ภาพ รถม้าเป็นยานพาหนะของชาวเอมิช (Amish) ซึ่่งในชุมชนของเขาไม่ใช้รถยนต์เหมือนกับอเมริกันทั่วไป
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob CooparatE-mail: Pracob@sb4af.orgSpringboard For Asia Foundation (SB4AF)
Keywords: ศาสนา, วัฒนธรรม, อเมริกัน, คริสตศาสนา, เยอรมัน, เศรษฐกิจพอเพียง,
ความนำ
ในสหรัฐอเมริกาที่มีวัฒนธรรมยึดถือวัตถุนิยม (Materialism) อย่างมากๆ ตามเขตบ้านเรือนและที่พักอาศัย บ้านมาตรฐานจะมีระบบปรับอากาศ ที่ให้ความร้อน (Heaters) ยามเมื่ออากาศหนาว และมีระบบปรับอากาศใหเย็น (Air-conditioners) เมื่ออากาศภายนอกเริ่มร้อน ภาในบ้านจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้านานาชนิด เครื่องครัว เตาอบ ตู้เย็นขนาดใหญ่ เครื่องซักผ้า อบผ้า ตามห้องต่างๆทั้งห้องนอน ห้องนั่งเล่นจะมีโทรทัศน์ ระบบสื่อสาร
หากท่านได้เดินในย่านศูนย์การค้าที่จับจ่าย เราจะพบสินค้าที่มีการออกแบบใหม่ๆสู่ตลาดมากมาย ประชากรทั้งประเทศมี 300 ล้านคน แต่มีรถยนต์กว่า 220 ล้านคัน เมื่อขับรถตามท้องถนน จะพบรถยนต์นานาชนิดจากทั้งผลิตในสหรัฐเอง และจากยุโรป เอเซีย และรวมถึงในอเมริกากลางอย่างเม๊กซิโก รถยนต์จะมีขนาดใหญ่กว่าโดยทั่วไป พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและมีความเร็วและอัตราเร่งสูง และที่แน่นอนคือกินน้ำมันมาก วิถีชีวิตแบบอเมริกันในแบบปัจจุบัน ไม่ใช่วิถีที่จะดำรงและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง (Sustainable development) เพราะเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และมีลักษณะกินอยู่ ใช้จ่ายแบบเกินตัว เกินความจำเป็น
การที่จะมีคนและชุมชนที่มีวิถีชีวิตไปในลักษณะตรงกันข้าม คืออยู่และใช้ชีวิตอย่างดั่งเดิม บนฐานรากของเศรษฐกิจแบบพอเพียง (Sufficiency Economy) จึงเป็นเรื่องแปลกและมีคนให้ความสนใจในวิถีชีวิตดังกล่าว เมื่อมีปัญหาโลกร้อน (Global Warming) แล้วเราต้องหาทางแก้ปัญหา ส่วนหนึ่งคือการกลับไปมีวิถีชีวิตแบบธรรมชาติมากขึ้น ทำให้นักวิชาการ และผู้แสวงหาความรู้หลายฝ่ายได้หันไปสนใจและศึกษาวิถีชีวิตแบบดั่งเดิมที่เขาเคยมีกันมาหลายศตวรรษในยุโรป และมีที่อพยพมาอยู่อเมริกา ดังพวก Amish
เอมิช (Amish) คือใคร
เอมิช (Amish - Amisch or Amische, อ่านออกเสียงว่า /ˈɑːmɪʃ/) เป็นผู้นับถือคริสตศาสนาในคณะอนาแบพทิสท์ (Anabaptist Christian) ได้ก่อตั้งเมือปีค.ศ. 1693 โดยชาวสวิสผู้นิยมนับถือกลุ่มเมนโนไนท์ (Swiss Mennonites) นำโดย จาคอบ แอมมนาน (Jacob Amman) Amish หมายถึงผู้ที่นับถือและเดินตามแนวทางของ จาคอบแอมมานนั่งเอง
พวกเอมิชได้อพยพมาสู่ทวีปอเมริกาเหนือ และอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา (United States and Canada) ทางด้านฝั่งตะวันออก มีการแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้หลายกลุ่ม ในกลุ่มที่เก่าแก่และยึดถือในแบบดั่งเดิม ยังใช้ม้าในการทำการเกษตรและขนส่ง ยังแต่งตัวในแบบดั่งเดิม และห้ามการใช้ไฟฟ้าหรือโทรศัพท์ หรือโทรทัศน์ในบ้าน ผู้นับถือในนิกายนี้ไม่เข้าเกณฑ์ทหาร ไม่ได้ขอรับสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคม (Social Security) หรือการช่วยเหลือใดๆจากรัฐบาล กลุ่ม Beachy Amish และเอมิชพัฒนาขึ้นใหม่ (New Order Amish) มีข้อจำกัดที่น้อยกว่า สามารถรับประโยชน์จากประกันสังคมได้ ซื้อบริการประกันภัยได้ อนุญาตให้ใช้รถยนต์และไฟฟ้าได้ และบางกลุ่มแทบไม่แตกต่างจากประชากรในอเมริกาเหนือโดยทั่วไป ชาวเอมิชทั่วไปจะเรียกคนอเมริกันอื่นๆในประเทศว่า “พวกอังกฤษ” หรือ “English”
ที่บ้าน ชาวเอมิชส่วนใหญ่จะพูดภาษถิ่นเฉพาะที่เรียกว่า Pennsylvania Dutch ซึ่งมิได้หมายความว่าเป็นพวก “ดัช” (Dutch) หรือเนเธอแลนด์ในรัฐเพนซิลเวเนียอย่างที่เข้าใจ แต่หมายถึงพวกเยอรมัน (German หรือ Deitsch) ซึ่งคนอเมริกันทั่วไปที่ใช้ภาษาอังกฤษอ่านคำว่า Deitsch ลำบากจึงเพี้ยนมา จนกลายเป็น Dutch เด็กๆของผู้นับถือศาสนาในกลุ่มนี้เรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียน กลุ่มเอมิชได้เติบโตและมีการแตกตัวออกไปสร้างนิคมใหม่ มีอาณาบริเวณที่อยู่รวมตัวกันเป็นเขตๆ แต่ละเขตเป็นอิสระต่อกัน และมีวิถีชีวิตเฉพาะ (Ordnung) หรือมีกฎเกณฑ์ในการใช้ชีวิตที่ไม่ได้มีการเขียนไว้ กลุ่มเหล่านี้หากเป็นกลุ่มความเชื่อเก่า อาจมีการขับไล่บุคคลที่ผ่าฝืนกฎเกณฑ์ของกลุ่มม ด้วยวิธีการรังเกียจ หลบเลี่ยง ไม่สังสรรด้วย หรือขับไล่สมาชิกที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของกลุ่มออกจากนิคมได้
เอมิชเป็นผู้ไม่มีการควบคุมกำเหนิด (Birth Control) จึงทำให้ครอบครัวของเชามีลูกมาก บางครอบครัวมีลูกถึง 7-8 คน แต่ประชากรของกลุ่มเอมิชดั่งเดิมก็มีอยู่อย่างจำกัด จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2000 คาดว่ามีเอมิชอยู่ทั่วสหรัฐและแคนาดาประมาณ 198,000 คน หรือน้อยกว่านี้เล็กน้อย เอมิชอาศัยอยู่ในเขตรัฐ Ohio, Pennsylvania, Indiana, Delaware, และ New York ส่วนในประเทศแคนาดา (Canada) จะมีอยู่ที่ Ontario
ภาพ ครอบครัวชาวเอมิช ภาพที่ถ่ายในบริเวณ Niagara Falls ในเครื่องแต่งกายตามแบบประเพณีนิยมของกลุ่ม
เอมิชจะมีลักษณะร่วมคือมีบรรพบุรุษเป็นพวกเยอรมันเชื้อสายสวิส (Swiss-German) ใช้ภาษา และวัฒนธรรมเดียวกัน และแต่งงานกันในหมู่คนนับถือศาสนาแบบเดียวกัน ดังนั้นเอมิชจึงจัดเป็นชนกลุ่มน้อย (ethnic group) ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในหมู่เอมิชด้วยกัน เขาจะจัดตนเองเป็นกลุ่มศาสนามากกว่าความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์
กลุ่มเอมิชจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีการทำมาหากินในแบบพอเพียง อยู่อาศัยกันเป็นแบบนิคม มีกฏเกณฑ์การแต่งกายที่มีลักษณะเฉพาะทั้งชาย หญิง และเด็ก พวกที่มีอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นพวกที่อพยพมาในช่วงศตวรรษที่ 18 แต่ถ้าเป็นพวกที่อพยพมาในศตวรรษที่ 19 จะเป็นพวกที่มีความเป็นเสรีและเปิดมากขึ้นจึงทำให้สูญเสียเอกลักษณ์ของพวกเอมิชและกลืนไปในชาวอเมริกันส่วนใหญ่ โดยกลายเป็นพวก Mennonite ในสหรัฐบางส่วน
ภาพ สถานที่ฝั่งศพของชาวเอมิชในเขต Lancaster County, ในรัฐ Pennsylvania, อันเป็นภาพที่ถ่ายในปี ค.ศ. 1941. หลักหินที่ตั้งหน้าหลุมศพจะมีคำเขียนอย่างง่ายๆ ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมากนัก
กลุ่มเอมิชกับกลุ่มผู้นับถือคริสตศาสนาในนิกาย Mennonite มีความใกล้เคียงกัน เนื่องจากบางกลุ่มของเอมิช (Amish) มีความกังวลในความปิดกั้นและอยู่อย่างแบ่งแยกกับเพื่อนบ้านและชุมชน จึงมีการประชุมและตกลงเปิดกว้างมากและเสรีมากขึ้น จนเอมิชส่วนใหญ่ได้ขับออกจากกลุ่ม และทำให้การประสมอยู่ร่วมกับส่วนอื่นๆ และกลายไปเป็นส่วนหนึ่งของเมนนอนไนท์ (Mennonite) ซึ่งในปัจจุบันเป็นนิกายที่มีคนอยู่ประมาณ 1.8 ล้านคน
เมนนอนไนท์ เป็นกลุ่มชาวคริสต์ในนิกาย Christian Anabaptist เป็นกลุ่มที่ตั้งชื่อตาม เมนโน ไซม่อน (Menno Simons) ซึ่งเกิดและมีชีวิตในช่วงปี ค.ศ. 1496–1561 ซึ่งมีความเชื่อที่แตกต่างไปจากคริสตศาสนากลุ่มใหญ่ไม่มากนัก และเป็นกลุ่มศาสนาที่เน้นสันติภาพ ยึดมั่นในการไม่ใช้ความรุนแรง และต่อต้านการใช้ความรุนแรง (pacifism)
งานศพ Funerals
พิธีศพ (Funeral) เป็นพิธีกรมที่ทำให้แก่ผู้เสียชีวิต พิธีศพมีความแตกต่างกันไปตามความเชื่อและการปฏิบัติที่ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมที่จะระลึกถึงผู้ตาย ซึ่งพิธีกรรมทั่วไปใจะมีการจัดทำอนุสรสถาน (Monuments) การสวด และการทำพิธีกรรมอื่นๆเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เสียชีวิต
พิธีศพที่เกี่ยวกับการดูแลศพอย่างไรหลังเสียชีวิตแล้ว บางกลุ่มคนเน้นการเก็บรักษา โดยใช้วิธีการฝัง (Burial Services) มีสุสาน (Cemetery) ที่เป็นบริเวณที่มีการให้บริการจัดที่ทางเพื่อการฝังศพ และมีโลงศพ (Casket) ที่แข็งแรง ทนการย่อยสลาย บ้างก็ใช้วิธีการที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ฝัง แต่ปล่อยให้มีการกำจัดศพไปตามธรรมชาติ เช่นการปล่อยให้แร้งหรือสัตว์ป่ามากำจัดซากศพ ในหลายความเชื่อ คือการทำลายโดยการเผา ซึ่งพุทธศาสนาในประเทศไทยจะนิยมการเผาศพ (Cremation)
ภาพ หลุมศพของพวกเอมิช (Amish cemetery) ในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 2006 ก็ยังมีลักษณะเรียบง่าย หลักหินหน้าหลุมศพมีขนาดเล็ก และพื้นๆ เหมือนกันหมด
หินที่หน้าหลุมศพ
หินหรือศิลาจารึกที่หน้าหลุมศพ มีเรียกในภาษาอังกฤษว่า A headstone, tombstone หรือ gravestone เป็นสัญญลักษณ์ถาวรที่บันทึกเอาไว้อย่างสั้นๆเกี่ยวกับผู้ตาย โดยทั่วไป เพื่อให้มีการจารึกแล้วมีอายุอยู่ยืนยาว จึงมีการแกะสลักหินหินแข็ง (Granite) ที่คงทนต่อการผุกร่อน แต่ในบางแห่งที่หาหินแข็งได้น้อย มีการสลักลงในไม้เนื้อแข็ง ก็มีให้พบเห็นเช่นกัน
สิ่งที่จารึกไว้ที่หินหน้าหลุมศพ มักจะมีการเขียนหรือจารึกไว้อย่างสั้นๆ ที่มีชื่อและนามสกุลของผู้ตาย ปีเกิด ปีตาย อาจมีการระบุละเอียดเป็นวันเดือนและปีที่เกิดและที่ตาย คำที่อยากให้คนระลึกผู้ตาย
พิธีศพของพวกเอมิชมีลักษณะเรียบง่าย และเป็นการใช้การฝังในสุสานเช่นเดียวกับคริสตศาสนาส่วนใหญ่ในประเทศนั้นๆ แต่ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละชุมชน มากกว่าในพิธีกรรมของกลุ่มคริสตศาสนาอื่นๆ ดังที่ Allen County, Indiana เป็นต้น พวกเอมิชจะจองบริการพิธีศพจากหน่วยงานของเขาที่ชื่อ Hockemeyer Funeral Home ซึ่งเป็นที่เดียวที่ผู้จัดการสุสานให้บริการรถในพิธีศพที่เป็นใช้รถลากด้วยม้า
ส่วนพิธีศพกระทำที่บ้านมากกว่าที่จะใช้สถานที่ของผู้ให้บริการสุสาน (Funeral parlor) หรือที่วัด และในพิธีกรรมทางศาสนา แทนที่จะใช้การเล่า การกล่าวสรรเสริญ และแสดงคุณความดีของผู้ตาย แต่จะเป็นพิธีสร้างเรื่องและอ้างอิงในพระคัมภีร์เกี่ยวกับการมาเกิดใหม่ (Resurrection) เมื่อเสร็จพิธี รถบันทุกศพ (Hearse) จะนำโลงศพ (Casket) ไปสู่สุสาน มีพิธีการอ่านพระคัมภีร์ มีการอ่านบทสวด (Hymn) มากกว่าร้องเพลง และมีการอ่านบทสวดสรรเสริญพระเจ้า (Lord's Prayer) พวกเอมิชมักจะเลือกสถานที่ฝังศพเฉพาะของพวกตน และมีการซื้อแผ่นศิลาจารึกหน้าหลุมศพที่เป็นแบบฉบับเดียวกัน มีลักษณะเรียบง่าย และในระยะหลังได้มีการเขียนคำบันทึกที่ศิลาหน้าศพที่เป็นภาษาอังกฤษ ในการแต่งตัวศพจะกระทำโดยบุคคลในครอบครัวที่เป็นเพศเดียวกัน ในพิธีศพ ชายและสตรีที่ยังไม่ได้แต่งงานจะใส่เสื้อผ้าสีขาว และหญิงแต่งงานแล้วจะแต่งชุดแบบเดียวกับงานแต่งงาน ในพิธีศพชุมชนจะมีการมารวมตัวกัน และมีการแบ่งปันอาหารรับประทานร่วมกัน
ครอบครัว ( Family)
ภาพ ครอบครัวชาเอมิช (Amish family)
ชีวิตของพวกเอมิชจะผูกพันกับการเลี้ยงเด็ก การดูแลให้เขาเติบโต และอบรมบ่มนิสัย ซึ่งนับเป็นความสำคัญที่สุดของพวกเอมิช ครอบครัวของชาวเอมิชจัดเป็นศูนย์กลางของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทั้งมวล ครอบครัวจะมีอำนาจเหนือบรรดาสมาชิก ไม่ใช่เพียงในช่วงยังเป็นเด็กหรือวัยรุ่น แต่จะเป็นไปตลอดชีวิต ความสวามิภักดิ์กตัญญูต่อบิดามารดา ความรักใคร่ในญาติพี่น้อง ปู่ยาตายาย อาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่จะไม่จางหายไปเหมือนกับครอบครัวทั่วไปในสหรัฐอเมริกาที่เมื่อครอบครัวดูแลลูกจนเติบใหญ่ แล้วลูกๆก็จะแยกออกไปอยู่ต่างหาก อาจตั้งแต่จบมัธยมศึกษา หรือ 18-20 ปี ก็แยกจากกันไปแล้ว อาณาบริเวณในความรับผิดชอบของวัด แทนที่จะนับจากจำนวนคนที่เข้าพิธีเข้ารึด (Baptized persons) แต่จะเป็นไปตามจำนวนครัวเรือนของกลุ่มศาสนา ครอบครัวจะทำหน้าที่ผลัดกันเป็นเจ้าภาพในการชุมนุมสวดในแต่ละสัปดาห์ และเมื่อชายและหญิงจะแต่งงานกัน ก็จะเป็นที่เข้าใจได้ว่า งานที่สำคัญของพวกเขาต่อไปคือการมีลูกและการเลี้ยงดูลูกให้เติบโต ดูแลเขาให้อยู่ในวินัยและนิสัยตามศาสนา พ่อแม่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพระเจ้าในการดูแลเด็กๆ หรือลูกในความรับผิดชอบของตน
การใช้ชีวิตและวัฒนธรรม
ในระยะหลังที่คนอเมริกันหันมาสนใจชีวิตแบบธรรมชาติมากขึ้น จึงมีการศึกษาการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมของพวกเอมิช ที่มีลักษณะไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม กินอยู่และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย เป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงขนานแท้ ชาวเอมิชโดยธรรมชาติจะออกกำล้งกายด้วยการทำงานการเกษตร
ชีวิตชาวเอมิชจะถูกกำหนดไว้ด้วยข้อกำหนดที่เรียกว่า Ordnung เทียบเป็นภาษาอังกฤษเท่ากับคำว่า Order หรือข้อกำหนด ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้างระหว่างชุมชนต่อชุมชน จากเขตต่อเขต ไม่มีการเขียนข้อกำหนดในวิถีชีวิตของพวกเขาไว้ มีข้อเหมือนกันบางส่วน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเหมือนกันไปทั้งหมด กลุ่มต่างๆจะมีการแบ่งแยกและแตกต่างกันไป เช่นมีลักษณะหมวกที่มีขอบไม่เหมือนกัน มีสีรถม้าที่ไม่เหมือนกัน หรืออาจมีบางประเด็นที่แตกต่างกัน มีการใช้ยาสูบ (tobacco) แต่ไม่มีการสูบบุหรี่ สามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและกลุ่มอนุรักษ์โบราณ
ทัศนะต่อเทคโนโลยีใหม่
ภาพ ความแตกต่างกันระหว่างยานพาหนะในยุคใหม่ดังรถมอเตอร์ไซค์ กับรถม้าของชาวเอมิช ภาพที่ถ่ายในรัฐเพนซิลเวเนีย
ชาวเอมิช โดยเฉพาะในกลุ่มความเชื่อเก่า จะรู้จักกันในฐานะพวกหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีใหม่ ไม่มีการใช้รถยนต์หรือไฟฟ้า ซึ่งทำให้คนภายนอกเข้าใจผิด พวกเอมิชไม่ได้มองว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งเลวร้าย ชาวเอมิชอาจยื่นคำร้องในการยอมรับเทคโนโลยีในแต่ละชุมชนของตน ในบางชุมชนหัวหน้ากลุ่มศาสนาจะพบกันเป็นประจำปี เพื่อทบทวนข้อเสนอและคำร้องเหล่านั้น พวกเอมิชเช่นเดียวกับกลุ่มต่างๆของ Mennonite จะแตกต่างจากชาวคริสตศาสนาในนิกายคาธอลิกหรือพวก Anglican Churches ตรงที่พวกเอมิชไม่มีโครงสร้างการปกครองเป็นแบบระดับชั้น (Hierarchical) โดยแต่ละชุมชนจะมีความแตกต่างกันออกไปได้ และเขาจะมีความยอมรับในเทคโนโลยีต่างๆในลักษณะที่แตกต่างกัน และความที่เขาอยู่กันเป็นนิคมที่แยกกันอย่างอิสระ และยังคงยึดคำสอนในแบบดั่งเดิม จึงทำให้เขาคงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในแบบดั่งเดิมไว้ได้เป็นเวลานาน
ยกตัวอย่าง การใช้ไฟฟ้าถูกมองว่าเป็นการเชื่อมต่อและพึ่งพา “โลกภายนอก” หรือพวกอังกฤษ (the English) อันหมายถึงคนอเมริกันส่วนใหญ่ที่เขาอาจเรียกว่า Yankees ซึ่งผิดหลักของพวกเขาที่แยกออกจากสังคม การใช้ไฟฟ้าถูกมองว่าเป็นการนำไปสู่การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรทัศน์ อันเป็นโลกวิถี ซึ่งขัดกับหลักวิถีชีวิตเรียบง่าย และทำให้แต่ละคนต้องไปแข่งขันกันในแบบวัตถุนิยม แข่งขันทางการค้า และทำลายชุมชน แต่บางกลุ่มของเอมิชก็มีการใช้ไฟฟ้ากันในบางลักษณะที่ไม่ได้ต่อเชื่อมสายกับโลกภายนอก เช่น การใช้ไฟฟ้าผ่านแบตเตอรี่ขนาด 12 Volts และใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเฉพาะบางอย่าง เช่นการใช้เพื่องานเชื่อม (Welding) การชาร์ตไฟฟ้า มีการใช้ในเครื่องตัดหญ้าที่ใช้คนดัน บางกลุ่มเอมิชมีการใช้ตู้เย็นที่ใช้พลังงานจาก Kerosene แทนที่จะเป็นไฟฟ้า
วิถีชีวิตของพวกเอมิชในแต่ละชุมชนอาจเป็นเรื่องแปลกสำหรับคนภายนอก ที่เขาออาจมีการประนีประนอมกับเทคโนโลยีบางอย่าง เช่น งชุมชนจะให้มีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้น้ำมันได้ แต่ต้องเป็นแบบใช้แรงคนผลัก หรือลากด้วยม้า ด้วยเหตุผลที่เขาไม่ต้องการให้เกิดการผลักดันให้มีการขยายพื้นที่การเกษตรและไปแข่งกับชาวนาคนอื่นๆในชุมชน หากเขายังใช้วิธีการเกษตรในแบบดั่งเดิม ชาวเอมิชในบางชุมชนมีการใช้ย่าฆ่าแมลง และมีการใช้พันธุ์พืชพวกดัดแปลงพันธุกรรม (GM crops) แทนที่จะเป็นการทำการเกษตรตามวิถีธรรมชาติ (organic farming techniques)
กรณีทางสุขภาพ ( Health issues)
เพราะเหตุที่เป็นสังคมปิด และมีการแต่งงานกันในกลุ่มสายเลือดชิด เอมิชบางส่วนได้รับโรคทางพันธุกรรม (genetic disorders) รวมทั้งโรคแคระแกรน (dwarfism) และโรค Ellis-van Creveld syndrome ที่มีลักษระแขนขาสั้น นิ้ว เล็บ ข้อกระดูกบางส่วนใหญ่ผิดปกติ ซึ่งโรคเหล่านี้นอกจากจะพบกับพวกเอมิชแล้วยังพบกับชาวเกาะที่อยู่ห่างไกลและแยกจากคนส่วนใหญ่ในโลก ชาวเอมิชรับทราบและยอมรับในปัญหานี้ และภือว่าเป็นประสงค์ของพระเจ้า ที่เขาเรียกว่า "Gottes Wille" หรือ God's will และไม่ประสงต์ที่จะใช้การวิจัยทางพฤติกรรม การตรวจ Gene ก่อนการแต่งงาน เพื่อค้นหาและหลีกเลี่ยงปัญหาโรคทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้
ด้วยความตระหนักในปัญหาเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม ชาวเอมิชจึงใช้โอกาสจากการแต่งงานช้ามกลุ่ม (exogamy) แต่ยังเป็นเอมิชด้วยกัน โดยสายเลือดของเอมิชในชุมชนหนึ่ง จะไม่มีในชุมชนเอมิชอื่นๆ การแก้ปัญหาสายเลือดชิด (Inbreeding) จึงกระทำได้ด้วยการให้แต่งงานข้ามชุมชน แต่ยังเป็นในกลุ่มเอมิชด้วยกัน ยกตัวอย่างครอบครัวต้นกำเหนิดของเอมิชในเขต Lancaster จะไม่มีสายเลือดที่เกี่ยวข้องกับเอมิชในเขต Perth County ในประเทศคานาดา
เอมิชไม่บอกรับประกันสุขภาพเอกชน แต่เขามีการประกันสุขภาพอย่างไม่เป็นทางการ โดยเป็นการดำเนินการโดยกลุ่มศาสนาเอง ที่เขาเรียกว่า Church Aid ที่จะช่วยสมาชิกในยามประสบวิบัติภัยที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ดังเช่นเอมิชในชุมชน Lancaster Counter ประมาณสองในสามได้ประกันสุขภาพกับโรงพยาบาลของอเมริกันบางส่วน โดยเริ่มตั้งแต่ปีทศวรรษที่ 1990s โดยมีโปรแกรมที่ช่วยเหลือชาวเอมิชโดยเฉพาะ James Huebert ได้เริ่มสร้างสถาบันทางการแพทย์
เอมิชส่วนใหญ่ไม่มีการคุมกำเหนิด ทำให้มีครอบครัวขนาดใหญ่ เป็นพวกต่อต้านการทำแท้ง และเป็นพวกที่ไม่เห็นด้วยกับการผสมเทียม การตัดแต่งพันธุกรรม การวิจัย Stem Cell Research ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักคำสอนและความเชื่อของกลุ่ม
อัตราการฆ่าตัวตายของพวกเอมิชใน Lancaseter County มีที่ 5.5 ต่อประชากร 100,000 คน ในขณะที่อัตราการฆ่าตัวตายในสหรัฐโดยรวมเท่ากับ 12.5
การศึกษา ( Education)
ภาพ โรงเรียนของชาวเอมิช (Amish schoolhouse) ใน Lancaster County, ในรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) ภาพถ่ายในปี ค.ศ. 1941.
ภาพ โรงเรียนสำหรับเด็กๆของชาวเอมิช (Amish school)
ในด้านการศึกษา ชาวเอมิชไม่ได้ให้การศึกษาแก่บุตรหลานของตนเกินชั้นปีที่ 8 โดยมีความเชื่อว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นเพียงพอสำหรับการมีวิถีชีวิตในแบบเอมิช ชาวเอมิชเกือบทั้งหมดไม่ได้ให้ใครศึกษาเล่าเรียนในระดับมัธยมปลาย หรือเกรด 9-12 ส่วนการไปศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นจะยิ่งน้อยลงไปใหญ่ ในหลายๆชุมชนชาวเอมิชจัดการศึกษากันเอง มีโรงเรียนของตนเองเป็นแบบ “โรงเรียนห้องเรียนเดียว” (One-room schoolhouses) โดยมีครูที่เป็นคนมาจากชุมชนชาวเอมิชเอง
การสอนในโรงเรียนจะมีทั้งทางด้านการศึกษาพื้นฐาน และการหัตถกรรม จึงจัดเป็นการอาชีวศึกษาไปด้วย ในอดีตมีปัญหาขัดแย้งกับรัฐในเรื่องอายุขั้นต่ำสำหรับผู้รับการศึกษา เพราะรัฐบางรัฐจะต้องการให้เยาวชนเรียนจนถึงอายุที่สูงกว่าระดับชั้นปีที่ 8 ทางชาวเอมิชก็แก้ปัญหาโดยการให้เรียนไปเรื่อยๆจนถึงอายุตามเกณฑ์ จึงจะออกจากโรงเรียน แต่เมื่อมีการสอบวัดสมรรถนะทางวิชาการเปรียบเทียบ เยาวชนเอมิชสอบได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่ามาตรฐานกลางของประเทศสำหรับโรงเรียนชนบทในด้าน การสะกดคำ การใช้คำ และคณิตศาสตร์ แต่ทำได้ต่ำกว่ามาตรฐานในศัพท์ (Vocabulary) ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า คำที่ใช้กันในโลกภายนอกนั้นเป็นคำที่เด็กๆเอมิชที่อยู่ในโลกภายในแบบปิดไม่รู้จัก
ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 มีชาวเอมิชชื่อ Jonas Yoder และ Wallace Miller ซึ่งมีความเชื่อในเอมิชแบบดั่งเดิม (Old Order Amish) และ Adin Yutzy ของกลุ่มเอมิชแมนนอนไนท์ดั่งเดิม แต่ละคนถูกปรับ 5 เหรียญ ฐานที่ไม่ส่งบุตรหลานของตนในวัย 14-15 ไปเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเรื่องนี้ได้ขึ้นไปจนถึงศาลสูงแห่งรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin Supreme Court) ซึ่งศาลได้ตัดสินว่า การจัดการศึกษาภาคบังคับ (Universal Education) ที่ใช้โดยทั่วไปนั้นไม่สามารถใช้บังคับการฝ่าฝืนการใช้สิทธิเสรีภาพตามกรอบรัฐธรรมนูญ (Free Exercise Clause) ที่คนจะมีสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ ตามรัฐธรรมนุญในฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 (the First Amendment)
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขครั้งที่ 1 ของสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงมีผลจนถึงในปัจจุบันั้น เป็นเรื่องสิทธิของพลเมืองที่ห้ามรัฐสภาแห่งสหรัฐที่จะออกกฎหมายที่จะกระทบต่อเสรีภาพทางศาสนา ที่จะห้ามการแสดงออกโดยเสรีทางศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในสื่อสารมวลชน และการชุมนุมอย่างสันติ หรือการยื่นหรือการร้องทุกข์ต่อรัฐ
ความสัมพันธ์กับโลกภายนอก
อีกเรื่องที่ชาวเอมิชรู่สึกแรงกดดันจากโลกสมัยใหม่ภายนอก คือเรื่องของกฎหมายแรงงานเด็ก (Child labor laws) เพราะหากมีการบังคับใช้กับชาวเอมิชก็จะเป็นการคุกคามวิถีชีวิตที่เขาได้ปฏิบัติกันมา เพราะการใช้แรงงานเด็ก เป็นเรื่องที่เขาต้องการสอนเด็กๆ ให้รู้จักการทำงานหนัก พ่อแม่จะสอนลูกๆให้รู้จักการทำงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อฝึกทำให้ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ กฏหมายแรงงานในยุคใหม่ขัดแย้งกับหลักปฏิบัติของพ่อแม่ชาวเอมิชในการตัดสินว่าเด็กๆควรทำงานที่มีความเสี่ยงได้หรือไม่
ในอีกด้านหนึ่งที่ต่างจากความเชื่อโดยทั่วไป คือชาวเอมิชนั้นไปออกเสียง และพรรคการเมืองใหญ่ต้องการคะแนนเสียงจากชาวเอมิช แม้จะเป็นกลุ่มคนจำนวนน้อย ทัศนะทางการเมืองของพวกเอมิชจึงเป็นคะแนนตัดสินในยามที่การเมืองมีความคับขันและใกล้เคียงกัน (swing voters) เพราะเป็นพวกที่ถ้ากลุ่มจะเลือกใคร ก็จะมีการเทคะแนนไปยังคนหรือพรรคนั้นๆ และเพราะความที่ชาวเอมิชเป็นพวกที่ยึดในสำนึกทางสังคม รักสันติ จึงมีลักษณะทางการเมืองไปทางฝ่ายซ้าย แต่ในอีกส่วนหนึ่งคือความที่เป็นอนุรักษ์ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ในบางประเด็นก็มีส่วนไปชื่นชอบกับทิศทางของฝ่ายอนุรักษ์ (Conservative)
เอมิชมีลักษณะเหมือนกับพวกเมนนอนไนท์มากในหลายเรื่อง เอมิชพึ่งการสนับสนุนจากศาสนาในด้านสวัสดิการชีวิต และปฏิเสธหลักการประกันจากภาครัฐ หรือการซื้อประก้นจากบริษัทเอกชน ตัวอย่างเมื่อเขาต้องการสร้างยุ้งฉาง (barn raising) ที่เป็นงานใหญ่ เขาจะประกาศให้คนทั้งชุมชนมาร่วมกันสร้างยุ้งฉางทั้งหลังให้เสร็จในเดียว และในกิจกรรมเช่นนี้ จึงเป็นการมาร่วมกันฉลองกับครอบครัวและเพื่อนๆ กิจกรรมของเขาคล้ายการลงแขกในสังคมเกษตรเดิมของไทย คือการลงแรงและขอแรงกัน
ภาพ Amish Acres, จุดท่องเที่ยวที่มีงานศิลปะของชาวเอมิช ที่เป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยว ที่เมือง Nappanee, ในรัฐอินเดียน่า (Indiana
ในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีใครหนีได้อยู่ 2 อย่างคือความตายกับภาษี
แต่ในปี ค.ศ. 1961 หน่วยงานสรรพกรกลางของสหรัฐ (Internal Revenue Service) ได้ประกาศว่า เมื่อชาวเอมิชปฏิเสธระบบสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคม (Social Security) และมีวัตถุประสงค์ทางศาสนาในการให้หลักประกันแก่สมาชิก เขาจึงไม่ต้องจ่ายภาษีที่เกี่ยวข้อง ในปี ค.ศ. 1965 นโยบายนี้ได้กลายเป็นกฎหมาย คนที่ทำงานอิสระ คนที่อยู่ในนิกายศาสนาสามารถเลือกที่จะไม่จ่ายเงินเข้ากิจการประกันสังคม และไม่รับสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคมนั้นได้ แต่กฎหมายระบุว่าศาสนา (Sect) จะต้องดูแลสวัสดิการให้แก่คนแก่และคนพิการ เอมิชมีระบบให้สวัสดิการคนชรา โดยเขามีบ้านคนชราที่เขาเรียกว่า Grossdaadi Heiser or Daadiheiser หรือ “บ้านคุณปู่” (Grandfather house) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบริเวณส่วนใหญ่ของชุมชนมากนัก ศาสนาอื่นๆที่มีระบบบริการนี้ สามารถขอยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเข้าสวัสดิการสังคมได้ ทั้งนี้ยังต้องจ่ายภาษีอื่นๆเช่นเดียวกับประชากรอเมริกันทั่วไป
ชาวเอมิชในบางช่วงเวลาได้รับการดูถูกเหยียดหยามและความโหดร้ายจากเพื่อนบ้าน ดังในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง (World Wars) ชาวเอมิชได้รับการข่มขู่ และเยาวชนเอมิชถูกบังคับให้เข้าเกณฑ์ทหาร และได้รับการดูแลไม่ดีนักในระบบการฝึกทหาร และการไปทำหน้าที่ในสงคราม
ในปัจจุบันพวกต่อต้านเอมิชได้ใช้ความรู้สึกต่อต้าน มีการขว้างปารถที่ลากด้วยม้า ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในยามค่ำคืน มันไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่มีกรณีหนึ่งที่เด็กทารกอายุ 6 เดือนชาวเอมิชถูกก้อนหินขว้างกระแทกที่ศีรษะ และเสียชีวิตจากพิษบาดแผล ในปี ค.ศ. 1997 Mary Kuepfer สตรีชาวเอมิชที่อาศัยอยู่ที่ Milverton, Ontario, ประเทศแคนาดา (Canada) ได้ถูกขว้างด้วยกระป๋องเบียร์ที่ใบหน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นการขว้างมาจากรถที่วิ่งผ่านไป เธอเรียกร้องค่าผ่าตัดใบหน้าของเธอเป็นเงินหลายพันเหรียญ ซึ่งเมื่อเป็นที่รับรู้กันโดยสื่อ ก็มีคนบริจาคมาช่วยเหลืออย่างมากมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีส่วนน้อยบางคนที่ไม่พอใจ แต่คนส่วนใหญ่ได้ยอมรับหลักของเสรีภาพทางความเชื่อในศาสนา และชาวเอมิชนั้นก็ได้รับสิทธินั้น
ภาพ โรงนา (Barn) ของชาเอมิช ซึ่งสร้างด้วยไม้
ภาพ การยกไม้ประกอบเป็นโครงของโรงนา (Barn Raising) ภาพถ่ายในอดีต
ภาพ การยกไม้ประกอบเป็นโรงนา (Barn Raising) ในยุคปัจจุบัน ซึ่งก็ใช้การร่วมกันทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนร่วมกัน
ศึกษาเพิ่มเติม ( See also)
- Ordnung
การอ้างอิง ( References)
- ^ Julia A. Ericksen; Eugene P. Ericksen, John A. Hostetler, Gertrude E. Huntington (July 1979). "Fertility Patterns and Trends among the Old Order Amish". Population Studies (33): 255-76. ISSN 00324728. OCLC 39648293.
- ^ See this page and this page for more about the tradition associating celery with Amish weddings.
- ^ "Ohio's Amish seek help for underage drinking." By Amy Beth Graves (AP). Sunday, May 21, 2000. Cincinnati Enquirer [2]
- ^ See, for example, [Dan Morse "Still Called by Faith to the Booth: As Pay Phones Vanish, Amish and Mennonites Build Their Own"], The Washington Post, September 3, 2006, p. C1; see also Diane Zimmerman Umble's work on the subject of the Amish and telephones
- ^ Kraybill, Donald Amish Enterprise: From Plows to Profits, Baltimore:Johns Hopkins University Press, 2004
- ^ Howard Rheingold "Look Who's Talking", Wired, January, 1999, http://www.wired.com/wired/archive/7.01/amish.html
- ^ Rubinkam, Michael (October 5, 2006). Amish Reluctantly Accept Donations. The Washington Post. Retrieved on 2008-03-25.
- ^ Margaret M. Andrews and Joyceen S. Boyle (2002). Transcultural concepts in nursing care. Lippincott. Retrieved on 2008-01-19.
- ^ Kraybill et al. "Suicide Patterns in a Religious Subculture: The Old Order Amish," International Journal of Moral and Social Studies 1 (Autumn 1986).
- ^ Dewalt, Mark W (April 10, 2001). Amish Schools in the United States and Canada — Abstract. Education Resources Information Center.
- ^ Ediger, Marlow (1992). Reading in Old Order Amish Schools — Abstract. Education Resources Information Center.
- ^ Hostetler, John A. (1993). Amish Society 4th ed. Baltimore: The Johns Hopkins University Press, p. 188.
- ^ It should be noted that the conduct of the teenagers involved, and the allowance of the community for the teens to participate, would not be condoned by the majority of the Amish.
- ^ ABC News: Sexual Abuse in the Amish Community and ABC News: Sex Abuse Case Shocks Amish Community
- ^ Amish Deception 1: Learn the truth about the Swartzentruber Amish community in Ohio: Chapter 5 Page 2
- ^ Amish Deception 1: Learn the truth about the Swartzentruber Amish community in Ohio: Chapter 5 Page 3
- ^ Kraybill, D.B. and J.P. Hurd (2006). Horse-and-Buggy Mennonites : hoofbeats of humility in a postmodern world. The Pennsylvania State University Press, University Park, p. 159-160.
- ^ Rensberger, Susan. (2003) The Complete Idiot's Guide to Understanding the Amish. New York, Alpha Books (Penguin Group), p. 181 - 183
- Die Botschaft (Lancaster, PA 17608-0807; 717-392-1321). Magazine for Old Order Amish published by non-Amish; only Amish may place advertisements.
- The Budget (P.O. Box 249, Sugarcreek, OH 44681; 330-852-4634). Weekly newspaper by and for Amish.
- The Diary (P.O. Box 98, Gordonville, PA 17529). Monthly newsmagazine by and for Old Order Amish.
- DeWalt, Mark W. Amish Education in the United States and Canada. Rowman and Littlefield Education, 2006. 224 pp.
- Garret, Ottie A and Ruth Irene Garret. True Stories of the X-Amish: Banned, Excommunicated and Shunned, Horse Cave, KY: Neu Leben, 1998.
- Garret, Ruth Irene. Crossing Over: One Woman's Escape from Amish Life, Thomas More, 1998.
- Good, Merle and Phyllis. 20 Most Asked Questions about the Amish and Mennonites. Intercourse, PA: Good Books, 1979.
- Hostetler, John A. ed. Amish Roots: A Treasury of History, Wisdom, and Lore. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 1989. 319 pp.
- Hostetler, John A. Amish Society, 4th ed. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 1993. 435 pp.
- Igou, Brad. The Amish in Their Own Words: Amish Writings from 25 Years of Family Life, Scottdale, PA: Herald Press, 1999. 400 pp.
- Johnson-Weiner, Karen M. Train Up a Child: Old Order Amish and Mennonite Schools. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2006. 304 pp.
- Keim, Albert. Compulsory Education and the Amish: The Right Not to be Modern. Beacon Press, 1976. 211 pp.
- Kraybill, Donald B. The Riddle of Amish Culture. Rev. ed.: Baltimore, Md.; London: Johns Hopkins University Press, 2001. 397 pp.
- Kraybill, Donald B. ed. The Amish and the State. Foreword by Martin E. Marty. 2nd ed.: Baltimore : Johns Hopkins University Press, 2003. 351 pp.
- Kraybill, Donald B. and Marc A. Olshan, ed. The Amish Struggle with Modernity. Hanover, NH: University Press of New England, 1994. 304 pp.
- Kraybill, Donald B. and Carl D. Bowman. On the Backroad to Heaven: Old Order Hutterites, Mennonites, Amish, and Brethren. Baltimore, Johns Hopkins University Press, 2002. 330pp.
- Kraybill, Donald B. and Steven M. Nolt. Amish Enterprise: From Plows to Profits. 2nd ed. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2004. 286 pp.
- Kraybill, Donald B., Steven M. Nolt and David L. Weaver-Zercher. Amish Grace: How Forgiveness Transcended Tragedy. New York: Jossey-Bass, 2006. 256 pp.
- Nolt, Steven M. A history of the Amish. Rev. and updated ed.: Intercourse, Pa.: Good Books, 2003. 379 pp.
- Nolt, Steven M. and Thomas J. Myers. Plain Diversity: Amish Cultures and Identities. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2007. 256 pp.
- Schachtman, Tom. Rumspringa: To be or not to be Amish. New York: North Point Press, 2006. 286 pp.
- Schlabach, Theron F. Peace, Faith, Nation: Mennonites and Amish in Nineteenth-Century America. Scottdale, PA: Herald Press, 1988. 415 pp.
- Schmidt, Kimberly D., Diane Zimmerman Umble, and Steven D. Reschly, eds. Strangers at Home: Amish and Mennonite Women in History. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2002. 416 pp.
- Scott, Stephen. The Amish Wedding and Other Special Occasions of the Old Order Communities. Intercourse, PA: Good Books, 1988. 128pp.
- Stevick, Richard A. Growing Up Amish: the Teenage Years. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2007. 320 pp.
- Umble, Diane Zimmerman. Holding the Line: the Telephone in Old Order Mennonite and Amish Life. Johns Hopkins University Press, 2000. 192 pp.
- Umble, Diane Zimmerman and David L. Weaver-Zercher, eds. The Amish and the Media. Johns Hopkins University Press, 2008. 288 pp.
- Weaver-Zercher, David L. The Amish in the American Imagination. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2001. 280 pp.
Wikimedia Commons has media related to:
- Amish at the Open Directory Project
- "Amish Series & Articles" — from Amish Country News
- The Gentle People — Legal affairs article about how incest is handled in the Amish community
- Genetic Disorders Hit Amish Hard — from 60 Minutes, CBS News
- "Family Ties" — Article from University of Miami "Medicine" magazine, Spring 2004 — During a lifetime of studying the Old Order Amish in central Pennsylvania, University of Miami professor of psychiatry and behavioral sciences Janice Egeland, Ph. D., discovers the genetic clues behind the mystery of bipolar disorder and helps generations of families cope with the devastating disease.
- The Amish Get Wired — The Amish? — 1993 article by Paul Levinson in Wired about the Amish's selective and not technophobic use of technology
- Look Who's Talking — 1999 article by Howard Rheingold in Wired about the same topic
Annotated Bibliography of the Old Order Amish of Lancaster County, Pennsylvania by Adrian L. Whicker, MA, MLIS.
Categories: Amish | Ethnic groups in North America | Germanic peoples | German diaspora | Ohio culture | Peace churches | Simple living | Pennsylvania culture | Christianity in Ohio | Christianity in Indiana | Christianity in Wisconsin | Christianity in Pennsylvania | Religion in Lancaster, Pennsylvania | History of Lancaster, Pennsylvania | Americans of Swiss descent | Amish people
Hidden categories: All articles with unsourced statements | Articles with unsourced statements since September 2007 | Articles with unsourced statements since November 2007
No comments:
Post a Comment