Wednesday, May 16, 2012

ทัศนะ: เมื่อกรีกต้องออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป


ทัศนะ: เมื่อกรีกต้องออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: เศรษฐกิจ, การเมือง, กรีก, Euro, EU, Europe

เก็บความจาก “Viewpoints: What if Greece exits euro?BBC News, Business, 14 May 2012 Last updated at 10:42 GMT


ภาพ ธงชาติกรีก (Greece Flag)

ทัศนะ: เมื่อกรีกต้องออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union) และจากการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) อะไรจะเกิดขึ้น?


ภาพ การประท้วงที่เกิดขึ้นในกรีก ด้วยปัญหาเศรษฐกิจ คนตกงาน ประเทศเป็นหนี้ และขาดขีดความสามารถในการแข่งขัน สินค้าและบริการทุกอย่างราคาแพง

ความจริงเป็นคำถามที่เกือบจะเป็นไปไม่ได้ เหมือนกับเมื่อเราเป็นบุคคล ไปยืมเงินคนหรือสถาบันการเงินมา แล้วบอกว่าผมจะไม่ใช้เงินคุณ เราก็ต้องถูกบังคับใช้หนี้ตามกฎหมายด้วยกระบวนการฟ้องร้อง หากยังมีทรัพย์สินใดๆที่จะใช้หนี้ ก็จะถูกกฎหมายบังคับให้ใช้หนี้คืนจนหมด หากไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเหลือพอ ก็ต้องถูกจัดให้อยู่ในสถานะบุคคลผู้ล้มละลาย (Bankruptcy)

หากกรีกออกจากยูโร เงินเฟ้อและการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้น

นักการเมืองจากพรรคต่างๆของกรีกในวันนี้กำลังต้องกลับไปหาเสียง โดยจะมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2012

โดยทุกพรรคการเมืองจะต้องไปบอกกับประชาชนอีกครั้งว่า ตนและพรรคของตนมีนโยบายจะทำอะไรเมื่อได้เป็นรัฐบาล แต่สิ่งที่เขาจะบอกแก่ประชาชนนั้น คือสิ่งที่ประชาชนอยากได้ยิน แต่มันอาจไม่ใช่ภาพความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น

ในประเทศกรีกเอง มีหลายส่วนที่ไม่ต้องการมาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) ที่บังคับใช้จากผู้ให้เงินกู้แก่กรีกทั้งหลาย หากกรีกไม่สามารถสร้างความพอใจตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปและ IMF กรีกก็จะถูกตัดออกจากส่วนของเครดิตที่ยังเหลืออยู่ และหากกรีกต้องออกจากยูโร กรีกจะหมดเครดิตความเชื่อถือ และไม่มีความสามารถที่จะจ่ายหนี้ และต้องออกจากกลุ่มยูโรไปทั้งหมด

ต่อไปนี้เป็นทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่มีต่อกรีก โดยสมมุติว่า หากกรีกออกจากยูโร แล้วอะไรจะเกิดขึ้น

Carsten Brzeski, นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส, ING Belgium ให้ทัศนะว่า

ความสับสน ธนาคารของกรีกจะระเบิด (Go bust) คือเจ๊ง บริษัทของกรีกกจะล้มละลาย อัตราคนว่างงานจะสูงขึ้น เงินตระกูลกรีกเก่า คือ Drachma จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ แต่จะเสียอัตราแลกเปลี่ยนไปมากมาย

ราคาอาหารและพลังงานจะสูงขึ้นจนติดเพดาน มันจะเป็นเหมือนระเบิดเมื่อเปิดจุกขวดแชมเปญ มันจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ความสับสนที่จะให้น้ำหนักไปที่การต้องเติบโต ภาพโดยรวมของเขต Eurozone จะเลวร้ายยิ่งขึ้น

Michael Arghyrou, ผู้บรรยายเศรษฐศาสตร์อาวุโส, Cardiff Business School ได้ให้ทัศนะต่อการที่กรีกอาจต้องออกจากยูโรว่า

เงิน Drachma ของกรีกจะมีการลดค่าลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ทำให้เกิดสภาพเงินเฟ้อ

อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวสำหรับการจำนอง หรือกู้ยืมทางธุรกิจ และการกู้ยืมใดๆจะมีราคาแพงขึ้นอย่างมาก

จะไม่มีเครดิตเหลือสำหรับธนาคารของกรีก หรือรัฐกรีก

อาจหมายถึงการขาดแคลนสินค้าบริโภคพื้นฐานต่างๆ ทั้งน้ำมัน ยารักษาโรค หรือแม้แต่อาหารการกิน

บริษัทธุรกิจของกรีกส่วนใหญ่พึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งบริษัทต่างประเทศเหล่านั้นจะตัดลูกค้าจากกรีก บริษัทของกรีกเองก็จะถูกทำให้ต้องเลิกกิจการ

กรีกจะสูญเสียความมั่นคงสิ่งเดียวที่มีอยู่ ซึ่งหมายถึงสถานภาพของการเป็นสมาชิกใน EU หรือ European Union

ประเทศกรีกจะตกในสถานะของความสับสน ทุกสถาบันของกรีกเองจะอ่อนแอ

ภาพฉายที่แย่ที่สุดคือความล้มเหลวทางสังคมและเศรษฐกิจ อันอาจนำไปสู่ระบอบเผด็จการ ซึ่งครั้งหนึ่งประเทศกรีกหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็เคยอยู่ในสภาพเช่นนั้น ซึ่งคือเมื่อไม่นานมานี้

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นภาพฉาย สำหรับผู้อ่านชาวไทยเรา คงพอนึกภาพเมื่อเกิดภาวะวิกฤติทางการเงินในเอเชียยุคต้มยำกุ้ง ค.ศ. 1997 คือเมื่อ ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพใกล้ล้มละลาย แล้วเราต้องขอเงินกู้ฉุกเฉินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และถูกเขาบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) มาก่อน ซึ่งก็เป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวดยาวนาน ต้องใช้เวลานานนับเป็นสิบปี กว่าจะกลับฟื้นคืนมาได้เป็นปกติ

สภาพที่เกิดกับไทยอย่างไร ก็จะเกิดกับกรีกในลักษณะเดียวกัน แต่รุนแรงกว่า เพราะสำหรับเขาแล้ว มันจะเป็นการล้มละลายของประเทศจริงๆ และผลกระทบต่อประเทศอื่นๆในยุโรป เริ่มกับประเทศที่ใช้ค่าเงินยูโร และประเทศยุโรปอื่นๆ และเชื่อว่าผลกระทบจะส่งผลไปทั่วโลก แม้อาจจะไม่รุนแรงดังยุคต้มยำกุ้ง ที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองไปในหลายประเทศในเอเซีย

วิกฤติการเงินในเอเซียปี ค.ศ. 1997 (1997 Asian financial crisis)

ประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด 3 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทย ประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงตามมาแต่ไม่มากเท่า คือ ฮ่องกง มาเลเซีย ลาว และฟิลิปปินส์ ตามมาด้วย จีน ปากีสถาน อินเดีย ไต้หวัน สิงค์โปร์ บรูไน และเวียดนาม ได้รับผลกระทบด้วยแต่ไม่รุนแรง แต่โดยรวม ผลกระทบมีไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย
  

ภาพ Parthenon บนเนิน Acropolis ในกรุงเอเธน (Athens) ประเทศกรีก (ภาพจาก Wikipedia)


 ภาพ กษัตริย์อเลกซานเดอร์มหาราช บนม้าชื่อ Bucephalus ที่ทำด้วยกระเบื้องโมเสค เป็นกษัตริย์นักรบที่เข้าไปยึดครองหลายประเทศในยุโรปและเอเซีย สัญลักษณ์ความเป็นอาณาจักรและอารยธรรมของยุโรปยุคหนี่ง ก่อนอาณาจักรโรมัน (ภาพจาก Wikipedia)

No comments:

Post a Comment