Saturday, November 17, 2012

ทฤษฎีเด็กเน่า (Rotten kid theorem) พร้อมกรณีศึกษา


ทฤษฎีเด็กเน่า (Rotten kid theorem) พร้อมกรณีศึกษา

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: cw411, Economics, เศรษฐศาสตร์, sociology, สังคมวิทยา, ทฤษฎีเด็กมีปัญหา, Rotten kid theorem, ระบบรางวัล, reward system, incentive,

ทฤษฎีเด็กมีปัญหา (Rotten kid theorem)

Rotten = เน่าเสีย, เน่าเปื่อย, น่าขยะแขยง, เฟะฟะ, เลวทราม, เหม็นบูด, เสื่อมโทรม

หากจะแปลความหมายอย่างที่เขาใช้เรียกกัน ก็ดูจะแสดงทัศนคติที่ไม่เหมาะสมออกมา จึงของเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีเด็กมีปัญหา” (Rotten kid theorem) Gary Becker นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกได้เสนอแนวคิดด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอันหนึ่ง โดยเรียกว่า Rotten kid theorem โดยอธิบายว่าในทุกครอบครัว แม้จะมีความเห็นแก่ตัว แต่จะช่วยกัน โดยสร้างแรงจูงใจทางการเงิน เพื่อช่วยสมาชิกที่มีปัญหาที่สุด อาจด้วยความไม่แข็งแรง เจ็บป่วย ไม่ฉลาดเท่าคนอื่นๆ เรียนหนังสือหรือมีพื้นฐานที่ไม่ดีเท่าคนอื่นๆ แต่หากคนที่มีปัญหาเป็นจุดอ่อนนี้ ได้รับแรงจูงใจที่เหมาะสม โดยมองเห็นประโยชน์ของส่วนรวมร่วมด้วย เขาก็จะเติบโตและดำชีวิตได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็น

ศาสตราจารย์ Gary Becker นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ให้สถานการณ์สมมุติฐานว่า เด็กจะได้รับรางวัลทางด้านการเงินจากพ่อแม่ที่เข้าใจปัญหาและมีกุศลจิต (Altruistic) คิดอย่างมองเห็นประโยชน์ของส่วนรวม หากมีเด็กที่เป็นคนเห็นแก่ตัว ที่แสวงความสุขที่เป็นการทำร้ายพี่น้องคนอื่นๆ ทฤษฎี Rotten kid theorem จะมีแรงจูงใจที่ทำให้เด็กที่อาจเห็นแก่ตัวนั้นหลีกเลี่ยงการทำร้ายคนอื่น และเปลี่ยนเป็นช่วยทำในสิ่งที่เป็นความสุขแก่คนอื่นๆ เนื่องจากจะได้รางวัลหรือเงินเป็นแรงจูงใจให้กระทำอย่างนั้น แม้จะไม่มีโครงสร้างอย่างเป็นทางการหรือรูปธรรมใดๆ ทั้งนี้เพียงว่าพ่อแม่มีการกำหนดให้รางวัลของเด็กมีปัญหาให้เป็นผลมาจาก “การทำให้คนอื่นๆได้มีความสุข”
Altruistic = ซึ่งเห็นแก่ผู้อื่น, การกระทำอย่างเสียสละโดยไม่ได้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตน

ทฤษฎีเสนอว่า พ่อแม่ควรชะลอการให้เงินแก่เด็กๆจนกว่าเขาจะโตพอ หรือบางทีอาจหลังจากที่พ่อแม่เสียชีวิตแล้ว หากพ่อแม่ทำพินัยกรรม (Will) มอบเงินให้กับเด็กๆตามความจำเป็น (Needs) เด็กๆก็จะมีแรงจูงใจที่จะทำให้คนอื่นๆได้มีรายได้มากที่สุด เพราะแรงจูงใจที่มาจากการทำให้คนอื่นๆได้มีทรัพย์สินเป็นผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของตนเอง คือคนอื่นๆได้ดี เขาก็ได้ดีด้วย

กล่าวอย่างง่ายๆ ทำให้คนมีแรงจูงใจที่ทำให้คนอื่นๆได้ดี แล้วเราจะได้ดีตามไปด้วย

กรณีศึกษาที่ 1

ณ หมู่บ้านตากอากาศแห่งหนึ่ง

ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ในหมู่บ้านที่เป็นเมืองท่องเที่ยวตากอากาศ (Resort Village, or Town) แห่งหนึ่ง ใช้หลักบริหารแบบทฤษฎีเด็กมีปัญหา (Rotten kid theorem) ในการดูแลสวัสดิการคนในหมู่บ้าน ทำให้คนในหมู่บ้านเข้าใจว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนขึ้นอยู่กับการที่มีคมมาท่องเที่ยวตากอากาศ การจะช่วยทำให้หมู่บ้านนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมาพัก คือ ทำให้หมู่บ้านดูร่มรื่น สถานที่สาธารณะทุกแห่งสะอาดสะอ้าน คนมีอัธยาศัยดี ช่วยเหลือคนต่างชาติโดยไม่ต้องหวังสินจ้างใดๆ ห้องน้ำห้องสุขาของสถานที่สาธารณะทุกแห่งสะอาด ทุกร้านอาหารมีอาหารที่อร่อย สะอาดถูกสุขลักษณะ แล้วขณะเดียวกัน ฝ่ายผู้มีฐานะ คนลงทุนในธุรกิจก็จ้างคนในหมู่บ้านด้วยค่าแรงงานที่เป็นธรรมเพียงพอ ทุกคนมีสวัสดิการที่ดี อันเป็นผลมาจากกิจการท่องเที่ยวนั้น ซึ่งทุกคนรับรู้ในเรื่องนี้ และช่วยกันทำให้กิจการท่องเที่ยวของเมืองโดยรวมมีชื่อเสียงจนเป็นที่กล่าวขานทั่วไป คนอยากมาเที่ยวและมาพักผ่อนในหมู่บ้านนี้ ผลที่ตามมาคือ ในทุกกิจกรรมประสบความสำเร็จ หมู่บ้านได้รับเงินภาษีจากกิจการต่างๆในหมู่บ้าน นำมาเสริมให้กับกิจกรรมทุกอย่างที่เป็นส่วนรวมของหมู่บ้าน ทั้งในด้านการศึกษาของโรงเรียนในชุมชน ร้านแพทย์ในชุมชน สวัสดิการร้านค้า ถนนหนทาง ฯลฯ

หลักมีอยู่ว่า ทุกคนรวมถึงคนที่มีฐานะและไม่มีฐานะทั้งหลาย ต้องช่วยกันทำให้หมู่บ้านเจริญ เศรษฐกิจดี และผลดีจะกลับมาตอบสนองต่อทุกคนในหมู่บ้าน แต่การจ่ายเงินหรือรางวัล ไม่ใช่จ่ายตามที่อยากได้ แต่จ่ายตามความต้องการ ตามความจำเป็น ทุกคนไม่ได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน แตกต่างได้ตามความสามารถและความยากในทักษะงานนั้นๆ แต่ทำให้ทุกคนได้ตระหนักว่ารางวัลโดยรวมสำหรับทุกคนนั้น เป็นผลมาจากการที่แต่ละคนต้องทำงานให้กับส่วนรวม

คนที่มีปัญหาระดับล่างสุดอาจจะร้อยละ 20 อาจอ่อนแอ ไม่มีทักษะในการทำงานเท่าคนที่แข็.แกร่งกว่า แต่ก็ยังได้รับการดูแลที่ดีเพียงพอ แล้วก็ยังมีใจในการช่วยทำงานให้กับชุมชนของเขา ทั้งหมดนี้ หากเรามีระบบรางวัลในสังคมที่เหมาะสม ทุกคนรับรู้และเข้าใจ

กรณีศึกษาที่ 2

การเลี้ยงลูกและการแบ่งสมบัติ

หลักคำสอนของพ่อแม่ครอบครัวชนชั้นกลาง (Thai middleclass) ที่ประสบความสำเร็จ มีหลักฐานที่มั่นคง และได้สอนลูกๆ 6 คนในช่วงเมื่อ 50-80 ปีที่ผ่านมา เอาไว้ดังนี้

พ่อแม่ไม่มีสมบัติอะไรสำคัญกว่าการจะส่งเสียให้เรียนหนังสือให้สูงที่สุด เพราะแต่ละคนจะได้มีเครื่องมือพึ่งตนเองไปได้ตลอดชีวิต ได้ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

สำหรับที่ดินและทรัพย์สิน เมื่อสิ้นพ่อและแม่แล้ว จะแบ่งให้ทุกคนเท่าๆกัน สมบัติที่เป็นที่ดิน หากเป็นชิ้นใหญ่ ก็แบ่งให้ทุกคนมีถนนทางเข้าที่ ใครอยากทำประโยชน์ ทำกิจกรรมใดก็สามารถใช้เป็นฐานทำกิจกรรมกันต่อไป

แต่สิ่งที่จะฝากไว้ คือ เมื่อไม่มีพ่อแม่แล้ว ขอให้ทุกคนยังรักกัน อย่าทะเลาะกัน หากมีใครตกทุกข์ได้ยาก ก็ให้ช่วยกันเท่าที่จะทำได้ เสวนาเรื่อง "การพัฒนาทุนมนุษย์" (Human Capital Development) ว่าด้วยเรื่องการเลี้ยงดูลูก ให้รางวัลลูกได้ที่ Pracob Cooparat at Facebook

กรณีศึกษาที่ 3

หลักสูตรนานาชาติที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

การมีแผนงานที่จะเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรี (BS., BA.) ด้าน Hospitality Management ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Surindra Rajabhat University – SRRU)
โดยเป็นโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ใช้การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (English as the medium of instruction) โดยมีผู้สอนที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นชาวต่างประเทศ และคนไทยที่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้ดี และเคยมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศมาแล้ว
มีเป้าหมายผลิตบัณฑิตที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ทำงานในด้านการโรงแรม การเดินทาง การท่องเที่ยว อาหารและเครื่องดื่ม จบแล้วมีงานทำ สร้างงานได้เอง

มีค่าใช้จ่ายในระดับไม่สูง มีค่าเล่าเรียนที่ประมาณปีละ 100,000-120,000 บาท/คน หรือ 480,000 บาทต่อหลักสูตร 4 ปี

ให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ดร. ประภาพร บุญปลอด – รายละเอียดของโครงการ, การจัดการด้านการเงิน, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, การบริหารวิชาการ, การพัฒนาด้านการตลาด, ฯลฯ

หลักสูตรมีความเป็นไปได้หรือไม่, สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายการจัดการ, ทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้เรียนไม่สูงจนเกินไปได้หรือไม่ และอย่างไร โปรอดอภิปราย

กรณีศึกษาที่ 4

นโยบายการค้าข้าวของประเทศไทย

ลองใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์สังคม หรือ Human Capital กับการส่งเสริมการผลิตข้าว (Rice production) ในประเทศไทย ทำให้ไทยเป็นผู้ผลิตข้าวที่พัฒนาได้อย่างยั่งยืน (Sustainability) ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากการผลิตข้าวอย่างเป็นธรรม เราจะมีระบบรางวัลอย่างไร มีมาตรการในการส่งเสริมอย่างไร จะขายข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวอย่างไร?

ขอให้เตรียมข้อมูลขั้นพื้นฐานให้พร้อม ก่อนนำไปสู่การตัดสินใจ และการให้ข้อเสนอแนะ

กรณีศึกษาที่ 5

ตลาดการค้าอวัยวะเสรี (Organ market)

ในโลกนี้วงการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปสู่การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะได้อย่างเป็นผล ทั้งหัวใจ (Heart) ปอด (Lung) หรือตับ (Liver) โดยเฉพาะไต (Kidney) และความต้องการของผู้ป่วยที่ต้องการได้รับอวัยวะเหล่านี้เพื่อการผ่าตัดมีมาก ในอีกด้านหนึ่ง ในบางสังคม ความต้องการทรัพยากรเงินทุนมีมาก ทั้งระดับบุคคล สังคม และประเทศ จึงมีการเสนอให้มีการค้าขายอวัยวะของร่างกายได้อย่างเสรี เพื่อให้ฝ่ายต้องการใช้อวัยวะเหล่านี้ และมีเงินพอได้ใช้บริการซื้อขายอย่างเปิดเผย เป็นการเร่งกระบวนการให้สั้นเข้า ทำให้โอกาสผู้ป่วยในการรักษาพยาบาลประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น แทนที่จะต้องรอการบริจาคเป็นเวลายาวนาน

ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อแนวคิดนี้ โปรอดอภิปราย

No comments:

Post a Comment