เศรษฐกิจของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia,
the free encyclopedia
Keywords: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์, nuclear
power plant, HSR, รถไฟความเร็วสูง, high speed train,
High Speed Rail Association - USHSR, รถไฟ, การขนส่ง, transportation, คมนาคม, พลังงาน, energy, alternative energy, โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์,
ภาพ โรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์บรูซ (Bruce
Nuclear Generating Station) นับเป็นโรงงานนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์บรูซ ในประเทศคานาดา นับเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ Kashiwazaki-Kariwa ในประเทศญี่ปุ่นที่ใหญ่กว่านี้ แต่ใช้ได้จริงที่ร้อยละ 48 เนื่องจากแผ่นดินไหว และฝ่ายควบคุมอนุญาตให้ดำเนินการได้อย่างจำกัด
โรงงานที่ Bruce ในประเทศแคนาดา มีเตาปฏิกรณ์ 8 ตัว แบบ CANDU Nuclear Reactors มีกำลังผลิต 6,272 MW
และ 7,276 MW เมื่อดำเนินการอย่างเต็มที่
ความนำ
โลกยุคใหม่พึ่งพลังงานจากไฟฟ้า
แต่หากพลังงานไฟฟ้าต้องอาศัยการเผาปิโตรเลียมหรือถ่านหิน
ก็จะไม่เป็นการลดปัญหามลพิษในอากาศและปัญหาโลกร้อน (Global warming) พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ไม่ต้องอาศัยการเผาคาร์บอน
น้ำมันปิโตรเลียม และถ่านหิน ไม่เกี่ยวว่าสถานที่หรือภูมิประเทศนั้นๆมีลมหรือไม่มีลม
มีพลังน้ำหรือไม่มีพลังน้ำ ตลอดจนโลกยังมีแหล่งแร่ที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อีกมาก
การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้ามีความประหยัดมากหรือน้อยกว่าระบบผลิตไฟฟ้าอื่นๆ?
เศรษฐกิจการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า
นับยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะต้องมีการลงทุนกันด้วยเงินหลายพันล้านเหรียญ
หากจะสร้างสักแห่งหนึ่งในประเทศไทย คงต้องใช้เงินประมาณ 50,000 ล้านบาท โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์มีค่าก่อสร้างสูง แต่มีค่าพลังงานต่ำ
แต่ก็ต้องคิดถึงค่าสกัดสารกัมมันตภาพรังสี (Fuel extraction) ค่ากระบวนการผลิต (Processing) ค่าจัดเก็บสารกัมมันตภาพรังสี
(Fuel storage) ซึ่งจะต้องให้มีความปลอดภัยสูงสุด
เพราะค่าก่อสร้างยังสูงอยู่
ซึ่งจะหักลบกับค่าพลังงานที่ถูกกว่า และเมื่อประเทศโลกพัฒนาแล้ว
ได้หันไปคิดภาษีค่าใช้คาร์บอนสูงขึ้น แต่สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นที่ 3
ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น และสามารถลดการใช้พลังงานไปได้อีกร้อยละ 17
ค่าการใช้พลังงานนิวเคลียร์จะต่ำลงโดยเปรียบเทียบ
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ยังมีปัญหาด้านการจัดเก็บและทำลายทิ้งขยะนิวเคลียร์
ขยะจากสารกัมมตภาพรังสี ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
และมีเรื่องความปลอดภัยมาเกี่ยวข้อง แต่ปัญหานี้จะหมดไปในวิทยาการใหม่
นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรกำลังออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในรุ่นที่
4 (4th Generation Nuclear Reactors) ที่สามารนำกากนิวเคลียร์ที่เหลือทิ้ง
ให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างหมดจรด ไม่ต้องมีปัญหาการจัดเก็บขยะอันตรายอีกต่อไป
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นที่ 4 เขาบอกว่าจะใช้พลังงานนิวเคลียร์ได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม 10,000-30,000% หรือดีกว่าเดิม 100 ถึง 300 เท่า
เพราะจะขจัดสารกัมมันตภาพรังสีให้หมดจรดไปเลย
จากปัญหาอุบัติเหตุดังที่เกิดขึ้น ณ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูจิมะ (Fukushima I) หมายเลข 1 ในช่วงเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวและสินามิขนาดยักษ์ ทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการจัดการพลังงานให้มีความปลอดภัย
แต่อย่างไรก็ตามการออกแบบโรงไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ดังเช่น Construction AP1000 โดยใช้ Passive nuclear safety cooling systems ซึ่งไม่เหมือนกับที่ใช้ใน Fukushima I ที่เป็นระบบ Active
cooling systems ปัญหาที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายแบบซ้ำซ้อนเพื่อความปลอดภัยนี้ได้หมดไป
ภาพ การนำน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้จะเกิดปัญหาขึ้นมาสักวันหนึ่ง เมื่อน้ำมันหมด ดังได้เคยเกิดปัญหาน้ำมันขาดแคลนในยุคที่ประเ่ทศกลุ่มผู้ผลิตได้รวมหัวกันขึ้นราคาน้ำมันอย่างมาก ดังได้เคยเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
No comments:
Post a Comment