Sunday, May 13, 2012

สุภาษิต - สิบหูฟัง ไม่เท่า 2 ตาที่ได้ไปเห็น

สุภาษิต - สิบหูฟัง ไม่เท่า 2 ตาที่ได้ไปเห็น

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org 

Keywords: สุภาษิต, proverb, Education, educational technology, photography, essay writing

ภาพ หรือ Visual Effects มีผลดีต่อการนำเสนอสาระ ทำให้ได้ทั้งข้อมูลและความรู้สึก มีช่างภาพมืออาชีพเขาบอกว่า ภาพที่ดีๆนั้น แม้ไม่มีคำอธิบาย ภาพนั้นก็สามารถบอกถึงความรู้สึกของภาพนั้นได้เป็นอย่างดี นั่นหมายความว่าเราฝึกถ่ายภาพ จนเป็นระดับมืออาชีพ

ข้อเขียน หรือ Text เป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้เราได้สื่อสาร และหากฝึกเขียนบ่อยๆ เพื่ออธิบายความ เสริมความ หรือชี้ประเด็น ภาพที่เรานำเสนอไปนั้น ก็จะยิ่งมีความคมชัดยิ่งขึ้นไปอีก ภาพ + ข้อความ = มากกว่า 1 + 1 การจะเขียนให้ได้ดี ก็ต้องเขียนบ่อยๆ การจะทำอะไรสักอย่างให้ได้ดี ไม่มีอะไรดีไปกว่าฝึกทำบ่อยๆ เช่น อยากจะเขียนให้ได้ดี ก็ต้องเขียนบ่อยๆ เขียนแล้วก็มีคนอ่าน คอยแนะนำเรา ให้ข้อวิพากษ์แก่เรา เพื่อให้เราได้สื่อสารได้ทั้งสาระ ความรู้สึก

ภาพที่ผมพบเป็นอันมากในอินเตอร์เน็ต หรือใน Facebook นั้น เป็นภาพที่มีคนอื่นๆที่เขาไปถ่ายมาแล้ว เขานำเสนอ แล้วเราเห็นว่าดี ก็ทำการส่งต่อ (Forwarding) ภาพบางภาพมีความมหัศจรรย์มากเลย มันสวยงาม และดูมันเหลือเชื่อเกินจริง ก็คงถูกครับ เพราะภาพเหล่านั้นเป็นภาพที่ใช้เทคนิคการแต่งภาพ ดาราบางคนดูสวยและสาวอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเขาใช้เทคนิคอย่างที่เรียกว่า Airbrush คือใช้วิธีการลบไฝฝ้า ผิวตกกระออกจนหมด จากคนอายุ 52 กลายเป็น 25 ปี อย่างนี้ในต่างประเทศ เขาถึงกับต้องประกาศว่าบริษัทเครื่องสำอาง หากจะใช้ดารานำเสนอ ต้องทำด้วยภาพถ่ายจริง ห้ามใช้ Airbrush
เรามาเริ่มกันใหม่ครับ ทำอะไรขึ้นมาด้วยตัวเอง ถ่ายภาพเอง เขียนบทความ คำอธิบายเอง ทำบ่อยๆแล้วมันก็จะดีขึ้นเอง ลองเริ่มจากเรื่องง่ายๆสัก 5 คำแนะนำ

1.    ถ่ายภาพโดยให้คิดในใจว่า ต้องการแสดงอะไร (Purposive) มีอะไรในใจที่ต้องการนำเสนอ ต้องการสื่ออะไรกับผู้ชมภาพ เริ่มจากง่ายๆก่อน เช่น ถ่ายภาพ ชีวิตในชุมชน บ้านเรือน สิ่งก่อสร้งภายในชุมชนนั้นๆ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ หรือที่เรียกว่า Landmark

2.    ถ่ายภาพให้คมชัด (Clarity) ภาพที่ถ่ายมีแสงสว่างเพียงพอ หรือเราต้องการสื่อในความมืดนั้นๆ ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ถ้าต้องการให้ภาพคมชัด ดังกล่องดิจิตอล ก็ต้องพยายามอย่าให้กล้องสั่นไหวขณะถ่าย ต้องให้เวลากดทิ้งสักระยะ เพื่อให้กล่องปรับ Focus ได้เสียก่อน ไม่อย่างนั้นภาพจะไหว และไม่ชัด

3.    หากต้องการสื่อส่วนใดให้ชัดเจน ก็ต้อง Zoom ภาพ เข้าไปให้ใกล้ และหากจะถ่ายแบบซูม ก็ต้องระวังอย่าให้สั่นไหว ซึ่งก็ต้องไปเรียนรู้เทคนิคที่จะทำให้ไม่สั่นไหว สิ่งหนึ่งที่ผมทำได้ ก็คือใส่ขากล้องเข้าไปที่ตัวกล้อง ใช้มือหนึ่งจับส่วนขากล้อง (Tripod) ให้มั่น อีกมือหนึ่งจับตัวกล้อง พร้อมกด Shutter ยิงภาพ

4.    ระวังเรื่องแสงย้อน เช่นต้องการถ่ายภาพคนหรือกลุ่มคน แต่ถ่ายย้อนแสง ก็ทำให้หน้าคนทั้งหมดมืด แม้นำมาตกแต่งใหม่ ใช้โปรแกรมเพิ่มแสงเข้าไป แต่ก็จะเสียความคมชัดตามธรรมชาติลงไป และแสงสีของภาพก็จะดูไม่เป็นธรรมชาติ

5.    การถ่ายภาพเพื่อนำเสนอ ต้องคำนึงถึงสิทธิของแต่ละคนด้วย (Privacy, Individuality) เช่นการถ่ายภาพหมู่สัก 5 คน เราจะถ่ายภาพ ก็ให้นับ เพื่อให้ทุกคนเตรียมตัวพร้อม และเมื่อถ่ายออกมาแล้ว ก็ให้สำรองไว้หลายภาพ เผื่อมีบางภาพที่เสีย เช่น บางคนหลับตา ตาปรือ หรือกำลังมีกิริยาอาการที่ไม่เหมาะ ก็ให้ลบภาพนั้นไปเสีย เลือกนำเสนอแต่สิ่งที่ดี

ขอช่วยกันไปเรียนรู้บทเรียนแรก คือไปถ่าย ถ่าย และถ่าย ถ่ายภาพ มองหาสิ่งที่ดูเหมือนธรรมดา แล้วคนมองข้ามไป แต่ด้วยการเขียนอย่างมีวัตถุประสงค์ สิ่งที่ดูเหมือนธรรมดานั้น อาจมีบทเรียนสำคัญในชีวิตที่ซ่อนอยู่

No comments:

Post a Comment