Saturday, January 26, 2013

การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการต้อนรับขับสู้ (Hospitality management studies)


การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการต้อนรับขับสู้ (Hospitality management studies)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงเป็นเบื้องต้นจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การศึกษา, education, การฝึกอบรม, training, การอุดมศึกษา, higher education, tertiary education, ธุรกิจศึกษา, business education, การต้อนรับขับสู้, hospitality, การจัดการ, management, การบริหาร, administration

ความนำ

ผมเป็นคนชอบท่องเที่ยวเดินทาง ทั้งในประเทศ และไปต่างประเทศ จึงพลอยมีความสนใจในกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเดินทางไปด้วย ประกอบกับมีอาชีพเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษามาเป็นเวลานาน ทั้งสอนและให้คำปรึกษาทางด้าน “การบริหารการศึกษา” และ “การอุดมศึกษา” จึงมีความสนใจว่า กิจการใดๆที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การเดินทาง หรือการต้อนรับขับสู้นี้ จะมีจัดการพัฒนากำลังคน (Human Resource Management) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเหล่านี้ได้อย่างไร

การเดินทางท่องเที่ยวเป็นจุดแข็งและโอกาสของประเทศไทยโดยธรรมชาติ ประเทศไทยเราอยู่กึ่งกลางระหว่างสองประเทศและสองวัฒนธรรมหลักของเอเชีย คือจีน และอินเดีย แต่ก็มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง คือ ความเป็นไทย ไม่ใช่เป็นจีนหรืออินเดีย แต่ก็มีส่วนประสมของวัฒนธรรมหลักทั้งสอง ประกอบกับความเป็นประเทศเปิด จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และศูนย์กลางการท่องเที่ยวไปโดยธรรมชาติ

ในระยะหลัง ผมได้มีความสนใจทางด้านการศึกษานานาชาติ (International Education)เพิ่มขึ้น ด้วยเห็นจุดอ่อนของคนไทยประการหนึ่ง คือไม่มีทักษะด้านภาษาในการสื่อสารกับโลกภายนอก ดังเช่น ทักษะภาษาอังกฤษ (English language skills) ทั้งทางด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติเพิ่มมากขึ้น ทั้งตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ตลอดจนระดับอุดมศึกษา แต่ทั้งหมดนี้มักมีค่าใช้จ่ายสูง และกระจุกตัวแต่เพียงในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่

ผมมองเห็นว่า การศึกษานานาชาติที่ต้องใช้ภาษากลางดังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนั้น ไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ตรงกันข้าม หากทำให้มีค่าใช้จ่ายต่ำได้มากเท่าใด ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสคนระดับทั่วไปให้ได้รับการศึกษาที่มีประโยชน์ได้มากขึ้น และจะเป็นการศึกษาที่ทำให้มีงานทำชัดเจน และเป็นการเพิ่มความสามารถของประชากรในชาติไปในตัวด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเห็นว่า มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคในระดับที่มีอยู่ในแต่ละจังหวัดขนาดกลาง ดังเช่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งมีกว่า 41 แห่งทั่วประเทศ ก็มีโอกาสที่จะเปิดบริการการศึกษานานาชาติ (International Education) เป็นการดึงเอาโอกาสก้าวสู่ความเป็นสากล เข้าสู่ชุมชนนั้นๆ

ความหมายของคำ

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจคำที่เกี่ยวข้อง

Hospitality = การต้อนรับขับสู้, ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, ความมีน้ำใจ, ความมีมิตรไมตรีจิต, ความมีใจเมตตากรุณา

Hospitality – มีคำในภาษาอังกฤษที่มีความหมายใกล้เคียงกันอยู่หลายคำ เช่น obligingness (ความกรุณา, ความมีเมตตา), broad-mindedness (ความมีใจกว้าง), charity (การกุศล, ความใจบุญ, การทำบุญทำทาน), charitableness (ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่), munificence (ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)

สำหรับคำว่า Hospitality Management ในเวลานี้ ผมยังไม่ชัดเจนว่าจะใช้คำในภาษาไทยที่เหมาะสมว่าอย่างไร บางคนใช้คำทัพศัพท์กันจนเป็นคำกลาง สำหรับบทความนี้ใช้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับคนมีความสนใจในสายวิชาการนี้ไปก่อน เมื่อใดมีความชัดเจนค่อยมาปรับปรุงกันอีกที
ภาพ The Cornell University School of Hotel Administration รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

ภาพ The University of Central Florida Rosen College of Hospitality Management รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา

Hospitality Management คืออะไร

การจัดการต้อนรับขับสู้ (Hospitality management) เป็นการศึกษาทางวิชาการหนึ่งที่เกี่ยวกับ การจัดการต้อนรับขับสู้ (Hospitality management) หรือเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน/สถาบันด้านธุรกิจ (business school) โดยมีภาควิชาต่างๆที่เกี่ยวข้อง การศึกษาในระดับนี้ปัจจุบันมักเป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีการให้ปริญญาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีการแบ่งเป็นภาควิชาที่เกี่ยวข้องและประสาทปริญญาได้ เช่น การจัดการต้อนรับขับสู้ (hospitality management) หรือ การจัดการโรงแรม (Hotel management), การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (Hotel and tourism management) หรือการบริหารโรงแรม (Hotel administration)

ส่วนปริญญาที่ได้รับ ก็มีทั้งระดับปริญญาตรีศิลปศาสตร์ (Bachelor of Arts BA), ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ (Bachelor of Business Administration), ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ (Bachelor of Science BS), ปริญญาโท หรือมหาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ (Master of Science MS), ปริญญาโททางบริหารธุรกิจ (Master of Business Administration) และปริญญาเอก หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy).

ส่วนการศึกษาด้านการจัดการต้อนรับขับสู้ หรือ Hospitality management studies นั้นก็ครอบคลุมทางด้าน การโรงแรม (hotels), ร้านอาหาร/ภัตตาคาร (restaurants), เรือสำราญ (cruise ships), สวนสนุก (amusement parks), การตลาดด้านการท่องเที่ยว (destination marketing organizations), ศูนย์การประชุม (convention centers), คันทรีคลับ (country clubs) หรืออื่นๆที่ใกล้เคียง

หลักสูตร
Curriculum

ในประเทศสหรัฐอเมริกา การศึกษาทางด้านการจัดการต้อนรับขับสู้ (Hospitality management) และการจัดการท่องเที่ยว (Tourism management) จะมีวิชาแกนกลาง (Core subjects) ที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายกับปริญญาทางธุรกิจทั่วไป แต่เน้นไปที่การจัดการต้อนรับขับสู้ วิชาแกนกลางเหล่านี้ได้แก่ การบัญชี (Accounting), การบริหารหรือการจัดการ (Administration/ management), การเงิน (Finance), ระบบสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information systems, IT, ICT), การตลาด (Marketing), การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management, HRM), การประชาสัมพันธ์ (Public relations), ยุทธศาสตร์ (Strategy), กาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative methods), การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative methods)

การนำไปสู่การมีงานทำ
Graduate placement

ในด้านการจัดการเรียนการสอนในสายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการอาชีพต้อนรับขับสู้นี้ มักจะต้องมีอุตสาหกรรมที่ได้รับผลประโยชน์และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกิจการต้อนรับขับสู้ (Hospitality Industry) นี้มาร่วมด้วย มีการร่วมทางด้านการฝึกงาน โปรแกรมการฝึกอบรม และการจัดหางานเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาไปแล้ว นับเป็นการได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการศึกษาขั้นสูงนี้ และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาเพิ่มเติม
See also





No comments:

Post a Comment