ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
จาก SolarImpulse.com
Keywords: การบิน, aviation, การขนส่ง, transportation, เครื่องบินพลังแสงอาทิตย์, solar-powered plane, HB-SIA, HB-SIB, Solar Impulse
ภาพ บริษัท Solvay บริษัทเคมีภัณฑ์ ผู้ให้การสนับสนุนการพัฒนา HB-SIB
ภาพ เครื่องบินพลังแสงอาทิตย์ HB-SIB ที่จะผลิตออกมาเป็นต้นแบบ จะมีลักษณะคล้ายกับลำนี้
ภาพ เครื่องบินพลังแสงอาทิตย์ขณะจะเตรียมบินขึ้น ซึ่งไม่ได้ใช้ทางวิ่งยาว
การพัฒนาเครื่องบินพลังแสงอาทิตย์ (Solar-powered
plane) ให้สามารถบินรอบโลกได้ภายในช่วงแรกๆ ดูจะเป็นไปได้น้อย
จึงได้มีการแบ่งพัฒนาเป็นสองระยะ ระยะแรก เป็นเครื่องบินชื่อ HB-SIA ออกบินข้ามประเทศในระยะทาง 600-1,000 กิโลเมตร ซึ่งสามารถทำสำเร็จในปี
ค.ศ. 2011 เป็นการบินในระดับความเร็ว 50-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
บทเรียนจากการพัฒนาเครื่องบินพลังแสงอาทิตย์จากเครื่องแรก
HB-SIA ความสำเร็จจากบินข้ามประเทศภายในทวีปยุโรป
ต่อไปคือการสร้าง HB-SIB ซึ่งมีเป้าหมายที่จะบินรอบโลกได้
ซึ่งต้องมีแบตเตอรี่ (Battery) สำรองไฟสำหรับใช้บินในตอนกลางคืน
และใช้เวลาบิน 4-6 วัน เครื่องบินจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
การวางเซลล์แสงอาทิตย์ต้องมีความคงทน แม้ยามฝนตก จะยังมีพลังเพียงพอ
และมีความเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น
ในขณะที่เครื่องบินต้นแบบนี้ต้องใช้เทคโนโลยีเท่าที่มีในปัจจุบัน
เครื่องบินใช้พลังแสงอาทิตย์ (Solar Impulse) HB-SIB จะใช้วัสดุใหม่และวิธีการสร้างใหม่
Solvay ได้พัฒนาอิเล็กโทรไลท์ (Electrolytes) ที่ทำให้ได้พลังงานที่หนาแน่นขึ้น เพิ่มพลังขึ้น บริษัทด้านวัสดุศาสตร์ Bayer
Material Sciences ได้อนุญาตให้โครงการได้ใช้เทคโนโลยีนาโน และ Décision ได้ช่วยให้วัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon
fibers) ได้มีน้ำหนักเบากว่าเดิม
โครงปีก (Longeron) ส่วนแรกได้ส่งถึง
Dübendorf ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 และประกอบเสร็จในปลายฤดูร้อน
เครื่องบินจะรับการทดสอบความแข็งแกร่งของโครงสร้างและความทนต่อการสั่นสะเทือนเหมือนดังเครื่องบิน
HB-SIA ต้นแบบแรก การทดสอบการบินครั้งแรกจะทำในราวต้นปี ค.ศ.
2014 และคาดว่าจะบินรอบโลกได้ในระหว่างเดือนเมษายนและกรกฎาคม
ค.ศ. 2015
No comments:
Post a Comment