นโยบายสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Keywords: การเมือง การปกครอง,
จังหวัดชายแดนภาคใต้, ความขัดแย้ง, ความรุนแรง,
ภาพ การวางระเบิดและลอบสังหารมีให้เห็นบ่อยครั้งใน 3-4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ดูจะยังไม่มีทางออก
ภาพ Members of a Thai bomb squad unit
inspect the site of a car bomb attack in Thailand’s southern Narathiwat
province on July 20, 2012. ประชาชนเสียชีวิต 2
คน บาดเจ็บ 4 คน
จากการถูกวางระเบิดและถูกระดมยิง ที่จังหวัดนราธิวาส ทางตอนใต้ของประเทศไทย
(Madaree Tohlalama/AFP/Getty Images)
ปืนทุกกระบอกที่ได้ผลิต
เรือรบทุกลำที่ปล่อยลงสู่ทะเล จรวดทุกลูกที่ได้ยิงออกไป เป็นการสะท้อนว่าได้มีขโมย
ที่ทำให้คนที่หิวโหยไม่ได้รับอาหาร คนที่ยังหนาวไม่ได้มีเสื้อผ้าใส่
ดไวท์ ดี ไอเซนเฮาว์
(Dwight D. Eisenhower)
ไอเซนเฮาว์มีชื่อเล่นเรียกว่า “Ike” เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1890 เสียชีวิตวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1969 เป็นประธานาธิบดีคนที่ 34 ของประเทศสหรัฐอเมริกา 2
สมัยในช่วงปี ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1961 เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพันธมิตรในยุโรป รับผิดชอบการวางแผน
การนิเทศการรบในการบุกอัฟริกาเหนือในช่วงปี ค.ศ. 1942-43 และนำกองทัพของพันธมิตรบุกเข้าไปในฝรั่งเศสและเยอรมันในปี
ค.ศ. 1944-1945 และเป็นผู้บัญชาการของ NATA คนแรก
เขาคือวีรบุรุษจากสงครามโลกครั้งที่สอง แต่กระนั้นไอเซนเฮาว์ก็เป็นคนที่อยากหลีกเลี่ยงสงครามมากที่สุด
ย้อนกลับมาในประเทศไทย ซึ่งมีปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ หรือมักเรียกว่า ไฟใต้เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในสี่จังหวัดภาคใต้ ได้แก่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
สตูล และหกอำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอสะเดา อำเภอจะนะ อำเภอนาทวีอำเภอเทพา อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอสะบ้าย้อย ซึ่งเกิดมาจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง
วางระเบิด และจลาจลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าจะมีความเคลื่อนไหวในลักษณะต้องการแบ่งแยกดินแดนบริเวณปัตตานีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ
แต่ความไม่สงบดังกล่าวเริ่มบานปลายขึ้นหลัง พ.ศ. 2547
นับจนถึงปัจจุบันมีกำลังพลเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บดังนี้
ทหารเสียชีวิต 351 นาย ตำรวจเสียชีวิต 280 นาย อาสาสมัครเสียชีวิตกว่า 270 คน ฝ่ายผู้ก่อการเสียชีวิต
242 ศพ บาดเจ็บ 35 คน ถูกจับกุมกว่า 5,300 คน
สำหรับประชาชนมีผู้เสียชีวิต 5,528 คน เป็นครู 148 คน พระมรณภาพ 7 รูป มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 9,524 คน
แล้วทางออกทางเลือกสำหรับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้คืออย่างไร
ฝ่ายที่รับผิดชอบมักพูดเสมอว่า “เราได้เดินมาถูกทางแล้ว” ฝ่ายรัฐบาล
ส่วนการเมืองที่รับผิดชอบบอกว่า “เราได้ใส่ใจ”
มีการจัดงบประมาณให้กับการแก้ปัญหาภาคใต้เพิ่มมากขึ้นทุกปี
แต่มิได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าได้ใช้เพื่อการทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์เท่าใด
และใช้เพื่อการพัฒนาอย่างไร
ท้ายที่สุด
เราจะพบว่าสักวันหนึ่งปัญหาก็จะต้องคลี่คลายลง ด้วยต้องมีทางออกอย่างใดอย่างหนึ่ง
แต่นั่นต้องเป็นด้วยการมียุทธศาสตร์ทางการเมือง และความกล้าหาญในการตัดสินใจจากฝ่ายการเมือง
มิใช่ด้วยการทหาร และการทุ่มเทไปในงบประมาณการทำสงคราม
No comments:
Post a Comment