าที่เป็นอัยการสูงสุดในช่วงของประธานาธิบดีวาฮิด

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ยุดโยโนได้เติมหน้าที่ของคณะทำงาน UKP3R ให้ครอบคลุมถึงการแก้ปัญหาความยากจน การให้สินเชื่อเพื่อช่วยงานภาครัฐ และการให้การสนับสนุนโปรแกรมด้านสาธารณสุขและการศึกษา มีการกล่าวหาว่ายุดโยโนต้องการกันรองประธานาธิบดี Kalla ออกจากรัฐบาล แต่ยุดโยโนรีบออกมาประกาศชัดว่าในการนิเทศกิจการของ UKP3R จะมีรองประธานาธิบดี Kalla ให้ความช่วยเหลือเขาอยู่

การดำเนินการกับอดีตประธานาธิบดีซูฮาโต Dealings with Suharto

ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2005 ยุดโยโนได้ไปเยี่ยมอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตผู้ชราที่โรงพยาบาล ซึ่งป่วยและมีอาการเลือดออกในลำไส้ และมีอาการของโรคโลหิตจาง (Anaemia) โรคหัวใจและปัญหาด้านไต หลังจากการเยี่ยม ยุดโยโนได้ขอให้ประชาชนขาวอินโดนีเซียได้สวดมนต์ให้ซูฮาร์โตได้หายจากอาการป่วย

เพื่อเป็นการตอบคำถามต่อสาธารณะเกี่ยวกับการที่เขาจะให้อภัยโทษแก่อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตในความผิดที่ได้ทำต่อแผ่นดินในช่วงมีอำนาจหรือไม่ โฆษกของประธานาธิบดี Andi Mallarangeng ได้กล่าวว่า การที่ประธานาธิบดีผู้ดำรงตำแหน่งจะไปเยี่ยมอดีตประธานาธิบดีที่ต้องล้มป่วย เข้าโรงพยาบาลนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่อย่างไรก็ตามการแสดงออกถึงมนุษยธรรม และการจัดการด้านกฎหมายเป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน

อื่นๆ Other

ประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono กับประธานาธิบดีคนที่ 43 ของสหรัฐ George W. Bush ในระหว่างการประชุมสุดยอดเอเปคปี ค.ศ. 2004 (APEC summit in 2004)
ประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono กับนายกรัฐมนตรีและผู้นำของรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน (Prime Minister, Vladimir Putin)

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 ยุดโยโนได้แต่งตั้งนายพลตำรวจ Sutanto ผู้บัญชาการตำรวจ และในวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ยุดโยโนได้แต่งตั้งนายพล Djoko Santoso เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2007 อินโดนีเซียโดยยุดโยโนได้เสนอให้มีการประชุม 8 ชาติที่เป็นที่ๆมีพื้นที่ป่าเขตร้อนชื้น (tropical rainforests) รวมร้อยละ 80 ของโลก โดยผลักดันทางการทูตให้ตระหนักเพิ่มขึ้นในปัญหาโลกร้อน (global warming)

โดยการประชุมในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2007 ประกอบด้วย Brazil, Cameroon, Congo, Costa Rica, Gabon, Indonesia, Malaysia และ Papua New Guinea

ในช่วงวันที่ 3-15 ธันวาคม ค.ศ. 2007 อินโดนีเซียได้เป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งที่ 13 ด้านสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า the 13th Conferences of the Parties (COP-13) ภ้ายใต้กรอบของสหประชาชาติที่เรียกว่า United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) ซึ่งจัดประชุมที่เมือง Bali
ในระหว่างที่องค์สันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 ทรงเสด็จเยี่ยม (Pope Benedict XVI Islam controversy) และกล่าวถ้อยคำที่เป็นประเด็นขัดแย้งกับอิสลาม ยุดโยโนได้กล่าวว่า สิ่งที่พระองค์ทรงกล่าวนั้นเป็น สิ่งที่ไม่ฉลาดและไม่เหมาะสม แต่ได้ขอให้ชาวมุสลิมในอินโดนีเซียควรใช้ปัญญา ความอดทน และการควบคุมตนเองในการจะพูดถึงในประเด็นความขัดแย้งนี้ เขากล่าวว่า เราต้องการสิ่งนี้ เพื่อให้เกิดความราบรื่นขึ้นแก่ประชาชน และไม่นำมาเป็นประเด็นของความขัดแย้ง

ในการพูดถึงคนที่มีอิทธิพลมากที่สุด 100 คนของโลก โดยนิตยสารไทม์ (TIME Magazine) ที่มีผู้อ่านมากที่สุดทั่วโลก ยุดโยโนเป็นหนึ่งในร้อยคนนั้น

พรรคการเมือง Political party

ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้ทำให้ตำแหน่งในพรรค Democratic Party - DP ของเขา โดยในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 ในการประชุมใหญ่ของพรรค ยุดโยโนได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการบริหารของพรรค (Ketua Dewan Pembina) ซึ่งตำแหน่งดังกล่าว มีอำนาจเหนือกว่าประธานที่ประชุมของพรรค (Chairman)

การศึกษา Education

ในด้านความสำเร็จด้านการศึกษาส่วนตัวของเขา ยุดโยโนได้รับการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา นอกเหนือไปจากการฝึกอบรมทางการทหาร เขาได้รับปริญญาโททางการบริหารจากมหาวิทยาลัย Webster University ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1991 ในระยะต่อมา เขาได้ศึกษาระดับปริญญาเอก โดยได้รับปริญญาเอก (PhD) ทางด้านเศรษฐศาสตร์การเกษตร (agricultural economics) จากมหาวิทยาลัย Bogor Agricultural University ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2004 ซึ่งเป็นเพียงสองวันก่อนเขาได้รับประกาศชัยชนะในการสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี วิทยานิพนธ์ของเขามีชื่อว่า การพัฒนาชนบทและการเกษตรในความพยายามขจัดความยากจนและการว่างงาน: การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองในนโยบายด้านการเงิน (The Rural and Agricultural Development as an Effort to Alleviate Poverty and Unemployment: a political economic analysis of fiscal policy)

นอกจากนี้ เขายังได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในปี ค.ศ. 2005 จาก Webster University ที่เขาเป็นศิษย์เก่า และทางด้านรัฐศาสตร์ (Political science) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) ในประเทศไทย

ครอบครัว Family

ครอบครัวของยุดโยโนThe Yudhoyonos in a family outing, จากซ้าย Annisa Larasati Pohan, สตรีหมายเลขหนึ่ง (First Lady Ani Bambang), Edhie Baskoro Yudhoyono, Agus Harimurti Yudhoyono และปราธานาธิบดียุดโยโน (President Yudhoyono)

ชื่อยุดโยโน (Yudhoyono) ไม่ใช่นามสกุล แต่เป็นชื่อที่เขาใช้ติดป้ายทางการทหารของเขา และทำให้ได้รับการกล่าวถึงในต่างประเทศ และบรรดาลูกของเขา ก็ใช้ชื่อนี้ คือ Yudhoyono ตลอดจนในการประชุมเป็นทางการและในงานพิธี ในกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ เขาถูกเรียกว่า Dr. Yudhoyono เขาถูกเรียกว่า Susilo และที่ใช้กันมากๆ คือ SBY ซึ่งเป็นชื่อย่อของเขา

ยุดโยโนพักอาศัยทั้งที่ทำเนียบประธานาธิบดีที่เรียกว่า Merdeka Palace ที่ตั้งอยู่ในเมือง Jakarta และที่บ้านของครอบครัว ที่ตั้งอยู่ ณ Cikeas ในเมือง Bogor กับภรรยา

ภรรยาประธานาธิบดี หรือที่เรียกว่าสตรีหมายเลขหนึ่ง คือ Ani Yudhoyono จบปริญญาด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Merdeka University และในทางการเมืองทำหน้าที่เป็นรองประธานพรรค Democratic Party เธอเป้นบุตรสาวคนโตของนายพล General (Ret.) Sarwo Edhie Wibowo ซึ่งเป็นนายพลที่บทบาทคนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย

งานเขียนโดยยุทโยโน
Selected publications by Yudhoyono


- Yudhoyono, Susilo Bambang (2000), Noeh, Munawar Fuad; Mustofa, Kurdi, eds. (in Indonesian), Mengatasi Krisis, Menyelamatkan Reformasi (2nd ed.), Jakarta: Pusat Pengkajian Etika Politik dan Pemerintahan, ISBN 9799357004.
- Yudhoyono, Susilo Bambang (2004) (in Indonesian), Taman Kehidupan: Kumpulan Puisi (2nd ed.), Jakarta: Yayasan Nida Utama, ISBN 979964318X.
- Yudhoyono, Susilo Bambang (2004), Revitalizing Indonesian Economy: Business, Politics, and Good Governance, Bogor: Brighten Press, ISBN 9799643155.
- Yudhoyono, Susilo Bambang (2005), Transforming Indonesia: Selected International Speeches (2nd ed.), Jakarta: Office of Special Staff of the President for International Affairs in co-operation with PT Buana Ilmu Populer, ISBN 9796948761.
รายชื่อประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย

รายชื่อประธานาธิบดี List of Presidents

1. Sukarno ดำรงตำแหน่งระหว่าง 18 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ถึง 12 มีนาคม ค.ศ. 1967 [1]ยังไม่มีระบบพรรค (Non-Partisan)
2. Suharto ดำรงตำแหน่งระหว่าง 12 มีนาคม ค.ศ. 1967 ถึง 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 จากพรรค Golkar รวมเวลาการอยู่ในตำแหน่ง 32 ปี
3. Bacharuddin Jusuf Habibie ดำรงตำแหน่งช่วงสั้นๆ ระหว่าง 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ถึง 20 ตุลาคม ค.ศ. 1999 จากพรรค Golkar
4. Abdurrahman Wahid ดำรงตำแหน่งช่วงสั้นๆ ระหว่าง 20 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ถึง 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 จากพรรค National Awakening Party
5. Megawati Sukarnoputri ดำรงตำแหน่งระหว่าง 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ถึง 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 จากพรรค Indonesian Democratic Party-Struggle
6. Susilo Bambang Yudhoyono ดำรงตำแหน่งระหว่าง 20 ตุลาคม ค.ศ. 200 และยังดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน (Incumbent) เป็นสมัยที่สอง จากพรรค Democratic Party

การอ้างอิง
References

1. ^ "Presiden Yudhoyono Hari Ini Berusia 59 Tahun" (in Indonesian). ANTARA. 9 September 2008. http://www.antara.co.id/view/?i=1220923024&c=NAS. Retrieved 23 June 2009.
2. ^ a b c Nugroho, Wisnu (24 June 2004). "Menjadi Tentara adalah Cita-cita SBY Kecil" (in Indonesian). Kompas. http://www2.kompas.com/kompas-cetak/0406/24/Sosok/1105275.htm. Retrieved 23 June 2009.
  1. ^ Jayadi, Fauzan (4 June 2004). "Berani-beraninya Menggoda Putri Jenderal" (in Indonesian). Suara Merdeka. http://www.suaramerdeka.com/harian/0404/04/pem8.htm. Retrieved 23 June 2009.
  2. ^ Jacob, Paul (7 November 1995). "Indonesian armed forces promotes 12 officers". The Straits Times.
5. ^ "General declares "war against instigators, agitators and rioters"". Kompas. BBC Summary of World Broadcasts. 11 February 1997.
6. ^ a b Friend, Theodore (2003), Indonesian Destinies, Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, ISBN 0674018346, http://books.google.com/books?id=_w6Mn4xRLt8C.
  1. ^ Wiranto (2003). Bersaksi Di Tengah Badai: Dari Catatan Wiranto, Jenderal Purnawirawan. Jakarta: Ide Indonesia. pp. 229–232. ISBN 979-968451-X.
8. ^ Barton, Greg (2002). Abdurrahman Wahid: Muslim Democrat, Indonesian President. Singapore: UNSW Press. pp. 320. ISBN 0-86840-405-5.
10. ^ a b Rachel Harvey, "Profile: Susilo Bambang Yudhoyono", BBC News, October 20, 2004.
  1. ^ http://www.pikiran-rakyat.com/cetak/1103/04/0501.htm
  2. ^ http://www.kompas.com/kompas-cetak/0403/12/opini/908892.htm
  3. ^ Harian Umum Suara Merdeka
  4. ^ Tempointeraktif.com - Yudhoyono - Kalla Resmi Daftar ke KPU, 10 Mei
  5. ^ Lingkaran Survey Indonesia - Opini & Analisis Direktur - Mengalahkan Megawati di Tahun 2004? http://www.lsi.co.id/artikel.php?id=221
  6. ^ Tempointeraktif.com - SBY Akan Tunjuk 4 Wanita
  7. ^ Indonesia signs FTA with Japan
  8. ^ http://www.pikiran-rakyat.com/cetak/2005/0705/27/0101.htm
  9. ^ BOS Buku Digunakan UN - Senin, 05 Juni 2006
  10. ^ :: Situs Resmi Kementerian Koordinator Bidang Kesejahteraan Rakyat ::. - Article : Social Health Insurance Development
  11. ^ Suara Merdeka - Nasional
  12. ^ Redaksi Tempo (24th October-30th October 2005 Edition). SBY-JK Duet Atau Duel: Edisi Khusus Setahun Pemerintahan SBY-JK. Jakarta, Indonesia. pp. 41.
  13. ^ Redaksi Tempo (24th October-30th October 2005 Edition). SBY-JK Duet Atau Duel: Edisi Khusus Setahun Pemerintahan SBY-JK. Jakarta, Indonesia. pp. 40.
  14. ^ Marsillam Simanjuntak | Ensiklopedi Tokoh Indonesia
  15. ^ Presiden Republik Indonesia - Dr. H. Susilo Bambang Yudhoyono
  16. ^ Presiden SBY: UKP3R Dipertahankan | Berita Tokoh Indonesia
  17. ^ "SBY dan Ibu Ani Jenguk Pak Harto" http://www.presidenri.go.id/index.php/fokus/2008/01/05/2634.html
  18. ^ BBC: "Suharto condition 'deteriorating'" http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7176176.stm
  19. ^ "SBY: Kondisi Pak Harto Kritis" http://www.presidenri.go.id/index.php/fokus/2008/01/05/2635.html
  20. ^ "Hukum dan Kemanusiaan, Dua Hal Berbeda" http://www.presidensby.info/index.php/fokus/2008/01/07/2638.html
  21. ^ http://www.pikiran-rakyat.com/cetak/2005/0705/08/0102.htm
  22. ^ VOI: "House agrees to appoint gen Djoko Santoso as TNI chief" http://www.voi.co.id/news/comment/650/1/
  23. ^ AFP, Indonesia proposes rainforest nations climate group
  24. ^ "Pope says he's sorry about strong reaction, says speech didn't reflect his personal opinion", The Jakarta Post, 17 September 2006
  25. ^ Amid criticism and violence the first balanced views about the Pope’s speech appear
  26. ^ Ibrahim, Anwar. "Susilo Bambang Yudhoyono". Time. http://www.time.com/time/specials/packages/article/0,28804,1894410_1893847_1893840,00.html. Retrieved 22 June 2009.
^ a b Biography of President Susilo Bambang Yudhoyono http://www.presidenri.go.id/index.php/eng/profile/index.html
  1. ^ Tabloid Nova
  2. ^ "First Indonesian peacekeepers leave for Lebanon", Associated Press (International Herald Tribune), November 8, 2006.

การเชื่อมโยงภายนอก
External links

Search Wikimedia Commons
Political offices
President of Indonesia
2004 – present
Succeeded by
Incumbent
[hide]
v d e