30
ธันวาคม ค.ศ. 1922 กำเนิดสหภาพโซเวียต
ศึกษาและเรียบเรียงจาก History.com “Dec
30, 1922: USSR established.”
Keywords: ประวัติศาสตร์, Europe, ยุโรป, USSR, รัสเซีย, Russia, เบโลรุสเซีย, Belorussia, ยูเครน, Ukraine, สหพันธ์รัฐที่อยู่ในเอเชีย, Transcaucasian Federation, จอร์เจีย, Georgian, อาเซอร์ไบจัน, Azerbaijan
ภาพ วลาดิเมียร์ เลนิน (Vladimir Lenin) นักคิดสังคมนิยม และผู้นำก่อตั้งสหภาพโซเวียต
ในช่วงหลังการปฏิวัติรัสเซีย
ได้มีการก่อกำเนิดสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยม หรือ The Union of Soviet
Socialist Republics ซึ่งเรียกย่อๆว่า USSR หรือเรียกย่อๆว่า
สหภาพโซเวียตฯ เป็นสหพันธรัฐที่ประกอบด้วย
รัสเซีย (Russia), เบโลรุสเซีย (Belorussia), ยูเครน (Ukraine), และสหพันธ์รัฐที่อยู่ในเอเซีย (Transcaucasian
Federation) ซึ่งในช่วงหลังปี ค.ศ. 1936
ได้แบ่งออกเป็น จอร์เจีย (Georgian), อาเซอร์ไบจัน (Azerbaijan),
และสาธารณรัฐอาร์มิเนีย (Armenian republics) ทั้งหมดนี้รวมเป็น
"สหภาพโซเวียต (Soviet Union) อันเป็นรัฐใหม่ที่สืบทอดจากอาณาจักรรัสเซีย
(Russian Empire) นับเป็นประเทศแรกในโลกที่ก่อตั้งด้วยแนวทางสังคมนิยมมาร์กซิสต์
(Marxist socialism)
ในช่วงปฏิวัติรัสเซีย ปีค.ศ. 1917 และตามมาด้วยสงครามกลางเมืองนาน 3 ปี พรรคบอลเชวิค
(Bolshevik Party) ภายใต้การนำของวลาดิเมียร์ เลนิน (Vladimir
Lenin) ได้เป็นแรงหลักในการรวบรวมคนงานและคณะทหาร
ก่อตั้งเป็นรัฐสังคมนิยมในอาณาเขตเดิมของอาณาจักรรัสเซีย
ในสหภาพโซเวียต (USSR) ทุกระดับของรัฐบาลถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์
(Communist Party) และคณะบุคคลผู้บริหารพรรคเรียกว่า Politburo
โดยผู้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการ (General secretary) มีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในการปกครองประเทศ อุตสาหกรรมของสหภาพ (Soviet
industry) มีรัฐบาลเป็นเจ้าของและเป็นฝ่ายจัดการ
พื้นที่การเกษตรเดิมที่เป็นของชาวนาและขุนนางถูกยึดแล้วจัดแบ่งเป็น
"นารวม" (Collective farms) ดำเนินการโดยรัฐ
ในช่วงหลายทศวรรษต่อมา ชาติรัสเซีย (Russia)
ได้มีบทบาทสำคัญในสหภาพโซเวียตนี้ ซึ่งในที่สุดประกอบไปด้วย 15 สาธารณรัฐ อันได้แก่ Russia, Ukraine, Georgia, Belorussia,
Uzbekistan, Armenia, Azerbaijan, Kazakhstan, Kyrgyzstan, Moldova, Turkmenistan,
Tajikistan, Latvia, Lithuania, และ Estonia
ภาพ มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ผู้นำคนสุดท้ายของสหภาพโซเวียต
ในปี ค.ศ. 1991
เมื่อสหภาพโซเวียตที่เติบใหญ่ และกลายเป็นมหาอำนาจทางการทหารของโลก
แต่ในทางเศรษฐกิจและสังคมอ่อนแอลง ประสบวิกฤติในประสิทธิภาพและประสิทธิผลการผลิต
กลไกราชการแบบรวมศูนย์ไม่สามารถทำให้สภาพการครองชีพของประชาชนดีขึ้น คนงานและเกษตรกรผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ
การต้องลงทุนไปกับกำลังกองทัพและการรบ ยิ่งทำให้สหภาพโซเวียตทรุดลงหนัก
ประชาชนในทุกรัฐที่เคยไม่พอใจและต่อต้านอย่างเงียบๆ แต่ต่อมาก็ต่อต้านเปิดเผยและแพร่กระจายมากขึ้น
เขาต่างเรียกร้องเสรีภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และการแยกประเทศออกเป็นอิสระ
จนในที่สุดในยุคของมิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) เป็นผู้นำ ก็ถึงขั้นต้องยกเลิกสหภาพโซเวียตและการล่มสลายของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ปกครองประเทศต่างๆทั้งหมด
No comments:
Post a Comment