ประวัติสุขภาพ - ประกอบ คุปรัตน์; Pracob
Cooparat
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Website: http://pracob.blogspot.com
Facebook: Pracob Cooparat
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Website: http://pracob.blogspot.com
Facebook: Pracob Cooparat
เรียนท่านผู้อ่าน – ด้วยมีเพื่อนใน Facebook
และคนรู้จักที่อยากทราบรายละเอียดการดูแลสุขภาพของผมอันเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
(Diabetes) ซึ่งผมไม่ปิดบัง และเห็นว่าเป็นประโยชน์ที่จะเปิดเผยและได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน
ผมมีเพื่อนร่วมวัย ซีงเรียกว่าคนยุค Babyboomers คือคนในวัย 60-70
ปีที่ป่วยเป็นเบาหวาน
และไม่ได้ดูแลรักษาตนเองอย่างเคร่งครัดและถูกต้อง เพื่อนกว่าครึ่งหนึ่งที่ป่วยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ก็เพราะมีโรคเบาหวานและไม่รู้จักการดูแลอย่างถูกต้อง
อนึ่ง การดูแลผู้ป่วยเป็นเบาหวานนั้น
ควรให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ แต่เนื่องจากการไปพบแพทย์ทุก 2-3 เดือนนั้นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะผู้ป่วยต้องดูแลตนเองด้าน (1) การกินยาตามแพทย์สั่ง (2) การควบคุมเรื่องอาหารการกิน
ต้องงดหรือลดอาหารบางอย่าง และต้องเพิ่มอาหารบางอย่าง และ (3) การออกกำลังกาย และสิ่งเหล่านี้ต้องทำจนเป็นนิสัย
ผมหวังว่าข้อมูลส่วนตัวที่เปิดเผยได้นี้
จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน โดยเฉพาะผู้ป่วยและผู้เสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน
ตลอดจนบุคคลใกล้ชิด ที่จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วย
ซึงอาจขาดความสามารถในการดูแลตนเอง
ประกอบ คุปรัตน์ – 25 เมษายน
2558
----------------
ข้อมูลส่วนตัว
เกิด - ปี ค.ศ. 1946 (69 ปี)
ส่วนสูง – 183 ซม.
น้ำหนักตัว – เมื่ออายุได้ 18-22 ปี ขณะเรียนอยู่ในระดับปริญญาตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนัก 75 กก.; เมื่อ 25 ปี
ขณะศึกษาต่อต่างประเทศ หนัก 85 กก; น้ำหนักตัวสูงสุดช่วงอายุ
45-55 ปี ที่ 114 กก.
ก่อนป่วยเป็นเบาหวานประเภท 2 (Type II Diabetes); ช่วง 4-5
ปีที่ผ่านมา 102.0 กก.; ลดลงต่ำกว่า
100.0 กก. ในช่วง 2-3 เดือนมานี้;
ปัจจุบัน 98.0 กก. และดูมีแนวโน้มจะลดลงต่อไป
การศึกษา – ปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกา
ประสบการณ์ต่างประเทศ 7-10 ปี ศึกษาเรื่องสุขภาพด้วยตนเองเป็นประจำ
และเคยทำงานด้านเผยแพร่ด้านสุขภาพให้กับกระทรวงสาธารณสุข
ในวัยเด็ก – ป่วยเป็นโรคหอบหืด
ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง มักมีอาการรุนแรงในช่วงฤดูหนาว
ในวัยรุ่น/หนุ่ม – สนใจออกกำลังกาย
ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่ออยู่มหาวิทยาลัย เป็นนักกีฬารักบี้ของมหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
พบเป็นเบาหวาน – ค.ศ. 2002 เมื่อน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงถึง 250 mg/dl และต้องเริ่มต้นดูแลรักษาตนเอง
ประวัติการรักษาพยาบาล –
ภาพ การตรวจเลือดในผูป่วยเบาหวาน แม้แต่กับเด็กๆ ก็สามารถฝึกให้ดูแลตนเองได้
ภาพ กิจกรรมทั่วไปของการตรวจน้ำตาลในเลือดของผูป่วยเบาหวาน ซึ่งต้องทำเป็นระยะ
ตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลเอกชน ปีละครั้ง และติดตามโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง และคอเรสเตอรอลในเลือดสูง ทุก 6 เดือน
ปัจจุบัน – เปลี่ยนมาเป็นคนไข้ประจำที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
ซึ่งใกล้บ้าน เป็นการใช้สิทธิสวัสดิการราชการ พบแพทย์เฉลี่ย 3 เดือนครั้ง
ตรวจเลือดด้วยตนเองที่บ้าน
เพื่อหาค่าน้ำตาลในเลือด (Blood Sugar Monitoring System)
เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ช่วงเช้าก่อนรับประทานอาหาร)
แต่หากพบว่ามีน้ำตาลสูงอาจตรวจถี่กว่านี้ และอาจตรวจเช้า-บ่าย
อาหาร – กินเนื้อ นม ไข่ เป็นกิจวัตร; กินถั่วต้มเพิ่มขึ้น ดังเช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วดำ
(แบบปนไปกับข้าวหรืออื่นๆ ไม่ใส่น้ำตาล) เพื่อทดแทนโปรตีนและเพิ่มเยื่อใย
และลดคาร์โบไฮเดรต; กินอาหารวันละ 3 มื้อ;
การใช้ยา (Medication)
เดิมเคยใช้ – Amyaryl 1 mg – เปลี่ยนเป็น Amaryl M 2mg/500 mg กินวันละครึ่งเม็ด
ปัจจุบัน –
ยาควบคุมเบาหวาน – Metfomin (MSD) 500 mg
วันละ 2 เม็ด; Januvia (MSD) 1 เม็ด
ยาควบคุมคอเลสเตรอล – Zocor 20 mg.
ยาควบคุมความดัน – Cozaar (MSD) 50 mg.
หมายเหตุ - การสั่งยาเป็นเรื่องของแพทย์ ใครจะใช้ยาอะะไร ควรให้ไปพบแพทย์ อยารักษาตัวเอง ซื้อยากินเอง
ทัศนะของผม – ผมได้รับยาควบคุมเบาหวานมากกว่าที่ผมรู้สึกต้องการ
แต่ผมปฏิบัติตามแพทย์ในช่วงแรกๆนี้อย่างจริงจัง
แต่เมื่อสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดให้เป็นที่น่าพอใจแล้ว จะเจรจาขอลดปริมาณยาลง
และใช้การควบคุมด้วยอาหาร (Diet) และการออกกำลังกายเป็นหลัก
การออกกำลังกาย – เคยเข้า Fitness Center
มา 2 ปี แต่เบื่อในกิจวัตรนี้
จึงเปลี่ยนเป็นขี่จักรยานไปตามตรอกซอยในชุมชนระแวกบ้าน ปัจจุบันขึ่เฉลี่ยวันละ 15
กม. 5 วัน/สัปดาห์
No comments:
Post a Comment