Saturday, November 10, 2012

โอบาม่า – เปิดรับความคิดใหม่ แต่คนรวยก็ยังต้องจ่ายมากขึ้น


โอบาม่า – เปิดรับความคิดใหม่ แต่คนรวยก็ยังต้องจ่ายมากขึ้น

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia และอื่นๆ


ภาพ บารัค โอบาม่า ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง

ในที่สุดผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งที่ 57 ก็ได้เสร็จสิ้นลง โดยการลงคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤศิจกายน ค.ศ. 2012 ตัวแทนจากพรรคดีโมแครต (Democratic nominee) คือประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า (President Barack Obama) และผู้ร่วมทีมแข่งขัน (running mate) ในตำแหน่งรองประธานาธิบดี คือรองประธานาธิบดี โจ ไบเดน (Vice President Joe Biden) ได้รับเลือกเข้าทำงานต่อเป็นสมัยที่สอง โดยมีชัยชนะเหนือผู้เป็นตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน (Republican nominee) อดีตผู้ว่าการรัฐแมสสาชูเสทส์ (Massachusetts Governor) มิท รอมนีย์ (Mitt Romney) และเพื่อนร่วมสมัครเป็นรองประธานาธิดี คือวุฒิสมาชิก พอล ไรอัน(Congressman, Paul Ryan) จากรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin)

กระบวนการเลือกตั้งถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี ค.ศ. 2012 ตามรัฐธรรมนูญ ตัดสินกันด้วยคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral vote) โดยแต่ละรัฐหลังผลของการเลือกโดยเสียงประชาชน (Electoral vote) ในแต่ละรัฐ ผลออกมาเป็นอย่างไร ฝ่ายชนะจะได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งไปแบบยกทั้งรัฐ ส่วนแต่ละรัฐจะได้รับโควตาคณะผู้เลือกตั้งตามจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี จะต้องได้รับเสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง 270 ขึ้นไป

คะแนนคณะผู้เลือก (Electoral vote) บารัค โอบาม่า ได้ 303  คะแนน จึงได้รับการตัดสินเป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สองต่อไป ส่วน มิต รอมนีย์จากพรรครีพับลิกันได้ 206 คะแนน

หากนับจำนวนรัฐที่ชนะกัน (States carried) โอบาม่าชนะ 25 รัฐ รวมกับเขตเมืองหลวงวอชิงตันดีซี (+ DC) ส่วนมิต รอมนีย์ชนะใน 24 รัฐ ซึ่งดูเหมือนไม่ห่างกันมาก แต่ประเด็น คือโอบาม่าชนะในรัฐที่มีประชากรมาก มีเมืองขนาดใหญ่ แต่รอมนีย์ได้คะแนนจากรัฐที่เป็นเกษตรกร และเป็นรัฐขนาดเล็ก

ส่วนคะแนนเสียงประชาชน (Popular vote) ทั้งประเทศ บารัค โอบาม่า ได้ 61,304,426 คะแนน และรอมนีย์ได้ 58,230,919 คะแนน ห่างกันเพียง 3 ล้านคะแนน ซึ่งห่างกันไม่มาก แต่คะแนนเสียงนี้ไม่ใช่ตัวตัดสิน

ผู้สมัคร
Nominee
บารัค โอบาม่า
Barack Obama
มิท รอมนีย์
Mitt Romney
พรรคการเมือง
Party
ดีโมแครต
Democratic
รีพับลิกัน
Republican
ฐานจากรัฐ
Home state
อิลลินอยส์
Illinois
แมสสาชูเสทส์
Massachusetts
คู่ร่วมสมัคร
Running mate
โจ ไบเดน
Joe Biden
พอล ไรอัน
Paul Ryan
คะแนนคณะผู้เลือกElectoral vote
303
206
รัฐที่ชนะ
States carried
25 + DC
24
เสียงประชาชน
Popular vote
61,304,426
58,230,919
สัดส่วนร้อยละ
Percentage
50.5%
47.9%

ผลด้านนโยบาย

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Obama 'Open to New Ideas,' but Rich Must Pay More.” CNBC, Friday, 9 Nov 2012 | 3:28 PM ET

ตามหลักการบริหารประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระบบนำโดยฝ่ายบริหาร คือประธานาธิบดี ที่มีคณะผู้ทำงาน คือคณะรัฐมนตรี เป็นฝ่ายดำเนินการในการบริหารประเทศ ซึ่งในนโยบายหลักๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative) ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ซึ่งเสียงข้างมากเป็นฝ่ายรีพับลิกัน และวุฒิสภา (Senate) ซึ่งฝ่ายดีโมแครตยังครองเสียงข้างมาก และทั้งหมดนี้ ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติต้องไม่กระทำการขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีศาลสูง (Federal Judge) เป็นฝ่ายตัดสินชี้ขาด หากมีความขัดแย้งกันด้านตีความรัฐธรรมนูญ

สิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อไป คือการที่ฝ่ายประธานาธิบดีและฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถตกลงกันได้ในกรอบงบประมาณและการจัดเก็บภาษี หากตกลงกันไม่ได้จริงๆ ก็จะนำไปสู่ปัญหาหุบเหวทางการเงินและงบประมาณ (Fiscal cliff) เพราะต้องหันกลับไปใช้กรอบภาษีก่อนเกิดวิกฤติ ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วเกินไป ทั้งการจัดเก็บภาษี และกรอบงบประมาณ อ้นจะมีผลให้ต้องเก็บภาษีสูง ต้องตัดทอนงบประมาณ ผลกระทบคือทำให้คนตกงาน เศรษฐกิจหดตัว เหมือนที่ได้เกิดขึ้นในยุโรป

การต้องพูดคุยกัน

ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าจะต้องเปิดเจรจากับฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาข้อยุติในความเห็นต่างโดยเร็ว

ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่ากล่าวในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า เขา “เปิดรับความคิดใหม่” เพื่อหาทางแก้ไขวิกฤติทางของประเทศ ที่เรียกว่า “หุบเหวแห่งการเงินการคลัง” (Fiscal cliff) ที่เป็นปัญหาทางด้านวิธีการที่แตกต่างกัน ระหว่างฝ่ายบริหาร กับรัฐสภา โดยเฉพาะสภาผู้แทนราษฎรในด้านการจัดการด้านการเงินการคลังของประเทศที่ทำให้ประเทศมีสถานะติดลบจากการกู้เงินต่างประเทศมาใช้ แต่ไม่มีวิธีการที่ชัดเจนว่าจะหารายได้ไปจ่ายหนี้เหล่านั้นได้อย่างไร

แต่โอบาม่ายืนยันว่า การเพิ่มภาษีสำหรับกลุ่มคนมีฐานะต้องเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง เพราะนี่เป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงกับประชาชน และเมื่อเขาชนะการเลือกตั้งมา นั่นแสดงว่าประชาชนต้องการให้เขาต้องทำในสิ่งที่สัญญาไว้

Nicholas Kamm | AFP | Getty Images

ในช่วงของการหาเสียง มีคำถามว่า “คนส่วนใหญ่ของอเมริกาเห็นด้วยกับแนวทางของผมหรือไม่”
ที่รัฐสภาของสหรัฐอเมริกาในเมืองวอชิงตัน ดีซี John Boehner ประธานสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ได้กล่าวว่า “ยังไม่เต็มใจที่จะให้ขึ้นภาษีสำหรับกลุ่มคนมีฐานะ แต่ได้เปิดช่องทางที่จะหาทางจัดงบประมาณแบบสมดุล โดยมีเงินรายได้จากการจัดกรอบภาษีทั้งหมดใหม่ ลดอัตราภาษีลง และขจัดการจ่ายรายได้จากภาษีบางอย่างออกไป

โดยมารยาทและประเพณีปฏิบัติ เมื่อประธานาธิบดีอันเป็นฝ่ายบริหารได้รับคะแนนเสียงยืนยันให้เข้ามาทำหน้าที่อีกครั้ง ฝ่ายรัฐสภาก็ต้องให้ความร่วมมือในด้านการทำให้นโยบายที่หาเสียงไว้และประชาชนเห็นชอบ ได้ดำเนินการไปอย่างเป็นรูปธรรม

 ผมพร้อมที่จะประนีประนอม ผมเปิดรับความคิดใหม่” โอบาม่ากล่าว “แต่ผมปฏิเสธที่จะยอมรับงบประมาณที่ไม่สมดุล ผมจะไม่ขอให้นักศึกษา คนชรา คนชั้นกลางจำนวนมากต้องจ่ายภาษีเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุล โดยไม่ได้เก็บเงินภาษีเพิ่มจากกลุ่มคนที่มีรายได้ปีละกว่า $250,000 เช่นผม แม้เพียงสักเล็กน้อย

แนวทางของโอบาม่าคือการกระตุ้นให้เกิดงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และขยายการงดเก็บภาษีคนมีรายได้ปานกลางออกไป แต่ให้เก็บภาษีของคนมีรายได้มากพอ คือกลุ่มที่มีรายได้ $250,000 ต่อปีขึ้นไป แต่ฝ่ายรีพับลิกัน มองว่า การเก็บภาษีคนมีเงินมากนั้น ทำให้คนกลุ่มนี้หันไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ที่มีฐานภาษีต่ำกว่าได้ ความคิดเห็นของธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ ก็ออกมาในทำนองนี้

หนึ่งในสาระที่สื่อระหว่างการหาเสียงของประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าที่ชัดเจนคือ คนอเมริกันที่ร่ำรวยที่สุดจะถูกขอให้ “จ่ายภาษีมากขึ้นสักเล็กน้อย” เพื่อทำให้สถานะการเงินการคลังของประเทศกลับคืนสู่สภาพความสมดุล ในช่วงเวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

No comments:

Post a Comment