Wednesday, October 22, 2014

เอาผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองและกฎหมาย มาปราบอีโบลา (Ebola Virus)

เอาผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองและกฎหมาย มาปราบอีโบลา ...

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สุขภาพ, health, healthcare, โรคติดต่อ, epidemic, อีโบลา, Ebola, Ebola virus disease – EVD, ภาวะผู้นำ, leadership, การจัดการ, management, การบริหาร, โรนัลด์ เอ เคลน, Ronald A. "Ron" Klain, บารัค โอบามา, Barack Obama


ภาพ การระบาดของไข้หวัดนกในช่วงปีค.ศ. 1918 มีผู้ป่วย 500 ล้านคนทั่วโลก มีผู้เสียชีวิต 50-100 ล้านคน นับเป็นโรคระบาดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์โรค ซึ่งเรียกลักษณะโรคระบาดในลักษณะนี้ว่า Pandemic คือการระบาดไปทั้งโลก


ภาพ การระบาดของไวรัสอีโบลา (Ebola Virus) ที่ได้เข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้ว หากไม่มีการจัดการในเชิงยุทธศาสตร์ที่ดีและต้องมองประเด็นนี้ไปอย่างครอบคลุมทั่วโลก ชาวโลกจะคิดอย่างเอาตัวรอดเฉพาะตนหรือประเทศไม่ได้แล้ว


ภาพ การระบาดของไวรัสอีโบลาที่ขณะนี้มีจุดศูนย์กลางอยู่ในอัฟริกาตะวันตก ดังในประเทศกีนี เซียรา เลโอน ไลบีเรีย และมีพบผู้ป่วยประปรายในทวีอเมริกาเหนือและยุโรป


ภาพ นายโรนัลด์ เอ เคลน (Ronald A. "Ron" Klain)  ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ทำหน้าที่เป็น Ebola Response Coordinator ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งน่าจะต้องเป็นการทำงานที่ครอบคลุมไปกับความร่วมมือของนานาชาติ

จอมยุทธสู้อีโบลา

คราวนี้มาศึกษาเรื่องไวรัสอีโบลา (Ebola Virus) แต่มองในเชิงมิติความเป็นผู้นำและการจัดการ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐอเมริกา แต่งตั้งนายโรนัลด์ เอ เคลน (Ronald A. "Ron" Klain) เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการสู้กับภัยโรคระบาดมหาภัยอีโบลา (Virus Ebola) ซึ่งเขาเรียกตำแหน่งเฉพาะกิจนี้ว่า Ebola Response Coordinator ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า Ebolar Tsar นายเคลนมีประสบการณ์การเมืองอย่างสูง เคยเป็นหัวหน้าคณะทำงานของทั้งรองประธานาธิบดีอัล กอร์ และโจเซฟ ไบเดน จบการศึกษาจาก Georgetown University และปริญญาทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นระดับบัณฑิตศึกษาเทียบปริญญาเอก และเขาเป็นนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม

แต่เขาได้รับเสียงคัดค้านว่าไม่เหมาะสมโดยเฉพาะจากนักการเมืองและสื่อสายอนุรักษ์ โดยมองว่าเขาไม่มีความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขมา

ลองมาดูภูมิหลังของ นายโรนัลด์ เอ เคลน (Ronald A. "Ron" Klain) เขาเกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1961 ซึ่งเทียบเป็นอายุ ณ วันนี้ 53 ปี ซึ่งถือว่าเป็นคนหนุ่มทางการเมือง แต่โดยวุฒิภาวะน่าจะทำงานอะไรได้อย่างกว้างขวางแล้ว เขาเกิดที่เมืองอินเดียนาโปลิส รัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกา บิดามารดาเป็นชาวยิว ในปี ค.ศ. 1979 เคลนจบการศึกษาขั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนมัธยมท้องถิ่นของรัฐ ชื่อ North Central High School และเคยอยู่ในทีมแข่งขันทางปัญญา (Brain Game team) ได้ตำแหน่งเกือบชนะเลิศ ในปี ค.ศ. 1983 เขาจบปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (Summa cum laude) จากมหาวิทยาลัย Georgetown University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของเอกชนขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี อันเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางบริหารประเทศของสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาปริญญาตรี 7,000 คน บัณฑิตศึกษา 10,000 คน มหาวิทยาลัยเป็นของเอกชนแบบไม่แสวงกำไร สนับสนุนโดยคริสตศาสนานิกายคาธอลิค

ในปี ค.ศ. 1987 เคลนจบการศึกษาวิชาชีพกฎหมายขั้นสูงจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Law School) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 สถาบันด้านกฎหมายที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีศิษย์เก่าเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงของประเทศเป็นอันมาก ซึ่งรวมถึง ประธานาธิบดีบิล คลินตัน และบารัค โอบามา

เลือกคนไปเป็นผู้นำต่อสู้กับไวรัสอีโบลา (Virus Ebola)

ในหลักการบริหารนั้น การจะทำอะไรให้สำเร็จ เขามีหลักอยู่ว่า “Put the right man to the right place.” การจะดูว่าคนๆนั้นเป็นผู้นำ (Leaders) ที่ดีหรือไม่ ก็ให้ดูวิธีการเลือกคนเข้าสู่ตำแหน่งว่าเขามีจุดมุ่งหมาย และวิธีการอย่างไร กระทำการอย่างคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งหรือไม่?

กุลธร เบิ้ม > (Facebook, 2014) เลือกคนทำงานมีหลายเหตุหลายวิธี

1.    เลือกคนที่มีความรู้โดยตรงกับเรื่องนั้นๆ
2.    เลือกคนที่สามารถจักการ ทำความเข้าใจกับผู้ร่วมงาน จัดการเรื่องงบประมาณ และทำให้งานนั้นสำเร็จไปได้โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ
3.    เลือกคนที่ตัว(ผู้นำ)ต้องการเลือกเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือผลประโยชน์ของผู้ถูกเลือกให้ทำงานชิ้นนั้น
4.    เหตุผลอื่น เช่น ใว้ใจเพราะเป็นญาติกัน ทดแทนบุญคุณกัน หรือให้ทำงานที่ไม่มีทางสำเร็จเพื่อกำจัดคนนั้น และ ฯลฯ 

ไม่รู้ Obama เลือกข้อไหน แต่ไม่ใช่ข้อแรกแน่

เหตุผลในการเลือก

ทำไมเลือก โรนัลด์ เอ เคลน (Ronald A. "Ron" Klain) เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการสู้กับภัยโรคระบาดมหาภัยอีโบลา (Virus Ebola)

ประกอบ คุปรัตน์ > ผู้นำอย่างบารัค โอบามา (Barack Obama, US. president) ของสหรัฐอเมริกา แองเจลา เมอร์เคล (Angela Merkel, Chancellor of Germany) ของเยอรมัน หรือเดวิด คาเมรอน ของสหราชอาณาจักร (David Cameron, UK Prime Minister) ฉลาดพอที่จะรู้ว่า การดูแลโรคระบาดไวรัสอีโบลานั้นไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยประละเลย หรือมาเล่นพรรคเล่นพวกวางฐานอำนาจเป็นเกมส์การเมืองกัน เพราะมันระบาดขณะนี้ในอัฟริกาตะวันตก เพราะจริงๆแล้วมันมีโอกาสระบาดหนักไปทั่วโลก และหนีไม่พ้นประเทศตัวเอง และผลกระทบมีทั้งชีวิต และระบบเศรษฐกิจและสังคมโลก

ผมเห็นว่าบารัคโอบามา (Barack Obama) เขาเลือกในแนวข้อ (2) คิอ “เลือกคนที่สามารถจักการ ทำความเข้าใจกับผู้ร่วมงาน จัดการเรื่องงบประมาณ และทำให้งานนั้นสำเร็จไปได้โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆและผมไม่ติดใจที่ว่าคนที่เขาเลือกมานั้น ไม่ใช่แพทย์ หรือนักการสาธารณสุข หรือผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา (Epidemiologist) เขาต้องเลือกคนที่สามารถทำให้งานนี้สำเร็จ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายประเทศทั่วโลก หากอเมริกันคิดจะป้องกันโรคระบาดไม่ให้เข้ามาในประเทศตนเอง แบบคนอื่นๆ ประเทศอื่นๆจะทุกข์ยากอย่างไรก็ไม่สนใจ ดังนี้คงจะไม่ฉลาดเอามากๆ

โปรดติดตามต่อไป

ไวรัสอีโบลาเป็นเรื่องร้ายแรงจริง มีศักยภาพที่จะสร้างความเสียหายให้แก่โลกได้อย่างกว้างขวาง มีความเฉียบพลันกว่าโรคเอดส์ แต่คล้ายกันคืออัตราเสี่ยงเสียชีวิตมีสูง และที่สำคัญต้นตออยู่ในทวีปอัฟริกา ที่ชาติตะวันตกมักเข้าไปไม่ถึง


ต้องรอดูกันต่อไปครับว่าโลกนี้จะมีการจัดการกับโรคระบาดร้ายแรงนี้อย่างไร ขอถือโอกาสนี้ใช้เป็นบทเรียนว่าด้วย “ความเป็นผู้นำและการจัดการ” (Leadership and Management) ไปด้วยในตัวนะครับ

No comments:

Post a Comment