การเดินทางด้วยยานพาหนะเร็วทางน้ำ
Keywords: Transportation, vessel, High-speed craft, water
vessel, fastcraft, fast ferry
เมื่อพูดถึงยานพาหนะทางบก เราใช้คำว่า Vehicle
เมื่อพูดถึงพาหนะทางน้ำ เราใช้คำว่า Vessel
การเดินทางด้วยเรือความเร็วสูง (High-speed
craft – HSC) เป็นยานพาหนะทางน้ำ (Water vessel) ที่ใช้ในกิจการพลเรือน ที่มีความเร็วสูง ซึ่งอาจมีชื่อเรียกอื่นๆว่า Fastcraft หรือ Fast ferry เหมาะสำหรับการเดินทางข้ามฟาก
ในระยะทางที่ไม่ไกล หรือใช้เวลายาวนานเกินไป เช่นภายในไม่เกิน 2 ชั่วโมง ระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตร
เพราะหากใช้เวลายาวนานกว่านี้ และมีบริการขนส่งทางอื่น เช่น
เครื่องบินเป็นทางเลือก การเดินทางด้วยเรือก็จะไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม
ประเทศที่มีเกาะแก่งมาก ดัง ประเทศฟิลิปปินส์
และอินโดนีเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย ฯลฯ ก็ต้องใช้การขนส่งด้วยวิธีทางเรือนี้มาก
แต่หากเป็นประเทศที่ตั้งอยู่พื้นดินภาคพื้นทวีปอย่าง
ประเทศไทย จีนแผ่นดินใหญ่
อินเดีย ฯลฯ ความจำเป็นต้องใช้เรือข้ามฟาก ก็มีลดลง
เรือที่ต้องแล่นไปตามผิวน้ำ
จะต้องประสบกับแรงต้านของน้ำ จะต้องใช้พลังขับเคลื่อนอย่างสูง
หากต้องเดินทางในระยะทางเท่ากัน แล้วมีถนนเชื่อมโยงเส้นทางนั้นๆ
ความจำเป็นต้องใช้เรือก็น้อยลง
ยานพาหนะทางน้ำที่มีความเร็วสูงมักได้แก่เรือไฮโดรฟอยด์
(Hydrofoils) หรือโฮเวอร์คราฟต์ (Hovercraft) แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990s
เป็นต้นมาได้มีเรือเร็วแบบลำตัวคู่ (Catamaran) และแบบลำตัวเดี่ยว (Monohull) ซึ่งสามารถให้ความเร็วในการเดินทาง
และสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ดีกว่า เข้ามาทำหน้าที่ได้มากขึ้น
เรือความเร็วสูงเหล่านี้มักทำหน้าที่เป็นเรือข้ามฟาก
แต่เรือลำตัวคู่ (Catamarans) และโดยเฉพาะ เรือลำตัวเดี่ยว (Monohulls) สามารถบรรทุกรถยนต์และแม้แต่รถโดยสาร และบรรทุกสินค้าได้ด้วย และด้วยคุณสมบัติดังกล่าว
เรือข้ามฟากแบบลำตัวเดี่ยวขนาดใหญ่ จึงมีข้อได้เปรียบบางประการในการดำเนินธุรกิจ
เพราะสามารถนำคน รถ ยานพาหนะ หรือสิ่งของหนักที่ต้องติดตัวไปด้วยได้
และใช้เวลาในการเดินทางไม่นานนัก
หากจะต้องใช้บรรทุกทั้งคน
และเคลื่อนย้ายรถยนต์ รถบรรทุก เรือแบบลำตัวเดี่ยวขนาดใหญ่ จะทำหน้าที่เป็น Ferry ที่ดีกว่า ค่าใช้จ่ายต่อน้ำหนักต่ำกว่า
แต่จะช้ากว่าบ้าง
หากจะใช้ขนส่งผู้โดยสารในลักษณะเดียวกับเครื่องบิน
หรือรถโดยสาร และแล่นระยะทาง 100-150
กิโลเมตร เรือแบบ Hydrofoil หรือเรือลำตัวคู่
(Catamaran) จะมีความเหมาะสม
เรือแบบลำตัวคู่ (Catamaran) จะมีความเร็วสูงกว่าเรือลำตัวเดี่ยว (Monohull) แต่หากจะต้องรับน้ำหนักมาก
เช่น รถยนต์ รถโดยสาร สินค้าด้วยแล้ว เรือแบบลำตัวเดี่ยวจะทำหน้าที่ได้ดีกว่า
แต่จะใช้เวลาแล่นที่นานกว่า
ภาพ สาธิตเรื่อ Hydrofoil เหมือนติดสกีที่ด้านล่าง ทำหน้าที่แฉลบน้ำ ลดแรงต้านของน้ำ ทำให้แล่นได้ด้วยความเร็วสูง
ภาพ เรือ Hydrofoil ขณะกำลังแล่นในทะเลด้วยความเร็ว
ภาพ เรือความเร็วสูงแบบ Hydrofoil ทำความเร็วได้ 148 กิโลเมตร/ชั่วโมง
และเป็นไปได้ที่ทำความเร็วได้ 100 Knots หรือ 185 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ภาพ เรือแบบ Hovercraft ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์รับส่งผู้โดยสารได้ เรือเหมือนมีเบาะลม ยกลำตัวให้เหนือน้ำเล็กน้อย ลดแรงต้านของน้ำลง ความเร็ว 154 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในปัจจุบันมีบริการน้อยลง
ภาพ เรือความเร็วสูงแบบลำตัวคู่ (Catamarans)
ภาพ เรือความเร็วสูงแบบลำตัวคู่ (Catamaran) ขณะกำลังแล่นด้วยความเร็วต่ำ
ภาพ เรือลำตัวคู่ (Catamarans) ความเร็วสูงใช้เพื่อการพาณิชย์ ขณะกำล้งแล่นในทะเล แล่นด้วยความเร็วสูง ลำตัวจะถูกยกแฉลบน้ำ ความเร็วประมาณ 50.9 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ภาพ เรือเร็วลำตัวเดี่ยว (Monohulls) ดังที่เห็นในภาพ ความเร็วสูงสุด 66.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ภาพ เรือข้ามฟาก (Ferry) ลำตัวเดี่ยว (Monohull) มีความเร็วสูงพอ ที่สามารถรับส่งผู้โดยสาร ร่วมไปกับขนรถยนต์ รถบรรทุก รถโดยสารขนาดเล็กและกลาง (Vans) ได้
ลำตัวเรือ (Hull) ออกแบบให้ใช้แรงขับจากเจ็ทน้ำ
(water jets)
ร่วมกับเครื่องดีเซลความเร็วปานกลาง ส่วนเรือ Hovercraft มักใช้พลังจากระบบกังหันแก๊ส
(Gas turbines) หรือเครื่องดีเซลส่งกำลังไปยังใบพัดเรือ (Propeller)
และเครื่องผลักน้ำ (Impellors)
ภาพ ใบพัดเรือ (Propeller)
ภาพ ตัวผลักน้ำ (Impellor) ทำหน้าที่ผลักน้ำ เป็น Waterjet
เรือความเร็วสูงจะต้องมีการออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย
ซึ่งกำหนดโดย High Speed Craft Codes ของปี ค.ศ. 1994
และ 2000
ซึ่งเป็นที่ยอมรับคณะกรรมการความปลอดภัยทางน้ำ แห่งองค์การนาวีนานาชาติ (International
Maritime Organisation -IMO).
No comments:
Post a Comment