Monday, November 1, 2010

การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Scanning)

การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Scanning)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียง

Keywords: การบริหาร. การจัดการ. การวางแผน

ความหมาย

Environment หมายถึงสภาพแวดล้อม

Scanning หรือการตรวจสอบ ดังเช่นเมื่อเราเจ็บป่วยไปหาแพทย์ แพทย์ก็ใช้วิธีการตรวจร่างกายด้วยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างนี้เขาก็เรียกว่า Scan

Environmental Scanning จะหมายความว่าเป็นการตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อ

Environmental Scanning means observation and critical examination of changes in environment and understanding phenomena via point of view of incidents, decision-making, options and different kinds of future consequences. Tracking dynamics constitutes one of most important processes in futures studies. Often this phase of research process is combined to system thinking but it is especially important in scenario working, which is utilized in business world for example when identifying the futures of organisations.

Environmental Scanning is also a method that enables decision makers both to understand the external environment and the interconnections of its various sectors and to translate this understanding into the institution's planning and decision-making and strategic processes.

แต่ละองค์การต้องพยายามรักษาความได้เปรียบทางธุรกิจ ทำให้องค์การดำรงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่แต่ละองค์การจะต้องมีการสอดส่องติดตามสภาพแวดล้อม (Environemnt) ที่เป็นไปในแต่ละช่วงเวลา ต้องรู้อย่างเพียงพอที่จะดำเนินการวางยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ เมื่อมีความจำเป็นต้องทำ

จุดประสงค์

วัตถุประสงค์ของการศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของแต่ละองค์การมีดังนี้

  1. การมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยืนนาน (Sustainable Competitive Advantage)
  2. การเฝ้าดูความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ (Change in Business Environment)
  3. การมียุทธศาสตร์ (Strategies)
  4. การมีแผนงาน (Plans)

วิธีการ (Methods)

3 วิธีการในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของแต่ละองค์การ

  1. การวิเคราะห์เฉพาะกิจ (Ad-hoc scanning) - Short term, infrequent examinations usually initiated by a crisis เมื่อเกิดปัญหา ก็หาคนมาทำหน้าที่เป็นเฉพาะกิจ
  2. การวิเคราะห์ตามปกติ (Regular scanning) - Studies done on a regular schedule (say, once a year) การวิเคราะห์รายปี
  3. การวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง (Continuous scanning) - (also called continuous learning) - continuous structured data collection and processing on a broad range of environmental factors การมี Think Tank ทำหน้าที่ติดตามอยู่ตลอดเวลา

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization)

การจะทำการศึกษาสภาพแวดล้อม ทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การนั้น ความจำเป็นคือการต้องได้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาอย่างสะดวก รวดเร็ว ตรงไปตรงมา ถูกต้อง ดังนี้ การวิเคราะห์จึงจะทำได้โดยถูกต้อง และแม่นยำขึ้น แต่โดยทั่วไป การจะได้ข้อมูลทั้งหมดมานั้นไม่ใช่เรื่อง เพราะหลายเหตุ

- เพราะข้อมูลเป็นอำนาจ คนจึงไม่ยอมแลกข้อมูลแก่กัน

- จึงไม่เกิดการเรียนรู้ หรือการสอนแก่กัน

- การไม่แลกเปลี่ยนข้อมูลแก่กันจึงไม่เพิ่มมูลค่าแก่องค์กร

การมีข้อมูลที่ต้องแลกเปลี่ยนกันภายในหน่วยงาน จึงนำมาซึ่งความเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าขององค์กร หากองค์การใดมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลแก่กัน การจะเข้าใจสภาพความเป็นไปทั้งภายในและภายนอกองค์การก็เป็นไปได้ง่าย คนเข้าใจสภาพปัญหา ข้อจำกัด ตระหนักถึงสิ่งที่จะเป็นโอกาสและการคุกคามจากภายนอก ดังนี้ การจะปรับตัวขององค์การก็จะเกิดขึ้นได้

SWOT Analysis

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เป็นวิธีการวิเคราะห์ที่คนมีส่วนร่วมจำนวนหนึ่งที่เข้าร่วมกระบวนการวิเคราะห์ได้เห็นพ้องต้องกัน (Concensus) ในด้านต่างๆ ขององค์การจากภายในองค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอก (Macro Environment)

ใครดำเนินการ (A cross-functional team)

ในการจะวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การได้ดีนั้น หากกระทำด้วยคนเพียงคนเดียว ดังเช่นผู้บริหารสูงสุดขององค์การ ก็จะมีความคับแคบ และอาจมองมิติต่างๆ ขององค์การ ทั้งภายในและภายนอกไมไดครบถ้วน และเป็นการคิดในแบบเดิมที่ก็อาจะได้ทำให้เป็นปัญหาไปแล้ว การที่ใครจะมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์จึงมีความสำคัญ

ในทางธุรกิจจึงได้ใช้กลุ่มคนที่มีวัตถุประสงค์รวมกัน (Common Goal) แต่เป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไปคนละด้าน (Different Functional Expertise) เช่นการนำคนที่มาจากฝ่ายการเงิน การตลาด การดำเนินการ ฝ่ายบริหารงานบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ ในการนี้อาจนำพนักงานในแต่ละระดับขององค์การ คนจากภายนอกองค์การ ในทางธุรกิจเขาจะนำพวก ผู้จัดส่งสินค้าและบริการให้กับองค์การ (Suppliers) ลูกค้าหลักๆ (Customers) หรือการนำที่ปรึกษา (Consultants) จากภายนอกเข้ามาร่วมในกระบวนการ

ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

- Cross Functional Team - การทำงานด้วยคนที่มีหน้าที่แตกต่างกัน

- Inter-Disciplinary Team - การทำงานโดยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน

- Synergic Team การทำงานโดยทีมที่แต่ละคนจะมีจุดอ่อน แต่เมื่อร่วมกัน จะกลายเป็นอุดจุดอ่อน และเสริมจุดแข็ง

ในกิจกรรมวิเคราะห์ SWOT เพื่อให้งานดำเนินไปได้ จึงต้องมีทีมทำงาน หรือที่เรียกว่า Task Force หรือ Task Group จากประสบการณ์ เมื่อฝ่ายบริหารจะต้องการให้เกิดงานนั้นจะคุ้นกับการตั้งคณะกรรมการ (Committee) แล้วก็มีการจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการประชุมไป แต่งานส่วนใหญ่ที่ต้องใช้กระบวนการที่กินเวลาและต้องใช้ทรัพยากรนั้น จะใช้ในแบบคณะกรรมการที่มาประชุมแล้วมีเบี้ยเลี้ยงเพียงเล็กน้อยนั้นมักจะไม่ตอบสนองต่อความต้องการ จำเป็นต้องใช้คณะทำงาน ที่ต้องให้ทร้พยากร หรือแม่แต่ค่าตอบแทน มีอำนาจและเวลาในการดำเนินการที่เหมาะสมและเพียงพอ

- คณะทำงาน (Task force หรือ Task Group) มีความแตกต่างจากคณะกรรมการ (Committee)

- หากจะทำงานให้เสร็จ ให้ใช้ Task force

- แต่ถ้าจะใช้เพื่อการพิจารณา ก็เป็น Committee

ภาพ SWOT Analysis ประกอบด้วย

- S - Strength

- W - Weakness

- O - Opportunities

- T - Threats

S - ความแข็งแกร่ง (Strengths) หมายถึงคุณลักษณะเด่นขององค์การที่ช่วยทำให้องค์การประสบผลตามวัตถุประสงค์

W - จุดอ่อน (Weaknesses) หมายถึงลักษณะด้อยที่ทำให้เป็นอุปสรรคที่องค์การจะไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

2 ส่วนแรกนี้เป็นเรื่องของตัวองค์การ

O - โอกาส (Opportunities) หมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่ช่วยให้องค์การประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

T - การคุกคาม (Threats) สภาพแวดล้อมจากภายนอกที่เป็นอันตรายหรืออุปสรรคทำให้องค์การไม่บรรลุผลตามวัตถุประสงค์

2 ส่วนหลัง คือ O และ T นี้เป็นเรื่องของสภาพแวดล้อมภายนอก หรือจะเรียกว่าสภาพแวดล้อมเชิงมหภาค (Macroenvironment)

สภาพแวดล้อมภายนอก (Macroenvironment)

สภาพเป็นไปขององค์การ (Organization)

สภาพแวดล้อมเชิงมหาภาค (The Macroenvironment)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเชิงมหภาค สภาพแวดล้อมภายนอก มักจะเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายที่ไม่คุ้นกับการวิเคราะห์จะมีปัญหาเริ่มต้น เพราะมักจะวิเคราะห์ไม่ออกว่าส่วนใดเป็นส่วนที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก และส่วนใด เป็นเรื่องของสภาพแวดล้อมภายในองค์การ

ในทางธุรกิจ สภาพแวดล้อมภายนอกให้ลองวิเคราะห์จากสิ่งต่อไปนี้

- การดูที่ อุตสาหกรรม หรือธุรกิจนั้นๆ โดยรวม

- การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis)

- การวิเคราะห์ผู้บริโภค (Consumer Analysis)

- การมีนวตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการ (Product Innovations)

เศรษฐกิจ (The Economy)

สภาพเศรษฐกิจภายนอกขององค์การมีผลต่อการวิเคราะห์ SWOT โดยรวมๆ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจภายนอกเป็นเช่นใดนั้น เขาจะมีดรรชนีชี้วัด ซึ่งมีการจัดทำเอาไว้โดยหน่วยงานต่างๆ ซึ่งสามารถค้นคว้าหาศึกษาได้

- รายได้ประชาชาติต่อหัว (GNP or GDP per capita)

- อัตราเพิ่มของ GDP (GNP or GDP growth)

- อัตราการว่างงาน (unemployment rate)

- อัตราเงินเฟ้อ (inflation rate)

- ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (consumer and investor confidence)

- ระดับปริมาณสำรอง (inventory levels)

- อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา (currency exchange rates)

- ดุลการค้า การซื้อขายระหว่างประเทศ (merchandise trade balance)

- สถานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ (financial and political health of trading partners)

- ดุลการชำระหนี้ (balance of payments)

- แนวโน้มในอนาคต (future trends)

รัฐบาล (Government)

สภาพของรัฐบาลประเทศ หรือท้องถิ่นนั้นๆ เป็นอย่างไร

- บรรยากาศทางการเมือง (political climate - amount of government activity) รัฐบาลเข้มแข็ง ตื่นตัว หรือว่าเฉื่อยชา

- สภาพความมั่นคงหรือความเสี่ยงทางการเมือง (political stability and risk ) ประเทศที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน ไม่ให้เสรีภาพแก่สื่อและการแสดงออก หรือมีความรุนแรง ขัดแย้งของคนในชาติในลักษณะเป็นสงครามกลางเมือง การกดขี่ข่มเหง เหล่านี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการคบค้ากับต่างประเทศ และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศโดยรวม

- หนี้ของรัฐบาล (government debt ) หรือที่อาจเรียกว่าหนี้ภาครัฐ บางประเทศหรือชุมชน รัฐหรือภาครัฐเข้าไปดำเนินกิจการเองมาก และไม่มีวินัยและประสิทธิภาพพอ ทำให้เกิดหนี้ภาครัฐมากจนเกินไป

- งบประมาณขาดดุล หรือว่าเกินดุล (budget deficit or surplus ) แน่นอนว่าหากมีการใช้จ่ายขาดดุลต่อเนื่องยาวนาน ย่อมไม่ทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจดี แต่ในบางครั้ง การก่อหนี้ของสังคม เพื่อการนำไปลงทุนในสิ่งที่จำเป็นและมีผลที่ดี ก็จะเป็นประโยชน์ ในอีกด้านหนึ่ง หากมีเงินเหลือเกินดุลมากๆ ในระยะยาวก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาในอีกลักษณะหนึ่งเหมือนกัน เหมือนคนที่มีกิน และกินมากๆ จนอ้วน ก็มีปัญหาเหมือนกัน

- อ้ตราภาษีธุรกิจและภาษีส่วนบุคคล (corporate and personal tax rates ) หากอัตราภาษีสูงเกินไป ก็ไม่ส่งเสริมให้คนมาลงทุน

- ภาษีรายได้จากพวกเงินเดือน (payroll taxes ) ภาษีบางประเภทจัดเก็บได้มากจากพวกเงินเดือน แต่พวกประกอบการธุรกิจเล็กๆ ไม่สามารถจัดเก็บได้มาก ดังนี้ก็จะไม่เป็นการยุติธรรม เพราะคนก็จะไปประกอบอาชีพแบบแอบแฝงมากขึ้น อย่างที่เขาเรียกว่าพวก Freelance และใช้วิธีการมีรายได้โดยไม่ต้องแจ้งภาษี

- ภาษีสินค้านำเข้า และการกำหนดโควต้า (import tariffs and quotas ) ในยุคสมัยใหม่นี้ แนวโน้มคือการเปิดการค้าเสรีที่มีมากขึ้น หากประเทศหรือสังคมใดยังประกอบธุรกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพและปกป้อง ก็จะถูกเพ่งเล็งและตอบโต้ในลักษณะเดียวกันจากประเทศคู่ค้า แต่ขณะเดียวกัน การเปิดการค้าเสรีที่มีลักษณะเหมือน เขื่อนแตก สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมาก ตลาดแรงงานของอุตสาหกรรมนั้นๆ ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย คนก็จะตกงานตามมา

- ข้อจำกัดด้านการส่งออก (export restrictions ) โดยทั่วไป ทุกประเทศต้องการเน้นการส่งออก แต่ก็มีสินค้าบางประเภทเหมือนกันที่จำกัดการส่งออก เช่นสหรัฐจำกัดการส่งออกหรือไม่ให้ส่งออกสินค้าเทคโนโลยีสื่อสารระดับสูง ด้วยเกรงว่าจะมีการนำไปประกอบเป็นส่วนของอาวุธอัจฉริยะในสงครามยุคใหม่

- ข้อจำกัดด้านการเงินระหว่างประเทศ (restrictions on international financial flows) สมัยหนึ่ง ประเทศไทยเคยมีการปฏิบัติปกป้องกิจการธนาคารของประเทศ ซึ่งอยู่ในมือคนไม่กี่ตระกูลของประเทศ แต่แรงบีบจากการแข่งขันทั่วโลก และความไม่เข้มแข็ง ท้ายสุดต้องเปิดธุรกิจธนาคาร และเป็นผลให้กิจการธนาคารเป็นอันมากต้องตกไปอยู่ในมือของต่างชาติ

กฎหมาย (Legal)

กฎหมายองแต่ละประเทศหรือท้องที่ไม่เหมือนกัน ในประเทศไทยมีการบริหารแบบรวมศูนย์ กฎหมายทั้งประเทศมีเหมือนกัน แต่กระนั้นจะมีแนวโน้มที่ท้องที่อาจมีกฏ ระเบียบที่ออกได้เองมากขึ้น ซึ่งประเด็นที่ควรจะศึกษามีดังต่อไปนี้

- กฎหมายค่าแรงงานขั้นต่ำ (minimum wage laws ) บางประเทศมีการกำหนดค่าแรงงานขั้นต่ำไว้สูง บางประเทศไม่มีการกำหนด หรือกำหนดแต่ปล่อยให้มีระดับต่ำ เพราะอาศัยใช้จากต่างประเทศ เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาในระยะหลัง ต้องการแรงงานจากต่างชาติเข้าไปทำงานส่วนที่คนในประเทศไม่อยากทำ ด้วยความยากลำบาก และค่าแรงงานต่ำ ดังในแรงงานภาคเกษตร

- กฎหมายปกป้องสิ่งแวดล้อม (environmental protection laws ) บางประเทศมีกำหนดด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมไว้ บางประเทศไม่มีการกำหนด ต่างชาติที่เข้าไปลงทุน ก็ไม่ต้องอยู่ในเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม ต้นทุนด้านการลงทุนต่ำกว่า แต่ขณะเดียวกัน ก็อาจต้องเสียผลในด้านต้องกลับไปดูแลด้านสิ่งแวดล้อมในภายหลังที่อาจทำให้ทร้พยากรแผ่นดินเสียหายรุนแรงมากก็ได้

- กฎหมายความปลอดภัยของแรงงาน (worker safety laws ) ในอนาคต กฎหมายที่ควบคุมทางด้านนี้จะต้องเข้มงวดมากขึ้น ด้วยความที่คนเข้าใจผลกระทบจากการทำงานที่มีผลต่อร่างกาย ที่อาจเห็นผลในระยะยาว

- กฎหมายเกี่ยวกับสหภาพ (union laws )

- กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา (copyright and patent laws ) มีความแตกต่างกันระหว่างประเทศทางตะวันตก ที่ก้าวหน้าทางด้านการวิจัยและผลิตภัณฑ์ กับประเทศกำลังพัฒนา ที่ไม่ได้ใช้กฎหมายนี้อย่างจริง

- กฎหมายต่อต้านการผูกขาด (anti- monopoly laws ) การผูกขาดนี้ มักจะเกิดจากกิจการที่รัฐบาลเข้าไปควบคุม เช่น การค้าเหล้า บุหรี่ ไฟฟ้า พลังงานอื่นๆ

- กฎหมายปิดการทำงานในวันอาทิตย์ (Sunday closing laws ) ดูตัวอย่างประเทศที่มีความเข้มด้านศาสนา ซึ่งกำหนดให้ต้องหยุดทำงานวันอาทิตย์ หรือวันสำคัญทางศาสนา

- ใบอนุญาตของเมือง (municipal licences ) ดังเช่น ระเบียบการก่อสร้างอาคารสูงในเมือง การต้องมีพื้นที่ลานจอดรถ ระบบระบายน้ำ พื้นที่ว่าง เป็นต้น

- กฎหมายส่งเสริมธุรกิจ (laws that favour business investment ) ดังกรณีกฎหมายให้สิทธิพิเศษสำหรับธุรกิจที่จะมาลงทุน หรือในบางประเทศเอกชนเป็นเจ้าของที่ดินไม่ได้ แต่เขาให้เอกชนมีสิทธิเช่าที่ในนิคมอุตสาหกรรมของเขาได้เป็นเวลานานถึง 90-100 ปี เป็นต้น

เทคโนโลยี (Technology)

ในทางเทคโนโลยีนั้น ครอบคลุมถึงประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐาน (efficiency of infrastructure) อันรวมถึง ถนนหนทาง (roads) ท่าเรือ (ports) สนามบิน (airports) รถไฟ (rolling stock - trains) โรงพยาบาล (hospitals) การศึกษา (education) ระบบสาธารณสุข (healthcare) ระบบการสื่อสาร (communication) และอื่นๆ

สภาพแวดล้อมที่องค์การต่างๆ ให้ความสนใจได้แก่.

- ประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม (industrial productivity)

- กระบวนการผลิตและประกอบสินค้าใหม่ๆ (new manufacturing processes)

- ผลิตภัณฑ์และบริหารใหม่ของคู่แข่ง (new products and services of competitors )

- ผลิตภัณฑ์และบริหารใหม่ของเครือข่ายจัดส่ง (new products and services of supply chain partners) ดังเช่น หากองค์การของเราเป็นร้านค้าปลีกท้องถิ่น แต่มีระบบห้าง Superstore จากต่างชาติที่มีกลไกการจัดส่งสินค้าแบบใหม่ มีกระบวนการจัดตั้งเครือข่ายร้านค้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพทำให้ได้สินค้าถึงผู้บริโภครวดเร็วกว่า ราคาถูกกว่า ได้สินค้าที่ใหม่สด และมีคุณภาพมากกว่า

- เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีผลกระทบต่อองค์การ (any new technology that could impact the company ) เช่น มหาวิทยาลัยแบบดั่งเดิม อาจได้รับผลกระทบจากกระบวนการเรียนการสอนยุคใหม่ที่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความเร็วสูง สามารถให้บริการสื่อแบบสองทาง มีซอฟต์แวร์จัดการเรียนการสอนที่ทำได้เสมือนจริง และรวดเร็วกว่าระบบมหาวิทยาลัยในแบบเดิม ซึ่งทำให้ต้องมีการปรับตัวตอบสนอง เป็นต้น

- อัตราค่าไฟฟ้า (cost and accessibility of electrical power ) อัตราค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นมีผลต่อวิธีการคิดเรื่องการปรับอากาศ (Air Conditioning) การออกแบบอาคาร การอยู่อาศัย ฯลฯ

ตัวอย่าง - ยุทธศาสตร์ของ Toyota

ภาพ สัญลักษณ์ Toyota เริ่มจากการผลิตรถยนต์ราคาถูกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่อยมา ต่อมา ขยายการขายสู่สหรัฐ หลีกเลี่ยงการต่อต้านจากอเมริกัน เพื่อการขายและการผลิตในสหรัฐอเมริกา จากการผลิตรถยนต์ราคาถูกสู่การผลิตรถยนต์มีคุณภาพประหยัดน้ำมัน

เพื่อการสร้างความได้เปรียบใน ASEAN ประชากร 600 ล้านคน สร้างเครือข่ายการผลิตใน ASEAN แลกเปลี่ยนชิ้นส่วนกันได้

ภาพ สู่ยุค Hybrid Vehicles การปรับตัวเมื่อ Petroleum จะมีปริมาณสำรองลดลง และราคาแพงขึ้น บุกเบิกเรื่องรถยนต์ลูกประสม (Hybrid Cars) ดังรุ่น Prius I ที่เริ่มเป็นรถแนวคิด ค.ศ. 1995 แล้วผลิตออกสู่ตลาดในปี 1997

ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าลูกผสม Toyota Prius PHEV สามารถชาร์ตไฟเพื่อใช้พลังไฟฟ้าวิ่งไปได้ระยะหนึ่ง ก่อนที่เครื่องยนต์จะทำงาน สามารถประหยัดพลังงานในระดับ 80-85 ไมล์/แกลลอน

ภาพ รถยนต์ Toyota Camry ที่คนนิยมใช้มากที่สุดในอเมริกาเหนือ ก็ได้เพิ่มทางเลือกเพื่อให้เป็นรถไฟฟ้าลูกประสม (Electric Hybrid) และยังขายได้ในราคาแข่งขันในตลาด

ภาพ รถยนต์ Prius C นอกจากจะผลิตรถยนต์ Prius รุ่นขนาดกลางแล้ว ยังขยายสายการผลิตสู่รถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้ระบบไฟฟ้าลูกประสม (Electric Hybrid) ประหยัดพลังงาน และราคาถูกลงอีก

Hybrid Camry 2007 หวังมีส่วนรถ Hybrid ร้อยละ 15 ของรุ่น

ตัวอย่าง ยุทธศาสตร์ของอเมริกัน

ภาพ กังหันลม เมื่อน้ำมันมีราคาแพงขึ้น กระทบต่อวิถีชีวิตของคนอเมริกัน ซึ่งต้องพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมจากต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาตอบสนองโดย - ยุทธศาสตร์ใช้วิทยาการก้าวหน้า ดังเช่น การใช้แนวคิด Fuel Cells ซึ่งเน้นการใช้พลังงานจาก การแยกน้ำออกเป็น Oxygen และ Hydrogen ซึ่งจะเป็นพลังงานสะอาด ไม่มี Carbon ที่จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ

- การใช้ประโยชน์จาก Electricity Grid หรือเครือข่ายสายไฟแรงสูง และการส่งไฟฟ้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ

การสร้างพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยราคาต่ำ Renewable ดังเช่นการใช้ Wind Turbine (ดังที่เห็นในภาพ)

โลกในยุคปี ค.ศ.2000 เป็นต้นไปจะต้องตระหนักในปัญหาด้านพลังงาน ปัญหาโลกร้อน และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทุกประเทศจะต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาและการใช้พลังงานที่ยั่งยืน (Sustainable Sources of Energy)

ตัวอย่างจากที่อื่นๆ

ประเทศไทยเองต้องคิดถึงนโยบายด้านพลังงาน ซึ่งคงจะมีการใช้เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยและโลกต้องหันมาให้ความสำคัญในการประหยัดพลังงาน และการแสวงหาทางเลือกด้านพลังงานอื่นๆ เช่น

- การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า (Nuclear Power Plant)

- การใช้พลังงานจากกังหันลม (Wind Turbine Energy)

- การใช้พลังงานแบบใหม่ Fuel Cell ในเครื่องยนต์รถยนต์ ซึ่งสามารถใช้พลังงานจากไฮโดรเจนที่แยกจากน้ำ (H2O)

- การพัฒนารถจักรยานไฟฟ้าในระดับขยายสายการผลิต และใช้จริงในสังคม (Electric Bicycle)

- หัวรถไฟที่ใช้เครื่องยนต์แบบประสม (Hybrid Locomotive) เพื่อใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

การแข่งขันด้านอุตสาหกรรมการบิน

การต่อสู้ด้านอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินสนับสนุนการเดินทางและการขนส่งทางอากาศ เครื่องบินรุ่นใหม่ๆ จึงมีขนาดใหญ่ขึ้น มีประสิทธิภาพในการใช้นำมันดีขึ้น ใช้น้ำมันลดลง

ภาพ Airbus 380 กลุ่มประเทศยุโรป Airbus อาศัยเทคโนโลยีที่แข่งขันกับสหรัฐได้ พัฒนาเครื่องบินยุคใหม่ที่ประหยัดพลังงานอย่าง Airbus 380 ที่มีขนาดใหญ่ ประหยัดพลังงาน และลดมลพิษด้านเสียง

ประเด็นที่ตามมาคือ จะดำเนินการอย่างไรในเรื่อง Logistic การจัดส่งชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่ผลิตในหลายๆประเทศ และขนส่งกันอย่างไร ประกอบกันอย่างไร

ภาพ Boeing 747 บริษัท Boeing ของสหรัฐอเมริกา มีบริษัทผลิตเครื่องบินที่มีฐานแน่ชัดในแถบ Washington State ประกอบและผลิตชิ้นส่วนใหญ่ ณ บริเวณเดียว ยังคงผลิตเครื่องบินขนาดยักษ์ Boeing 747

ภาพ Boeing 7E7 Dreamliner เป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ของ Boeing เน้นประสิทธิภาพจุผู้โดยสารได้ 200-250 คน เล็กกว่า 777 และรุ่น 747 ใช้เครื่องยนต์รุ่นใหม่ด้วยลำตัวที่ใช้วิทยาการวัสดุศาสตร์ใหม่ ทำให้บินได้ไกลขึ้น ด้วยเชื้อเพลิงที่น้อยลง สามารถบินระดับไกล 9000 ไมล์ได้ เช่นจาก Singapore ไปยังเมือง Denver ได้โดยไม่ต้องแวะเติมน้ำมันกลางทาง สามารถเก็บรักษาความกดอากาศได้สูงขึ้น ทำให้เมื่อบินในระดับสูง ก็ไม่ทำให้ผู้โดยสารอ่อนเพลียจากการเดินทางมากนัก

ภาพ ภายในห้องโดยสารเครื่องบินขนาดกลางยุคใหม่ ให้พื้นที่นั่งมากขึ้น สามารถบินระยะไกลได้มากขึ้น ผู้โดยสารไม่ล้าจากการเดินทาง

ภาพ NASA Flying Wing สหรัฐอเมริกา ด้วยความก้าวหน้าด้านอวกาศและการบิน พัฒนาแนวคิดเครื่องบินยุคใหม่ที่ใช้รูปทรง ปีกบิน (Flying Wing)

ภาพ Boeing Flying Wing บริษัท Boeing ได้มีการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเครื่องบินยุคใหม่ที่เป็นแบบปีกบิน บรรทุกผู้โดยสารได้จำนวนมากขึ้น มีพื้นที่ภายในกว้างขวางเหมือนกับ Theatre เพื่อรองรับการเดินทางระยะไกล แบบไม่มีพักได้

สิ่งแวดล้อม (Ecology)

การศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความตระหนักและความจำเป็นด้านสิ่งแวดล้อมของโลกและภูมิภาค

- ผลกระทบของประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีต่อกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (ecological concerns that effect the firms production processes)

- ผลกระทบของประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีต่อนิสัยการบริโภคของประชาชน (ecological concerns that effect customers' buying habits )

- ผลกระทบต่อผูบริโภคต่อภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์บริษัท (ecological concerns that effect customers' perception of the company or product)

ทุกองค์กรต้องคำนึ่งถึงสิ่งแวดล้อมทั้งในทางโดยตรงต่อองค์การ และโดยอ้อม และเป็นผลระยะยาว คือการมีภาพลักษณ์ในสังคม ฐานะผู้รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นตัวก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

การคำนึงถึงตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อม

ระบบการศึกษาจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในโลก และในประเทศของตน นักการศึกษา ผู้บริหารและชุมชนที่รับผิดชอบ ต้องหันไปคิดถึงส่วนของการศึกษาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น

- การใช้รถนักเรียน (School Buses) เพื่อประสิทธิภาพการศึกษา จัดโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้น และขนนักเรียนไปสู่โรงเรียน แต่ในอีกด้านหนึ่งคือต้องตระหนักว่า การใช้รถนักเรียน (School Buses) ก็ต้องหันไปใช้ยานพาหนะ ที่ก็ต้องใช้น้ำมันเชื่อเพลังเพิ่มขึ้น

- พลังงานที่กำลังหมดไป (Petroleum Depletion) แนวโน้มด้านพลังงานน้ำมัน ที่มีลดน้อยลง ราคาแพงขึ้น

ทางเลือกด้านนโยบายประเทศและการศึกษาคืออะไร

- ทางเลือกของโรงเรียนขนาดเล็กในประเทศไทยคืออะไร ควรจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในโรงเรียน หรือ มีแนวคิดใหม่ด้านการเรียนการสอนที่ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล และขณะเดียวกันมีคำตอบด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดี

- การใช้รถโรงเรียน (School Bus) จะเป็นทางออกหรือไม่ หรือจะหันไปเน้นการมีโรงเรียนขนาดเล็ก เรียนใกล้บ้าน และเด็กๆ เดินทางไปเรียนได้ด้วยรถจักรยาน หรือเดินไปเรียน

ภาพ The Hubbert Curve จากกราฟดังในภาพ พลังงานเชื้อเพลิงประเภทน้ำม้นจะมีการใช้สูงสุดในราวปี ค.ศ. 2010-2015 แล้วหลังจากนั้น แหล่งพลังงานจะลดลงอย่างรวดเร็วไปสู่ระดับเพียงร้อยละ 20 ของช่วงสูงสุด

ทุกประเทศในโลกต้องคิดถึงวิธีการหาแหล่งพลังงานอื่นๆที่สามารถพัฒนาและใช้ได้อย่างต่อเนื่อง (Sustainable) ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการดำรงชีวิต

ภาพ กราฟแสดงแนวโน้มอุณหภูมิโลกที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปัจจุบันจนถึงปึ ค.ศ. 2100 หากไม่มีการควบคุมการเผาผลาญ Carbon แล้วปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศ


ภาพ โลกร้อน (Global Warming) สภาวะเรือนกระจก ที่โลกจะมีสภาพร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกจะละลายลงมามากขึ้น และทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นในระดับหลายเมตรในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการเปลี่ยนแนวโน้มด้านการใช้พลังงานที่มีคาร์บอนเป็นฐาน อย่างพลังงานปิโตรเลียม การเผาถ่านหิน และอื่นๆ

สังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural)

สิ่งที่ต้องคำนึ่งถึงเกี่ยวกับลักษณะประชากร (Demographic factors)

ตัวอย่างของประเทศใกล้บ้านดังประเทศจีน เวียดนามนั้น ส่วนหนึ่งมีความดึงดูดด้านประชากร คือ มีประชากรมาก ค่าแรงงานไม่สูง คุณภาพการศึกษาดี รัฐบาลลงทุนด้านการพัฒนากำลังคน

ตัวแปรทางด้านสังคมและวัฒนธรรม มีผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และตัวแปรอื่นๆ ก็จะมีผลต่อการพัฒนาทางด้านการศึกษา เป็นลักษณะที่มีผลกระทบต่อกัน

- ขนาดของประชากรและการกระจายตัว (population size and distribution )

- กลุ่มอายุของประชากร (age distribution )

- ระดับการศึกษา (education levels )

- ระดับรายได้ (income levels )

- ลักษณะชนผ่า หรือชนกลุ่มน้อย (ethnic origins )

- การนับถือศาสนา (religious affiliations )

ข้อสังเกต

ประเทศไทยกำลังมีปัญหาในช่วงปี ค.ศ. 2448-2550 เป็นต้นมาอย่างเห็นได้ชัดคือ ปัญหาความไม่สงบของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นหลัก ปัญหาเหล่านี้ทำให้นำไปสู่ปัญหาด้านอื่นๆที่จะตามมา หากไม่มีการแก้ไขให้ยุติได้โดยเร็ว ปัญหาที่ตามมา คือ

- การใช้ทร้พยากรของประเทศไปในการรบ และการรักษาความปลอดภัย ที่ไม่ส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาเช่นดังกล่าวจะเป็นปัญหาที่ประเทศสหรัฐประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจยุคสงครามเวียดนาม และยุคสงครามในอิรัก ที่ชายฉกรรจ์จำนวนหลายแสนคนถูกส่งไปรบ ทรัพยากรมหาศาลถูกนำไปใช้ในสงคราม แทนที่จะเป็นไปเพื่อการพัฒนาประเทศ

- การไม่ได้แก้ปัญหาใหญ่ของประเทศ ทำให้เกิดการค้างคาใจด้านการลงทุน ทั้งจากคนภายในประเทศ และจากแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศ และเมื่อไม่มีการลงทุนเพิ่ม ความสามารถแข่งขันด้านเศรษฐกิจก็ลดลง ความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของคนในประเทศก็ลดลง

ทัศนคติต่อสิ่งต่อไปนี้ (Attitudes towards)

- ค่านิยมต่อวัตถุนิยม (materialism) ทุนนิยม (capitalism) การค้าเสรี (free enterprise)

- ลักษณะเอกัตตบุคคล (individualism) บทบาทต่อครอบครัว (role of family) บทบาทต่อรัฐบาล (role of government) และแนวคิดการทำงานร่วมกัน อยู่ร่วมกัน (collectivism)

- บทบาทของศาสนา (role of church and religion)

- ค่านิยมต่อการบริโภค (consumerism ) เน้นการมีมากใช้มาก หรือว่าเป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

- ค่านิยมต่อสิ่งแวดล้อม (environmentalism )

- ค่านิยมต่อการทำงาน และความภาคภูมิใจต่อการทำงานและความสำเร็จในชีวิต (importance of work, pride of accomplishment)

ตัวอย่าง

ในปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันว่าโลกเข้าสู่ยุคความเป็นโลกาภิวัฒน์ การมีทักษะในการทำงานในโลกที่มีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น เราต้องการเยาวชนไทย คนรุ่นใหม่ที่สามารถยืนอยู่บนเวทีแข่งขันและความร่วมมือระหว่างประเทศได้ แต่สภาพการเรียนการสอนทางด้านภาษาต่างประเทศเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ในฐานะนักบริหารการศึกษา เราจะริเริ่มอย่างไร ที่จะทำประโยชน์ แก้ปัญหาจุดอ่อนทางด้านนี้ได้

โรงเรียนไทยขาดผู้รู้ด้านภาษาอังกฤษ ทำอย่างไร

- เปิดรับครูผู้สอนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักจากต่างประเทศ (Import)

- แสวงหาชาวต่างประเทศที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย (Locals)

- หาผู้สอนในต่างประเทศ สอนออนไลน์ (Online Learning with HR from abroad)

ลองศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการ

ปัญหาการแข่งขันด้านแรงงาน

ประเทศไทยจะต้องประสบปัญหาการแข่งขันด้านแรงงาน กิจการหลายๆ อย่างที่เคยดำเนินการมาได้ และนำสู่รายได้ของประชาชนที่ใช้แรงงาน แต่ในอนาคต การแข่งขันจะสูง และอาจตามการแข่งขันในโลกไม่ทัน

แรงงานจากจีน (Chinese Workers)

การตอบสนองต่อแนวโน้มเกี่ยวกับจีน

- แรงงานจีนจากกำลังคน 1300 ล้านคน

- รัฐสนับสนุนให้สินค้าส่งออกราคาถูก

- การสนับสนุนด้านที่พักอาศัย อาหารการกิน

- การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน GDP เฉลี่ยปีละ 8.0-10.0

- การเปิดการค้าเสรี

ประเทศไทยทำอย่างไร

ต่อต้านการค้าเสรี กีดกันการนำสินค้าเข้า (Restricted Imports)

- ควบคุมค่าแรงงานไม่ให้สูงขึ้น

- การปรับปรุงคุณภาพแรงงาน การศึกษาพื้นฐาน การศึกษาอาชีพ

- ปรับปรุง Logistics การลดต้นทุนการขนส่ง

- เรียนรู้ภาษาจีน ทำการค้ากับจีนรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

โครงสร้างทางวัฒนธรรม (cultural structures)

ด้วยโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป สังคมในอนาคตจะคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

- อาหารการกินและการควบคุม (diet and nutrition ) คนมีการศึกษาจะให้ความสำคัญด้านการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารอย่างครบหมวดหมู่ อาหารมีประโยชน์ และขณะเดียวกันคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ

- ความตระหนักเรื่องสุขภาพ (Health consciousnes) จะมีผลกระทบเข้ามาในระบบการศึกษา เช่น โรงเรียนต้องคำนึงถึง การพลศึกษา สันทนาการ และการออกกำลังกาย

ตัวอย่าง

หากในช่วง 2-5 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นมีกิจกรรมตามหน้าศูนย์การค้าทั้งในส่วนเมืองใหญ่ และเมืองทั่วไป ที่มีคนออกมานำและมาเต้น Aerobic Dance แต่ขณะเดียวกัน เด็กและเยาวชนไทยมีสภาพน้ำหนักเกิน (Obesity) อันเป็นผลมาจากการออกกำลังกายน้อย และการบริโภคของขบเคี้ยว และน้ำอัดลมที่มีปริมาณน้ำตาลสูง

มีการรณรงค์กันอย่างได้ผลให้เลิกเหล้า แต่ขณะเดียวกัน คนไทยก็ยังมีการบริโภคเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นในหมู่เยาวชน

มีการรณรงค์เลิกบุหรี่ แต่ขณะเดียวกัน บริษัทผู้ผลิตเหล้าและบุหรี่ทั้งในและต่างประเทศก็หันไปให้การสนับสนุนการถ่ายทอดกีฬาต่างๆ ผ่านทางโทรทัศน์ เป็นการโฆษณาทั้งทางตรง และทางอ้อม

การตอบสนอง

ทำอย่างไรจึงจะตอบสนองต่อค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ในโลก และในประเทศไทยด้านอาหารการกิน ความตระหนักในสุขภาพอนามัย

แนวคิดด้านชุมชนเมืองและชนบท

นอกจากการกินแล้วคือเรื่องของการอยู่อาศัย แนวคิดด้านการพัฒนาชุมชนเมือง และการออกแบบสำหรับเมืองในอนาคตจะมีลักษณะเปลี่ยนไป โดยเน้นไม่ว่าเมืองเล็กหรือเมืองใหญ่ ก็ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี คนมีรายได้เพียงพอ ค่าใช้จ่ายยังชีพต่ำ ดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ การเดินทางเพื่อการไปทำงานไม่มาก มีระบบการขนส่งมวลชนดี มีการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้านน้ำ อากาศ ตลอดจนป่าเขา และสิ่งแวดล้อมรอบเมืองที่ดี

ดี

ภาพ Mega City เมืองระดับเป็นล้านคน หรือ 10 ล้านคนขึ้นไป New York City (officially The City of New York) ประชากร 8.2 ล้านคน จัดเป็นเมืองใหญ่ มีบริเวณชุมชนหนาแน่นในบริเวณ Metropolitan Area จัดเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านการเมือง การศึกษา ศิลปะ บันเทิง

ภาพ เมืองขนาดเล็ก (Distributed Cities) – เมืองหลายๆเมืองใน 1 ประเทศ หรือเมืองใหญ่ๆ เป็นศูนย์กลาง ในยุโรปหลายประเทศ เมือง Berezhany (Ukrainian: ) ประชากร 20,000 คน เมืองเช่นนี้มีอยู่มากมายในยุโรป

ภาพ เมืองคุณภาพชีวิต แนวคิดชุมชนเมืองขนาดใหญ่ หรือว่าชุมชนเมืองขนาดย่อย เมือง Boise, เมืองหลวงของรัฐ Idaho ประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากร 185,787 คน (ในปี 2006) เป็นเมืองที่จัดได้ว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา

สภาพธรรมชาติอย่างที่เห็นยังมีอยู่โดยทั่วไปในภูมิภาครอบๆเมือง

ภาพ Wifi City เมืองมีบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย เมือง Philadelphia, รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้หันมาใช้นโยบายทำให้ทั้งเมืองมีบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย (Wifi city) เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนธุรกิจและประชากรมีคุณภาพเข้ามาสู่เมือง ซึ่งมีแนวโน้มประชากรลดลง

ภาพ Wifi Town Salamanca, Chile ประชากร 24311 คนประกาศตนเองเป็นเมืองขนาดเล็กแรกที่จัดทำเป็นเมืองมีบริการ Wifi ครอบคลุมเมือง ความจริงเมืองขนาดเล็ก หรือเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรไม่มากเกินไป และไม่เล็กเกินไป สามารถจัดทำบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงรองรับทั้งเมืองได้ไม่ยาก

เมืองไม่ว่าจะมีขนาดเล็ก หรือใหญ่ ไม่ว่าเป็นมหานคร หรือว่าหมู่บ้าน ล้วนมีวิธีการออกแบบที่ทำให้ดึงดูดผู้คนให้มาอยู่อาศัย และมาทำงานได้

เราอยู่อาศัยกันอย่างไร

เมื่อย้อนกลับมาดูในประเทศไทย เรามีการออกแบบเมืองและที่อยู่อาศัย ตลอดจนการอาชีพกันอย่างไร

- ชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โอกาสน้ำท่วมสูง เราจะมีการควบคุมและบริหารน้ำ (Water Management) กันอย่างไร

- เขื่อนศรีนครินทร์ในจังหวัดกาญจนบุรี โอกาสเขื่อนล้มเหลว พัง มีหรือไม่ ประชาชน ชุมชน ควรจะจัดการกับระบบที่อยู่อาศัยที่ไม่เสี่ยงต่อปัญหาเขื่อนแตก น้ำท่วมเฉียบพลันได้อย่างไร จะมีระบบเตือนภัย หรือเข้มงวดด้านที่พักอาศัยกันอย่างไร เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณดังกล่าว

- การทำไร่ส้ม ถางป่าธรรมชาติในภาคเหนือ ซึ่งเป็นเขตภูเขา ตามมาด้วยสารเคมี ยาฆ่าแมลง และพื้นที่ไม่สามารถเก็บน้ำได้ และโคลนถล่มในช่วงฤดูฝน จะแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์เป็นฝ่ายก่อให้ได้อย่างไร

การตอบสนอง

ปัญหาในสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ย่อมต้องมีแนวทางในการแก้ไข ดังเช่น

- การพัฒนาและออกแบบชุมชน (Community Development and Designs)

- การให้การศึกษา (Education)

- การบริหารทรัพยากรน้ำ (Water Management)

- การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (Environment Education)

เมืองขนาดเล็กยุคใหม่ (Micropolitan Areas)

ในโลกพัฒนา ไม่ได้มีเพียงเขตเมือง (Urban/Metropolitan Areas) และเขตชนบท (Rural Areas) แต่ยังมีทางเลือกของการพัฒนาเมืองในแบบ Micropolitan Areas คือเมืองขนาดกลางๆ ที่มีสภาพแวดล้อมที่ใช้ชีวิตเยี่ยงเมืองใหญ่ สะดวกสบายในการเดินทาง คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมที่ดี ค่าครองชีพต่ำแบบชนบทหรือเมืองเล็ก

ชีวิตในยุคใหม่ ผู้คนมีสิทธิที่จะอยู่และทางเลือกการใช้ชีวิตที่หลากหลาย ลองดูตัวอย่างจากสิ่งต่อไปนี้

ภาพ Eco House บ้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บ้านประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานความร้อนต่ำในยามหนาว และใช้ไฟฟ้าเพื่อการปรับอากาศยามหน้าร้อนน้อย เพื่อความอยู่สบาย แต่ไม่เป็นภาระด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ภาพ Living Learning Center - LLR ศูนย์เรียนรู้แบบพักอาศัยร่วมด้วย (Living Learning Center - LLR)ที่เห็นในภาพ จุนักศึกษาได้ 312 คนที่มาจากโครงการพิเศษ รวมทั้งนักศึกษาต่างชาติ กิจกรรมการเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ในอาคารเรียนนี้ ผู้ที่มาเรียนในหลักสูตรระยะสั้นหรือระยะยาว ต่างจะได้ใช้ชีวิตที่เน้นไปที่การเรียนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมการเรียนแบบใช้ชีวิตร่วมกัน

ภาพ ตัวอาคาร ที่กิจกรรมเกือบทุกอย่างอยู่ในอาคารเดียว

ภาพ ภายในห้องพัก อาจทำแบบประหยัดโดยมีเตียงนอนสองชั้นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หรือในยุคใหม่ที่ความต้องการของผู้เรียนอาจสูงขึ้น ก็มีสภาพคล้ายโรงแรมระดับกลางๆ มากกว่าจะเป็นหอพัก (Dormitory)

การลงทุน การศึกษา และการพัฒนา Infrastructure

การพัฒนาและแผนงานทางการศึกษา จะมีส่วนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการมีแผน และการลงทุนทางเศรษฐกิจของชุมชน

ฝ่ายที่จะลงทุนในชุมชนใดๆ จะคำนึ่งถึงสภาพแรงงาน ณ จุดนั้นๆ (Labour supply)

- ปริมาณ (quantity of labour available)

- คุณภาพ (quality of labour available)

- ความสม่ำเสมอ (stability of labour supply)

- ความคาดหวังด้านแรงงาน (wage expectations)

- การลากออก (employee turn-over rate)

- การนัดหยุดงาน (strikes and labour relations)

- สถานศึกษา การฝึกอบรม (educational facilities)

มีวัตถุดิบที่จะตอบสนองหรือไม่ (Material suppliers)

- คุณภาพ ปริมาณ ราคา และความสม่ำเสมอของวัตถุดิบ (quality, quantity, price, and stability of material inputs)

- ความล่าช้าของการขนส่ง (delivery delays )

- ระยะทางที่ต้องมีการขนส่งวัสดุขนาดใหญ่ (proximity of bulky or heavy material inputs )

- ระดับของการแข่งขันในการจัดส่งสินค้า และวัตถุดิบ (level of competition among suppliers )

- เรื่องของ Logistics

ตัวอย่าง

การเปลี่ยนแปลงด้านสนามบินนานาชาติ การเกิดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport) ในจังหวัดสมุทรปราการ และต้องปิดบริการการบินนานาชาติที่สนามบินนานาชาติดอนเมือง และมีบริการการบินภายในประเทศเพียงส่วนหนึ่ง ทำให้บริการด้าน Logistics ที่เคยมีหนาแน่นทางบริเวณตอนเหนือของกรุงเทพฯ ต้องเปลี่ยนไปสู่บริเวณทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ คือบริเวณบางส่วนของจังหวัดสมุทรปราการ

ความเจริญทางเศรษฐกิจทางฝั่งตะวันออกเพิ่มน้ำหนักขึ้น การท่องเที่ยวเมืองพัทยาเพิ่มขึ้น อสังหาริมทรัพย์ในชายฝั่งทะเลตะวันออกเพิ่มขึ้น ส่วนกิจการด้าน Logistics เช่นโกดังสินค้าที่ต้องปรับตัวเปลี่ยนไปสู่ด้านตะวันออกของเมือง ก็ต้องทำให้พื้นที่ใช้สอยต้องเปลี่ยนไป จากเป็นโกดัง ก็สามารถปรับเป็นโรงงานประกอบสินค้าได้

ผลกระทบทางการศึกษา คือ มีความต้องการเปิดโรงเรียนนานาชาติ (International Education) เพิ่มขึ้น ในบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ และบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard)

การศึกษาเอกชน (Private Education)

ตลาดเฉพาะ Niche Market - is a focused, targetable portion of a market.

Niche Market หรือตลาดเฉพาะขนาดเล็กๆ ที่มีการแทรกตัวเองได้ แม้จะมีตลาดขนาดใหญ่อื่นๆ

ยกตัวอย่าง

ร้านค้าประเภท Supermall ขนาดใหญ่ๆ ที่เปิดตัวเองในบริเวณชานเมืองและต่างจังหวัดอย่างกว้างขวาง สร้างผลกระทบต่อร้านค้าย่อยในเมือง ต้องได้รับผลกระทบ แต่กิจการ Supermall ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ได้ในทุกเรื่อง ยกตัวอย่างบริการที่ Supermall ไม่สามารถรับบริการได้ดี เช่น คลินิกทางการแพทย์ ทันตแพทย์ ที่ต้องอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ร้านค้าแก๊ส ที่ลูกค้าต้องการบริการขนส่งแก๊สไปถึงบ้าน ต้องแบกไปส่งไม่ว่าจะที่ไหนๆ ดังนี้ Supermall ไม่สามารถดำเนินการได้

ตัวอย่างทางการศึกษา

การศึกษาภาคเอกชนได้รับผลกระทบในระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษามาก และอาจมากยิ่งขึ้น หากนโยบายการศึกษาของภาครัฐไม่ได้คิดแผนงานร่วมไปกับการดูแลกิจการการศึกษาภาคเอกชน ดังนั้น ผู้ประกอบการด้านการศึกษาเอกชน ต้องคิดในลักษณะตลาดแบบ Niche Market คือตลาดขนาดเล็กที่ต้องมีการแทรกตัวและดำรงอยู่ได้ แม้ร่วมดำรงอยู่ท่ามกลางการศึกษาภาครัฐที่เป็นกิจการขนาดใหญ่

ในทางการศึกษาภาคเอกชนนั้นจัดเป็นตลาดขนาดเล็กที่ต้องแทรกตัว (Niche) ทำหน้าที่ในส่วนที่การศึกษาภาครัฐไม่สามารถทำได้ดี เช่น การจัดการอนุบาลศึกษา การศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษาเด็กพิเศษ การศึกษานานาชาติ

บางกิจการของการศึกษาภาคเอกชน สามารถรับเข้าไปดำเนินการในการศึกษาภาครัฐ เช่นรับเหมาการสอนในบางสายวิชาที่ครูอาจารย์ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้ดี เช่น สายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหลายสายวิชา รวมทั้งวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ และภาษานานาชาติอื่นๆ

การปรับตัวของการศึกษาเอกชน ทำอย่างไรจึงจะอยู่ได้อย่างแข็งแกร่ง และยืนยาว

กรณีตัวอย่าง

ตัวอย่างของ Niche Market ทางการศึกษา ทำอย่างไรจึงจะดำรงอยู่ได้ในสภาวะทางการศึกษาดังที่เป็นอยู่ เช่น

- โรงเรียนอำนวยศิลป์

- โรงเรียนกวดวิชา

- โรงเรียนนานาชาติ

- โรงเรียน 2 ภาษา

- โรงเรียน 3 ภาษา

โรงเรียนอำนวยศิลป์ที่เปลี่ยนไป (Amnuay Silpa School)

โรงเรียนอำนวยศิลป์ เคยเป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่ใช่เป็นโรงเรียนศาสนา ที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และประเทศไทย มีผู้เรียนในระดับหลายพันคน แต่ในระยะต่อมาได้รับผลกระทบจากการศึกษาภาครัฐจนต้องปรับนโยบายไปสู่ความเป็นโรงเรียนที่สอนและใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการเรียนการสอน แต่ไม่ใช่การศึกษานานาชาติแบบโรงเรียนนานาชาติที่เปิดบริการโดยทั่วไป ลองติดตามจากข้อมูลของโรงเรียน

ข้อมูลจาก Website ของโรงเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ

Our School is inspired by the past, while projecting steadily into the future

Amnuay Silpa School was founded in 1926. We settled at our present campus in 1952.

In the early years, Mr. Chitra Dansuputra was the co - founder and the owner of the school. He later set up a non - profit educational trust ."Amnuay Silpa Foundation" and donated the school to the foundation in 1960. Members of the board of the ANS foundation are respected and experienced educators from public and private sectors. The board still governs the school policy.

Admission is for boys and girls aged 3 - 5 years in kindergarten, 6-11 years in Prathom or Primary School, 12-14 years in Middle School and 15-17 years in Mathayom Senior School.

The bilingual education at ANS is for children whose first language is Thai and whose target language is English. A combined Thai / British Curriculum has been developed for this purpose.

Although lessons are conducted in both languages, the focus is on the Thai National Curriculum. At any stage, pupils have choices as to whether they want to further their education under the Thai or international system.

สู่ความเป็นนานาชาติมากขึ้น

Amnuay Silpa is not an International School

- Amnuay Silpa is a Thai bi-lingual school and this means that there are important differences between ourselves and other schools.

- Up to fifty percent of the pupils' timetable will be taught in English, including Maths , PE, Art P.S.H.E and Language Arts. The rest of the pupils' timetable is taught in Thai, by Thai teachers.

- We follow the British National curriculum for lessons taught in English and we work very closely with the National Literacy and Numeracy Strategies. However, our curriculum is still evolving and complements the Thai National Curriculum wherever practicable.

- Our aim is not to replace the pupils' first language Thai, but to ‘add' to the language competency of our pupils. We would like them to acquire academic and linguistic skills in both Thai and English.

ตัวอย่าง Jim Thomson กับอุตสาหกรรมไหมไทย

Jim Thomson กับธุรกิจไหมและสิ่งทอไทย

ประวัติของ Jim Thompson

(James H. W. Thompson, เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1906 ที่เมือง Greenville, มลรัฐ Delaware ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นนักธุรกิจอเมริกันที่ได้ช่วยวางอนาคตใหม่ให้กับไหมไทยในช่วงปี ค.ศ. 1950-1960s เขาได้รับการศึกษาที่โรงเรียน St. Paul's School และมหาวิทยาลัย Princeton University อันมีชื่อเสียง

ตลาดไหมไทย (Thai Silk) เป็นลักษณะเฉพาะ

ในโลกของตลาดผ้าไหม ในปี ค.ศ. 1996 มีการผลิตไหมออกมา 81,000 ตัน จีนจัดเป็นผู้ผลิตรายใหญ่สุด คือ 58,000 ตัน ตามด้วยอินเดียผล 13,000 ตัน ส่วนญี่ปุ่นผลิต 2500 ตัน สำหรับประเทศไทยไม่ได้มีการระบุถึงในเชิงขนาดของตลาด แต่ประเทศไทยนับว่าเป็นส่วนน้อยมาก แต่กระนั้นก็มีตลาดเฉพาะของไหมไทย ดังเช่นในกรณีของ บริษัท Jim Thompson ดังในปัจจุบัน อันเป็นผู้บุกเบิกด้านผ้าไหม การจัดการกระบวนการผลิต และการออกแบบที่เกี่ยวข้อง

บริษัทมีลูกค้าที่ผูกพันกับสินค้าของบริษัทไปทั่วโลก ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ

ลักษณะของ Jim Thomson

- ดำเนินการในตลาดเฉพาะ

- เข้าใจความต้องการของคนตะวันตก

- คงเอกลักษณ์ของไทย และคุณภาพเฉพาะ

- แตกต่างจากตลาดไหมจีน (Chinese Silk)

- ดำเนินไปร่วมด้วยกับตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษ

บริการที่ดีใกล้ชิดลูกค้า (Service Providers)

ในด้านยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการทำธุรกิจคือ การใกล้ชิดกับลูกค้า สร้างความมั่นใจในบริการที่ต้องแช่งชันได้ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ ราคา และความต่อเนื่องในการดำเนินการ และการให้บริการแก่ลูกค้า

- ปริมาณ (quantity) สินค้าและบริการมีเพียงพอที่จะตอบสนองต่อลูกค้า

- คุณภาพ (quality) เป็นที่เชื่อถือได้ และสม่ำเสมอ

- ราคา (price) แข่งขันกันได้กับตลาดของสินค้าและบริการในลักษณะใกล้เคียงกันหรือไม่

- ความมั่นคงของผู้ให้บริการ (stability of service facilitators)

วิธีการศึกษาสิ่งแวดล้อม (special requirements )

ในการศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอก (macroenvironmental) อาจมีตัวแปรหลายด้านที่อาจเป็นเรื่องของการคุกคาม (threats) หรืออาจเป็นโอกาส (opportunities) ในการศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกนี้ ต้องมีการให้ค่าคะแนน (Rating) ซึ่งแบ่งออกเป็นสองด้าน ด้านหนึ่งคือ ความมีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ดังนั้นขึ้นได้ (Likeliness of occurrence) และอีกด้านหนึ่งคือความรุนแรงหรือความสำคัญของผลกระทบทั้งในด้านบวกหรือด้านลบ

การตอบสนอง (Responses)

เมื่อมีความไม่ปกติเกิดขึ้นในตลาด จะมี 6 แนวทางในการตอบสนองต่อสภาพการดังกล่าว

  1. การตอบสนองต่อคู่แข่ง (opposition strategy) การเข้าไปจัดการกับสภาพแวดล้อมทำให้ไม่มีผลกระทบต่อองค์การ วิธีนี้จะได้ผลต่อเมื่อเรามีผลต่อการควบคุมสภาพแวดล้อมนั้นในระดับใดระดับหนึ่ง

- ในตลาดสุราและเครื่องดิ่มแอลกอฮอล เมื่อมีคู่แข่งใหม่เข้ามาในตลาดที่องค์การคุมกิจการค้าได้เป็นส่วนมาก ก็ใช้วิธีการขายเบียร์พ่วงขายเหล้า

  1. การปรับตัว (adaptation strategy) ปรับตัวให้เข้ากับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถเข้าไปจัดการกับสภาพแวดล้อมภายนอกได้ ต้องคิดปรับองค์การของตนเองเป็นหลัก เช่น

- การปรับแผนการตลาด (Marketing Plan)

- ปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่นมีการกีดกันด้วยกฎหมายของประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ ก็ใช้วิธีการย้ายกระบวนการผลิตหรือประกอบไปสู่การผลิตในประเทศนั้นๆ ทดแทน เพราะจะได้สิทธิพิเศษจากการลงทุนในประเทศดังกล่าว

  1. การรุก (offensive strategy) การรุกเข้าไปจัดการกับวิกฤตินั้น และจัดการให้เป็นไปในทางบวก ทำให้ได้มีสถานการณ์แข่งขันที่ได้เปรียบ เมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน

- เมื่อคู่แข่งมีการผลิตและบริการในแบบดั่งเดิม ก็ใช้วิธีการปรับกระบวนการผลิตที่ทำให้ต้นทุนลดลง ปรับกระบวนการขนส่งใหม่ ทำให้ลดต้นทุนในการต้องมี Inventory ของสินค้าสำรองไว้จำนวนมากๆ

  1. การโอนย้ายคน (redeployment strategy) ปรับธุรกิจโยกย้ายคนและทรัพยากรไปสู่ส่วนอื่นๆ เมื่อธุรกิจนั้นไม่มีอนาคตพอที่จะทำให้ต้องเข้าไปเสี่ยงแข่งขันกันต่อไป เช่น

- ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า ค่าแรงงานที่สูงขึ้นในประเทศไทย ประกอบกับมีประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ ดังเช่นจีน อินเดีย ปากีสถาน และอื่นๆ ที่มีค่าแรงงานที่ถูกกว่า ประเทศเหล่านั้นก็หันมาแข่งรับงานผลิต ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอทั้งหลายให้ผลตอบแทนที่ลดลง ไม่ดึงดูดคนมาทำงาน กิจการไม่มีกำไร หรือเริ่มขาดทุน ดังนี้ต้องคิดหาทางโยกย้ายกิจการ หันไปลงทุนในประเทศอื่นๆ และคนที่เคยทำงานในกิจการดังกล่าว ก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ที่มีโอกาสที่ดีกว่า

  1. การปรับเฉพาะกิจ (contingency strategies) การปรับตัวแบบเฉพาะกิจ แสวงหาทางเลือกไว้หลายๆแนวทาง เพื่อเป็นทางเลือกทดแทน

- ตลาดบางอย่างอาจมีปัญหาการคุกคามเฉพาะกิจ แต่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม หรือไม่ก็จะมีผลกระทบต่อกิจการนั้นๆ เช่นในช่วงวิกฤติการณ์ ตึก Word Trade Centers ในกรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐถูกถล่มในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 กิจการบินพาณิชย์ของสหรัฐได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทางเลือกหนึ่งในหลายๆทางคือการขอเงินยืมและเงินกู้สนับสนุนพิเศษจากรัฐบาลกลาง หลายประเทศที่สายการบินประสบปัญหา ก็ใช้วิธีการเฉพาะกิจที่จะต้องปรับตัวไปตามนั้น

  1. การเฉื่อย (passive strategy) ไม่ทำอะไร ศึกษาสถานการณ์ต่อไป อาจมีช่องทางที่ดีขึ้น เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป และอาจกลับมาเป็นประโยชน์ต่อกิจการเราได้ เช่น

- ในธุรกิจสวนยางในสมัยหนึ่ง ค่าแรงงานแพงขึ้น ตลาดยางพาราได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันปิโตรเลียมที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคายางตกต่ำ ชาวสวนยางไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก บางประเทศ เช่น มาเลเซียได้ปรับสวนยางไปสู่ สวนปาล์มน้ำมัน แต่ในระยะต่อมา เมื่อวงจรน้ำมันกลับมามีราคาสูงขึ้น ราคายางก็ได้รับผลจากอุปสงค์ของน้ำมันที่ลดลง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์ ลดลงราคายางพาราก็เพิ่มขึ้นอีกวาระหนึ่ง

สรุป

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ

- การรู้หลักการในการวิเคราะห์ เข้าใจศัพท์ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง (Terminology) ตามที่จำเป็นและสำคัญเป็นอย่างน้อย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมบางอย่าง ต้องการคนที่มีความรู้ ต้องมีการใช้ศัพท์ หรือกรอบความเข้าใจบางอย่างที่เราไม่มีความคุ้นเคย แต่ก็ต้องเรียนรู้

- การเข้าใจในมิติแห่งการเวลา (Time Dimension) ความเข้าใจในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของสรรพสิ่งเป็นเรื่องสำคัญ บางคนไม่มีวิธีการคิดอย่างที่มองเห็นอนาคต คนบางคนมองเห็นแต่ในปัจจุบัน ให้คิดและทำอะไรอย่างมองการณ์ไกลไม่ได้ มองไม่เห็น แต่ในอีกด้านหนึ่ง คนบางคนได้ไปเห็นในสภาพการบางอย่าง แต่ไม่เข้าใจในสภาพสังคมที่เป็นจริงในอดีตและปัจจุบันองประเทศหรือองค์การของตนเอง จึงทำให้คิดเป็นแบบฝรั่ง และดำเนินการอย่างไม่เข้าใจ ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้

- การเปิดใจที่จะศึกษา การต้องมีความอดทนทางปัญญา (Intellectual Tolerance) ต้องพยายามทำความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อน หาความรู้และข้อมูล ไปร่วมรับฟังความคิดเห็นของคนที่ศึกษามาด้วยวิทยาการด้านต่างๆ นอกเหนือจากสายวิชาการของตนเอง

- การได้สัมผัสกับกลุ่มลูกค้าหลัก ฝ่าย Suppliers หลักการก็คือการให้ใกล้ชิดกับลูกค้า ข้อมูลในการดำเนินการ ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่ง คือการได้ใกล้ชิดกับลูกค้า หรือคนที่จะเป็นลูกค้าในอนาคต

- การทำงานอย่างสหวิทยาการ (Interdisciplinary Approach) ทำงานร่วมกันกับคนหลายๆฝ่าย มองหลายๆแง่มุม ก่อให้เกิดมิติการมองอย่างรอบด้าน

- การมีความเร่งด่วน (Urgency) เข้าใจและเห็นความสำคัญในการต้องเปลี่ยนแปลง เป็นตัวเร่งที่ทำให้คนต้องให้ความสนใจในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมากขึ้น ไม่ติดอยู่กับสภาพความชะล่าใจ (Complacency)

1 comment:

  1. กังหันลมผลิตไฟฟ้า สำหรับความเร็วลมต่ำของประเทศไทย ของบริษัท
    m3m ที่ www.m3mthailand.com นี้เป็นยังไงบ้างครับ

    ReplyDelete