Wednesday, April 18, 2012

มารู้จักขนมพุดดิ้ง (Pudding)

มารู้จักขนมพุดดิ้ง (Pudding)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: Food, main dish, dessert, อาหาร, จานหลัก, ขนม, pudding, พุดดิ้ง

พุดดิ้ง (Pudding) เป็นอาหารที่จัดอยู่ในพวกขนม (Dessert) หรือจานของหวาน

ในสหรัฐอเมริกา พุดดิ้งมักจะหมายถึงขนมประเภททำจากไข่ไก่ที่ออกมาในรูปคล้ายสังขยา (Custard) มีส่วนผสมของนม น้ำตาล แป้งอเนกประสงค์ และน้ำมันพืชหรือเนย ที่ทำให้สุกแบบคนหรือกวนเข้าด้วยกัน โดยใช้ความร้อนย่างอ่อนจนสุก การคนหรือกวนตลอดเวลา จะทำให้ไข่ไม่สุกแบบเป็นลิ่มทำให้ไม่น่ากิน หากคนตลอดเวลา เมื่อสุกแล้วจะมีลักษณะเป็นครีม อาจมีการแต่งสีและกลิ่น เช่นวานิลา เติมผลไม้ เช่น สตรอเบอรี่ กล้วย สับปะรด หรือข้าวสุก (Rice pudding) ประสมลงไป

Pudding = พุดดิ้ง, ขนมพุดดิ้ง

Custard = คัสตาร์ด

Savory = เผ็ด, รสดี, หอมฉุย, กลิ่นดี, น่ากิน, ดึงดูดใจ

ขนมพุดดิ้งชอคโคแลต ตกแต่งสำหรับเทศกาลคริสต์มาส (Christmas Chocolate Pudding)

ภาพ ขนมพุดดิ้งใส่สาูคู (Tapioca Pudding)

พุดดิ้ง (Puddings) อาจทำได้ด้วยวิธีการให้ความร้อนแบบ อบ (Baked), นึ่ง (steamed) หรือต้ม (Boiled)

พุดดิ้งในยุคเริ่มแรกมาจากส่วนประสมของหลายอย่าง เช่น เนย (Butter), แป้ง (Flour), เมล็ดธัญพืช (Cereal), ไข่(Eggs), ไขมันจากสัตว์ (Suet) เช่นจากวัว แกะ หมู เวลาทำเป็นอาหารจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็งกว่าพุดดิ้งในปัจจุบัน และพุดดิ้งในสมัยก่อนอาจเป็นอาหารจานหลัก (Main dish) จัดเป็นอาหารจานของคาว หรือเป็นขนม (Desserts) หรือจานของหวานก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์

พุดดิ้งแบบต้ม (Boiled Pudding) มีทั่วไป โดยถือเป็นอาหารจานหลัก (Main course) บนเรือเดินทะเลของกองทัพเรือในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 พุดดิ้งเป็นอาหารจานหลักที่ให้ลูกเรือกินได้ทุกวัน คล้ายเหมือนกินข้าวต้มที่ข้น โดยมีส่วนผสมของแป้ง (Flour) และไขมันสัตว์ (Suet) ที่บรรจุแบบเก็บอัดไว้ในถัง ไขมันสัตว์แบบอัดเก็บในถังทำให้สามารถสงวนรักษาอาหารไว้ได้นานหลายเดือนในช่วงการเดินทาง แต่หากเป็นพวกเนื้อสัตว์ หากไม่ใส่หมักกับเกลือที่เค็มจัดพอ ก็จะเสียหายได้ในเวลาไม่นาน

No comments:

Post a Comment