Friday, May 10, 2013

โรงเรียนขนาดเล็ก : สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์


โรงเรียนขนาดเล็ก : สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์

โดย วัชรินทร์ สอนพูด Facebook, วันที่ 10 พฤษภาคม 2556

๑๒๑ ปีเศษ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงตั้งกระทรวงศึกษาธิการ(กระทรวงธรรมการ)มา เปลวเทียนที่ส่องสว่างปกคลุมพื้นที่ชนบทไทยที่มี "ครู" คือปูชนียบุคคลผู้นำทางการศึกษากับภาคประชาชนตามชนบทมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันจัดให้มีสถานศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น
ประชาอุปถัมภ์, ประชาอุทิศ, ประชานุเคราะห์,ประชารักษ์,ราษฎร์บำรุง...เป็นต้น และยังมีชื่อบุคคล หรือตระกูลที่บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนในชื่อแตกต่างกันไป

โรงเรียนจึงเป็น "มรดก" ที่เป็นสมบัติสืบทอดสู่บุตรหลานรุ่นแล้วรุ่นเล่า ทุกท้องถิ่นทั่วไทยจึงมีคำว่า "บวร : บ้าน วัด โรงเรียน" ที่เป็นสถาบันที่สง่างามที่สุดในชนบท

พลันที่นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ได้เอ่ย "การยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" (ข้อมูลปัจจุบัน นร.น้อยกว่า ๑๒๐ คน มี ๑๔,๘๑๖ โรง / นร.น้อยกว่า ๖๐ คน มี ๕,๙๖๒ โรง) ยังไม่สิ้นเสียงแถลง กระแสการต่อต้านดังอึกกะทึกครึกโครม...

ผมนั่งคุยแท็กซี่ (เสื้อแดงบ้านอยู่ร้อยเอ็ด) ในกทม. คุยกับผู้ปกครองที่รักพรรคเพื่อไทย แลกเปลี่ยนทัศนะกับครูและองค์กรการศึกษา ........

กระแสการต่อต้านการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก......เป็นห่วงโซ่คล้องเหนี่ยวกันเหนียวแน่น ที่ขยายผลคัดค้านต่อต้านเปิดเผยอย่างรวดเร็วและถึงสติปัญญาคนรากหญ้าทุกหย่อมหญ้า..เพราะอยู่ในช่วงที่ผู้ปกครองกำลังกุลีกุจอหาเงิน ขายทอง จำนองที่ มีรถเข้าไฟแนนซ์ เพื่อบุตรหลานของตนเองจะได้เข้าเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๖ อย่างมีความสุข

แม้กระทรวงศึกษาธิการจะมีผลงาน "ชิ้นโบว์ดำ" ไม่ว่าจะเป็นการออกข้อสอบ O-NET, ผลการสอบ O=NET, ปลูกฝังประชานิยมแนวใหม่ให้นักเรียนเช่นเปลี่ยนทรงผมใหม่ ลดการบ้าน การแต่งกายนักเรียนนักศึกษา,การลอกผลงานทางวิชาการของครู และการทุจริตการสอบบรรจุ "ครูผู้ช่วย" จะถูกฝังกลบไประยะหนึ่งก็ตาม

มิน่าหล่ะที่อดีต "เสมา ๑" ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช ได้เคยออกมาระบุว่า "รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะอยู่ไม่ถึงสิ้นปี ๒๕๕๕ พรรคเพื่อไทยจึงได้ปรับออก ให้นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ซึ่งเป็นอดีตคนใกล้ชิด พล.ต.จำลอง ศรีเมือง มาทำหน้าที่ใน "วังจันทรเกษม" แทน และได้แสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ที่รวยเกือบ ๓ พันล้าน

"ประหยัดงบประมาณ" เป็นประเด็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกมาแถลง โดยที่นโยบายประชานิยมที่รัฐบาลถลุงภาษีประชาชน เช่น

- รถยนต์คันแรก รัฐขาดรายได้ ๙ หมื่นล้านบาท
- ลดภาษีบ้านหลังแรก รัฐขาดรายได้ ๒ หมื่นล้านบาท
- แจกเสื้อแดงที่ได้รับผลกระทบจากการชุมชนุม รายละเกือบ ๘ ล้านบาท
- โครงการจำนำข้าวใช้งบประมาณ ๕.๙ แสนล้านบาท
- กู้ลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง ๒ ล้านล้านบาท

นี่เป็นเพียงตัวอย่าง "ประชานิยม" แต่การศึกษาไทยในงบประมาณ ปี ๒๕๕๖

มีจำนวนเงินเพียง ๔๖๐,๔๑๑,๖๔๘,๘๐๐.๐๐ บาท ถึงเด็กจริงๆไม่เท่าไหร่ แค่เงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษาก็อ่วมอรทัย รัฐบาลยังค้างจ่ายเงินครูที่ได้รับการเลื่อนและแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้น ครูกลุ่มนี้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง

แล้วทำไม ? รัฐบาลไม่ใช้โรงเรียนขนาดเล็กจัดระบบการศึกษาทางเลือกที่หลากหลาย กระจายอำนาจให้ครู และสิทธิชุมชนอย่างแท้จริง รัฐบาลกลางไม่ต้องไปกำกับควบคุมดูแลเหมือนปัจจุบัน และรัฐต้องตอบโจทย์ของรัฐธรรมนูญไทยให้ชัดเจน.....

"จัดการศึกษาทั่วถึง มีคุณภาพและไม่คิดค่าใช้จ่าย"..

เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เปิดโอกาสทางการศึกษา และไม่เป็นการพรากเด็กจากชุมชนสู่เมือง และปกป้องความล่มสลายของชุมชน หากเสนาบดีมีชุดความคิดเท่านี้ชนบทไทยคงเหลือไว้แต่เพียง บว...(บ้าน : วัด ) เท่านั้นอย่างแน่นอน..

"โรงเรียนขนาดเล็ก" ไม่ใช่ "เศษขยะทางการศึกษา" หรือซากปรักหักพังทางการศึกษาไทย เพราะคนจน ก็คือ "คนจนโลโซ" ที่ไม่เหมือนลูกมหาเศรษฐีไฮโซที่เฮโลไปเรียนในโรงเรียนระดับอินเตอร์ ค่าเทอม ๔-๘ แสนบาทต่อเทอม .หรือผู้ปกครองและประชานชนชาวไทยจะนิ่งดูดายปล่อยไปตามยถากรรมให้โรงเรียนขนาดเล็กเป็น "สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์" ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร.

@ วัชรินทร์ สอนพูด ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ @


ภาพ เมื่อเราพูดถึงเด็กนักเรียน มันรวมถึงนักเรียนที่มีความหลากหลาย และรวมถึงนักเรียนที่อยู่บนภูเขา ที่เขามีสิทธิได้รับการศึกษา ควบคู่กับการพัฒนาชุมชนด้วย (ประกอบ คุปรัตน์ - บรรณาธิการ)


ภาพ ชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียนมีความต่างกัน เป็นอันมากอยู่ในที่ราบ แต่ก็มีโรงเรียนในชุมชนขนาดเล็ก ที่สวยงาม และชุมชนเหล่านี้ก็จะมีผลต่อการดูแลสภาพแวดล้อมในธรรมชาติอย่างมาก
(ประกอบ คุปรัตน์ - บรรณาธิการ)


ภาพ เมื่อพูดถึงการปิดโรงเรียนขนาดเล็ก มันไม่ใช่เพียงการปิดโรงเรียน แต่ผลกระทบคือการต้องย้ายเด็กนักเรียนไปยังโรงเรียนที่ใหญ่กว่า ที่อาจอยู่ห่างชุมชนของเขา และต้องกระทำเช่นนี้ทุกวัน เช้า และเย็น ทั้งไปและกลับ แล้วใครจะรับผิดชอบ


No comments:

Post a Comment