ในเมืองใหญ่ ต้องเน้นการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
สถานที่จอดรถ (Parking spot) ที่แพงที่สุดในโลกอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
ที่จอดรถนี้เป็นที่จอดรถสงวนพิเศษสำหรับผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมหรูแห่งหนึ่งในเมืองนิวยอร์ค
(New York City – NYC, USA) ขนาดกว้าง 12 ฟุต ยาว 23 ฟุต ที่จอดรถนี้อยู่ที่ถนน 66 E.
11th St. สำหรับบางคนที่ต้องการความเป็นอิสระส่วนตัว
การซื้อที่จอดรถนี้ ต้องลงนามในโฉนดร่วม
สัญญาการขาย และต้องจ่ายค่าบำรุงรักษา (Maintenance fees) ค่าที่จอดรถนี้สูงกว่าราคาบ้านเฉลี่ยทั่วไปในประเทศสหรัฐถึง
6 เท่า
ก่อนหน้านี้ ปีค.ศ. 2002 Jerry Seinfeld นักแสดงตลกชื่อดังได้จ่ายเงินมากกว่า 1 ล้านเหรียญเพื่อสร้างสถานที่จอดรถเฉพาะของเขาเอง
แต่นั่นเป็นที่จอดรถแบบยกระดับ จอดได้ถึง 20 คัน
ที่เขียนเล่ามานี้
เพื่อให้ตระหนักถึงสภาพเมืองใหญ่ที่ เขาไม่ส่งเสริมให้ใช้รถยนต์เป็นพาหนะส่วนตัวในการเดินทางแต่ละวัน
(Commuting) เพราะในเมืองใหญ่นั้น
เมื่อจะพูดถึงระบบการเดินทางไปทำงานหรือทำธุระใดๆในแต่ละวัน
เขาจะเน้นไปที่การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ อันได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือบนดิน
หรือเหนือพื้นดิน ที่สามารถขนคนจำนวนมากหลายล้านคนในแต่ละวันด้วยระบบราง (Rail
system) ตามมาด้วยการใช้รถประจำทาง (Bus system) ที่จะประสานเส้นทางกับระบบขนส่งรางความเร็วสูง และรถแทกซี่
นอกนั้นก็คือใช้การเดินด้วยเท้า โดยต้องมีทางเดินทางขนาดกว้างเพียงพอ
ที่ทำให้คนได้เดินได้อย่างสะดวก รวมทั้งคนพิการ
คนชราที่ต้องมีทางเรียบเพื่อใช้รถเข็น หรือเก้าอี้เคลื่อนย้ายได้ด้วยไฟฟ้า
เพื่อให้คนที่มีข้อจำกัดเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด
หากใครต้องการใช้รถส่วนตัว ระบบสังคมจะมีกลไกโดยธรรมชาติ
ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่สูง ตั้งแต่ ค่าที่จอดรถ ซึ่งอาจจะตกถึงวันละ 500-1,000
บาท ค่าเข้าสู่เขตรถยนต์หนาแน่นที่เรียกว่า Congestion
Controlled Zone - CCZ ที่คนใช้รถยนต์ส่วนตัวต้องเสียค่าใช้จ่าย
นับเป็นวันละ 500 บาทขึ้นไป ดังในกรุงลอนดอน
ประเทศสหราชอาณาจักร ใครที่จะไปใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ในโลก ไม่ว่าจะเป็น นิวยอร์ค
ในสหรัฐอมริกา ลอนดอนในประเทศอังกฤษ ปารีสของฝรั่งเศส หรือเอเชีย ดังใน โตเกียว ฮ่องกง
สิงค์โปร์ เหล่านี้ก็อยู่ในสภาพเช่นเดียวกัน
คือต้องเรียนรู้ที่จะใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่เขามีอยู่ในเมืองนั้นๆ
ย้อนกลับมาดูในประเทศไทย รัฐบาลกลับมีนโยบายสนับสนุนให้คนใช้รถยนต์ส่วนตัว
ดังมีโครงการลดภาษีให้กับคนมีรถยนต์เป็นคันแรก ซึ่งอาจได้รับลดหย่อนภาษีถึงคันละ 100,000
บาท ทั้งๆที่ประเทศไทยไม่มีน้ำมันเอง
ต้องมีการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ
แทนที่ไทยเราจะเน้นไปที่การมีนโยบายไม่ส่งเสริมการมีหรือใช้ยานพาหนะส่วนตัว
การมีระบบขนส่งทางเลือกอื่นๆ ที่มีการใช้พลังงานน้ำมันที่น้อยกว่า หรือประหยัดกว่า
ดังเช่นใช้พลังงานไฟฟ้า ดังเช่นรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) รถจักรยานไฟฟ้า
(Electric bicycles) พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ หรือพลังคนถีบดังระบบรถจักรยานธรรมดาทั่วไป
เป็นต้น
ระบบขนส่ง
การเดินทางในเมืองนิวยอร์ค
ดูตัวอย่างเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ค (New
York City) ไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
ภาพ การขนส่งผู้คนหลักคือรถไฟฟ้าใต้ดิน เรียกว่า Subway ซึ่งในบางส่วนเมื่อวิ่งนอกเมือง จะวิ่งเหนือดิน
ภาพ ระบบรถโดยสารในเมือง ซึ่่งสามารถใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบขนส่งมวลชนของมหานครนิวยอร์ค (New
York City) เขามีการขนส่งมวลชนระบบรางความเร็วสูง 16 สาย ขนส่งคน
11,574,566 เที่ยว/คน ในช่วงวันทำงาน ทั้งด้วยระบบ รถวิ่งบนรางในเมือง (Commuter
rail), รถโดยสารวิ่งในเมือง (Local and express bus), รถไฟฟ้าใต้ดิน (Subway), รถประจำทางแบบด่วน (Bus
rapid transit)
มีรถไฟวิ่งระหว่างชานเมืองกับเมือง 2,290 คัน
รถไฟฟ้าใต้ดิน (Subway) 6,399 คัน และรถประจำทาง 5,920 คัน
เฉพาะระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (Subway) มีความยาวเส้นทาง 337 กิโลเมตร แต่มีรางจริงยาว 1,355
กิโลเมตร แต่ละวันมีคนใช้บริการในวันทำงาน 5 ล้านคน/เที่ยว
หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของระบบการเดินทางในแต่ละวัน
ภาพ รถแทกซี่ ซึ่งเป็นยานพาหนะเสริม สำหรับคนที่ต้องมีการซื้อของ จับจ่ายในร้านใจกลางเมือง ก็มักจะใช้บริการเดินทางและขนของด้วยรถแทกซี่
ในการให้บริการรถแท๊กซี่ นิวยอร์คมีแท๊กซี่สีเหลือง
(Yellow taxis) จำนวน 13,237 คัน
และมีแท๊กซี่สีอื่นๆ ที่ร่วมบริการอีกรวมไม่เกิน 40,000 คัน คนขับรถแท๊กซี่ส่วนใหญ่
คือร้อยละ 82 เป็นคนต่างชาติ ในแต่ละกะ (Shift) จะวิ่งประมาณ
288 กิโลเมตร โดยเฉลี่ยในแต่ละปีมีคนใช้บริการแทกซี่ 241 ล้านคน/เที่ยว
โดยเฉลี่ยคนขับแท๊กซี่โดยทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายได้ปีละ $22,440 หรือเดือนละ 56,100 บาท
ซึ่งถือเป็นรายได้ระดับต่ำ เมื่อต้องทำงานและดำรงชีพในเมือง
No comments:
Post a Comment