ผลไม้ที่มีคุณสมบัติเป็นยา - มะม่วงหาวมะนาวโห่ (Carissa
carandas)
Keywords: โภชนาการ, nutrition, อาหาร, food, ผลไม้, fruit, karonda, มะม่วงหาว มะนาวโห่, cherry, gout, uric acid,
ความนำ
เมื่อเร็วๆนี้
ได้มีข้อมูลทางการแพทย์และโภชนาการแจ้งมาว่า เชอรี่ (Cherry) เป็นผลไม้ที่มีส่วนเป็นยา สามารถลดหรือขับกรดยูริคในร่างกายของผู้ป่วยได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคเก๊าท์
(Gout) นับเป็นข้อมูลที่ดี เพราะคนป่วยนั้น
มักจะถูกห้างกินนั้นกินนี่ แต่ปัญหาก็คือ ผลเชอรี่เป็นผลไม้ที่ปลูกในต่างประเทศ
และยากแก่การขนส่งข้ามประเทศ ดังจากสหรัฐต้องขนมาขายในประเทศไทย ดังนั้นจึงมีราคาแพง
ตกกิโลกรัมละ 1,500 บาท เขาแบ่งเป็นแพ็คๆละ 500 บาท เหมาะสำหรับเป็นของขวัญให้กับผู้ป่วย
แต่ราคาสูงเกินไปที่จะกินเป็นประจำวัน
คงต้องหาพืชผลไม้ที่คุณสมบัติเป็นยา
ที่มีปลูกกันในประเทศไทยหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ มีราคาไม่แพง ใช้เป็นอาหารประจำวันได้สะดวกใจยิ่งขึ้น
เมื่อเร็วๆนี้ มีเพื่อนที่เขาสนใจในการรักษาพยาบาลแบบธรรมชาติบำบัด
แล้วเขาแนะนำพืชอย่างหนึ่งที่เป็นที่ตื่นตัวกันปลูก คือ “มะม่วงหาวมะนาวโห่”
ซึ่งจะขอนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ภาพ มะม่วงหาวมะนาวโห่ เมื่อยังอยู่บ้นต้น
ภาพ มะม่วงหาวมะนาวโห่ ที่ยังไม่สุกดีนัก จะมีสีชมพูด แต่เมื่อสุกแล้วจะมีสีแดงเข้มขึ้นไปเรื่อยๆ
ภาพ ผลมะม่วงหามะนาวโห่ ขณะที่ยังอยู่บนต้น มีสีทีแดงแล้ว
จาก Wikipedia - มะม่วงหาวมะนาวโห่
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carissa carandas
เป็นพันธุ์ไม้พุ่มอยู่ในตระกูล dogbane family, Apocynaceae
ให้ผลเป็นผลไม้ขนาดเล็ก (Berry-sized fruits) ซึ่งใช้ทำเป็นส่วนของเครื่องปรุงรสอาหาร (condiment) ใส่ในเครื่องปรุงผักดองเปรียวของอินเดีย (Indian pickles)
Condiment = เครื่องปรุงอาหาร
Shrub = ไม้พุ่ม
Berry = ผลไม้เล็ก
Indian pickle = เครื่องปรุงดองเปรี้ยว
มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นไม้พุ่มยืนต้น สูงราว 2-5 เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้านหากเด็ด หรือหักออกมา จะมียางสีขาว
และมีหนามแหลมยาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ เรียงตรงข้าม ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน
เนื้อใบ เรียบ ดอกเล็กสีขาวออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง
โคนดอกมีสีชมพูหรือแดงอ่อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี
ส่วนผลเป็นผลเดี่ยวออกรวมกันเป็นช่อ ผลอ่อนจะมีสีชมพูอ่อนๆ และค่อยๆ
เข้มขึ้นเป็นสีแดง กระทั่งสุกจึงกลายเป็นสีดำ
มะม่วงหามะนาวโห่ เป็นพืชที่มีความอดทน ทนความแห้งแล้ง
แม้ขาดน้ำบ้าง สามารถปลูกได้ดีในสภาพดินหลายแบบ มีชื่อเรียกต่างๆกันตามท้องถิ่นว่า
คารอนดา (karonda : Devanagari: करोंदा), คารัมมาดักกะ (karamardhaka : Sanskrit), วัคเคย์ (vakkay: ในภาษา Telugu), คาลาไก (kalakai: ในภาษาทมิฬ Tamil), และรู้จักกันแต่ไม่กว้างขวางนักในชื่อ
rekarau(n)da, karanda, หรือ karamda
ในประเทศมาเลเซียเรียกว่า kerendai แต่ในส่วนของมะลายาและอินเดีย เรียกว่า karaunda และในภูมิภาคเบงกอล
เรียก currant หรือ หนามพระเยซู (Christ's
thorn) ในอินเดียตอนใต้
ส่วนในประเทศไทยเรียก หนามพร้อม หรือหนามแดง (Nam phrom,
หรือ Namdaeng) ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า Caramba, Caranda,
Caraunda และ Perunkila ส่วนในรัฐอัสสัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
เรียกว่า Karja tenga
จากมุสลิมไทยโพสต์ – มะม่วงหาวมะนาวโห่ -
หรือ “หนามแดง” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Carissa carandas Linn. อยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง), มะนาวโห่
(ภาคใต้), หนามขี้แฮด (เชียงใหม่), หนามแดง
(กรุงเทพฯ) เป็นต้น
แสดงว่าที่กล่าวมานี้ เป็นพืชเดียวกัน
แต่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน จึงขอใช้ชื่อเรียกว่า "มะม่วงหาวมะนาวโห่"
ตามที่เข้าใจ
การแพร่กระจาย (Distribution)
มะม่วงหามะนาวโห่ เป็นพืชที่ปลูกได้ในเขตร้อน
หรือร้อนชื้น ปลูกตามธรรมชาติได้ในแถบเทือกเขาหิมาลัยในระดับสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 300
ถึง 1800 เมตร ในเขตเทือกเขาศิวาลิค (Siwalik Hills), ทางตะวันตกของกัตส์
(Western Ghats) พบปลูกในประเทศเนปาล (Nepal) และอัฟกานิสถาน
(Afghanistan)
ในปัจจุบันมีการปลูกกันในเขต ราชาสถาน (Rajasthan), คุชานาต (Gujarat), พิหาร (Bihar)
และอุตรประเทศ (Uttar Pradesh), ของประเทศอินเดีย
(India) และในประเทศศรีลังกา (Sri
Lanka) พบว่าปลูกในที่ราบเขตป่าฝนชุก
มะม่วงหามะนาวโห่ พืชนี้จึงสามารถปลูกได้ตามธรรมชาติในประเทศไทย
และได้พบว่ามีการเผยแพร่ปลูกกันแล้ว
การใช้ประโยชน์ (Uses)
มะม่วงหาวมะนาวโห่
เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยธาตุเหล็กและมีส่วนผสมของวิตามินซี (Vitamin C) อยู่มาก
มีการใช้เป็นอาหารซ่อมเสริมสำหรับผู้ขาดวิตามินซี ดังผู้ป่วยเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน
และบางครั้งสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง (anaemia) ผลที่สุกแล้วจะ มีรสเปรี้ยว
เหมาะสำหรับทำผักดอง เมื่อแห้ง มีเปคติน (Pectin) และบดเป็นผง
จะเป็นส่วนผสมของอาหารที่ให้ความเป็นเยื่อใย สามารถเป็นส่วนของอาหารพวกเยลลี่ (Jelly),
แยม (Jam), น้ำเชื่อม (Syrup) และเครื่องปรุงเติมในอาหาร (Chutney) ให้ได้รสชาติ
เมื่อเด็ดจากต้น จะคายยางสีขาวออกมา ซึ่งทำให้คนที่จะนำไปบริโภค
ควรทำให้สุก เพื่อลดผลจากความเป็นยางที่ยังไม่สุก
Pectin = ทำเป็นส่วนประสมอาหารที่ให้เพิ่มความข้น
เป็นการเสริมเยื่อใย
Chutney (ชัดนีย์) =
เครื่องปรุงแบบอินเดีย ซึ่งทำจากผลไม้ ผัก น้ำส้ม เครื่องเทศ
และน้ำตาล เป็นการเพิ่มรสชาติอาหาร
การบริโภคผลไม้สมุนไพร "มะม่วงหาวมะนาวโห่"
วิธีกินทำเป็นอาหาร
น้ำมะม่วงไม่รู้หาว (ใส่เนื้อแก้วมังกร)
นำผลมะม่วงไม่รู้หาวมาล้างให้สะอาด
ผ่าครึ่งเพื่อแยกเมล็ดออกแล้วนำไปต้ม
- ส่วนประกอบคือ
น้ำสะอาด 4 ลิตร; น้ำตาลทราย ๒ ขีด; ผลมะม่วงไม่รู้หาว ๒ ขีด
นำผลแก้วมังกรแดงมาล้างให้สะอาด
ผ่าแล้วหั่นเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้วนำไปเชื่อม
- ส่วนประกอบคือ
น้ำสะอาด 100 ซีซี;
น้ำตาลทราย ๒ ขีด หากจะทำให้ผู้ป่วยเป็นเบาหวาน
จะลดน้ำตาลลงให้พอเหมาะก็ได้; เนื้อแก้วมังกรแดง ๒ ขีด;
น้ำมะนาวคั้น ๑ ผล
ตักแก้วมังกรแดงเชื่อมใส่ก้นขวด
แล้วเติมน้ำมะม่วงไม่รู้หาวให้เต็มขวด
ทำเป็นเครื่องดื่ม
เครื่องดื่มสมุนไพร
น้ำมะม่วงไม่รู้หาว(ใส่เนื้อแก้วมังกร) ทำแล้วใส่ตู้เย็นไว้ดื่มช่วยให้หายอ่อนเพลีย
ลูกหนามแดงหรือมะม่วงไม่รู้หาวถ้ามีมากก็ผ่าแล้วตากแห้ง
เก็บไว้ใช้เหมือนเก็บกระเจี๊ยบแดง อยากทำเมื่อไหร่ก็นำมาใช้โดยไม่ต้องรอตามฤดูกาล
ผลไม้สมุนไพร มะม่วงหาวมะนาวโห่ ช่วยรักษาโรค
เป็นผลไม้สมุนไพร ช่วยซ่อมร่างกาย รับประทานสด ๆ วันละ 5-7
ลูก สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอด
หัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพอง
เบาหวาน ไต เก๊าท์ ไทรอยด์ ช่วยขยายหลอดเลือด เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง มีหลายท่านว่ากันว่าอาการป่วยโรคดังกล่าว
จะดีขึ้นเรื่อย ๆ และสุขภาพดีขึ้นมาก ๆ
สิ่งที่กล่าวมานี้ เป็นการอ้างที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์อาหาร หรือทางการแพทย์ คงต้องมีการติดตาม ทำการวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้ที่ชัดแจ้งด้วย
ภาพ พวงผลเชอรี่ (Cherry) ผลไม้จากตางประเทศ มีคุุณสมบัติเป็นยา ช่วยขับกรดยูริค แต่มีราคาแพงในประเทศไทย
ภาพ ผลเชอรี่ (Cherry) สีแดงเข้ม เป็นผลไม้มีประโยชน์หลายอย่าง แต่ราคาแพงในประเทศไทย เพราะยากในการเก็บรักษาให้สดได้ยาวนาน
ภาพ เครื่องเคียงที่ใช้กินกับอาหารหลักของอินเดีย Chutney ซึ่งใส่มะม่วงหาวมะนาวโห่ลงไปด้วยได้
ภาพ แยม (Jam) ที่ทำจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ซึ่่งมีส่วนผสมของน้ำตาล แล้วแต่จะเป็นสูตรสำหรับคนป่วย หรือคนสูงอายุหรือไม่ ก็สามารถปรับให้มีน้ำตาลในปริมาณควบคุม
ภาพ เครื่องเคียงที่ใช้กินกับอาหารจานหลักของอินเดีย Chutney ที่มีส่วนผสมของมะม่วงหาวมะนาวโห่ และมีหอมหัวใหญ่ (Onion) ด้วย
ภาพ Coriander Chutney สามารถใส่ส่วนผสมของมะม่วงหาวมะนาวโห่ บดหรือป่นลงไปร่วมด้วยได้ เป็นการเพิ่มเยื่อใย และเสริมรสชาติ เป็นเครื่องเคียงแบบอินเดีย
มีใครรู้ถึง คุณค่าทางโภชนาการ ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ ต่อ 100 กรัม บ้างไหมคับ
ReplyDelete