Saturday, June 25, 2011

การปฏิวัติประชาธิปไตยในอาหรับ (Arab Spring)

การปฏิวัติประชาธิปไตยในอาหรับ (Arab Spring)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

The Arab Spring (ในภาษอาราบิคเขียนว่า Arabic: الثورات العربية; ซึ่งมีความหมายเทียบได้ว่า คือ “การกบถของอาหรับ” หรือ “ปฏิวัติอาหรับ” (the Arabic Rebellions or the Arab Revolutions) ซึ่งทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ก่อนหน้านี้มีเพียงซูดาน (Sudan) เป็นชาติเดียวในประเทศอาหรับที่สามารถโค่นล้มเผด็จการในช่วงปี ค.ศ. 1964 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1985

Arab Spring อาจแปลได้ว่า "ฤดูใบไม้ผลิแห่งชาติอาหรับ" ซึ่งฟังแล้วดูดี แต่ในความเป็นจริงมันได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 16,790-17,023 คน และความขัดแย้ง การต่อสู้ชิงอำนาจยังดำเนินไปอย่างไม่รู้ว่าจะจบหรือยุติความรุนแรงลงได้เมื่อใด

ประชาธิปไตยเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีต้นทุนสูง และมันจะประมาณค่าไม่ได้ในความเสียหายเมื่อมีผู้คนต้องล้มตาย ส่วนระดับของความรุนแรงในการปฏิวัติมีหลากหลายไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ กล่าวคือ

· จัดได้ว่ามีปฏิวัติ (Revolution) เปลี่ยนการปกครองไปแล้วในสองประเทศ คือ Tunisia และ Egypt

· เป็นสงครามกลางเมือง (Civil War) แล้วใน Libya นั่นคือประชาชนและกองกำลังของทั้งสองฝ่ายของคนในชาติเดียวกัน จับอาวุธขึ้นต่อสู้กัน

· มีการลุกขึ้นต่อต้าน (Civil uprising) โดยประชาชนในประเทศ Bahrain, Syria และ Yemen ซึ่งตามมาด้วยการปราบปรามอยางรุนแรง

· มีการประท้วงใหญ่ (Major protests) ใน Algeria, Iraq, Jordan, Morocco, และ Oman

· เริ่มมีการประท้วงขนาดย่อยๆ (Minor protests) ในหลายๆประเทศ ดังใน Kuwait, Lebanon, Mauritania, Saudi Arabia, Sudan, และ Western Sahara และรวมไปถึงบริเวณชายแดนของประเทศอิสราเอลที่คนอาหรับอาศัยอยู่

ในประเทศตูนิเซีย (Tunisia) นับเป็นประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบจาก Arab Spring ประธานาธิบดี Ben Ali ถูกขับลงจากอำนาจ รัฐบาลที่หนุนหลังถูกโค่นล้ม และเป็นการจุดชนวนการเปลี่ยนแปลง เป็นแรงดลใจแก่นักเคลื่อนไหวในโลกอาหรับอื่นๆ

ในประเทศอียิปต์ (Egypt) ประะธานาธิบดี Hosni Mubarak ถูกโค่นให้ออกจากตำแหน่ง และรัฐบาลถูกโค่นล้ม โดยมีกองทัพบกทำหน้าที่ผู้รักษาอำนาจในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลใหม่ที่จะมาจากการเลือกตั้ง

ประเทศเยเมน (Yemen) ประธานาธิบดี Ali Abdullah Saleh บาดเจ็บสาหัสจากการลอบสังหารและต้องไปพักรักษาตัวในประเทศซาอุดิอาเรเบีย และต้องส่งมอบอำนาจให้กับรองประธานาธิบดีทำการแทน

ประเทศลิเบีย (Libya) ได้เปลี่ยนสภาพความขัดแย้งไปสู่ระดับสงครามกลางเมือง ทำให้ต้องมีการแทรกแซงจากต่างชาติในรูปของการบังคับใช้เขตห้ามบิน (No-Fly Zone - NFZ) และการระดมทิ้งระเบิดที่มั่นของฝ่ายกองกำลังของกัดดาฟี (Gaddafi)

ปฏิวัติประชาธิปไตยในลิเบียเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 มีการประท้วงกันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ประชาชนจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับกองกำลังฝ่ายรัฐบาล การเข้ายึดครองเมืองสำคัญอื่นๆ นอกเมืองหลวงทริโปลี (Tripoli) และความขัดแย้งขยายตัวสู่ความเป็นสงครามกลางเมือง ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้เข้าครอบครองหลายเมืองในลิเบีย เริ่มจากทางด้านตะวันตก ไปสู่ทางฝั่งตะวันออก

ฝ่ายต่อต้านได้มีการจัดตั้งเป็นองค์กรขึ้น เรียกว่า “สภาแห่งการเปลี่ยนผ่าน” (The National Transitional Council) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและสั่งการฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่มีความหลากหลาย แต่โดยทั่วไปคือเริ่มจากกลุ่มนักวิชาชีพ ชนเผ่า เยาวชนคนหนุ่มสาวที่ไม่พอใจในรัฐบาลภายใตพันเอกกัดดาฟี

ในช่วงที่ฝ่ายกัดดาฟีใช้อาวุธหนัก เครื่องบินและรถถัง เข้าถล่มเมืองที่ยึดครองโดยฝ่ายต่อต้าน เริ่มจากฝ่ายสหรัฐที่เข้าบังคับใช้ “เขตปลอดการบิน” (No-Fly-Zone – NFZ) และติดตามมาด้วยมติของชาติสมาชิก NATO รวมทั้งชาติ Jordanian, Qatari, Swedish, และ Emirate ได้ส่งกำลังทหารเข้าต่อสู้กับฝ่ายลิเบียภายใต้กัดดาฟี แต่เป็นการรบที่ ณ ปัจจุบัน ยังเป็นการรบทางอากาศ (มิถุนายน 2011) มีการประเมินว่าตั้งแต่มีความขัดแย้งที่ขยายตัวรุนแรงสู่ความเป็นสงครามกลางเมืองแล้วนี้ได้มีผู้เสียชีวิตทั้งสอง และรวมถึงประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องไปแล้ว 13,000 คน

ในประเทศซีเรีย (Syria) และ บาห์เรน (Bahrain) เกิดการลุกฮือขึ้นโดยประชาชนต่อต้านรัฐบาล แม้รัฐบาลได้สัญญาว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย

ในประเทศซีเรีย เหตุการณ์ประท้วงได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2011 เกิดการประท้วงใหญ่ขึ้นทั่วประเทศ มีการเข้าทำลายอาคารสถานที่ราชการ การเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมือง การให้ยุติกฎอัยการศึก (Emergency Law)

มีการเรียกร้อง และสั่งปลดผู้ว่าราชการจังหวัดหลายคน และติดตามมาด้วยฝ่ายรัฐบาลได้ใช้กองกำลังพร้อมอาวุธหนักเข้าปราบปรามฝ่ายต่อต้านในเมืองดาราห์ (Daraa) และเมืองอื่นๆ

มีสมาชิกสภาของซีเรียบางส่วนลาออก มีข้าราชการบางส่วนลาออก

มีทหารฝ่ายรัฐบาลลาออกไปเข้าร่วมกับฝ่ายต่อต้าน แต่ยังเป็นส่วนน้อย และได้เริ่มมีการปะทะกับกำลังทหารของฝ่ายรัฐบาล และจากความขัดแย้งที่รุนแรง การลอบยิง และการใช้กำลังอาวุธหนักเข้าปราบปราม ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วตามการประเมินของกลุ่มสิทธิมนุษยชน 1,678–1,887 คน

ในประเทศจอร์แดน (Jordan) คูเวต (Kuwait) และโอมาน (Oman) ได้มีการปรับเปลี่ยนรัฐบาลเพื่อตอบสนองต่อฝ่ายต่อต้าน

ในประเทศมอรอคโค (Morocco) จุดกำเนิดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2011 มีการประท้วงเกิดขึ้น มีการทำลายทรัพย์สิน กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 6 (King Mohammed VI) ได้ทรงใช้อำนาจทางการเมืองเข้าดำเนินการ ได้เสนอให้มีการทำประชามติ (Referendum) เพื่อการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชน และการยุติการฉ้อราษฎรบังหลวง

ขณะเดียวกันก็ยังมีการลุกฮือขึ้นในประเทศอย่างอัลจีเรีย (Algeria) อิรัค (Iraq) และประเทศอื่นๆ

โดยภาพรวมของการปฏิวัติประชาธิปไตยในอาหรับ รูปแบบการประท้วงต่อต้านโดยประชาชนมีตั้งแต่ การหยุดงาน (Strikes) การเดินขบวน (Demonstrations, marches, rallies) ตลอดจนการใช้สื่อสังคม (Social media) ดังเช่น Facebook, Twitter, และ YouTube เพื่อใช้ในการจัดตั้ง สื่อสาร การยกระดับความตระหนัก แม้ว่าฝ่ายรัฐจะหาทางสกัดกั้นเส้นทางสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต

การเดินขบวนประท้วงเป็นอันมากได้พบกับการตอบโต้อย่างรุนแรงจากฝ่ายรัฐ และฝ่ายประชาชนสนับสนุนรัฐบาล กองกำลังจัดตั้ง ทหารพราน (Militias) และการจัดเดินขบวนตอบโต้โดยการสนับสนุนของรัฐบาล คำขวัญที่ใช้ในการรณรงค์ในโลกอาหรับคือ “ประชาชนต้องการโค่นล้มอำนาจของฝ่ายเผด็จการ” "The people want to bring down the regime.”



No comments:

Post a Comment