Thursday, January 31, 2013

ผู้หลบหนีการต้องโทษ (Fugitives)


ผู้หลบหนีการต้องโทษ (Fugitives)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: กฎหมาย, กฎหมายอาญา, กฎหมายแพ่ง, fugitive, runaway, สมชาย คุณปลื้ม, วัฒนา อัศวเหม, และทักษิณ ชินวัตร, Thaksin Shinawatra


ภาพ นายสมชาย คุณปลื้ม หรือกำนันเป๊าะ


ภาพ นายวัฒนา อัศวเหม อดีตนักการเมือง ผู้หลบหนีการจับกุม


ภาพ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องโทษและหลบหนี

สมชาย คุณปลื้ม, วัฒนา อัศวเหม, และทักษิณ ชินวัตร มีสถานะทางกฎหมายเหมือนกัน คือเป็นผู้หลบหนีการควบคุม หนีโทษตามการตัดสินของศาล เรียกว่าเป็นพวก Fugitive หรือ runaway ในภาษาอังกฤษ

Fugitive หรือ Runaway คือบุคคลที่หลบหนีการควบคุมตัว (Custody) ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเยี่ยงทาส (Private slavery) การจับกุมของรัฐบาล (Government arrest) การติดตามตัวเพื่อสอบปากคำ (Non-government questioning), หรือความรุนแรงจากศาลเตี้ย (Vigilante violence) เหล่านี้ เขาเรียกว่าเป็น Fugitive
การหลบหนีกระบวนการยุติธรรม บุคคลนั้นอาจถูกขึ้นศาลด้วยถูกลงโทษกระทำผิด หรือถูกกล่าวหา หรือหลบเลี่ยงกฎหมาย โดยหลบหนีไปอยู่ประเทศอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมในประเทศของตนเอง

และด้วยการที่กระทำผิดในประเทศหนึ่ง แล้วหลบหนีไปอยู่ในประเทศอื่น จึงมีองค์การตำรวจสากล (Interpol) ซึ่งมีหน้าที่ติดตามผู้หลบหนีแบบข้ามพรมแดนได้ ในยุโรปมี Europol หรือตำรวจของสหภาพยุโรปที่มีหน้าที่ติดตามผู้หลบหนีในยุโรป ด้วยมีความร่วมมือในการค้นหา ในสหรัฐอเมริกาที่มีรัฐต่างๆมาร่วมกันกว่า 50 รัฐ ก็มีหน่วยงานกลาง คือ U.S. Marshals Service ที่มีหน้าที่ติดตามคนร้ายที่หลบหนีแบบข้ามรัฐได้ ไม่จำกัดว่าจะเป็นรัฐไหนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้งนี้เป็นการมีอำนาจ ที่นอกจากจะมีหน่วยงานสอบสวนกลาง Federal Bureau of Investigation หรือ FBI ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว

ในทางกระบวนการศาล ผู้หลบหนีจะเสียสิทธิในการอุทธรณ์ หรือคำตัดสินที่มีเกี่ยวกับตน เพราะการหลบหนีถือเป็นการหมิ่นอำนาจศาล เมื่อเร็วๆนี้ ผู้หนีโทษข้อหาข่มขืน Andrew Luster ผู้หลบหนีการจับกุมเป็นเวลาถึง 6 ปี ได้ยืนขอสิทธิการต่อสู้คดี แต่ได้รับการปฏิเสธจากศาล ด้วยเหตุที่เขาได้หลบหนีไปนานถึง 6 ปี และการพิจารณาคดีได้กระทำไปแล้ว โดยไม่มีจำเลยเข้าร่วมในกระบวนการพิจารณา (Convict in Absentia) การหลบหนีไม่ยอมรับกระบวนการศาล ถือว่าหมิ่นศาล ทำให้ไม่มีสิทธิรับการลดหย่อนโทษ จะต่างจากคนที่เข้าสู่กระบวนการศาลตามปกติ ที่มีสิทธิรับการพิจารณาลดหย่อนโทษ

No comments:

Post a Comment