Wednesday, November 14, 2012

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Economic bubble)

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Economic bubble)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: cw411, Economics, เศรษฐศาสตร์, sociology, สังคมวิทยา, เศรษฐกิจฟองสบู่, speculative bubble, market bubble, price bubble, financial bubble, speculative mania, balloon, เศรษฐกิจลูกโป่งแตก


ภาพ บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในเอเซีย ที่เริ่มจากประเทศไทย ดูที่สีแสดโดยช่วงก่อนหน้านี้จะมีอาการของเศรษฐกิจฟองสะบู่ (Economic bubble) คือดูภายนอกเหมือนดี แต่คนทำธุรกิจค้าขายได้ยาก

ความหมาย

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Economic bubble) ในภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกหลายๆชื่อแต่ในความหมายใกล้เคียงกัน เช่น speculative bubble, market bubble, price bubble, financial bubble, speculative mania หรือ balloon เป็นการค้าขายที่ค่าสินค้าและบริการที่ไม่เป็นจริง หากซื้อวัตถุดิบ หุ้น หรือทรัพย์สินนั้นๆไปดำเนินการต่อ ก็จะไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน แต่เหตุที่ทุกสิ่งราคาสูงกว่าความเป็นจริงเป็นเรื่องของการคาดการณ์ (Speculative) หรือแปลได้อีกว่า การค้าที่ผลิตผลหรือทรัพย์สินมีราคาที่เกินจริง

ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงฟองสบู่นั้น คนมักจะมองทุกอย่างไปในทางบวก คนจะมองไม่เห็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น สังเกตไม่ได้จากดรรชนีตลาดหลักทรัพย์ (Stock market) ที่ทุกอย่างยังดูดีอยู่ แต่คนในวงการค้าในตลาดจริงๆจะเริ่มบ่นกันว่า การค้าไม่ดี ของแพง ขายไม่ได้ ธุรกิจเริ่มจะไม่อยากจ้างงาน ไม่ขยายงาน สินค้าขายไม่ค่อยได้ ก็จะคิดถึงการปลดหรือลดคนงาน และเมื่อทุกอย่างประสบปัญหา แล้วแก้ปัญหาเป็นรายองค์กรแบบเอาตัวรอด แล้วค่อยๆลามไป ดังนี้ก็จะนำไปสู่ “วิกฤติเศรษฐกิจ”

นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ

ตัวอย่างของเศรษฐกิจฟองสบู่เกิดขึ้นในช่วงก่อน “วิกฤติการเงินในเอเชีย” (Asian Financial Crisis) ซึ่งมีผลกระทบทั่วไปในเอเชีย โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1997 และทำให้เกิดความหวั่นไหวว่าจะเกิดเศรษฐกิจโลกล่มสลาย (Worldwide economic meltdown) เป็นเหมือนเศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วอย่างร้อนจัด จนกระทั้งเข้าสู่จุดหลอมละลาย กลายเป็นอาการระบาดไปทั่วโลก

ปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ที่นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย หนักที่สุดได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia), เกาหลีใต้ (South Korea) และไทย (Thailand) ส่วนประเทศในเอเซียที่ได้รับผลกระทบแต่ในระดับรองลงมาได้แก่ ฮ่องกง (Hong Kong),มาเลเซีย (Malaysia),ลาว (Laos) และฟิลิปปินส์ (Philippines) จีน (China), ไต้หวัน (Taiwan) ,สิงคโปร์ (Singapore), บรูไน (Brunei) และเวียดนาม (Vietnam) ได้รับผลกระทบแต่น้อยกว่า ด้วยความที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า หรือเพราะเป็นชาติที่ยังไม่เจริญและพึ่งตลาดต่างประเทศมากนัก

ในช่วงที่เกิดวิกฤตินี้อัตราส่วนของหนี้ภาคสาธารณะต่อรายได้ประชาชาติได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100 ถึง 167 ใน 4 ประเทศใหญ่ของ ASEAN รวมทั้งประเทศไทย ส่วนก่อนหน้านั้นการขยายตัวของเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นเป็นเกินร้อยละ 180 แล้วก็ตกลงมาอย่างหนักในช่วงเวลาสั้นๆ

ส่วนการแก้ปัญหาวิกฤติต้องใช้เวลายาวนาน เป็นการลองผิดลองถูก ซึ่งในเอเชียกว่าจะกลับมาสู่สภาพฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน ก็ต้องใช้เวลายาวนานถึง 10 ปี

No comments:

Post a Comment