Keywords: cw092, flood, water management, การจัดการน้ำ, flood, น้ำท่วม, reservoir, แก้มลิง, คณะกรรมการน้ำ, การอนุรักษ์ป่า, การเกษตรที่ลุ่ม, Tonle Sap, Cambodia, fish farm, การเลี้ยงปลา
ภาพ บีเฟ่อร์ (Beavers) ที่มีอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ มีนิสัยชอบสร้างเขื่อนเพื่อกักกันน้ำไว้เพื่อพืชที่จะมีกิน และเพื่อใช้เป็นที่สร้างบ้านที่มีความปลอดภัย สัตว์ที่มีลักษณะสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก
ภาพ เขื่อนที่บีเฟ่อร์สร้างขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำ และบีเฟ่อร์ก็้จะใช้จับปลาเพื่อยังชีพ
ภาพ กองกิ่งไม้ที่บีเฟ่อร์สร้างไว้เป็นรังสำหรับหลบซ่อนอยู่ด้านใต้ เพื่อให้ปลอดภัยจากสัตว์ใหญ่อย่างหมี หมาป่า
บีเฟ่อร์ หรือบีเวอร์ (Beavers) เป็นสัตว์ที่มีธรรมชาติชอบกัดต้นไม้และกิ่งไม้มาทำเขื่อนกักเก็บน้ำ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือและยุโรป
บีเฟ่อร์นี้ทำงานอย่างตั้งใจ เพราะมันได้ประโยชน์จากพืชที่เกิดในน้ำ แล้วมันได้กินเป็นอาหาร มันทำที่พัก (lodges) ที่เป็นแพลอยน้ำ และทำเป็นโพรงใต้แพเป็นที่พักอาศัยหลบสัตว์กินเนื้อพวกหมาป่า หมี หรือสัตว์ใหญ่กินเนื้ออื่นๆ
มนุษย์บีเฟ่อร์ในความหมายของผม มีสองนัย
มนุษย์รักษาป่าต้นน้ำ
ความหมายแรก มนุษย์บีเฟ่อร์ คือทั้งชายและหญิงที่มีความรักน้ำ เขาสร้างเขื่อนขนาดเล็กไปตามภูเขาแหล่งต้นน้ำในภาคเหนือและบริเวณป่าต้นน้ำของทั่วประเทศ สามารถทำให้เกิดเขื่อนขนาดเล็ก พร้อมทั้งดูแลและได้รับผลประโยชน์จากเขื่อนขนาดเล็กเหล่านี้ที่ต้องไปสร้างในเขตป่าเขา แต่ขณะเดียวกัน แทนที่เขาจะเป็นพวกตัดไม้ทำลายป่า เขากลับเป็นพวกเก็บของป่า หากินมีชีวิตอยู่ได้กับป่าต้นน้ำ สามารถมีชีวิตที่มีความสุข หากินในป่าได้ แต่ต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาเขื่อนในป่าต้นน้ำเหล่านั้น
ในสภาพที่เป็นจริง รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการสร้างเขื่อนและฝายขนาดเล็กในป่าต้นน้ำ แต่ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้มีคนมารายงานว่าได้สร้างเขื่อนต้นน้ำแล้ว จำนวนเท่านั้นเท่านี้ แล้วเบิกเงินไป แต่ไม่เกิดเขื่อนจริง และที่ไปทำเขื่อนจริง ก็เป็นการทำอย่างขอไปที ไม่ได้ทำอย่างมีคุณภาพ หากจะทำเรื่องนี้ รัฐบาลต้องเปลี่ยนจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐบาลส่วนกลาง ไปเป็นโครงการที่ทำร่วมกับองค์กรและกลุ่มที่เขาต้องมีผลประโยชน์ร่วมกับการมีป่าต้นน้ำที่มีคุณภาพ ดังเช่น
ชาวเมืองในบริเวณจังหวัดภาคเหนือ (Urban dwellers) ในจังหวัดนั้นๆ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากน้ำป่าไหลหลากอย่างเฉียบพลัน ดินโคลนถล่ม ที่ได้เกิดมากขึ้นและรุนแรงหนักขึ้น ชาวเมืองเหนือต้องร่วมกันกลับมาสร้างป่า พัฒนาป่าต้นน้ำ จำลองป่าที่สามารถเก็บรักษา หน่วงน้ำไว้กับป่าให้ได้มาก และนานที่สุด ให้กลับไปเป็นเหมือนธรรมชาติดั่งเดิม ชาวเมืองในที่นี้มีทั้งที่อยู่ในตัวเมืองของจังหวัด และในอำเภอ ตำบลต่างๆ
คนที่เขาต้องการที่ทำกิน อาจเป็นชาวเขา (Hill tribes) หรือชาวที่ราบ ที่มีโจทย์ใหม่ ให้อยู่ในป่าได้ เป็นป่าแบบชุมชน เขาอยู่ในป่าได้ แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีหน้าที่ทำงานแทนรัฐและชุมชนในการรักษาป่าเป็นหลัก ดำรงชีวิตอยู่ได้กับการมีป่าที่สมบูรณ์ เขาจะได้รับค่าตอบแทนและแรงจูงใจที่สมประโยชน์กับการดูแลป่าเขา
มนุษย์ชอบเลี้ยงปลา
มนุษย์บีเฟ่อร์พวกที่สอง อยู่ในที่ราบทั่วประเทศที่รัฐบาลต้องจัดสรรปฏิรูปที่ดินใหม่ เพื่อให้ป้องกันน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน ลดปัญหาน้ำท่วมเมืองที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
มีคนส่วนหนึ่งที่คุ้นเคยกับการอยู่กับน้ำ ชอบการทำบ่อปลา ฟาร์มปลา มีชีวิต มีความสุขกับเศรษฐกิจการเลี้ยงปลาและจับสัตว์น้ำเป็นหลัก และสามารถทำงานอันเกิดจากบ่อปลาอื่นๆ เพื่อดำรงชีวิต เช่นการปลูกพืชน้ำ
ประเทศไทยมีพื้นที่ทั่วประเทศ 513,120 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นอันดับที่ 51 ของโลก แต่มีพื้นที่น้ำที่อยู่ในแผ่นดินเพียงร้อยละ 0.4 หรือ 2,230 ตารางกิโลเมตร ซึ่งนับว่ายังน้อย เราควรเพิ่มพื้นที่เก็บรักษาน้ำจืดไว้เป็นบ่อ อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาป แล้วสร้างประโยชน์แบบอเนกประสงค์ร่วมไปด้วยได้ เพิ่มพื้นที่เก็บน้ำจืดให้ได้อีกเป็น 5-10 เท่า หรือประมาณ 23,000 ตารางกิโลเมตร จะทำให้มีที่ทำกินเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
มนุษย์บีเฟ่อร์พวกที่สองนื้ คือคนที่จะร่วมสร้าง และใช้ประโยชน์จากทางน้ำหลาก ระบบกักเก็บน้ำ หรือแก้มลิง (Reservoirs) ที่จะเป็นความยืดหยุ่นในการบริหารน้ำสำหรับทั้งประเทศ ลดและหน่วงน้ำ กักเก็บน้ำ เมื่อน้ำมามาก ก็จะกักเก็บแล้วค่อยทยอยปล่อยมาใช้ หรือใช้เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
หากการเก็บน้ำให้ได้นานถึง 4-6 เดือนนี้ ก็จะเพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่โตเร็วหลายชนิด ทำให้มีผลผลิตต่อไร่ไม่น้อยไปกว่าปลูกข้าว เฉพาะในภาคกลางในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและอื่นๆ มีทั้งหมดถึง 21 จังหวัด ทุกแห่งสามารถทำเขื่อนและฝายขนาดเล็ก และการทำแก้มลิงที่เป็น “นาปลา” การปลูกพืชผักในน้ำ และรวมถึงการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือ Eco resorts ไปด้วยได้
ภาพ ท้องนาที่หากมีน้ำท่วมขังบ่อยครั้งในทุกๆสิบปี ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชยืนต้น หรือปลูกข้าว ก็สามารถนำมาทำเป็นฟาร์มปลา เลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด
ภาพ เมื่อทำเป็นทุ่งน้ำหลาก เมื่อมีน้ำมามาก ก็ปล่อยให้น้ำหลากไหลผ่านไป และเมื่อเริ่มเก็บน้ำได้ ก็จะใช้ในการเลี้ยงปลา ซึ่งใช้เวลาเก็บน้ำได้สัก 3-6 เดือนก็เลี้ยงปลาเพื่อขายได้แล้ว
ภาพ ยามเมื่อกักเก็บน้ำได้เต็มที่ก็กลายเป็นบ่อปลาขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นแก้มลิง หรือ Reservoir ลดแรงกระทบจากน้ำท่วมในเขตเมือง
ภาพ บ่อปลาแบบทั่วไปที่มีคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่น้อยไปกว่าไร่นาทั่วไป และอาจมากกว่าด้วยเหตุที่ปลาเป็นอาหารโปรตีนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยมีคลอเรสเตอโรลต่ำ ดีต่อสุขภาพผู้สูงอายุ
ภาพ ยามเมื่อจะวิดบ่อ จับปลาเพื่อไปขายในตลาด การมีแอ่งน้ำที่ลึกโดยรอบ จะทำให้ปลาไม่บอบช้ำ และแอ่งเหล่านี้ยังใช้เป็นที่เพาะเลี้ยงลูกปลา เพื่อรอยามน้ำยังไม่หลากมา
ภาพ ปลาสลิด ขนาด 8-12 ตัวต่อกิโลกรัม สามารถทำเป็นปลาสลิดแห้ง เป็นที่นิยมในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ภาพ อาหารปลาในบริเวณที่มีการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพ ก็กลายเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เกิดธุรกิจร้านอาหาร Eco resorts และอื่นๆที่ตามมาได้อีกมาก
การทำบ่อปลา
ในการทำบ่อปลาในสมัยใหม่ สามารถใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่หรือกลางมาช่วยในการทำคันบ่อปลา
ภาพ รถแทรกเตอร์ที่ใช้เพื่อการทำคันดินหรือถนนในบริเวณแก้มลิง (Reservoir) สามารถใช้ปีนป่ายทำคันถนนหรือเขื่อนกันน้ำได้ดี
ภาพ ในกรณีทำคูน้ำโดยรอบ สามารถใช้เครื่องจักรกลหนักในการขุดดิน เรียกว่า Backhoe ใช้ในการขุดดินทำคูคลอง หากเป็นในสมัยก่อนต้องใช้แรงงานคน ซึ่งทำได้อย่างจำกัด หากใช้เครื่องจักรกลหนักทำถนน ก็สามารถทำถนนหรือเขื่อนกันน้ำที่เก็บน้ำได้ในระดับลึก 3-4 เมตร ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำได้ดีกว่าเดิมมาก
ภาพ Gibson Reservoir, Montana
Tonle Sap ในกัมพูชา
ภาพ แผนที่แสดงขนาดทะเลสาปใหญ่ Tonle Sap ที่ยืดหยุ่นขยายใหญ่เก็บน้ำได้มากเป็น 5-10 เท่ายามน้ำหลาก การมีน้ำท่วมไม่ใช่ภัยพิบัติ แต่เป็นโอกาสในกาสในการทำมาหากินไปด้วย เพราะทะเลสาปใหญ่นี้เป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญของประเทศ
ภาพ บ้านลอยน้ำ (Floating houses) ในทะเลสาป Tonle Sap ไม่มีน้ำท่วมบ้าน เพราะบ้านจะลอยสูงขึ้นไปตามระดับน้ำหลาก
ภาพ ปลาขนาดใหญ่ตามธรรมชาติ ที่จับได้ใน Tonle Sap ในประเทศกัมพูชา
ภาพ Tonle Sap หรือ The Great Lake ในประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ผิวน้ำในเวลาปกติ 2,700 ตารางกิโลเมตร และเมื่อน้ำขึ้นสูงสุดจะสูง 16,000 ตารางกิโลเมตรในช่วงฤดูมรสุม เป็นแหล่งผลิตปลาอาหารโปรตีนหลักของประเทศกัมพูชา
สำหรับรายละเอียดในส่วนนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอไว้ใน “ความฝันของผม ชุมชนคนสู้น้ำ”
http://pracob.blogspot.com/2010/11/blog-post.html ซึ่งได้เขียนไว้เมื่อน้ำท่วมปี พ.ศ. 2553 และจะพัฒนาบทความต่อไปเรื่อยๆ หากมีพัฒนาการในลักษณะดังกล่าวที่ไหน โปรดแจ้งให้ทราบด้วยจะขอบพระคุณอย่างสูง
http://pracob.blogspot.com/2010/11/blog-post.html ซึ่งได้เขียนไว้เมื่อน้ำท่วมปี พ.ศ. 2553 และจะพัฒนาบทความต่อไปเรื่อยๆ หากมีพัฒนาการในลักษณะดังกล่าวที่ไหน โปรดแจ้งให้ทราบด้วยจะขอบพระคุณอย่างสูง
No comments:
Post a Comment