Sunday, May 17, 2015

ญี่ปุ่นจัดหางานให้ผู้สูงอายุโดยผ่านศูนย์ทรัพยากรมนุษย์ผู้สูงวัย

ญี่ปุ่นจัดหางานให้ผู้สูงอายุโดยผ่านศูนย์ทรัพยากรมนุษย์ผู้สูงวัย

ประกอบ คุปรัตน์ 
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Japan provides employment for aging population through Silver Human Resource Center” เรียบเรียงจากข้อเขียนและภาพ โดย DANESSA O. RIVERA, GMA News October 18, 2014 3:07pm

Keywords: ประเทศญี่ปุ่น, Japan, เมืองซากาอิ, Sakai, ประชากรสูงวัย, ราษฎรอาวุโส, senior citizen, silver generation, Silver Human Resource Center, SHRC


คาตายามา ทัทซูจิ (Katayama Tatsuji) ปัจจุบันวัย 73 ปี เคยทำงานเป็นสถาปนิกจนถึงวัยเกษียณอายุ แต่เขาก็ไม่ได้หยุดทำงานและรับใช้ประเทศชาติ ปัจจุบันทัทซูจิทำงานเป็นผู้นำคนสวนให้ส่วนสาธารณะไดเซน (Daisen Park) ที่เมืองซากาอิ เขตปกครองโอซากา (Sakai City, Osaka prefecture) ด้วยการสนับสนุนของโครงการรัฐบาลสำหรับประชากรสูงวัย

เหมือนกับในประเทศฟิลิปปินส์ ชาวญี่ปุ่นสามารถทำงานได้จนถึงอายุ 65 ปี จึงจะเกษียณงานตามกฎหมายของประเทศ และเมื่อเกษียณแล้วสัมพันธภาพกับชุมชนจะถูกตัดขาด
“เราอยากจะรักษาสัมพันธภาพกับสังคมนี้ไว้ และเราอยากทำประโยชน์ให้กับชุมชนของเราเช่นเดียวกัน” เขากล่าว

“เราต้องการความรู้สึกที่ผูกพันกับสังคมและชุมชนนี้” เขากล่าว

จากการสำรวจในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก (Grayest nation in the world) โดยมีประชากรร้อยละ 25.9 มีอายุ 65 ปีและมากกว่า

เพื่อตอบสนองต่อความมุ่งมั่นสนับสนุนประชากรสูงอายุ รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีศูนย์ทรัพยากรมนุษย์สูงอายุ เรียกว่า Silver Human Resource Center (SHRC) ขึ้นที่เมืองโตเกียวในปี ค.ศ. 1974 นายทาเคโอะ โคตานิ (Takao Kotani) ผู้บริหารโครงการศูนย์ SHRC ที่เมืองซากาอิ (Sakai) กล่าวแก่ผู้สื่อข่าวจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ในประเทศญี่ปุ่น สังคมญี่ปุ่นให้โอกาสประชากรสูงอายุทำงานจนวัย 65 ปี ตามลักษณะงานที่เคยทำ
สำหรับศูนย์ SHRC เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่ให้โอกาสการทำงานแก่ผู้เกษียณอายุแล้ว และคนตั้งแต่วัย 60 ปีขึ้นไปสามารถเริ่มงานที่ SHRC ได้

ปัจจุบันมีศูนย์ SHRC 1300 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น มีสมาชิกกว่า 700,000 คน 
ในปัจจุบัน SHRC ที่เมืองซากาอิ ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 นับเป็นศูนย์ที่ใหญ่ที่สุด มีสมาชิกว่า 6,500 คน โคตานิกล่าว

งานที่ทางศูนย์จัดหาให้มีตั้งแต่งานแม่บ้านไปจนงานทำสวน และสมาชิกสามารถทำงานได้เต็มที่ 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยได้รับค่าจ้างเดือนละ ¥45,000 to ¥50,000 หรือ 1,2632 บาท ถึง 140,36 บาท

โคตานิกล่าวว่า งานที่ได้รับมาจากบริษัทภาคเอกชน องค์การด้านสิ่งแวดล้อม และแม้แต่งานบ้าน งานมีทั้งที่เป็นงานในร่ม งานกลางแจ้ง งานทั่วไป งานดูแลสถานที่ งานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถพิเศษ งานสำนักงาน งานพบปะลูกค้าและงานบริการ

ประชากรสูงวัยเปิดตัวเองเพื่อจะเรียนรู้สิ่งใหม่ แม้จะเคยมีอาชีพที่แตกต่างไปมาก่อน

อิชิโร นิจิมะ (Ichiro Nijima) วัย 72 ปี เคยเป็นวิศวกรที่บริษัทเครื่องไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นผู้นำคนสวน (Lead gardener) ที่สวนสาธารณะไดเซน (Daisen Park)

“ผมทำงานด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ เพื่อทำให้ตัวเรายังแข็งแรง และเราก็อยากมีเพื่อน” นิจิมะกล่าว
อย่างไรก็ตาม โคตานิกล่าวว่า รู้สึกเป็นเรื่องยากที่จะเกลี่ยกล่อมให้ผู้สูงอายุบางคนยังทำงานต่อไป เนื่องจากงานที่ทำนี้ไม่มีความมั่นคง

ระบบงานหลังเกษียณยังเป็นความยุ่งยากสำหรับคนสูงอายุ เพราะไม่มีงานที่สมบูรณ์แบบที่จะตกลงกันได้ระหว่าง SHRC กับบริษัทผู้จ้างงานต่างๆ เพราะผู้สูงอายุต้องการงานที่แน่นอนเหมือนงานเดิมที่เคยทำมา ซึ่งเป็นไปได้ยาก” เขากล่าว

นอกจากนี้ บางบริษัทที่ต้องบริการลูกค้ากังวลกับคนทำงานที่สูงอายุ

 “แต่คนทำงานที่ SHRC นี้มีอายุมากที่สุดคือ 90 ปี ทำงานดูแลความสะอาดในอาคารแห่งหนึ่ง วันละ 2 ชั่วโมง” เขากล่าว

แต่แม้ระบบงานจะไม่มีความมั่นคง ทัทซูจิกล่าวว่า การมีรายได้เพิ่มขึ้นแม้จะเล็กๆน้อยๆก็ทำให้มีความสุขและเห็นคุณค่าของตนเอง


 “เรามีระบบบำนาญอยู่แล้ว แต่เราจะมีความสุขมากขึ้นหากได้มีเงินเพิ่ม แล้วก็ได้ทำงานให้กับชุมชน เงินที่ได้เล็กๆน้อยๆนี้ ผมก็จะใช้เพื่อซื้อของขวัญให้กับหลานๆ นอกจากนี้ผมอยากมีชีวิตที่ตื่นตัวและมีสุขภาพที่ดี และเป็นสมาชิกของชุมชน ผมอยากทำงานจนตาย” เขากล่าว


ภาพ การทำงานของชายสูงอายุ หลังเกษียณอายุการทำงานที่ 65 ปี


ภาพ การได้ทำงานเป็นกลุ่ม เป็นการได้มีโอกาสปะทะสังสรรค์ มีเพื่อนฝูง


ภาพ การทำงานเป็นคนสวนในสวนสาธารณะเป็นงานที่แม้เงินรายได้ไม่สูง แต่เป็นความพอใจของคนทำงาน เพราะไม่เครียดเท่ากับการทำงานในองค์กรภาคเอกชน

No comments:

Post a Comment