Friday, May 1, 2009

หน่วยที่ 8. เลือกใช้ยานพาหนะที่ประหยัด

หน่วยที่ 8. เลือกใช้ยานพาหนะที่ประหยัด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw310, พลังงาน, energy, energy, conservation

เลือกใช้ยานพาหนะที่ประหยัด

โดยทั่วไป รถยนต์สามารถวิ่งได้และประหยัดน้ำมันสูงสุดที่ความเร็วประมาณ 55 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 88-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถประหยัดน้ำมันได้ประมาณร้อยละ 15
การเลือกใช้ยานพาหนะขนาดเล็กและไม่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงหรือใช้ให้น้อยที่สุด ทางเลือกของยานพาหนะส่วนตัว ที่ดูจะแปลกออกไปจากสังคมที่เป็นอยู่ปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้

การใช้รถจักรยาน (Bicycles)

เมื่อมีการต้องใช้รถจักรยาน ก็ต้องมีทางวิ่งเฉพาะสำหรับรถจักรยาน (Bike Lanes) เพื่อลดความเสี่ยงจากรถขนาดใหญ่ที่วิ่งด้วยความเร็วสูง

รถจักรยานไฟฟ้า (Electric Bicycle)

การใช้จักรยานที่ใช้พลังไฟฟ้า ร่วมกับพลังคนถีบ

การใช้รถจักรยานยนต์ (Moped)

รถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กทั่วไป (Underbone)
ประหยัดน้ำมัน วิ่งได้ด้วยความเร็วต่ำ และใช้พลังถีบจากคนเสริมได้ด้วย

รถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก (Underbones)

อาจมีชื่อเรียกว่า Underbone Motorcycles เป็นรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นลักษณะครึ่งทางของ Scooter และ motorcycles เป็นรถที่มีมากและขายดีในประเทศทางแถบเอเชียตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ดังเช่น จีน ไทย มาเลเซีย เวียตนาม ใช้เครื่องยนต์ขนาด 90-125 CC มีราคาไม่แพง มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันสูง

รถ Scooter

รถจักรยานยนต์สองล้อ ล้อเล็กหนา เหมาะแก่การใช้ขับไปจ่ายตลาด มีกำลังในการวิ่งไต่เขาได้ดี เหมาะกับการขับขี่ในเมือง ไม่เหมาะแก่การขับขี่ในบนถนนหลวง หรือวิ่งระยะไกล
(Vespa, รถจากอิตาลี ได้รับความนิยมทั่วโลก)

รถจักรยายยนต์ประหยัดพลังงาน

รถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ออกแบบมาให้ใช้ความเร็วได้และประหยัดพลังงาน

การใช้รถยนต์ประหยัด (Eco car)

การใช้รถยนต์ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ประหยัดพลังงาน มีที่นั่งเพียง 1-2 คน มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 1000 CC ในประเทศญี่ปุ่น เหมาะแก่แม่บ้านขับไปจ่ายตลาด และในอนาคต คือการใช้พลังงานจากไฟฟ้าเป็นหลัก หรือเป็นลูกประสม

รถโดยสารในเดนมาร์ก

การใช้รถโดยสารประจำทาง แทนที่จะขับรถส่วนตัว หากในทุกเมืองขนาด 100000 คนขึ้นไป ดังเช่นเมืองพัทยา เชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา เหล่านี้เป็นต้น ได้หันมาพัฒนาระบบรถโดยสารประจำเมือง ก็จะเป็นการประหยัดและลดความจำเป็นที่ประชาชนจะต้องมีหรือซื้อรถส่วนตัวลงไป

No comments:

Post a Comment