ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: cw092, flood, น้ำท่วม, water management, การจัดการน้ำ, reservoir, แก้มลิง, คณะกรรมการน้ำ, การอนุรักษ์ป่า, การเกษตรที่ลุ่ม
ความนำ
ในเดือนกันยายน - ตุลาคม พ.ศ. 2554 มีน้ำท่วมใหญ่ในที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แบบตลอดเส้นทางสายน้ำ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ตามสายน้ำ ลงมาจนถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ผมเองก็มีความกังวลและไม่สบายใจไม่ต่างจากคนไทยทั้งหลาย และยิ่งอึดอัดหนักไปอีกกับธรรมชาติของคนไทยที่ลืมง่าย เพราะสภาพปัญหาของ “น้ำ” คือ น้ำท่วม 4 เดือน สลับกับน้ำแล้ง 8 เดือน และปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งก็กลับรุนแรงยิ่งขึ้น จากน้ำท่วมทุก 10 ปี เป็นท่วมปีเว้นปี และท่วมทุกปี
ผมจึงใช้พลังงานในการจัดแปลบทความโดยอาศัยเนื้อหาผ่านทาง Wikipedia เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ “การจัดการน้ำ” (Water Management) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ผมขอเป็นจุดเริ่มต้น แล้วหวังให้เด็กๆของเรา เริ่มตั้งแต่มัธยมศึกษา ได้ศึกษาสภาพความเป็นไปของบ้านเมือง ได้เรียนรู้ปัญหาที่มีมาในโลก และวิธีการที่เขาแก้ปัญหา แล้วมาร่วมกันช่วยคิดช่วยทำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำของประเทศไทยต่อไป
ภูมิศาสตร์ประเทศ
ลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
ประชากร (Population) ของประเทศเนเธอร์แลนด์ สำรวจในปี ค.ศ. 2011 มีประชากร 16,702,800 คน จัดว่าเป็นใหญ่เป็นอันดับที่ 61 ของโลก เปรียบเทียบแล้วมีประชากรใกล้เคียงกับประเทศกัมพูชาเพื่อนบ้านของไทย เนเธอร์แลนด์มีความหนาแน่นของประชากร (Density) ที่ 402.2 คน/ตร.กิโลเมตร จัดว่าหนาแน่นมากเป็นอันดับที่ 30 ของโลก
ประเทศเนเธอร์แลนด์ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบต่ำ ร้อยละ 25 ของพื้นที่อยู่ระดับต่ำกว่าน้ำทะเล และร้อยละ 21 ของประชากรอาศัยอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำทะเล และร้อยละ 50 ของพื้นที่อยู่ระดับสูงกว่าน้ำทะเลไม่เกิน 1 เมตร ด้วยลักษณะของประเทศดังนี้ ในยุโรป จึงเรียกชื่อประเทศนี้ว่า “ประเทศที่อยู่ต่ำ” หรือ The Low Country (e.g. German: Niederlande, French: Les Pays-Bas and Spanish: Países Bajos) พื้นที่ๆมีอยู่ของประเทศในปัจจุบันเกิดจากการพัฒนาที่ดินเข้าไปในทะเล (land reclamation) และการดูแลรักษาระบบโดยมีการดูแลที่ลุ่ม (Polders) และกำแพง/เขื่อนกั้นน้ำ (Dikes) ที่ดินเป็นอันมากของประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นบริเวณปากอ่าว (Estuary) ของแม่น้ำสำคัญ 3 สายของยุโรป ทำให้เกิดสันดอนสามเหลี่ยมที่เรียกว่า Rhine-Meuse-Scheldt delta บริเวณส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบลุ่ม โดยมีเชิงเขาเตี้ยๆไม่มากนักทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ และในบริเวณตอนกลาง
การควบคุมน้ำท่วม
Flood control in the Netherlands
ประเทศเนเธอร์แลนด์ดำรงอยู่ได้ด้วยการจัดการน้ำและควบคุมน้ำ เพราะพื้นที่สองในสามของประเทศเสี่ยงต่อการมีน้ำท่วม (Flooding) และในขณะเดียวกัน ประเทศนี้ก็มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศดำรงอยู่ได้ด้วยการอาศัยแนวสันทราย (Natural sand dunes) และผนังกั้นน้ำ (Dikes) เขื่อน (Dams) และประตูควบคุมน้ำท่วม (Floodgates) เพื่อป้องกันคลื่นสูงจากทะเล ขณะเดียวกันบริเวณแม่น้ำที่ไหลผ่านประเทศ ก็ต้องมีผนังกั้นน้ำไม่ให้น้ำจากแม่น้ำ Rhine และ Meuseไหลเข้ามาในแผ่นดิน นอกจากนี้ประเทศยังมีระบบคูคลองและการสูบน้ำออกโดยผ่านสถานีสูบน้ำ ในอดีตใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังลม (windmills) เพื่อทำให้พื้นที่ของประเทศสามารถทำการเพาะปลูกได้ และเพราะความซับซ้อนของการจัดการน้ำทั้งประเทศเช่นนี้ จึงต้องมีคณะกรรมการน้ำ (Water control boards) ซึ่งจัดเป็นหน่วยงานรัฐบาลที่เป็นอิสระทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น เพื่อรับผิดชอบต่อระบบดูแลรักษาและจัดการน้ำของประเทศนี้ ระบบการเมืองปกติเป็นการชิงอำนาจและมักมีความขัดแย้งตามมา อาจมีความชะงักงันในบางครั้ง แต่การจัดการน้ำต้องมีความต่อเนื่อง มีความขัดแย้งก็ต้องหาทางแก้ปัญหานั้นๆใหได้โดยเร็ว
ในสภาพที่เป็นไปของยุคปัจจุบัน ความเสี่ยงจากอุทกภัย ทำให้ประเทศต้องมีการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมอันเป็นงานสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงของพายุคลื่นแรงจากทะเล (Storm surge) และป้องกันภัยจากน้ำท่วม
การควบคุมน้ำท่วมจากแม่น้ำ
Control of river floods
ในบทนี้ ผู้เขียนหวังว่าจะมีผู้ไปศึกษาประวัติศาสตร์การจัดการน้ำในประเทศเนเธอร์แลนด์ แล้วช่วยเขียนอย่างละเอียดพร้อม ทำหนังสือภาพออนไลน์ เพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อจะได้เรียนรู้ และหาทางจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเข้าใจธรรมชาติของน้ำ ดังที่ได้มีประวัติศาสตร์และพัฒนาการมาแล้วในประเทศเนเธอร์แลนด์ |
ประเทศเนเธอร์แลนด์มีแม่น้ำสำคัญ 3 สายของยุโรปไหลผ่าน คือ Rhine, Meuse และ Scheldt จากทางตะวันออกไปยังด้านตะวันตก
การก่อสร้างที่สำคัญในการจัดการกับแม่น้ำครั้งแรก เริ่มในสมัยอาณาจักรโรมันในยุค Nero Claudius Drusus โดยมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ Rhine โดยผันน้ำจากกิ่งสาขาของ Waal ไปยัง Nederrijn และต่อเชื่อมกับแม่น้ำ Ijssel ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเพียงลำธารเล็กๆที่ไหลไปยังแม่น้ำ Rhine ส่วนวัตถุประสงค์จะเพื่อการควบคุมน้ำท่วม หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารและการลำเลียงสัมภาระนั้นไม่ทราบแน่ชัด
แนวผนังกั้นน้ำในบริเวณปากแม่น้ำ เริ่มในศตวรรษที่ 11 เพื่อลดความเสี่ยงจากพายุคลื่นจากทะเลบวกกับน้ำจากแม่น้ำ ผู้ปกครองแผ่นดินในระยะนั้นจึงสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเข้ามาในแผ่นดินของตน (Graaf van Holland, +-1160, Kromme Rijn; Floris V, 1285, Hollandse IJssel) ซึ่งกลับทำให้คนอาศัยอยู่เหนือน้ำขึ้นไปเกิดปัญหา ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่ากันขนานใหญ่ ในบริเวณเหนือน้ำขึ้นไป ทำให้ต้องมีการปกป้องแผ่นดินด้วยการสร้างเขื่อนกั้นหนักขึ้นไปอีก ระดับน้ำในแม่น้ำก็ยิ่งกลับสูงขึ้นไปอีก จึงต้องมีการออกกฎหมายห้ามสร้างเขื่อน เพราะก่อนมีเขื่อน น้ำท่วมเป็นเพียงความยุ่งยากน่ารำคาญ แต่เมื่อมีเขื่อนแล้วเขื่อนแตก กลับเป็นหายนะที่รุนแรงยิ่งกว่า
ภาพ Nederrijn ในปี ค.ศ. 1995 ภาพ ผนังกั้นน้ำจากแม่น้ำ ที่เป็นแนวแคบๆไปตามแม่น้ำ โดยมีฟาร์อยู่ทางขวามือ
ในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 ได้เกิดอุทกภัยจากแม่น้ำ (River floods) ทำให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก มันเกิดน้ำในแม่น้ำแข็งตัว และกั้นน้ำในแม่น้ำ แต่เมื่อน้ำแข็งแตก ก็จะมีน้ำทะลักทำลายบ้านเมืองและการเกษตร การเข้าไปสร้างเขื่อนกั้นทะเลเพื่อเคลมแผ่นดินยิ่งมากออกไป ปัญหาน้ำท่วมจากภายในประเทศก็ยิ่งหนักยิ่งขึ้น
ในระยะต่อมามีการสร้างผนังกั้นน้ำในระดับต่ำเพื่อจัดการกับสายน้ำของแม่น้ำมากขั้น เพื่อทำให้น้ำในแม่น้ำไหลไปปลายน้ำ มีการรักษาร่องน้ำไม่ให้ตื้นเขิน ซึ่งเขาเรียกลักษณะดังกล่าวว่า “แม่น้ำเขียว” (Green river) พื้นที่ๆจัดการน้ำได้ ก็ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ซึ่งยังถือว่าเป็นการใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่า ในระยะต่อมาจึงมีการสร้างผนังกั้นน้ำอย่างแข็งแรง เพื่อควบคุมการใช้น้ำให้ได้มากขึ้นไปตลอดสายแม่น้ำ และการจะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ จึงมีการสร้าง คลองเป็นระบบจัดการน้ำ ดังเช่น Pannerdens Kanaal และ Nieuwe Merwede
คลอง Pannerden
คลอง Pannerden (Pannerdens Kanaal) เป็นคลองที่คนขุด (Canal) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่พัฒนาในปี ค.ศ. 1701-1709 โดยตัดความคดเคี้ยวของแม่น้ำ Rhine และทำให้แม่น้ำมีประสิทธิภาพการระบายน้ำ และการสัญจรได้มากขึ้น
ภาพ คลอง Pannerden (Pannerdens Kanaal)
คลอง Nieuwe Merwede หรือ New Merwede เป็นคลองที่สร้างขึ้นปี ค.ศ. 1870 เพื่อให้เป็นกิ่งสาขาของแม่น้ำในบริเวณ Rhine-Meuse delta เป็นการขุดในแนวโค้ง (trajectories) ไปในแนวของ Biesbosch creeks เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม โดยผันน้ำไปจาก Beneden Merwede และเพื่อช่วยการเดินทางทางเรือของแม่น้ำ ที่มีตะกอนตกหนาในบริเวณสันดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
ล่าสุดในปี ค.ศ. 1977 ได้มีรายงานเกี่ยวกับจุดอ่อนของผนังกั้นน้ำในแม่น้ำ แต่ได้รับการต่อต้านจากประชาชนในท้องที่ ที่แนวปฏิรูปใหม่จะต้องทำลายบ้านเรือนบางส่วน เพื่อทำให้สายน้ำไหลตรงมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1993 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1995 ที่เกิดน้ำท่วมหนักซ้อนๆ ทำให้ต้องอพยพคนจำนวนมากถึง 200,000 คน เพื่อสร้างแนวผนังกั้นน้ำใหม่ และจากการปรับปรุงนี้น้ำท่วมจากแม่น้ำจะลดความเสี่ยงจากระดับน้ำท่วมทุก 100 ปี ไปเป็นทุก 1,250 ปี
No comments:
Post a Comment