Friday, June 17, 2011

กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 6 แห่งมอรอคโคเผยว่าจะปฏิรูปรัฐธรรมนูญ

กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 6 แห่งมอรอคโคเผยว่าจะปฏิรูปรัฐธรรมนูญ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

เรียบเรียงจากข่าว BBC, “Morocco's King Mohammed unveils constitutional reforms” ประจำวันที่ 17 June 2011, Last updated at 23:52 GMT

ภาพ กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 6 (Mohammed VI) กล่าวแถลงกรอบรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะให้มีการประชามติ

กษัตริย์มอรอคโค โมฮัมเหม็ดที่ 6 สัญญาว่าจะให้ประชาธิปไตยสำหรับประชาชนชาวมอรอคโค

กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 6 (Mohammed VI) กล่าวว่าพระองค์จะยึดมั่นในสถาบันประชาธิปไตย จะปกป้องสิทธิ แต่จะยังคงอำนาจสำคัญบางส่วน

การปฏิรูปจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีและรัฐสภาในการบริหารราชการแผ่นดินมากขึ้น จะให้ภาษา Berber เป็นอีกภาษาทางการอีกหนึ่งภาษาในประเทศมอรอคโค นอกเหนือจากภาษาอาหรับ

ขอเสนอของพระองค์จะได้จัดให้มีการทำประชามติ (Referendum) ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2554

กษัตริย์โมฮัมเหม็ดได้เคยให้สัญญาในเดือนมีนาคมว่าจะนำเสนอให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ได้มีการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล ซึ่งเกิดจากกระแสประชาธิปไตยที่ได้แผ่ขยายไปทั่วภูมิภาค แต่กระนั้นก็ตาม คนนับพันยังเข้าร่วมกระแสประชาธิปไตยเดินขบวนประท้วงเป็นระยะๆ

ในสมัยก่อนเรามีกษัตริย์ทรงอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่เดี๋ยวนี้เรามีกษัตริย์ทรงอำนาจแล้วยังเป็นผู้นำทางศาสนา (Pope) ไปด้วยในตัว

Elaabadila Chbihna ผู้ประท้วงคนหนึ่งกล่าว ฝ่ายผู้รณรงค์ต่อต้านได้ตั้งข้อสงสัยในสัญญาของกษัตริย์ที่จะเปลี่ยนแปลง แต่กล่าวว่ามอรอคโคมีสถาบันกษัตริย์มากกว่า 400 ปี ที่มีประวัติว่าจะปรับปรุงแต่ก็เป็นแบบ “เสริมสวย” ที่ไม่จริงจัง

ในสุนทรพจน์ของกษัตริย์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์แห่งมอรอคโค พระองค์ได้ให้ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปแล้วหวังว่าชาวมอรอคโคจะได้ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้

พระองค์กล่าวว่า การปฏิรูปครั้งนี้หากได้รับการยอมรับ จะเป็นการตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์ที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการปกครองที่ตั้งอยู่บนฐานของกฏหมายและสถาบันประชาธิปไตย และจะส่งเสริมระบบธรรมาภิบาล (Good governance) เป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศ

การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้จะประกันศักดิ์ศรีของประชาชนและความยุติธรรมทางสังคม

การประกันความเป็นอิสระของอำนาจตุลาการ และการพยายามกำจัดระบบฉ้อราษฎรบังหลวง การปฏิรูปจะให้สิทธิเสรภาพในการแสดงออก และให้สิทธิของทั้งสองเพศอย่างเท่าเทียมกัน

กษัตริย์กล่าวว่าอำนาจของพระองค์จะถูกลดลงมากที่สุด “เท่าที่จะเป็นไปได้” โดยนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจเพิ่มขึ้นที่จะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาล และการยุบสภา หากจำเป็น


ภาพ ประชาชนชาวโมรอคโคกำลังเฝ้าหน้าจอเพื่อฟังสุนทรพจน์ของกษัตริย์ ด้วยทัศนะที่แตกต่างกันออกไป

ตามข้อเสนอของพระองค์จะมีสภาแห่งชาติ (National councils) ที่รวมถึงสภาเยาวชน ที่จะทำให้ประชาชนกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

กษัตริย์ทรงกล่าวว่าพระองค์จะยังคงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทุกเหล่าทัพ และยังคงอำนาจด้านการรักษาความมั่นคงของชาติ

ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ กษัตริย์จะมีบทบาทและอำนาจสูงสุดทางศาสนาของประเทศ

พระองค์กล่าวว่า “ศักดิ์ศรีของบุคคลของกษัตริย์ไม่ควรถูกล่วงละเมิด” ในที่นี้คาดว่าคงจะหมายถึงกฏหมายหมิ่นพระบรามเดชานุภา (Lese Majeste)

ตามข้อเสนอใหม่นี้ ไม่ได้พยายามขยายอำนาจทางศาสนาของกษัตริย์ แต่ได้ให้ภาพที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับอำนาจของกษัตริย์ทางการเมือง

ร่างข้อเสนอปฏิรูปรัฐธรรมนูญนี้เป็นผลจากคณะกรรมการปฏิรูปที่กษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งขึ้น

Driss Lachgar รัฐมมนตรีว่าการความสัมพันธ์กับรัฐสภาได้เรียกร่างรัฐธรรมนูญใหม่นี้ว่าเป็น “การปฏิวัติโดยแท้จริง” เขากล่าวว่า “มันจะเป็นการวางรากฐานให้กับระบบรัฐธรรมนูญที่มีฐานรัฐสภา”

หลังการกล่าวสุนทรพจน์ของกษัตริย์จบลง รถยนต์ที่วิ่งตามท้องถนนในมอรอคโคได้ชูธงชาติ และบีบแตรลั่นเมือง เยาวชนต่างเดินไปตามถนนตีกลองและส่งเสียงแสดงความดีใจกึกก้อง

แต่กระนั้น นักรณรงค์ต่อต้านก็ไม่ยินดีนักกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

ในสมัยก่อนเรามีกษัตริย์ทรงอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่เดี๋ยวนี้เรามีกษัตริย์ทรงอำนาจแล้วยังเป็นผู้นำทางศาสนา (Pope) ไปด้วยในตัว

Elaabadila Chbihna นักรณรงต์ต่อต้าน ที่เรียกว่ากลุ่มเคลื่อนไหว 20 กุมภาพันธ์ ที่ได้จัดรณรงค์เคลื่อนไหวต่อต้านที่จัดให้มีขึ้นทั่วประเทศเป็นรายสัปดาห์ กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วย และไม่ไว้วางใจ

สิ่งที่น่ากังวลของประเทศมอรอคโคคือ ประเทศกำลังประสบปัญหาการท้าทายทางเศรษฐกิจ มีอัตราคนว่างงานสูงขึ้น และอัตราความยากจนก็แผ่ขยายสูงขึ้น

กษัตริย์โมฮัมเหม็ดวัย 47 พรรษา ได้ครองราชย์สมบัติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 หลังการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา กษัตริย์ฮัสซันที่ 2 (Hassan II) ปัจจุบันกษัตริย์แห่งมอรอคโคจัดได้ว่าเป็นประมุขของประเทศที่มีการสืบราชวงศ์ (Dynasty) ที่ยาวนานที่สุดของโลกอาหรับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ราชอาณาจักรโมร็อกโก

المملكة المغربية (อาหรับ)

คำขวัญ: الله، الوطن، الملك
(Allāh, al Waţan, al Malik = พระเจ้า ประเทศ กษัตริย์)

เพลงชาติ: อีมน์เชรีเฟียง


เมืองหลวง

ราบัต
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/55/WMA_button2b.png/17px-WMA_button2b.png34°02′N 6°51′W / 34.033°N 6.85°W

เมืองใหญ่สุด

กาซาบลังกา

ภาษาทางการ

ภาษาอาหรับ

การปกครอง

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

-

พระมหากษัตริย์

สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6

-

นายกรัฐมนตรี

อับบัส เอล ฟัสซี

ได้รับเอกราช

-

จาก ฝรั่งเศส

2 มีนาคม พ.ศ. 2499

-

จาก สเปน

7 เมษายน พ.ศ. 2499

พื้นที่

-

รวม

446,550 ตร.กม. (56)
172,414 ตร.ไมล์

-

แหล่งน้ำ (%)

น้อยมาก

ประชากร

-

2548 (ประมาณ)

31,478,000 (37)

-

ความหนาแน่น

66.8 คน/ตร.กม. (96)
173.0 คน/ตร.ไมล์

จีดีพี (อำนาจซื้อ)

2548 (ประมาณ)

-

รวม

139.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (51)

-

ต่อหัว

4,700 ดอลลาร์สหรัฐ (109)

ดพม. (2546)

0.631 (กลาง) (124)

สกุลเงิน

ดีร์แฮม (MAD)

เขตเวลา

UTC (UTC+0)

-

(DST)

UTC (UTC+0)

โดเมนบนสุด

.ma

รหัสโทรศัพท์

212

โมร็อกโก (อังกฤษ: Morocco; อาหรับ: المغرب "ทิศตะวันตก") หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก (Kingdom of Morocco; อาหรับ: المملكة المغربية "ราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตก") เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ มีชายฝั่งทอดยาวบนมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งผ่านช่องแคบยิบรอลตาร์ เข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีอาณาเขตทางตะวันออกจรดประเทศแอลจีเรีย (ชายแดนทางด้านนี้ปิด) ทางใต้จรดเวสเทิร์นสะฮารา ทางเหนือจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก โมร็อกโกอ้างสิทธิเหนือเวสเทิร์นสะฮาราและได้ปกครองพื้นที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 สถานะของเวสเทิร์นสะฮารายังคงโต้แย้งกันอยู่ และ กำลังรอประชามติจากสหประชาชาติ

โมร็อกโกปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีวันชาติตรงกับวันที่ 30 กรกฎาคม[1]

No comments:

Post a Comment