Truth and reconciliation commission
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
ภาพ แผนที่โลกแสดงคณะกรรมการแสวงหาความจริงและสมานฉันท์ โดยมีการจัดนิทัศการพิพิธภัณฑ์ระลึกถึงสิทธิมนุษยชนในโลก ที่เมืองซานติอาโก ในประเทศชิลี (Santiago, Chile)
คณะกรรมการแสวงหาความจริง (Truth commission) หรือมีเรียกในภาษาอังกฤษอีกว่า Truth and Reconciliation Commission เป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น เพื่อค้นหาความจริงในอดีตที่รัฐบาลอาจกระทำขึ้น อันเกิดจากสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป และบางทีตัวผู้กระทำอาจไม่ใช่บุคคลจากภาครัฐหรือผู้มีอำนาจอย่างเป็นทางการเพียงด้านเดียว การแสวงหานี้ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ยังคงมีอยู่จากในอดีต คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมักกระทำโดยรัฐบาล อันด้วยมีความขัดแย้งรุนแรงเกิดขึ้นภายในประเทศ อาจเป็นสงครามกลางเมือง (Civil war) หรือผลพวงจากเผด็จการ (Dictatorship) ดังที่ได้เกิดขึ้นในอัฟริกาใต้ (South Africa) ที่ได้มีการตั้งคณะกรรมการแสวงหาความจริงและสมานฉันท์ (Truth and Reconciliation Commission) ซึ่งจัดตั้งโดยรัฐบาลของประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลลา (President Nelson Mandela) ในยุครัฐบาลกีดกันผิวโดยรัฐบาลชนกลุ่มน้อยผิวขาวที่เรียกว่า Apartheid ได้หมดอำนาจลงไป
ตามการรายงานของรัฐบาล ได้ค้นพบสิ่งที่เขียนไว้ในประวัติศาสตร์แบบคนผิวขาวผู้ปกครอง ที่พบว่ามี “การก่อการร้ายโดยรัฐ” (State terrorism) การก่ออาชญากรรม และการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human rights abuses)
คณะกรรมการแสวงหาความจริงนี้ บางครั้งถูกวิจารณ์ว่าได้ปล่อยให้อาชญากรรมได้ผ่านไปโดยไม่มีการลงโทษ เป็นการไปสร้างบรรทัดฐานละเว้นโทษแก่ผู้ที่ได้ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง
บทบาทและความสามารถของคณะกรรมการขึ้นอยู่กับโจทย์ที่ได้รับ ซึ่งแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปสังคมต้องการให้มีการนำคนกระทำผิดด้านสิทธิมนุษยชนให้ต้องรับโทษตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป (ดังกรณีของประเทศอาเจนติน่าหลังปี ค.ศ. 1983 และชิลีในยุคหลัวปี ค.ศ. 1990) การกระทำผิดละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ถูกปล่อยปละไม่ได้รับการลงโทษ เพราะการคุกคามจากฝ่ายสูญเสียอำนาจ ที่อาจจะก่อการรัฐประหารคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตยที่ยังเปราะบาง ด้วยเหตุที่กลุ่มคนที่อาจถูกได้รับโทษนั้นมีพรรคการเมืองและบุคคลที่ยังมีอำนาจในกองทัพหนุนหลังอยู่
ในอีกด้านหนึ่ง ฝ่ายทหารได้ถ่ายอำนาจสู่รัฐบาลพลเรือน ได้ระบุว่าการยุติยุคทหารเรืองอำนาจนี้ ทหารที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการอภัยโทษอย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีการนำเรื่องในอดีตขึ้นมาหาคนผิดเพื่อการลงโทษใดๆ ดังในประเทศอาเจนติน่าได้มีการกำหนดในกฏหมายให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลเผด็จการทหาร ได้รับนิรโทษกรรม โดยไม่ต้องไปขึ้นรับการพิจารณาคดีในศาลพลเรือน
ความยุ่งยากในประเด็นการทำงานของคณะกรรมการแสวงหาความจริงนี้มาจากการอยู่ในสังคมที่กำลังเปลี่ยนผ่าน อันอาจจะเป็นประเด็นว่าอะไรจะอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการแสวงหาความจริง หรือในกระบวนการพิจารณาโทษโดยระบบอัยการ (Criminal prosecutions) ตามปกติทั่วไป
ประเทศไทย
ภาพ การเผาสถานที่ต่างๆในกรุงเทพมหานครในช่วงเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ภาพ ส่วนหนึ่งของคนเสื้อแดง ที่ร่วมในเหตุการณ์ความขัดแย้ง
ในประเทศไทยเราในช่วงหลังเหตุการณ์ความรุนแรงช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อแสวงหาความจริงอันเป็นส่วนหนึ่งของการปรองดองสมานฉันท์ของประเทศ แต่ต่างฝ่ายก็มีความคิดที่แตกต่างกันออกไป
ส่วนหนึ่งมองว่า การจะปรองดองกันได้นั้น ต้องแยกให้ออกระหว่างส่วนที่เป็นการก่อการร้าย มีผู้คนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ คนกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีการหาตัวและนำมาลงโทษ ส่วนคนที่ไม่มีความผิด ก็จะได้ปลอดจากการลงโทษ และสามารถไปทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งทางการเมืองได้
ส่วนหนึ่งมองว่าแสวงหาข้อเท็จจริงโดยเร็ว และต้องได้ความเป็นจริงทั้งหมด เสร็จแล้วหลังจากนั้นมีบทลงโทแล้ว จึงค่อยขอนิรโทษกรรมไปตามลักษณะโทษ
ส่วนหนึ่งมองว่า การจะปรองดองนั้น ต้องคิดแบบ “ไม่เป็นไร ลืมเสียเถิด” (To forget and forgive) ไม้ต้องไปพูดถึงมัน ผิดถูกอย่างไรนั้นพิสูจน์ได้ยาก แถมไม่มีใครยอมรับผิด ยิ่งกลับไปพูดถึงกันมาก ก็เหมือนกับฝีหนองแตก เชื้อโรคลามทะลัก อาจเกิดความขัดแย้งระลอกใหม่ขึ้นมาได้อีก
No comments:
Post a Comment