การศึกษาในประเทศปากีสถาน (Education in Pakistan)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob Cooparat
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the
free encyclopedia
Keywords: geography, ภูมิศาสตร์, economics,
เศรษฐกิจ, politics, การเมือง, Pakistan,
ปากีสถาน, Coup d'etat, รัฐประหาร, การทหาร, militarism,
military, การศึกษา, education, สิทธิมนุษยชน, human right, สิทธิสตรี, Women's right
ภาพ
เด็กนักเรียนหญิงในโรงเรียนแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นในชนบทของปากีสถาน
กำลังรอรับเครื่องแบบและตำราเรียน
Federal Ministry of Education
Provincial Education Ministries |
||
ข้อมูลทั่วไป
General details |
||
ทั้งหมด
Total |
58%[1]
|
|
ชาย
Male |
69%[1]
|
|
หญิง
Female |
45%[1]
|
|
จำนวนผู้เรียน
Enrollment |
||
ทั้งหมด
Total |
37,462,900[2]
|
|
ประถมศึกษา
Primary |
22,650,000[2]
|
|
มัธยมศึกษา
Secondary |
2,884,400[2]
|
|
หลังมัธยมศึกษา
Post secondary |
1,349,000[2]
|
|
การศึกษาของประเทศปากีสถาน
(Education in Pakistan) ดูแลโดยกระทรวงศึกษาธิการ
(Ministry of Education) ของรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น (provincial
governments) โดยกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลกลางส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาหลักสูตร
(Curriculum development), การรับรองวิทยาฐานะ (Accreditation) และการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อการวิจัย (Financing of research) ตามประมวลกฎหมายที่ 25-A ของรัฐธรรมนูญปากีสถานกำหนดให้รัฐ (State) ต้องให้การศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของการศึกษาภาคบังคับ ที่ต้องดำเนินการอย่างมีคุณภาพ
สำหรับเด็กตั้งแต่วัย 5 ปีจนถึง 16 ปี
รัฐควรจัดการศึกษาให้เปล่าและเป็นการศึกษาตามที่ได้มีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
ระบบการศึกษาของปากีสถานโดยทั่วไปมีการแบ่งออกเป็น
5 ระดับ คือ
3.
มัธยมศึกษาตอนปลาย (High) ชั้นปีที่ 9 – 10; ซึ่งนำไปสู่การสอบประโยคที่เรียกว่า
ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษา (Secondary
School Certificate - SSC);
4.
การเรียนระดับกลาง (intermediate) ในที่นี้หมายถึงการศึกษาระหว่างมัธยมศึกษากับมหาวิทยาลัย คือชั้นปีที่
11-12
ซึ่งนำไปสู่การสอบประโยคมัธยมศึกษาบริบูรณ์ (Higher
Secondary (School) Certificate - HSC); และ
5.
การศึกษาระดับอุดมศึกษา (University programs) ซึ่งคือการศึกษาระดับปริญญาตรี (Undergraduate) และบัณฑิตศึกษา (Graduate degrees) อันหมายถึงการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก
อัตราการรู้หนังสือ
(Literacy) ของประเทศปากีสถานมีความแตกต่างกันมาก
ระหว่างเมืองใหญ่ ร้อยละ 87 ที่บริเวณเมืองหลวง อิสลามาบัด (Islamabad) และร้อยละ 20 ที่เขตโกห์ลู
(Kohlu District) ในการสำรวจในช่วงปี ค.ศ. 2000-2004 ประชากรปากีสถานในวัย 55-64 มีอัตราการรู้หนังสือที่เพียงร้อยละ
30; คนในวัย 45-54 ปีมีอัตราการรู้หนังสือที่ร้อยละ
40; คนวัย 25-34 ปีมีอัตราการรู้หนังสือที่ร้อยละ
50; และคนในวัย 15-24 ปีมีอัตราการรู้หนังสือที่ร้อยละ
60
อัตราการรู้หนังสือในส่วนภูมิภาคแตกต่างกัน
และแตกต่างกันหนักยิ่งขึ้นระหว่างเพศ
ในเขตชนเผ่าบางแห่งสตรีมีโอกาสได้รับการศึกษาเพียงร้อยละ 7.5 แต่ในอีกด้านหนึ่ง ภาษาอังกฤษกลับได้รับความนิยมเผยแพร่ไปทั่วประเทศ
มีคนราว 18 ล้านคนที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ หรือราวร้อยละ 11
ของประชากร เพราะความที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกันมาก ทำให้ประเทศปากีสถานจัดเป็นประเทศที่มีคนใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับ
3 ของโลก และมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย
และยิ่งกว่านั้น ปากีสถานผลิตบัณฑิตได้ปีละ 445,000 คน
และในจำนวนนี้ 10,000 คนในสายวิทยาการคอมพิวเตอร์
แม้ด้วยสถิติเหล่านี้
แต่ปากีสถานก็ยังเป็นประเทศที่มีผู้ไม่รู้หนังสือมากที่สุดในโลก
และมีประชากรในวัยเด็กที่อยู่นอกโรงเรียนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
คือ 5.1 ล้านคน ตามหลังเพียงประเทศไนจีเรีย (Nigeria)
No comments:
Post a Comment