Monday, July 25, 2011

การจัดตั้งระบบไปรสณีย์สหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 1775

การจัดตั้งระบบไปรสณีย์สหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 1775

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: Pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Jul 26, 1775:: U.S. postal system established.” จาก History.com

ในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1775 ระบบไปรสณีย์ของสภาแห่งทวีครั้งที่สอง (Second Continental Congress) โดยมีนายไปรสณีย์ใหญ่คนแรกคือ เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ซึ่งเขาได้วางระบบรากฐานที่สำคัญสำหรับระบบไปรสณีย์ที่ยังใช้อยู่แม้ในปัจจุบัน ในช่วงศตวรรษที่ 1600s มีชาวอาณานิคมน้อยคนนักที่จะต้องการส่งไปรสณีย์ติดต่อระหว่างกันเอง ส่วนใหญ่เป็นการติดต่อกับผู้เขียนจดหมายที่อยู่ในประเทศอังกฤษ

การส่งจดหมายข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมีลักษณะประปราย ไม่สม่ำเสมอ จดหมายแต่ละฉบับกว่าจะถึง ก็ใช้เวลาหลายเดือน ไม่มีระบบไปรสณีย์หรือสำนักงานในอาณานิคม ไปรสณีย์จึงถูกทิ้งไว้ตามร้านเหล้าหรือโรงแรมที่พักของคน ในปี ค.ศ. 1753 เบนจามิน แฟรงคลิน ผู้รับเป็นนายไปรสณีย์แห่งเมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia) ได้กลายเป็นหนึ่งในสองนายไปรสณีย์ของอาณานิคม

เบนจามิน แฟรงคลินได้ปรับปรุงระบบส่งไปรสณีย์หลายประการ รวมทั้งการกำหนดเส้นทางขนส่งไปรสณีย์ภัณฑ์ และทำให้ตัดเวลาการส่งของได้เป็นครึ่งหนึ่งระหว่างฟิลาเดลเฟียและนิวยอร์ค (New York) ทั้งนี้โดยการกำหนดรูปแบบการส่งเมล์โดยอาศัยรถม้าที่วิ่งผลัดกันทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีทีมรับงานผลัดกัน แฟรงคลินยังได้เริ่มให้มีการจัดเก็บค่าไปรสณีย์พิเศษ คิดค่าไปรสณีย์ตามระยะทางและน้ำหนักของไปรสณียภัณฑ์ ในปี ค.ศ. 1774 เมื่ออังกฤษได้ปลดแฟรงคลินออกจากตำแหน่งนายไปรสณีย์เพราะการที่เขาเข้าไปร่วมในกระบวนการปฏิวัติ

อย่างไรก็ตาม แฟรงคลินก็ได้รับการแต่งตั้งในปีต่อมาให้เป็นนายไปรสณีย์ใหญ่ของสหพันธ์อาณานิคมแห่งสภาภาคพื้นทวีป แฟรงคลินได้ทำงานในหน้าที่จนถึงปลายปี ค.ศ. 1776 เมื่อหลังจากนั้น เขาถูกส่งไปเป็นทูต ณ ประเทศฝรั่งเศส เขาได้ปรับปรุงระบบการส่งไปรสณีย์ขึ้นมามากมายหลายประการ ได้เริ่มเส้นทางส่งไปรสณีย์ระหว่าง Florida ไปยัง Maine และมีการส่งไปรสณีย์สม่ำเสมอระหว่างอาณานิคมและประเทศอังกฤษ ในระยะต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาได้กำเนิดเป็นประเทศอิสระขึ้นมาโดยมีจอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เป็นประธานาธิบดีคนแรก เขาได้แต่งตั้งให้แซมวล ออสกูด (Samuel Osgood) อดีตวุฒิสมาชิกจากรัฐแมสสาชูเสท (Massachusetts) ให้ดำรงตำแหน่งนายไปรสณีย์ใหญ่ (Postmaster General) แห่งประเทศสหรัฐ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1789 ซึ่งในขณะนั้นมีสำนักงานไปรสณีย์ทั่วสหรัฐอยู่ 75 แห่ง

ภาพ สัญญลักษณ์ของบริการไปรสณีย์ในสหรัฐอเมริกา

ในปัจจุบัน สหรัฐมีสำนักงานไปรสณีย์อยู่ทั่วประเทศ 40,000 แห่ง มีบริการส่งของกว่า 212,000 ล้านชิ้นต่อปี ไปยังบ้านเรือนและสำนักงานกว่า 144 ล้านแห่งในสหรัฐอเมริกา Puerto Rico, Guam, หมู่เกาะ American Virgin Islands และ American Samoa

สำนักงานไปรสณีย์เป็นหน่วยงานพลเรือนที่ใหญ่ที่สุด มีคนทำงาน 700,000 คน ทำงานเกี่ยวกับบัตรและจดหมายกว่าร้อยละ 44 ในโลกนี้ การดำเนินการด้านไปรสณีย์ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่มีผลกำไร แต่เป็นไปเพียงเพื่อให้ได้ค่าแสตมป์ที่พอค่าจัดส่ง โดยมีการใช้ไปรสณียากรในสหรัฐในปี ค.ศ. 1847

หน่วยงานที่ดูแลการไปรสณีย์สหรัฐ คือ United States Post Office Department อันเป็นหน่วยงานในสังกัดรัฐบาลกลาง ในปัจจุบันได้มีการปรับโครงสร้างหน่วยงาน โดยมีนิติบัญญัติที่เรียกว่า Postal Reorganization Act ลงนามโดยประธานาธิบดีสหรัฐ ริชาร์ด นิกสัน (President Richard Nixon) ในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1970 เพื่อทำให้ตำแหน่งรัฐมนตรีประจำกระทรวงไปรสณีย์ที่เคยอยู่ในคณะรัฐมนตรี กลายเป็นหน่วยงานอิสระในระดับ Department หรือกระทรวงในสหรัฐอเมริกา

ภาพ รถรับส่งไปรสณีย์แบบหนึ่งที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา

No comments:

Post a Comment