Monday, February 2, 2015

การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำนา - ดร. วสัญชัย กากแก้ว

การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำนา - ดร. วสัญชัย กากแก้ว

Keywords: การเกษตร, agriculture, การทำนา, rice farming, อีสานใต้, Lower Northeastern region, Thailand, เศรษฐศาสตร์, economics, เศรษฐกิจการเกษตร, agro-economics

สัมภาษณ์และบันทึกผ่านระบบออนไลน์ กับ ดร. วสัญชัย กากแก้ว (Facebook: Vasan Kakkeaw) โดยใช้การสื่อสารผ่าน Facebook โดย ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)

Pracob Cooparat คำถามเบื้องต้นที่จะขอข้อมูล คือ 
- โดยเฉลี่ยเกษตรกรไทยมีที่นาของตนเองประมาณกี่ไร่?
- สำหรับชาวนาข้าว ผลผลิตต่อไร่ของไทยคือประมาณเท่าใด และในอีสานมีผลผลิตต่อไร่เท่าใด?...See More
Description: https://fbcdn-profile-a.akamaihd.net/hprofile-ak-xfp1/v/t1.0-1/c0.0.40.40/p40x40/1011378_512404735543469_2045280924_n.jpg?oh=e332945faff5c75b8adca52f2c3d5b00&oe=5561D784&__gda__=1431952414_f385fea477383f9c63c86ecc0f8f844c
Pracob Cooparat - การปลูกมันสำปะหลัง ได้กิโลกรัมละ 2.20-2.50 บาท แต่ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าการปลูกข้าว และทุนที่จะใช้ก็ต่ำกว่า ผมตั้งคำถาม เพราะเห็นว่าชาวนาจริงๆไม่ได้ปลูกข้าวอย่างเดียว เขาปลูกมันสำปะหลัง ต้นยูคาลิปตัส ข้าวโพด ยางพารา ฯลฯ ดังในกรณีที่ดินในอีสานส่วนที่เป็นเชิงเขา มีความชื้นตลอดปี

การปลูกข้าว จึงไม่ใช่รายได้อย่างเดียวของเกษตรกร
Description: Pracob Cooparat's photo.

Description: https://fbcdn-profile-a.akamaihd.net/hprofile-ak-xfa1/v/t1.0-1/p40x40/10455108_750903114995746_8840136344572796415_n.jpg?oh=3e2b30aa955130ca50dda9c55d30c2f6&oe=5522B87F&__gda__=1433346351_27a41df5a1a684b4701a2346cfcd0216
Kong Yaso · Friends with Vasan Kakkeaw
เยี่ยมๆๆๆเพื่อนเรา..สุดยอด
Description: https://fbcdn-profile-a.akamaihd.net/hprofile-ak-xpf1/v/t1.0-1/c0.0.40.40/p40x40/1381191_557819624266603_1267399491_n.jpg?oh=dd7137b943c03464f391e0259661dfb2&oe=555BEFBE&__gda__=1431402193_c44c818816179fee6879ee8514b96859

ขนาดของที่ดินของชาวนา

Vasan Kakkeaw ชาวนาส่วนที่เป็นเจ้าของที่นา จะมีที่นาเฉลี่ยครัวเรือนละ ประมาณ 10-15 ไร่ ชาวนาที่จะสามารถทำนาเป็นอาชีพได้ น่าจะต้องมีที่ดิน 30-40 ไร่ขึ้นไป เพราะผลประโยชน์ รายได้มักจะต้องผูกกับขนาดของพื้นที่

ผลิตผลต่อไร่

เฉลี่ยในภาคอีสาน ทำนาได้ 300-350 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจุบันชาวนาขายข้าวแบบคนมาเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องจักร เขารับหน้าที่นำข้าวที่แม้ยังมีความชื้นสูงไปขายยังโรงสี และคิดเหมาหักค่าขนส่งไปด้วย เมื่อขายข้าวได้ อีกส่วนที่จะถูกหัก คือความชื้น (Humidity) ซึ่งอาจถูกหักไปสูงถึงร้อยละ 30 แต่อีกส่วนหนึ่ง ชาวนามียุ้งฉางที่จะเก็บข้าวไว้บริโภคเอง ซึ่งข้าวในส่วนนี้ใช้ระบบสีข้าวขนาดเล็ก การตากข้าวที่มีความชื้นสูงให้มีความชื้นลดลงในระดับที่เก็บไว้ได้นานโดยไม่เสียคุณภาพ

การทำนาปัจจุบัน นิยมใช้แบบหว่าน รอน้ำฝน ปริมาณความอุดมสมบรูณ์ ของแต่ละปีมาจากการเสี่ยงทาย โดยดูจากคางไก่ ตอนเซ่นศาลปู่ต่า หากคางไก่อ้วน ตรง และสมบูรณ์ก็มั่นใจว่า ปีนี้ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ 

ทำนาไปเพื่ออะไร?

คนอีสานทำนาเพื่อการยังชีพ โดยไม่ได้ยึดหลักทางวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ไม่มีขาดทุน มีแต่กำไร เพราะ เป็นความสุข คือ ได้ผลผลิต ได้นำข้าวให้บุตรหลานได้กิน ดังจะเห็นได้จากช่วงที่มีการเก็บเกี่ยว มีลูกหลานมาเยี่ยมบ้าน ขากลับไปทำงานในกรุงเทพฯ หรือเขตอุตสาหกรรม ก็จะแบกถุงปุ๋ยที่เป็นข้าวสารสีแล้วจากที่บ้านกลับไป ดังที่สุรินทร์ ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งถือเป็นข้าวเกรดหนึ่งของประเทศ

การทำนาไม่มีขาดทุน เพราะในแต่ละขั้นตอนที่จะทำนา พ่อแก่แม่แก่หรือชาวนาสูงอายุที่เป็นคนทำนา อาศัยเงินที่ลูกหลานที่ทำงานอยู่ในเมืองใหญ่ หรือระบบอุตสาหกรรมส่งมาให้ การไถนาที่ทำทุกปี ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ เพราะแม้เป็นรถไถเดินตาม หรือ “ความเหล็ก” แบบเดิมแม้จะยังมีเครื่องจักรอยู่ แต่เมื่อผู้ทำนาอายุมากขึ้น ก็ไม่มีแรงจะไปไถเองแล้ว ได้แต่จ้างคนอื่นมาไถ แล้วจ่ายค่าจ้างตามคิดเป็นต่อไร่

วิธีการทำนา

ในปัจจุบัน ชาวนาทำการปลูกข้าวด้วยการหว่าน แทนที่จะเป็นการปักดำดังในสมัยก่อน เพราะต้องประหยัดแรงงาน แต่ถ้าหว่านแล้วในบางที่ไม่มีข้าวงอกเป็นต้น ก็ต้องไปปักดำเสริม หากมีแรงสามารถกระทำได้ ซึ่งจะได้ผลที่ดีเต็มเม็ดเต็มหน่วยเพิ่มขึ้น

ทัศนะของ ดร. วสัญชัย กากแก้ว - ระหว่างที่ทำนา มีเวลาว่างมาก จริงๆแล้วมีเวลาที่จะใช้ทำอย่างอื่นๆได้อีกมาก

ทัศนะของ ประกอบ คุปรัตน์ - หากมีการสร้างงานที่คนสูงวัยพอทำได้ เช่น อาหารแปลงรูป การทอผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้า ฯลฯ หรืองานอื่นๆที่สามารถสร้างสรรค์ได้

ระหว่างที่ข้าวเติบโต ก็ต้องมีการใส่ปุ๋ย ซึ่งก็ต้องมีค่าใช้จ่าย แต่คนทำนาที่มีลูกหลานสนับสนุนอยู่ ก็มักจะอาศัยเงินสนับสนุนจากบรรดาลูกหลาย ซึ่งอาจหว่านปุ๋ยเอง หรือใช้แรงงานจ้าง ก็แล้วแต่อายุขัยของชาวนา และเงินที่จะมาสนับสนุน

รายได้จากการทำนาจริงๆ เคยมีการทดลองทำนาแบบร่วมกันลงทุนไปเช่าที่นาขนาด 35-60 ไร่ แล้วทำแบบใช้การจ้าง และการลงทุนทุกอย่างมีการบันทึกค่าใช้จ่ายไว้ ซึ่งรวมถึงค่าเช่าที่นาไร่ละ 1000 บาท/ปี ค่าไถนา ค่าพันธุ์ข้าว ค่าปุ๋ย ค่าเก็บเกี่ยว ค่าขนส่ง ผลปรากฏว่าเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว มีรายได้เหลือไร่ละ 75 บาท/ไร่

นาคือชีวิต เพราะนอกจากข้าว คือ ปลา ปู หอย กุ้ง ผัก ผลพลอยได้จากนาที่จริงแล้ว

นา - สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้อีกมาก เช่น การเลี้ยงปลา หรือหาปลาตามธรรมชาติ การปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ พวกเป็ด ไก่ หรือแม้กระทั่งหมู ซึ่งสามารถทำเป็นอาหารเสริม และรายได้เสริม หรือการรวมตัวทำอุตสาหกรรมย่อย สร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิก


No comments:

Post a Comment