ภาพ ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) และสวนเคนซิงตัน (Hyde Park and Kensington Gardens)
ที่เห็นเป็นส่วนสีเขียวครึ้ม)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the
free encyclopedia
Keywords: การเมือง, การปกครอง, ประชาธิปไตย, politics,
democracy, freedom, liberty, เสรีภาพทางการเมือง,
สิทธิในการแสดงออก, majority rules, minority's rights, ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park)
ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) เป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในตอนกลางของกรุงลอนดอน
ประเทศสหราชอาณาจักร (Central London, United Kingdom)
สวนสาธารณะนี้มีชื่อเสียง เป็นสถานที่แสดงสินค้า
(the Great Exhibition
of 1851) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1851 ทำให้มี “ราชวังแก้ว”
(Crystal Palace)
ซึ่งออกแบบโดย Joseph Paxton
แต่ที่คนทั่วไปรู้จักกันคือเป็นที่เริ่มต้นของการรณรงค์ทางการเมือง ดังเช่น
การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ การเคลื่อนไหวผู้ใช้แรงงานเพื่อการปฏิรูปการเมือง
(The Chartists), สมาพันธ์ปฏิรูป
การผลักดันโดยชนชั้นกลาง (The Reform League), การเคลื่อนไหวของกลุ่มสิทธิสตรี
(The Suffragettes) และกลุ่มรณรงค์หยุดสงคราม
(The Stop
The War Coalition) ล้วนเริ่มต้นที่นี่
ชื่อไฮด์ปาร์ค
จึงเป็นเหมือนดังชื่อของเสรีภาพในการพูดการนำเสนอทางการเมือง
ใครมีข้อคับข้องใจอะไรจะนำเสนอทางการเมือง ก็ไปใช้เวทีที่นี่ได้ ในประเทศไทย
กรุงเทพฯและทุกเมืองใหญ่ มีที่สาธารณะ
ที่จะให้คนจัดกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างสะดวก ไม่ว่าเขาจะคิดอย่างไร
เป็นฝ่ายรัฐบาลหรือต่อต้านรัฐบาล หากให้เขาได้แสดงออกอย่างเสรี
และด้วยความระมัดระวังไม่ไปกระทบคนอื่นๆที่เขาไม่ได้เกี่ยวข้อง
ย่อมจะเป็นบรรยากาศประชาธิปไตยที่ดี และควรสนับสนุนเปิดโอกาสการแสดงออกอย่างเสรี
ภาพ มุมปราศรัยที่ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park,
London, UK)
มุมปราศรัยในสวนสาธารณะ
(Speakers' Corner) เป็นที่ซึ่งเปิดโอกาสให้คนพูดได้อย่างเสรี
ทั้งในแบบโต้วาที และการเสวนา
จุดเริ่มต้นที่คนรู้จักกันมากที่สุดคือที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของไฮด์ปาร์ค (Hyde Park in London, United Kingdom – UK)
คนพูดอาจพูดในประเด็นใดๆก็ได้
ตราบเท่าที่ตำรวจที่ยืนฟังอยู่เห็นว่าไม่ขัดกฎหมาย แต่การพูด ณ
ที่นี้ไม่ทำให้ปลอดจากการฟ้องร้องทางกฎหมาย
หากการพูดนั้นไปสร้างความเสียหายแก่บุคคลอื่น แต่โดยทั่วไปตำรวจจะมีความอดทน
ยกเว้นเสียแต่ได้รับคำร้องเรียนว่าพูดคำหยาบคาย หรือไปดูหมิ่นผู้อื่น (Profanity)
No comments:
Post a Comment