ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
ภาพ อีมาน (Eman al-Obeidy) สตรีวัย 29 ปี ขณะที่ออกมาแฉว่าถูกข่มขืนโดยทหารของกัดดาฟี และถูกรวบตัวไป เธอหายไปไหน
เรียบเรียงจาก GeekyNews, How one voice can speak for many - A lot of news that will make you geek!
อีมาน (Eman al-Obeidy) ถูกลากตัวออกไปจากโรงแรมชื่อ Rixos Hotel ในเมือง Tripoli เมืองหลวงของลิเบีย และจากนั้นมาไม่มีใครได้เคยพบเห็นเธออีกเลย ผมเองก็เหมือนคนในโลกอีกหลายล้านคนว่า แล้วเธอหายไปไหน
Eman al-Obeidy อีมาน ผู้ออกมาแฉโพยว่าเธอถูกข่มขืนโดยทหารของกัดดาฟี เธอคือภาพลักษณ์ของการต่อสู้กับกัดดาฟี
ในการปฏิวัติของอียิปต์ ตูนิเซีย และอิหร่าน ล้วนมีภาพของบุคคลที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ทั้งหมดนี้ สื่อต้องการเรื่องสำคัญๆสักหนึ่งเรื่องที่เคลื่อนไหวประชาชน และสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง
การเติบโตของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่เป็นพลังหลักในการสร้างภาพลักษณ์ของบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงนี้ ที่จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก
(CNN) — เมื่อ “อีมาน” (Eman al-Obeidy) ได้ปรากฏต่อสื่อมวลชนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่โรงแรม Rixos ในเมืองทริโปลี (Tripoli) ในประเทศลิเบีย เธอกระทำมากกว่าการแฉโพยว่าทหารของกัดดาฟีข่มขืนเธอ เธอได้กลายเป็นภาพสัญญลักษณ์ของกระบวนการต่อต้านกัดดาฟี
ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ที่เป็นภาพสตรีคนหนึ่งที่ออกมากระทำการดุจดังบ้าคลั่ง บุกเข้าไปท่ามกลางกลุ่มผู่สื่อข่าวนานาชาติในโรงแรมแห่งหนึ่ง ตะโกนแฉโพยอย่างไม่ยอมหยุด แล้วถูกทางการของลิเบียลากตัวออกไป “อีมาน” คือสตรีวัย 29 ปีที่เป็นนักกฎหมายจากเมืองโทบรูค (Tobruk) ทางฝั่งตะวันออกของลิเบีย ที่กลายเป็นสัญญลักษณ์ของการต่อสู้ของลิเบีย
อีมาน คือ คนที่ชาวลิเบียหลายคนได้ติดตามกันในสื่อสังคมดัง Twitter และ Facebook นักข่าวสตรีชื่อ Mona Eltahawy ผู้เกิดในอียิปต์ ได้กล่าวว่าคนในภูมิภาคทั้งอียิปต์ ซีเรียกำลังเรียกร้องที่จะรู้ว่าอีมานหายไปไหน และเธอยังมีชีวิตอยู่เหรือเปล่า
ในวันที่อีมานถูกจับตัวไปนั้น ฝ่ายโฆษกของรัฐบาลลิเบียออกมากล่าวว่าเธอได้ถูกปล่อยตัวไปแล้ว แต่อีมานที่แฉว่าเธอได้ถูกทหารของลิเบียจำนวน 15 คนบังคับข่มขืน ฝ่ายโฆษกได้กล่าวเรื่องดังกล่าวจะได้รับการสอบสวน แต่ตั้งแต่วันนั้นยังไม่มีใครได้พบตัวอีมาน หรือทราบข่าวเกี่ยวกับตัวเธอ แม้แต่ครอบครัวของเธอเอง
แต่ไม่ว่าเธอจะได้รับการปล่อยตัวหรือไม่ แต่ก็ได้ทำให้ฝ่ายกัดดาฟีได้รับความเสียหาย การที่อีมานยังถูกกักตัวไว้ ย่อมเป็นการจุดเชื้อไฟให้กับฝ่ายต่อต้านกัดดาฟี เกิดคนเห็นใจสตรีผู้นี้มากมายที่แสดงความคิดเห็นผ่านเครือข่ายสื่อสังคม แต่การส่งต่อข้อความผ่านทาง Twitter ดังที่เรียกย่อยๆว่า RT หรือ Retweeting เป็นดังเสียงก้องตลอดเวลาและไกลออกไป ที่ต้องการทราบข่าวคราวของเธอ การปิดข่าวเกี่ยวกับอีมานเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลฝ่ายกัดดาฟียิ่งลดลง
Eman Al-Obeidy เป็นรายล่าสุดที่เป็นสัญลักษณ์ความไม่สงบ การเรียกร้องความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับ แต่เธอไม่ใช่เป็นคนแรก และแน่นอนว่าเธอจะยังไม่ใช่เป็นคนสุดท้าย คนเช่นเธอจะยังมีขึ้นในประเทศต่างๆ ภาพชายหรือหญิงที่ไม่มีทางสู้ แต่ออกมาเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมสำหรับตัวเองและสังคม ย่อมเป็นพลังอย่างมหาศาล
อีมานหายไปไหน
No comments:
Post a Comment