Sunday, June 5, 2011

มาทำความรู้จักกับสนามเทนนิส (Tennis court)

มาทำความรู้จักกับสนามเทนนิส (Tennis court)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การกีฬา, sports, สุขภาพ, health, อนามัย, เทนนิส, tennis, ความอดทน, stamina, endurance, ความแข็งแรง, strength, 

ความนำ

เทนนิส (Tennis) เป็นกีฬาที่คนเล่นต้องมีความอดทน แข็งแกร่ง และมีพละกำลังดี เพราะเกมส์แข่งขันในระดับนานาชาติอาจต้องเล่นกันถึง 5 เซท (Set) บางครั้งใช้เวลาเล่นนานถึง 5 ชั่วโมงเ

เทนนิส เป็นกีฬาที่ดีที่จะใช้ส่งเสริมสุขภาพประชาชน และหากพูดถึงสภาพร่างกาย แม้คนไทยจะเสียเปรียบด้านรูปร่าง คือตัวไม่ใหญ่เท่าพวกฝรั่งตะวันตก แต่ก็ไม่ถึงกับเสียเปรียบจนไม่มีโอกาสเล่น สำหรับรูปร่างผู้เล่นชายขนาดสูง 180-185 ซม. หนัก 80 กก. พอหาเยาวชนไทยตัวใหญ่ได้ แต่ต้องฝึกสมรรถนะกันตั้งแต่ยังเด็กๆ สำหรับหญิงขนาดสูง 170-175 ซม. หนัก 60-70 กก. ก็นับว่าไม่เสียเปรียบมากแล้ว แต่ต้องมีสมรรถนะร่างกายที่ครบถ้วน และมีทักษะกีฬาที่ดีพอ

กีฬาเทนนิส ต้องอาศัยสนามเล่นที่มีใช้บริเวณ ไม่เหมือนกีฬาปิงปอง หรือ Table tennis ซึ่งโต๊ะปิงปองใช้พื้นที่ไม่มาก แต่ เทนนิสที่ใช้สนามมาตรฐานจะต้องใช้บริเวณที่กว้างขวางพอสมควร หากใครคิดจะลงทุนสร้างสนาม อาจเป็นโรงเรียน วิทยาลัย ศูนย์สุขภาพ ศูนย์เยาวชน โรงแรม แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศ เหล่านี้ก็ต้องลองศึกษามาตรฐานของสนามที่จะต้องใช้ เพื่อจะได้มีข้อมูลเพื่อการศึกษาและตัดสินใจได้


ภาพ สนามเทนนิสในร่วมที่มหาวิทยาลัยแห่งบาท ประเทศอังกฤษ
Indoor tennis courts at the University of Bath, England

สนามเทนนิส ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Tennis court เป็นที่เล่นกีฬาเทนนิส มีลักษณะเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular) มีพื้นผิวเรียบตลอดทั้งสนาม มีตาข่าย (Net) ขึงกั้นกลาง สนามแบบเดียวกันนี้สามารถใช้เล่นแบบเดี่ยว (Singles) คือด้านละหนึ่งคน หรือแบบคู่ (Doubles) คือด้านละ 2 คน

ขนาดของสนามเทนนิส Dimensions


ภาพ ขนาดของสนามเทนนิสมาตรฐานThe dimensions of a tennis court.
เทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นบนพื้นผิวเรียบที่เป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular) ซึ่งโดยทั่วไปเล่นได้ทั้งบนหญ้า (Grass) บนดิน (Clay) บนคอนครีต (Concrete) ซึ่งเรียกว่า พื้นแข็ง หรือ hard court หรือบนสนามที่ปูด้วยสารสังเคราะห์ (Synthetic suspended court) สนามเทนนิสมีขนาดยาว 23.78 เมตร แบ่งเป็นสองด้านๆละ 12 เมตร ความกว้าง 8.23 เมตรสำหรับแมทเดี่ยว (singles matches) และ 10.97 เมตรสำหรับแมทคู่ (doubles matches)
บริเวณกำหนดเสิร์ฟ (Service line) ลูกต้องห่างจากตาข่ายไม่เกิน 6.40 เมตร
นอกจากบริเวณของสนามตามกำหนดแล้ว ยังต้องมีบริเวณปลอดที่ผู้เล่นทั้งเดี่ยวหรือคู่จะต้องวิ่งรับลูกได้ทั้งด้านข้างและด้านหลังทั่วสนาม ขนาดอย่างน้อย กว้าง 18.3 เมตร ยาว 36.7 เมตร ส่วนของตาข่าย (Net) จะต้องขึงขวางสนามตามความส่วนกว้างของสนาม โดยแบ่งสนามสองฟากเท่าๆกัน ตาข่ายมีความสูง 1.07 เมตร ณ บริเวณเสาสองข้าง และบริเวณตรงกลางที่ตาข่ายอาจหย่อนลงมาต้องที่ระดับ 3 ฟุตหรือ 0.914 เมตร

ปฐมนิเทศ Orientation

สนามเทนนิสควรวางส่วนยาวไปทางทิศเหนือ-ใต้ หากเป็นสนามกลางแจ้ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันแสงจ้าจากดวงอาทิตย์ที่ขึ้นและลงทางตวันออก-ตก
ประเภทของสนามเทนนิส Types of tennis courts
สนามเทนนิสมี 4 ลักษณะตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำพื้นผิว (Surfaces) คือ สนามดิน (Clay courts), สนามผิวแข็ง (Hard courts) สนามหญ้า (Grass courts) และสนามปูพรม (Carpet courts) แต่ละประเภทสนามมีลักษณะที่มีผลต่อสไตล์การเล่นของเกมส์
ในการแข่งขันเทนนิสนานาชาติระดับยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า Grand Slam tournaments มี 4 แห่งใน 4 ประเทศ มีสภาพผิวสนามที่แตกต่างกัน ใน US Open ที่เมืองนิวยอร์คในสหรัฐอเมริกา และ Australian Open ที่เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ใช้สนามพื้นผิวแข็ง (Hard courts) ซึ่งในอดีตสนามทั้งสองแห่งเคยใช้สนามหญ้ามาก่อน สนามของ US Open เคยเปลี่ยนไปใช้สนามดินในช่วงปี ค.ศ. 1975-1977 ก่อนที่จะมาใช้พื้นผิวแข็งในที่สุด
การแข่งขัน French Open ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสปัจจุบันใช้พื้นที่เป็นดิน ซึ่งในอดีตเคยใช้สนามพื้นหญ้ามาก่อนในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1928
ที่การแข่งขัน Wimbledon ชานกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษได้ใช้สนามหญ้ามาแต่แรก และยังคงใช้สนามหญ้าเหมือนเช่นเดิม

สนามดิน Clay courts

สนามดินพื้นผิวทำมาจากอิฐ หิน หรือดินดาน (Shale) ป่น พื้นดินแดงจะมีลักษณะเล่นเกมส์ช้าผิวดินสีเขียว เรียก Har-Tru ในทวีปอเมริกาเหนือ สนามแข่ง French Open ใช้พื้นผิวดินที่แตกต่างจากสนาม Grand Slam Tournaments อื่นๆ
สนามดินทำให้ลูกบอลเมื่อตกกระทบแล้วกระดอนสูงเมื่อเทียบกับสนามผิวแข็งเช่นคอนกรีต ที่เป็นเช่นนี้ เพราะดินเมื่อบอลตกกระทบจะมีลักษณะจับลูกบอลเพราะความฝืด ทำให้บอลกระดอนขึ้นในลักษณะตั้งตรง (Horizontal path) และมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง
ด้วยเหตุดังกล่าวสนามดินจึงทำให้นักเล่นประเภทเสิร์ฟแรงลดความได้เปรียบลง ทำให้นักเล่นที่เน้นการเสิร์ฟจะครองสนามประเภทนี้
สนามเทนนิสแบบดินสร้างง่ายกว่าสนามในแบบอื่นๆ แต่ยากในการบำรุงรักษา ทำให้มีค่าบำรุงรักษามากกว่าสนามแบบผิวแข็งที่ทำด้วยคอนกรีต ลงทุนสูงกว่า แต่ค่าดูแลรักษาถูกกว่า สนามดินต้องมีลูกกลิ้งคอยบดทับให้ได้พื้นผิวเรียบเป็นระยะๆ สนามดินต้องมีปริมาณน้ำหรือความชื่นที่สมดุลเพื่อไม่ให้มีฝุ่นมากเกินไป และเนื่องจากมักเป็นสนามกลางแจ้ง จึงต้องมีลักษณะลาดชันเล็กน้อยเพื่อไม่ให้มีน้ำขังตรงกลาง
สนามดินเป็นที่คุ้นเคยในยุโรปและลาตินอเมริกามากกว่าในอเมริกาเหนือ

สนามหญ้า Grass courts



ภาพ การดูแลสนามหญ้าของสนามวิมเบิลดัน ในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษGrass court maintenance at Wimbledon.
สนามเทนนิสบนพื้นผิวหญ้า (Grass courts) จัดเป็นสนามที่มีทำให้ลูกวิ่งเร็ว เพราะลูกบอลเมื่อตกกระทบหญ้าจะวิ่งลู่ไปกับใบหญ้าและกำลังส่งไม่ตกลงมาก สนามประเภทนี้จะมีหญ้าปลูกบนผิวดินที่มีลักษณะบดแข็ง แต่เพราะเป็นหญ้าที่อาจมีธรรมชาติแตกต่างกันตามลักษณะสายพันธุ์ และการที่ได้มีการตัดเล็มมาก่อนมากน้อยเพียงใด และการที่มีหญ้าสึกไปในระหว่างเกมส์ที่เล่นมากน้อยอย่างไรด้วย
คะแนน (Points) ในการเล่นจะนับกันไดเร็ว ลูกตบกระทบพื้นแล้วไม่กระดอนสูง ทำให้คนเล่นประเภทเสิร์ฟหนักได้เปรียบ ฝ่ายรับลูกเสิร์ฟเสียเปรียบ คนเล่นเกมส์เร้ว ประเภทเสิร์ฟแรงแล้ววิ่งขึ้นหน้าเนท (serve-and-volley) จะเป็นพวกเล่นแล้วได้เปรียบ นักเล่นประเภทดังกล่าวได้แก่ นักเล่นชายอย่าง John McEnroe และ Stefan Edberg และนักเทนนิสหญิงอย่าง Martina Navratilova และ Jana Novotná
The International Tennis Hall of Fame .ใน Newport, R.I. ให้ความเห็นเกี่ยวกับสนามหญ้าว่า ผิวหญ้ามีลักษณะไม่แข็งและลื่นกว่าสนามแข็ง (Hard courts) ทำให้ลูกบอลไหลลื่นและกระดอนขึ้นสูงน้อยกว่าสนามดิน ผู้เล่นประเภทเสิร์ฟแรงแล้ววิ่งขึ้นหน้าเนทเพื่อวอลเล่ (Serve-and-volley players) จะใช้ความได้เปรียบจากโอกาสนี้ แต่สำหรับคนที่เสิร์ฟแล้วตัดลูก (Slice serve) ไม่ได้เปรียบเพิ่มขึ้นมากนัก นักเล่นบนผิวหญ้าจึงใช้เสร์ฟแบบตีตรง (Flatter shots) หรือแบบตีตรงสลับกับแบบตัดเพื่อเปลี่ยนทิศทาง ใช้โอกาสจากทำให้บอลวิ่งเร็วเป็นความได้เปรียบ
สนามวิมเบิลดัน (Wimbledon) จัดเป็นสนามหญ้าที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้ปรับเพื่อให้เกมส์บนหญ้าต้องช้าลงหลังปี ค.ศ. 2001 จนผู้เล่นสังเกตว่าในการเล่นที่สนามนี้ ลูกบอลวิ่งช้าลง หนักขึ้น และกระดอนสูงมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 2001 ฝ่ายจัดการของวิมเบิลดัน (Wimbledon) ได้กล่าวว่าฝ่ายจัดการแข่งขันได้เปลี่ยนพันธุ์หญ้าทั้งหมด 100 เปอร์เซนต์เป็น Perennial rye และปรับสภาพดินเบื้องล่างให้แข็.ขึ้นและแน่นขึ้น ทำให้ลูกช้าลงและกระดอนสูงขึ้น
นักเล่นถนัดสนามหญ้าอย่าง Tim Henman ถึงกับกล่าวไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 2002 และกล่าวว่ามันเป็นสนามหญ้าที่ช้าที่สุดตั้งแต่ที่เขาเล่นมาในปีนั้น ซึ่งเป็นผลทำให้การเล่นแบบเสิร์ฟแล้วขึ้นหน้าเนทจะมีน้อยลง ทำให้เห็นนักเล่นแบบเล่นท้ายสนาม (Baseliners) อย่าง Roger Federer, Venus Williams, และ Serena Williams สามารถชนะการเล่นได้มากครั้งขึ้นในสนามที่ได้ปรับไปนี้
ครั้งหนึ่ง สนามหญ้าเคยเป็นสนามเทนนิสหลัก แต่ในปัจจุบันด้วยเหตุของการดูแลรักษายาก มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องคอยให้น้ำ ตัดหญ้า ใช้เวลานานที่จะทำสนามให้แห่งหลังจากฝนตกใหญ่ เมื่อเทียบกับสนามแข็ง

สนามแข็ง Hard courts


ภาพ สนามเทนนิสบนยอดอาคารในเกาะสิงค์โปร์Rooftop Tennis Courts in Downtown Singapore
สนามแข็ง (Hard courts) จัดเป็นสนามประเภทเร็ว ทำให้นักเทนนิสที่ตีหนักได้เปรียบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สนามแข็งทำให้มีความเร็วได้ต่างกัน มันเร็วกว่าลูกวิ่งบนสนามดิน แต่ว่าช้ากว่าสนามหญ้า ขึ้นอยู่กับว่าสนามนั้นได้ใช้ส่วนของทรายผสมไปกับสีที่บริเวณผิว ทำให้ผิวหน้าสนามหยาบและจับลูกมากกว่าบนผิวแบบเรียบ
สนามแข็งจัดเป็นสนามกลางๆที่ไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนักสำหรับผู้เล่นทุกสไตล์ สนาม US Open ในเมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาใช้พื้นผิวแบบอคริลิค (Acrylic hard court) ในขณะนที่สนามสำหรับ Australian Open ที่เมืองเมลเบอร์น ใช้เล่นบนสนามผิวแบบ Synthetic hard court แม้ในสนามประเภทนี้ ก็ยังมีความแตกต่างกันจากการผสมทรายลงไปในสารเคลือบผิว ถ้ามีทรายมาก และหยาบมาก ก็จะมีผลทำให้ลูกบอลเคลื่อนช้าลงหลังตกกระทบผิวสนาม ทำให้สนามมีสภาพคล้ายสนามดินมากขึ้น
สนามแข็งในลักษณะผิวหยาบจะทำให้ลูกตกกระทบแล้วปั่นตัวลงต่ำอย่างรวดเร็วเมื่อใช้วิธีการตีแบบปั่นลูกขึ้น (Topspin) และเมื่อเฉือนหรือสับลูกลงล่าง ก็จะทำให้ลูกช้าลงและกระดอนขึ้นสูง เพราะผิวสนามจะยึดลูก นอกจากนี้สนามแข็งจะมีลักษณะฝืดไม่ยืดหยุ่น อาจทำให้ผู้เล่นได้รับบาดเจ็บได้ หากไม่ได้ปรับสไตล์การเล่นให้สอดคล้อง

สนามปูพรม Carpet courts

ภาพ สนามแบบปูพรม ใช้ในร่ม
สนามเทนนิสแบบปูพรม (Carpet courts) หรือสนามปูพรม เป็นคำที่ใช้สำหรับสนามที่โยกย้ายส่วนที่นำมาปูได้ เป็นคำเรียกสำหรับสนามที่ใช้วัสดุเหมือนสนามเทียม ใช้ในบริเวณกลางแจ้งก็ได้ หรือจะเป็นสนามกีฬาในร่ม ดังเช่นสนามบาสเก็ตบอล โดยปูด้วยยาง แล้วคลุมหน้าด้วยพื้นผิวที่ทำหน้าที่เหมือนสนามเทนนิส

สนามในร่มIndoor courts

สนามเทนนิสในร่มเป็นลักษณะที่พบโดยทั่วไป เป็นสนามประเภทช้า ลูกกระดอนสูง มีผิวที่เป็นยาง หากทำหน้าที่จำลองเป็นสนามดิน ก็จะมีระบบพรมน้ำ (Underground watering systems) ทำให้ในหลายที่ๆอากาศไม่เหมาะสมที่จะมีการแข่งขันกลางแจ้ง ก็มีการปูสนามบาสเก็ตบอลด้วยผ้าใบ แล้วจัดการเล่นหรือแข่งขันกันในร่มได้ ดังกรณีฤดูหนาวในยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งได้เริ่มมีการแข่งขันในลักษณะดังกล่าวตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960s เป็นต้นมา

สนามขนาดเล็ก Smaller courts

ITF ได้รณรงค์ให้มีการจัดการเล่นในแบบประหยัด หรือ Play and Stay ทำให้เทนนิสที่เป็นเกมส์ที่ต้องใช้สถานที่ขนาดกว้างใหญ่และเล่นได้จำกัด ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ใช้สนามขนาดเล็กลง โดยให้โอกาสสำหรับผู้เล่นฝึกใหม่ โดยใช้ขนาดสนามเล็กลง หากใช้บอลสีแดง สีส้ม หรือสีเขียว ก็จะเป็นลักษณะที่เล่นเกมส์ช้าลง ทำให้ผู้เล่นมีเวลา และควบคุมลูกได้ง่ายขึ้นเมื่อเสิร์ฟและเมื่อมีการตีไปมา เหมาะสำหรับเป็นกิจกรรมฝึกหัดสำหรับผู้เล่นใหม่

การอ้างอิง References

3. ^ "The Grass is Always Slower". BBC News. 2005-06-23. Retrieved 2010-01-06.
4. ^ "At Wimbledon, It's the Grass Stupid". Time. 2008-06-18. Retrieved 2010-05-25.

เชื่อมโยงภายนอก External links

No comments:

Post a Comment