Saturday, December 8, 2012

บุหรี่อิเลคโทรนิกส์ (Electronic cigarette)


บุหรี่อิเลคโทรนิกส์ (Electronic cigarette)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: health, healthcare, cigarette, tobacco, สุขภาพ, อนามัย, บุหรี่, ยาเสพติด

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


ภาพ บุหรี่อิเลคโทรนิกส์ (Electronic cigarette) ที่ออกแบบมาให้เหมือนกับบุหรี่ธรรมดา

บุหรี่อิเลคโทรนิกส์ (Electronic cigarette) หรือที่รู้จักกันในชื่อ e-cigarette, บุหรี่ไอละเหย บุหรี่ไร้ควัน (vapor cigarette) หรือเรียกย่อๆว่า e-cig เป็นบุหรี่อิเลคโทรนิกส์ที่ผู้เสพสูดเอาไอระเหยของของเหลว propylene glycol- หรือ glycerin- หรือ polyethylene glycol-based liquid ซึ่งมีการพ่นเป็นละอองละเอียด แล้วผู้เสพก็สูดเข้าไปในปอด ซึ่งจำลองมาในลักษณะใกล้กับการสูบบุหรี่ แต่ไม่ใช่การสูบบุหรี่ (Smoke) ที่ต้องเป็นควันเข้าไปในปอด แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือการรับเอาสารนิโคติน (Nicotine) เข้าไป โดยผ่านปอด



ภาพ บุหรี่อิเลคโทรนิกส์ในแบบที่ทำให้เหมือนบุหรี่ทั่วไป แบ่งออกเป็น ส่วนคือ


A. LED light cover
B. battery (also houses circuitry) แบตเตอรี่ เป็นตัวที่จะให้พลังงาน
C. atomizer (heating element) ส่วนให้ความร้อนเพื่อการระเหย
D. cartridge (mouthpiece) ส่วนที่ใช้ปากคาบ เหมือนบุหรี่ทั่วไป


ประโยชน์หรือโทษของบุหรี่อิเลคโทรนิกส์ยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน องค์กรต่อต้านการสูบบุหรี่และนักวิจัยด้านสุขภาพยังไม่ได้มีข้อมูลพอที่จะบอกว่ามันมีโทษหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด เพราะเป็นของใหม่ ยังไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากนัก แต่ที่แน่ๆคือบริษัทผู้ผลิตกำลังขยายการใช้ประโยชน์จากช่องว่างทางกฎหมายนี้ ทำให้มีการขยายการขายสินค้าแบบนี้เข้าไปในร้านขายยา (Drugstores) และเพราะผู้เสพยาสูบไม่ต้องใช้การจุดไฟเผาบุหรี่ จึงไม่เรียกว่า “สูบบุหรี่” (Smoking) จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขห้ามการสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ เช่น สนามบิน เครื่องบิน รถประจำทาง ร้านอาหาร โรงพยาบาล ฯลฯ

คงจะต้องรอผลการศึกษาทางการแพทย์สักระยะหนึ่ง ก่อนที่จะมีการระบุลงไปได้ว่า มันมีโทษมากน้อยเพียงใด ควรมีกฎที่เข้มแข็งติดตามมาด้วยหรือไม่

1 comment:

  1. เป็นสิ่งที่พึ่งเคยได้ยิน บุหรี่อย่างนี้เราต้องมาเปรียบเทียบระหว่างคุณกับโทษ ประโยชน์มิใชประโยชน์ หากโทษมากได้ไม่เกินคุ้มมีภัยต่อสุขภาพของประกรอย่างมากมายก็ต้องหาวิธีให้ผู้บริโภคเข้าใจหรือหาวิถีสะกัดกั้น แต่หากเป็นประโยชน์แก่ประชากร หรือประชาชนส่วนรวมก็ต้องนำสิ่งที่เป็นคุณมาใช้
    แล้วโรงงานยาสูบจะอยู่รอดไหมน้อ หากบุหรีแบบนี้มาตีตลาดไทย

    ReplyDelete