Saturday, May 30, 2015

ว่าด้วยเรื่องการพูด ของนักการทูต, นักวิชาการ, ผู้นำและนักบริหาร

ว่าด้วยเรื่องการพูด ของนักการทูต, นักวิชาการ, ผู้นำและนักบริหาร

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: สุภาษิต, ชาวไอริช, การพูด, expression, การแสดงออก, เสรีภาพทางวิชาการ, academic freedom, freedom of expression, นักวิชาการ, academics, นักการทูต, diplomats, ผู้นำ, leader, นักบริหาร, administrator, manager

ขอนำสู่บทเรียนสำหรับเพื่อนๆ อันเกี่ยวกับวัฒนธรรมการพูดครับ

A diplomat must always think twice before he says nothing. ~ Irish Proverb
นักการทูตต้องคิดสองครั้ง ก่อนจะไม่พูดอะไรออกไป ~ สุภาษิตไอริช

ส่วนในสังคมไทย พ่อแม่ ปูย่าตายาย มักจะสอนและเตือนเราเสมอด้วยสุภาษิตที่ว่า “พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งไว้เสียตำลึงทอง


ภาพ เจ้าพระยาโกษาปาน ฑูตไทยที่ไปประเทศฝรั่งเศส ในสมัยพระนารายมหาราช

 

ภาพ เบนจามัน แฟรงคลิน ฑูตสหรัฐในประเทศฝรั่งเศส ในยุคอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ


ภาพ ตัวแทนของประเทศสหรัฐอเมริกาในพิธีลงนาม สนธิสัญญาเกนท์ ในปี ค.ศ. 1814Uniformed American representatives (left) signing the Treaty of Ghent in 1814


นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ

ผมใช้ชีวิตแบบนักวิชาการมายาวนาน และอย่างมีความสุข ประการหนึ่งเกี่ยวกับนิสัยการแสดงออก ไม่ว่าจะพูด คิด และเขียน คือการได้แสดงออกอย่างตรงไปตรงมา ผมมักใช้สิทธิการเป็นนักวิชาการ คือ การต้องมีเสรีภาพในการนำเสนอและการแสดงออก อย่างที่เขาเรียกว่า Academic freedom ซึ่งเป็นความจำเป็นในสังคมที่พัฒนาแล้ว

ผมตั้งข้อสังเกตว่า นักวิชาการ (Academics) จะมีนิสัยที่ไม่เหมือนกับนักการทูต (Diplomats) อยู่อย่างหนึ่ง คือ นักการทูตจะพูดไม่น้อย แต่ไม่หลงพูดอะไรออกไปที่ก่อให้เกิดความบาดหมางไม่พอใจ โดยเฉพาะกับแขกที่เป็นเจ้าบ้านที่ตนเองต้องไปทำหน้าที่ นักการทูตที่ดีจึงต้องเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมนานับปการ ทั้งของชาติตนเองและโลกนานาชาติ ส่วนหนึ่งเพื่อให้ไม่เกิดบรรยากาศหยุดนิ่งและเครียด แต่อีกส่วนหนึ่งโดยเฉพาะให้สามารถมีเรื่องหรือประเด็นที่จะเลี่ยง ไม่พูดในสิ่งที่จะก่อให้เกิดความบาดหมางโดยไม่จำเป็น และเมื่อหน้าที่ต้องให้สื่อสาร ก็สื่อสารอย่างนุ่มนวลตรงไปตรงมา แบบไม่ยั่วยุให้เกิดอารมณ์ไม่พอใจโดยไม่จำเป็น

ส่วนนักวิชาการจะมีลักษณะต่างออกไป นักวิชาการที่ดีพึงต้องศึกษาสภาพแวดล้อมที่กว้างขวางเช่นกัน แต่เขามักจะถูกฝึกให้คิด พูด และเขียนอย่างตรงไปตรงมา เพียงแต่ว่าอาจไม่สอดใส่ความรู้สึกของตนเองลงไปในสิ่งที่แสดงออกเหล่านั้น ไม่แสดงความเห็นถูกผิด ดีหรือเลว เขาจะพรรณนาในสภาพที่เป็นไป เพราะโดยหลักแล้ว เราเกือบจะยังบอกอะไรแบบฟันธงไม่ได้ หากไม่ได้มองเห็นอย่างรอบด้านเพียงพอ นักวิชาการคือคนที่ทำให้ภาพที่มืดมัวได้กระจ่างชัดขึ้น แต่จะยังไม่ใช่คนชี้ทิศทาง จนกว่าเขาจะถามว่า “แล้วอาจารย์มีความเห็นอย่างไร”

ส่วนผู้นำและนักบริหารการศึกษา อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา อธิการบดี และผู้บริหารในระดับรองๆลงมา มักจะต้องมีบุคลิกสองอย่าง คือ พูดได้เหมือนนักการทูต เมื่อต้องการพูดอย่างหามิตรและคนสนับสนุน แต่ในอีกด้านหนึ่ง คือพูดได้เหมือนอย่างนักวิชาการพูดและสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเมื่อสถานการณ์เรียกร้อง และด้วยความเป็นผู้นำ ต้องสามารถแสดงวิสัยทัศน์ของทั้งตนเองและสถาบัน/มหาวิทยาลัยได้อย่างชัดเจน สื่อสารได้อย่างไม่เหลือความคลางแคลงใจ และศิลปะของการเป็นผู้นำและนักบริหารที่ดี คือ รู้ว่าเมื่อใดและที่ใด ควรพูดเรื่องอะไร


แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เขาต้องแสดงออกอย่างมีสติและปัญญาเสมอ ซึ่งในบางครั้ง อาจหมายถึงไม่ได้แสดงอะไรออกมาเลย

No comments:

Post a Comment