Wednesday, July 13, 2011

ฝ่ายปฏิวัติฝรั่งเศสบุกเข้ายึดป้อมบาสตีล

ฝ่ายปฏิวัติฝรั่งเศสบุกเข้ายึดป้อมบาสตีล
French revolutionaries storm Bastille

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Jul 14, 1789:

ภาพ ป้อมบาสตีล (Bastille)

วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 เป็นวันที่ฝ่ายปฏิวัติประชาธิปไตยฝรั่งเศสในเมืองปารีสและกำลังทหารที่กบถได้บุกเข้ายึดบาสตีล (Bastille) อันเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายภักดีต่อกษัตริย์ วันนี้เป็นวันสัญลักษณ์ของการปฏิเสธระบบกษัตริย์แห่งราชวงศ์บูบอง (Bourbon monarchs) เหตุการณ์นี้เป็นการส่งสัญญาณเชิงสัญลักษณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) และเป็นช่วงทศวรรษที่สับสนทางการเมืองและเหตุร้ายในบ้านเมืองฝรั่งเศส ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินี แมรี อังตัวเนต (Marie Antoinette) และประชาชนหลายหมื่นคนถูกประหารชีวิต

บาสตีล (Bastille) ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1370 เพื่อเป็นป้อมค่าย bastide หรือ fortification เพื่อเป็นกำแพงป้องกันกรุงปารีสจากการรุกรานของอังกฤษ และต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นสถานที่อิสระ โดยมีชื่อว่า Bastide และชื่อได้เพี้ยนเป็น Bastille เป็นที่สำหรับกักขังผู้ต้องโทษระดับสูง ผู้ก่อความไม่สงบทางการเมือง และสายลับ นักโทษส่วนใหญ่ถูกกักขังโดยไม่ได้มีการนำตัวขึ้นศาล แต่เป็นคำสั่งโดยตรงของพระราชา ตัวอาคารสูง 100 ฟุต ล้อมรอบด้วยคูเมืองกว้าง 80 ฟุต บาสตีลจึงมีลักษณะโครงสร้างที่เห็นได้ชัด เป็นสัญลักษณ์ของเมืองปารีสในระยะนั้น

ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1789 ฝรั่งเศสได้เข้าสู่ยุคสุกงอมใกล้ปฏิวัติ มีปัญหาอาหารขาดแคลนในฝรั่งเศส เกิดกระแสต่อต้านพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และกลายเป็นความโกรธแค้นที่รุนแรงยิ่งขึ้น

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1789 ชนชั้นล่างและฝ่ายศาสนาระดับล่างได้ประกาศจัดตั้งสภาแห่งชาติ และได้ล่างรัฐธรรมนูญขึ้น พระเจ้าหลุยส์ดูเหมือนจะโอนอ่อนตามในระยะแรก ปล่อยให้มีสภาแห่งชาติ (National Council) ที่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่แล้วก็กลับนำกองทหารเข้าล้อมกรุงปารีส ปลด Jacques Necker รัฐมนตรีมหาดไทย บุคคลอันเป็นที่ยอมรับของประชาชนซึ่งสนับสนุนการปฏิรูป เพื่อเป็นการตอบโต้ ฝ่ายฝูงชนจึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นในกรุงปารีส

ผู้บัญชาการ Bernard-Jordan de Launay นายทหารผู้ดูแลบาสดีล กลัวว่าป้อมของเขาจะเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายปฏิวัติ จึงขอกำลังเสริม ซึ่งในที่สุดได้กองกำลังทหารรับจ้างจากสวิสเซอร์แลนด์ มีกำลังทหาร 82 คน ซึ่งมาถึงในวันที่ 7 กรกฎาคม Marquis de Sade ซึ่งเป็นหนึ่งในนักโทษจำนวนหนึ่งที่จะถูกโยกย้ายไปขังในโรงพยาบาลบ้า (Insane asylum) ได้ตะโกนไปยังฝูงชนภายนอกว่า “ทหารกำลังฆ่านักโทษ ท่านต้องมาช่วยเขาโดยเร็ว” ในวันที่ 12 กรกฎาคม ฝ่ายบ้านเมืองได้เคลื่อนดินระเบิด 250 ถังจากสรรพาวุธไปยังป้อมบาสตีล ซึ่งยิ่งทำให้ป้อมบาสตีลมีความเสี่ยงหนักยิ่งขึ้นไปอีก

ผู้บัญชาการ Launay ได้นำกองทหารของเขาเข้าไปไปในป้อมบาสตีลแล้วยกสะพานขึ้น

ในวันที่ 13 กรกฎาคม ฝ่ายปฏิวัติซึ่งมีปืนคาบศิลา (Muskets) ได้เริ่มยิ่งเข้าใส่ทหารที่ยืนบนหอคอยของป้อม ฝ่ายทหารภายใต้การนำของ Launay ได้ยิงตอบโต้ ในคืนนั้นฝ่ายฝูงชนได้บุกเข้ายึดคลังอาวุธของเมืองปารีส และสามารถครอบครองปืนคาบศิลาจำนวนหลายพันกระบอก เมื่อเวลารุ่งอรุณของวันที่ 14 กรกฎาคม ฝูงชนจำนวนมากได้ครอบครองอาวุธปืน ดาบ และจัดเวรยามเฝ้าล้อมรอบป้อมบาสตีล

Launay ได้ต้อนรับตัวแทนฝ่ายปฏิวัติ แต่ปฏิเสธที่จะยอมจำนนป้อมให้กับฝ่ายกบถตามที่ขอ Launay เปิดเจรจาครั้งที่สองและสัญญาว่าจะไม่ยิงเข้าใสฝูงชน และเพื่อให้ฝ่ายกบถมั่นใจ ได้แสดงให้เห็นว่าปืนใหญ่ที่เขามีอยู่นั้นไม่ได้ใส่กระสุน แต่แทนที่จะเป็นการทำให้ฝ่ายกบถเบาใจ กลับกลายเป็นว่าข่าวว่าปืนไม่มีกระสุนได้แพร่ออกไป

ฝ่ายฝูงชนส่วนหนึ่งได้ปีนค่ายป้อมเข้ามาแล้วหย่อนสะพานข้าม ฝ่ายกบถจำนวน 300 คนได้กรูกันเข้ามายังสะพานประตูที่สอง ขณะที่ฝ่ายกบถพยายามลดสะพานลงเพื่อให้พรรคพวกได้เข้ามาข้างใน Launay ได้สั่งให้ทหารระดมยิงเข้าใส่ผู้ก่อการจลาจล ซึ่งทำให้มีคนตายและบาดเจ็บ 100 คน

Launay สามารถต้านทานฝ่ายฝูงชนได้ แต่ก็มีชาวปารีสจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆที่เข้ามาล้อมป้อมบาสตีล เวลาบ่าย 3 โมง ได้กองทหารแปรทัพไปเข้ากับฝ่ายกบถ ได้เข้ามาสมทบ มีการจุดไฟในป้อมเพื่อใช้พรางตัว ขณะเดียวกันทหารฝ่ายกบถได้ลากปืนใหญ่เข้าไปในลานภายในป้อม และเล็งไปยังบาสตีลส่วนชั้นใน ฝ่าย Launay เห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงยกธงขาวยอมจำนน ดินระเบิดและปืนใหญ่ภายในป้อมถูกยึด นักโทษ 7 คนถูกปล่อยตัว Launay ถูกควบคุมตัว แต่ขณะที่ถูกนำตัวมาควบคุมตามคำสั่งสภาปฏิวัติที่โรงแรม Hotel de Ville ผู้บัญชาการค่าย Launay และทหารประจำตัวได้ถูกฝูงชนลากตัวไปและสังหารเสีย

การเข้ายึดป้อมบาสตีลได้เป็นสัญลักษณ์ว่าการปกครองในระบบกษัตริย์เดิมได้หมดอำนาจไปแล้ว ฝ่ายปฏิวัติฝรั่งเศสได้แรงหนุนที่ยากจะต้านทานได้ ทหารสี่ในห้าส่วนของกองทัพบกฝรั่งเศสได้หันเข้าข้างฝ่ายปฏิวัติ และฝ่ายปฏิวัติสามารถเข้ายึดครองกรุงปารีสได้ และก็ได้เข้ายึดครองขยายวงกว้างไปยังเขตชนบท

ภาพ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16

ภาพ พระนางแมรี อังตัวเนต ( Marie-Antoinette)

บังคับให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องยอมรับรัฐบาลใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ในปี คงศ. 1792 ระบบกษัตริย์ได้ถูกยกเลิก พระเจ้าหลุยส์และพระมเหสี Marie-Antoinette ถูกตัดสินประหารด้วยเครื่องตัดคอที่เรียกว่า guillotine ในข้อหาทรยศต่อชาติในปี ค.ศ. 1793

ตามคำสั่งของคณะรัฐบาลปฏิวัติ ป้อมบาสตีลได้ถูกทำลายลงในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1790 และหินก้อนสุดท้ายของป้อมที่คนเกลียดชังได้ถูกส่งเป็นสัญลักษณ์ไปยังสภาแห่งชาติในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 และวันนี้จึงเรียกว่า “วันบาสตีล” (Bastille Day) และถือเป็นวันชาติของฝรั่งเศส


No comments:

Post a Comment