Friday, November 15, 2013

คนมักจะถามว่า เมื่อคว่ำพรบ. นิรโทษกรรม แล้วจะทำอย่างไรต่อไป


คนมักจะถามว่า เมื่อคว่ำพรบ. นิรโทษกรรม แล้วจะทำอย่างไรต่อไป

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, กฎหมายนิรโทษกรรม, Amnesty bill, ทักษิณ ชินวัตร, Thaksin Shinawatra, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, Yingluck Shinawatra, อารยะขัดขืน, civil disobedience, สังคมแห่งการสื่อสารสื่อสังคม, social media, twitter, Facebook, Line, การเล่นพรรคเล่นพวก, nepotism
---------------

เมื่อคว่ำพรบ.นิรโทษกรรมไปด้วยเสียงวุฒิสภาอย่างเป็นเอกฉันท์แล้ว แต่เขาก็ยังสามารถนำกลับเข้ามาพิจารณาใหม่ได้ หลังจาก 180 วัน ไม่มีอะไรน่าเชื่อถือสำหรับรัฐบาลยิ่งลักษณ์-ทักษิณอีกต่อไป สมาชิกพรรคเพื่อไทย 310 เสียงยังอยู่ วุฒิสมาชิกซีกของเขาที่สามารถซื้อได้ยังอยู่ การโกงกินอย่างมโหฬารยังคงดำเนินไปอยู่ในระบบการบริหารบ้านเมือง เศรษฐกิจของชาติก็กำลังเสี่ยงต่อความล้มเหลวมากขึ้นเป็นลำดับ

แล้วเราจะดำเนินการอย่างไรต่อไป คำตอบคือ ต้องมีแผนยุทธศาสตร์ในการฟื้นฟูประเทศ และอย่างน้อยก็มีนักวิชาการที่สนใจในปัญหาบ้านเมืองได้ร่วมกันคิด ส่วนรายละเอียดว่าจะทำได้อย่างไร ก็ไปว่ากันอีกที ยังมีเวลาถกเถียงและเรียนรู้ร่วมกันครั - ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat) ณ วันที่ 16-11-2013
--------------------


ภาพ กลุ่มคณาจารย์มหาวิทยาลัยเสนอแนวทางปฏิรูปประเทศไทย 15 พฤศจิกายน 2556

คณาจารย์เสนอตั้ง 3 คณะดันปฏิรูปประเทศ แก้ปัญหาเผด็จการนายทุน

เขียนวันที่ วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 13:13 น.
เขียนโดย isranews หมวดหมู่Thaireform | ในกระแส | การเมืองและระบบยุติธรรม | Isranews | เวทีทัศน์

คณาจารย์ชี้ปฏิรูปการเมืองของรบ.ไม่เห็นทางสำเร็จ เสนอพลิกวิกฤติ ตั้งต้นปฏิรูปประเทศไทย เร่งรื้อระบบการเมือง-ศก.-ความเป็นธรรม-ยุติธรรม ขอผู้คุมอำนาจทุกขั้ว-พลังปชช.เข้าร่วม

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 เหล่าคณาจารย์มหาวิทยาลัย และสถาบันศึกษา นำโดย ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ออกแถลงการณ์ คณาจารย์มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา เสนอแนวทางปฏิรูปประเทศไทย ณ ห้องวรรณไวทยากรณ์ ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ทางคณาจารย์เห็นว่า แม้วุฒิสภาได้มีมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ไปแล้ว แต่ประชาชนยังเห็นว่าการกระทำดังกล่าวยังไม่ได้แสดงถึงความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตี ทางคณาจารย์ทั้งหลายเห็นว่า มูลเหตุของปัญหาดังกล่าวอยู่ที่ "ระบบเด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา" โดยนายทุนที่ขาดจริยธรรม อาศัยเครื่องมือ ประชาธิปไตย โดยนายทุนที่ขาดจริยธรรมอาศัยเครื่องมือ "ประชาธิปไตย" เป็นช่องทางเข้าแสวงหาอำนาจ เริ่มด้วยการออกนโยบายประชานิยมและการซื้อเสียง เพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง

ทั้งนี้ เห็นว่าปัญหาต่างๆ ของประเทศชาติในปัจจุบันล้วนเป็นผลโดยตรงจาก การที่ประเทศไทยมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่เป็นประชาธิปไตย ระบบการเมืองแท้จริงของไทย คือ "ระบบเผด็จการโดยพรรคกาเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา" ที่จะทำให้ความขัดแย้งในสังคมทวีความรุนแรงมากขึ้น

คณาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ขอเสนอให้พลังสังคมไทยทุกภาคส่วนร่วม ชูธง ปฏิรูปประเทศไทย ตั้งเป้าเปลี่ยนประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อสร้างประเทศไทยสู่ "สังคมที่เป็นธรรม ประชาชนมีความมั่นคงและเป็นสุข" โดยเริ่มที่เรื่องสำคัญเร่งด่วน 4 ด้าน ได้แก่

1.ปฏิรูปการเมือง เปลี่ยนแปลงระบบรัฐสภาให้เป็นองค์กรตัวแทนที่แท้จริงของประชาชน ป้องกันเผด็จการรัฐสภาแทนทุนสามานย์ที่มุ่งการถอนทุนคืน

2.ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมกลไกตลาดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ปราศจากอิทธิพลแทรกแซงจากภาครัฐ ปฏิรูประบบพลังงาน แรงงาน เกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน

3.ปฏิรูปสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ได้แก่ ระบบการศึกษา ระบบการสาธารณสุข และระบบสวัสดิการ

4.ปฏิรูประบบราชการและความยุติธรรม เน้นความเป็นนิติรัฐ ส่งเสริมระบบราชการโดยระบบคุณธรรม ทำบายทุจริตคอร์รัปชั่นให้หมดไป ส่งเสริมข้าราชการทำงานเพื่อแผ่นดินโดยปราศจากการครอบงำจากฝ่ายการเมือง

ทางคณาจารย์ เสนอให้มีองค์กรทำหน้าที่ประสานเป็นกระบวนการ ได้แก่ สมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย คณะกรรมการกำกับการปฏิรูปประเทศไทย และคณะกรรมการปฏิรูปเฉพาะเรื่อง โดยกำหนดให้มีระยะเวลาในการปฏิบัติให้แล้วเสร็จ จะเห็นว่าการนำเสนอได้เปิดแนวทางการปฏิรูปไว้หลากหลาย ไต่ระดับไปเรื่อยๆ ท้ายที่สุดอาจไต่ไปถึงแนวทางการแก้รัฐธรรมนูญสร้างกรอบการปฏิรูปและนำองค์กรต่างๆ เหล่านี้บรรจุไว้ก็ได้ ซึ่งจะเป็นหลักประกันได้ดีที่สุด

"คณะปฏิรูปการเมืองที่รัฐบาลทำอยู่ ไม่ถึงประชาชนอย่างชัดเจน มีแต่ฝ่ายการเมือง และคนที่คุมอำนาจรัฐส่วนใหญ่ และล่าสุดเริ่มมีคนลาออกไปแล้ว และไม่น่าถึงเป้าหมายที่สำเร็จได้ ดังนั้น ควรต้องตั้งต้นกันใหม่ ให้ทุกภาคส่วนมามีส่วนร่วม โดยให้มหาวิทยาลัยเข้าไปเป็นแกนกลาง

ส่วนจะเริ่มอย่างไรนั้นจากนี้จะมีการประชุมและนำเสนอร่วมหลายองค์กร เช่นข้อเสนอที่มีอยู่แล้วของคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปชุด นพ.ประเวศ วะสี อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เป็นข้อเสนอเพื่อเป็นคู่ขนานคณะปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลที่ไม่น่าจะเดินหน้าต่อไปได้แล้ว แต่ต้องเริ่มกระบวนการใหม่"

ด้านศ.ดร.บรรเจิด กล่าวว่า ข้อเท็จจริงขณะนี้ วิเคราะห์ได้ว่า ประชาชนไม่พอใจการบริหารงานประเทศ แต่ท่าทีจะเป็นอย่างไรต่อไปก็ขึ้นอยู่กับประชาชนจะเรียกร้อง ซึ่งเกรงว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น จึงควรมาร่วมกันถอดสลัก แก้ปัญหาอย่างแท้จริง

"แม้รัฐบาลจะมาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่เป็นประชาธิปไตย สะท้อนได้ชัดเจนจากการกรณี พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และนี่เป็นเพียงอาการหนึ่งที่สะท้อนถึงโรคไม่เป็นประชาธิปไตย เผด็จการรัฐสภา อย่างไรก็ตาม คณาจารย์มีเพียงปากกา ไม่มีพลังอย่างอื่น จึงขอโยนข้อเสนอเชิงปลายทางเอาไว้ และหากฝ่ายการเมืองเห็นพ้องว่าควรมีกระบวนการปฏิรูป รวมถึงภาคสังคมก็มาพูดคุยกันว่าต้นทางจะเป็นอย่างไร"

หากจะสามารถเกิดขึ้นจริงได้ มี 2 ปัจจัยที่ควรพิจารณา ได้แก่ 1.ผู้คุมอำนาจทางการเมืองปัจจุบัน จะเห็นพ้อง สร้างประชาธิปไตยและปฏิรูปประเทศโดยสมบูรณ์หรือไม่ 2.พลังประชาชน ที่มีเอกภาพก็สามารถเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลวางกรอบการปฏิรูป

แถลงการณ์คณาจารย์มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา เสนอแนวทางปฏิรูปประเทศไทย

No comments:

Post a Comment